Skip to main content
sharethis

11 เม.ย. 53 - เว็บไซต์ไทยรัฐรายงานว่า นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า กรรมการสิทธิฯมีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ตรวจสอบเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารที่เข้าไปปฏิบัติการขอคืนพื้นที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศกับผู้ชุมนุมเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก

โดยชุดแรกจะทำหน้าที่พิสูจน์ศพ ส่วนอีกชุดหนึ่งจะตรวจสอบการละเมิดสิทธิ ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการจะมาจากตัวแทนผู้ชุมนุมเสื้อแดง รัฐบาล และภาคประชาชน ทั้งนี้เห็นว่าการถามหาความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรรอผลการตรวจสอบของคณะกรรมการสองชุดนี้ก่อน

เมื่อพบข้อเท็จจริงว่าใครผิดก็ว่ากันไปตามนั้น เพราะหากจะเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบเรื่องนี้ ก็คงต้องให้ผู้ชุมนุมรับผิดชอบด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากฝ่ายคนเสื้อแดงเองก็มีการยกระดับจนสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น เป็นความตั้งใจของเขาอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจเพราะกรรมการสิทธิเองก็พยายามอย่างที่สุดที่จะประสานเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสีย

“เมื่อเกิดปัญหาแล้วประเทศชาติก็ต้องมีทางออก โดยสองฝ่าย คือ รัฐบาลและผู้ชุมนุม ต้องเจรจาร่วมกันเพื่อหาข้อยุติ โดยผู้ชุมนุมควรยุติการชุมนุมที่ละเมิดกฎหมายและละเมิดสิทธิของประชาชนทั่วไปด้วย ไม่เช่นนั้นสังคมก็จะอึดอัดกับการกระทำดังกล่าวจนทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา”นางอมรา กล่าว

 

"พธม.ใต้" เรียกร้อง "กฎอัยการศึก" จัดการ "เสื้อแดง"

ด้านมติชนออนไลน์รายงานว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) 16 จังหวัดภาคใต้ นำโดย นายสุนทร รักษ์รงค์ แกนนำ พธม.ชุมพร ผู้ประสานงาน พธม.16 จังหวัดภาคใต้ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4/2553 มีเนื้อหาสรุปได้ว่า เหตุการณ์จลาจลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 มีผู้เสียชีวิตกว่า 10 ราย และมีผู้บาดเจ็บกว่า 800 คน เป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดใจและไม่น่าเกิดขึ้นในสังคมไทย พันธมิตรฯ 16 จังหวัดภาคใต้มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ จึงได้ประชุมกันและมีมติดังต่อไปนี้

1.พันธมิตรฯ 16 จังหวัดภาคใต้ ขอแสดงความเสียใจ ต่อผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการจลาจลเมื่อวานนี้ และขอประณามแกนนำ นปช. และบุคคลผู้ไม่หวังดีที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดใจ

2.การจลาจลเมื่อวานยืนยันแนวทางการต่อสู้ของ นปช.ว่าเป็นการใช้ความรุนแรงนำหน้า ไม่ใช่แนวทาง  สันติอหิงสา อย่างที่อวดอ้าง เพราะตลอดการชุมนุมของ นปช. กว่า 1 เดือนมีความรุนแรงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการยิงระเบิดใส่สถานที่ราชการสำคัญๆ การจับการ์ด นปช.ที่พกพาอาวุธร้ายแรง และการประกาศสงครามบนเวทีของแกนนำอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวของ นปช.จึงไม่ใช่วิถีทางประชาธิปไตย แต่เป็นรูปแบบการก่อการร้าย ไม่ต่างจากขบวนการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแกนนำ นปช.จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้เพราะนี่เป็นการพาคนไปตายอย่างชัดเจน

3.ในส่วนของรัฐบาลต้องแยกแยะผู้ก่อการร้ายที่แฝงตัวในม็อบ ออกจากชาวบ้านที่บริสุทธิ์หรือถูกว่าจ้างมา และต้องเดินหน้าบังคับใช้กฎหมายให้ถึงที่สุดเพื่อรักษาระบบกฎหมายและกติกา ของบ้านเมือง ไม่ปล่อยให้อำนาจเถื่อนหรืออำนาจนอกระบบเข้ามาข่มขู่คุกคามหลักการ ประชาธิปไตยและประชาชนทั่วไป จนเสมือนเกิดสุญญากาศทางอำนาจ นายกฯ

4.นายกรัฐมนตรีจะต้องทบทวนและสรุปบทเรียนความผิดพลาดในการยุติการชุมนุมที่ ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะความกล้าหาญในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่โอนอ่อนให้กับพฤติกรรมที่ละเมิดกฎหมายและคุกคามความปกติสุขของบ้านเมือง หากนากยกรัฐมนตรีไม่พร้อมที่จะแสดงความกล้าหาญหรือสร้างภาวะผู้นำในการควบ คุมสถานการณ์ด้วยตัวเอง นายอภิสิทธิ์ก็ควรพิจารณาตัวเอง   ส่วนการเจรจานั้นอาจเป็นทางเลือกที่สายเกินไปแล้ว เพราะแกนนำ นปช.ได้กลายเป็นผู้ต้องหาและเป็นจำเลยสังคมไปแล้ว

5.ผบ.ทบ.และ ผบ.เหล่าทัพควรหยุดเล่นการเมือง และจะต้องมีความจริงใจที่จะทำให้สถาบันกองทัพได้รับความศรัทธาเชื่อมั่นจาก ประชาชน  ผบ.ทบ.จะต้องตระหนักว่าสถานการณ์ขณะนี้เป็นวิกฤติความมั่นคงเพราะมีการก่อ จลาจลและประกาศสงครามในเมืองหลวงเกิดขึ้นแล้ว การประกาศกฎอัยการศึก หรือเคอร์ฟิวจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่กองทัพจะต้องพิจารณาเพื่อยุติ สถานการณ์ฉุกเฉินเฉพาะให้ได้โดยเร็วที่สุด และ

6.ขอให้ นปช.ที่มีนักโทษชาย ทักษิณ  ชินวัตร อยู่เบื้องหลัง หยุดนำเอาศพของผู้เสียชีวิตมาเป็นเครื่องมือสนองกิเลสและตัณหาทางการเมือง


"สุริยันต์ำ" นำพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินรวมตัวเรียกร้องกฎอัยการศึก "สุริยะใส" ปัดไม่เกี่ยว พธม.

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีความเคลื่อนไหวในทำนองเรียกร้องให้การใช้กฎอัยการศึกเพื่อจัดการการชุมนุม นปช. เช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่เสนอให้ใช้กฎอัยการศึก โดยที่ พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 สามารถปฏิบัติได้ทันที เพราะหากปล่อยให้ละเลยไปมากกว่านี้ก็จะเป็นปัญหา ส่วนกลุ่มประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณถนนราชเทวีนั้น นายสุริยะใสยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวไม่ใช่มติของพันธมิตรฯ คาดว่าน่าจะเป็นการกระทำกันเองของคนภายในชุมชน (อ่านข่าวดังกล่าว [1] [2])

อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 20.00 น. วันเดียวกัน ผู้ชุมนุมประมาณ 100 คนรวมตัวกันในนาม “เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน” บริเวณหน้าอาคารพญาไท เพลส ใกล้สถานีรถไฟฟ้าพญาไท เพื่อต่อต้านการชุมนุมของคนเสื้อแดง (อ่านข่าวดังกล่าว [1])

“ตามที่ได้มีการชุมนุมของคนกลุ่ม เสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เป็นต้นมานั้น โดยมีข้อเรียกร้องขอให้รัฐบาลยุบสภา แต่พฤติกรรมการแสดงออก การพูดจาบนเวที กลับยุยงให้เกิดสงครามชนชั้น และจาบจ้วงล่วงละเมิดต่อสถาบันสูงสุด อีกทั้งยังก่อความรุนแรงทั้งใต้ดินและบนดิน จึงเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นการ ชุมนุมที่ฝ่าฝืนและใช้สิทธิ เกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด และมีเจตนาที่จะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถือเป็นการกระทำที่เป็นกบฏภายในราชอาณาจักร” ตอนหนึ่งของแถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินระบุ

โดยนายบุญเกียรติ รัตนะจากชุมชนสามเหลี่ยมดินแดง กล่าวว่าผู้ชุมนุมมาจากชุมชนสามเหลี่ยมดินแดง ชุมชนบ้านครัว ชุมชนสำเหร่ ชุมชนมหานาค ชุมชนคลองเตย และชุมชนนางเลิ้ง โดยรวมกลุ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2552 กรณีรถแก๊สที่สามเหลี่ยมดินแดง โดยวันนี้นัดรวมตัวกันผ่านการติดต่อ ทางโทรศัพท์ “เราอยากให้รัฐบาลเคลียร์ให้จบ ไป เราอยากรู้ว่ารัฐบาลจะมีวิธีจัด การอย่างไร รัฐบาลอ่อนเกินไป ไม่มีความเด็ดขาด หน่วยงานรัฐไม่เด็ดขาด” นายบุญเกียรติกล่าว

ระหว่างที่มีการชุมนุมนายสุริ ยันต์ ทองหนูเอียด รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ซึ่งปราศรัยผ่านโทรโข่งได้ประ กาศว่า “เราเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ด้านอาชีพ จิตใจ และอนาคตลูกหลานของพวกเรา ถ้าปล่อยให้คนกลุ่มหนึ่งใช้อำนาจโดยไม่รับกติกา กฎหมาย ชุมชนจะอยู่อย่างไร เรามากล่าวเตือน มาบอกว่ารัฐบาลต้องแสดงความเด็ดขาด ชุมชนแสดงจุดยืนเสรีภาพอย่างเต็มที่ อย่างสงบ” “ถ้าไม่มาแสดงพลัง ก็เท่ากับยอม เราจะปล่อยให้รัฐบาลอ่อนข้อกับพวกนี้ไม่ได้”

“ถ้าพรุ่งนี้ยังไม่มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น เราจะรวมตัวกันเรื่อยๆ เปิดพื้นที่ขึ้นเรื่อยๆ ถ้ารัฐบาลไม่มีน้ำยา เราก็จะไม่ยอม”

“เราคือผู้ที่มีจิตใจรักบ้านรัก เมือง ไม่อยากให้บ้านเมืองตกอยู่ในมือ ของพวกป่วนบ้านป่วนเมือง นี่เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้อง ปกป้องรัฐธรรมนูญ ปกป้องบ้านเมือง” นายสุริยันต์กล่าว

ขณะที่ระหว่างชุมนุม ผู้ชุมนุมบางส่วนกรูเข้าโห่ไล่รถกระบะของคนเสื้อแดงที่แล่นผ่านไปเป็นระยะๆ รวมทั้งมีการโต้เถียงกับคนเสื้อ แดงที่ขับขี่จักรยานยนต์ผ่าน มา และมีการตะโกนร้องคำว่า “ไม่ยุบสภา” “อภิสิทธิ์สู้ๆ” อีกด้วย ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจและ เจ้าหน้าที่ทหารเดินทางเข้า มาดูแลความสงบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ ชุมนุมกับคนเสื้อแดงที่สัญจร ผ่านถนนพญาไท

ระหว่างใกล้ยุติการชุมนุม นายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำซึ่งควบคุมการชุมนุมอยู่ห่างๆ เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์อาจบานปลาย จึงได้เดินออกมาบอกให้ผู้ชุมนุมแยกย้ายกันกลับบ้าน โดยเวลาประมาณ 20.40 น. ผู้ชุมนุมได้สลายตัว โดยก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับยังมีการประกาศผ่านโทรโข่งว่า “ถ้ารัฐบาลยังไม่ทำอะไรอีก พรุ่งนี้เราจะมากันใหม่”

สำหรับแกนนำในวันนี้คือนายนิติ ธร ล้ำเหลือ เป็นทนายความให้กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา ธิปไตย เคยมีบทบาทพาชาวบ้านชุมชนเพชร บุรีออกมาเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุม เสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายน ปีที่แล้ว ส่วนนายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ชาว จ.พัทลุง เคยมีตำแหน่งเป็นผู้ประสานงานพันธมิตรฯ เชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) รักษาการต่อจากนายสุริยะใส กตะศิลาที่ลาออกไปเป็นเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่

ขณะที่วันเดียวกันนี้ (9 เม.ย.) นายสุริยะใสปฏิเสธว่าการชุมนุมต่อต้านเสื้อแดงเป็นเรื่องของประชาชนที่ไม่พอใจทำกันเอง ไม่เกี่ยวข้องกับพันธมิตร

000
(รายละเอียดของแถลงการณ์)

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน

ตามที่ได้มีการชุมนุมของคนกลุ่มเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เป็นต้นมานั้น โดยมีข้อเรียกร้องขอให้รัฐบาลยุบสภา แต่พฤติกรรมการแสดงออก การพูดจาบนเวที กลับยุยงให้เกิดสงครามชนชั้น และจาบจ้วงล่วงละเมิดต่อสถาบันสูงสุด อีกทั้งยังก่อความรุนแรงทั้งใต้ดินและบนดิน จึงเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นการ ชุมนุมที่ฝ่าฝืนและใช้สิทธิ เกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด และมีเจตนาที่จะล้มล้างการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถือเป็นการกระทำที่เป็นกบฏภายใน ราชอาณาจักร

ระดับความรุนแรงมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนคุกคามความมั่นคงแห่งรัฐ ความมั่นคงแห่งความเป็นมนุษย์ ท้าทายอำนาจรัฐ บุกรุกสถานที่ราชการ และสถานที่เอกชน ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ข่มขู่คุกคามการใช้ชีวิตโดยสงบสุขของประชาชน จนได้รับความเดือดร้อนอย่างแสน สาหัส

การดูความสงบสุขและความเรียบร้อยในบ้านเมืองของรัฐบาลล้มเหลว อย่างสิ้นเชิง จนประชาชนหมดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลว่าจะสามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและอำนวยความสุขสงบในบ้านเมืองได้

เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน จึงขอใช้สิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ในการปกป้องชีวิต ทรัพย์สินของชุมชนและสังคม โดยตัวเราเองและขอใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 70 ที่บัญญัติ "บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ นี้" และมาตรา 71 ที่บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย"

เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ขอเรียกร้องให้ประชาชน ชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร และทุกจังหวัดได้ร่วมแสดงเจตนารมณ์ ปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน และความสงบสุขของชุมชนและประชาชน โดยให้ดำเนินการตามความรู้ความสามารถ ตามถิ่นฐานของตัวเองและเครือข่ายพลเมืองอาสาและปกป้องแห่งดินทั่วประเทศ

เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนิ นการใช้อำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อคืนความสงบสุข ชีวิตและทรัพย์สินของประชาช

ด้วยจิตคารวะ
เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน
วันที่ 9 เมษายน 2553

 

ที่มาของข่าวบางส่วน: เว็บไซต์ไทยรัฐ, มติชนออนไลน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net