สถานการณ์แรงงานประจำวันที่ 11 – 17 เม.ย. 2553

แรงงาน ใน 'ลิเบีย' กลับไทยได้แล้ว!
บางกอกทูเดย์ (12 เม.ย. 53) -
นายสุเมธ มโหสถ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากกรณีคนงานไทย จำนวน 152 คน เดินทางไปทำงานกับนายจ้างบริษัท CITRAMEGAH KARYA GEMILANG (CKG)  ENGINEERING & CONSTRUTION สัญชาติอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่ Libiya Branch, 179-17 th floor Buri   Tower I I จนครบสัญญาจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม 2552แต่นายจ้างประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถดำเนินการขอวีซ่าขาออก ( EXIT VISA) และซื้อตั๋วเครื่องบินส่งคนงานทั้งหมดกลับประเทศไทยได้
กระทรวงแรงงานจึงได้ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และบริษัทจัดหางานผู้จัดส่งทั้ง 4 บริษัท เพื่อให้ความช่วยเหลือนำคนงานไทยดังกล่าวกลับประเทศ
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะ ได้นำอาหารแห้งเดินทางไปเยี่ยมปลอบขวัญคนงาน รวมทั้งเจรจากับทางการลิเบียและนายจ้างบริษัท CKG จนสามารถช่วยเหลือคนงานกลับมาได้เป็นกลุ่มแรก จำนวน 27 คน ที่ผ่านมา
ล่าสุดสำนักงานแรงงานไทยในประเทศซาอุดีอาระเบีย (กรุงริยาด) ได้แจ้งว่า นายจ้างบริษัท CKG ได้ดำเนินการยื่นขอวีซ่าขาออกให้คนงานที่เหลืออีก 106 คนแล้วแต่เนื่องจากปัญหาทางการเงิน จึงสามารถจ่ายได้เฉพาะค่าธรรมเนียมวีซ่าให้แก่คนงานเพียง 59 คน ส่วนค่าใช้จ่ายที่เหลือ ซึ่งแบ่งเป็น ค่าวีซ่าขาออก รวมค่าปรับอยู่เกินเวลา คนละ 13,500 บาทและค่าโดยสารเครื่องบิน คนละ 14,700 บาท ของคนงานอีก 74 คน สถานเอกอัคราชทูตได้สำรองจ่ายให้ไปก่อน
สำหรับคนงานไทยที่ได้รับการส่งตัวกลับเป็นกลุ่มที่สอง จำนวน 74 คน ได้เดินทางออกจากประเทศลิเบียโดยสายการบินจอร์แดนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ RJ 180 ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เรียบร้อยแล้วส่วนคนงานไทยที่เหลืออีก 32 คน สถานเอกอัคราชทูตกำลังขออนุมัติและรอการโอนเงินงบประมาณจากกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นค่าโดยสารเครื่องบินส่งตัวคนงานกลุ่มสุดท้ายกลับประเทศไทย
เรื่องการให้ความช่วยเหลือ สำหรับคนงานที่เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนงานไปทำงานในต่างประเทศ จะได้รับเงินส่งเคราะห์จากกองทุนฯ เป็นค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นในระหว่างที่อยู่ในต่างประเทศโดยจะจ่ายตามจริงแต่ไม่เกินคนละสามหมื่นบาท หากจ่ายเกินวงเงินที่กำหนด อธิบดีกรมการจัดหางาน มีอำนาจสั่งจ่ายเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกองทุนฯ
แรงงานแห่ร่วมม็อบฉุดกำลังผลิตสินค้า-เผยตำแหน่งว่างนับแสน
เว็บไซต์แนวหน้า (
13 เม.ย. 53) - นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งแระเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการสอบถามผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหลายรายทราบว่า การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ได้มีแรงงานเข้าไปร่วมการชุมนุมวด้วย โดยในโรงงานบางแห่งยอมลางานเป็นเวลา 3-4 วัน เพื่อไปร่วมชุมนุม บางส่วนให้เหตุผลว่า ได้รับเงินตอบแทนวันละ 500-1,000บาท ในการจูงใจให้ไปร่วมชุมนุม ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าบ้าง เพราะช่วงนี้หลายบริษัทได้รับคำสั่งซื้อ(ออเดอร์) จากต่างประเทศ เพื่อผลิตสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับสถานการณ์แรงงานในไตรมาสแรกของปีนี้ ยังอยู่ในภาวะขาดแคลนราว 2-3 แสนคน เมื่อเทียบกับปีก่อน ถือเป็นปัญหาที่หนักขึ้น เนื่องจากปีนี้ออเดอร์เริ่มกลับเข้ามามากขึ้น แต่ไม่มีแรงงานเพียงพอ ขณะที่ปีก่อนภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาทำให้กำลังผลิตสินค้าลดลง บางโรงงานถึงขั้นต้องลดคนงานด้วยซ้ำ ปัญหาขาดแคลนแรงงานจึงไม่กระทบภาคอุตสาหกรรมมากนัก
สำหรับแนวโน้มแรงงานอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ของปีนี้ คาดว่าจะยังขาดแคลน โดยส่วนหนึ่งเพราะผลผลิตสินค้าทางการเกษตรหลายรายการมีราคาที่ดีขึ้น ส่งผลให้แรงงานกลับคืนสู่ภาคเกษตร ทำให้บางโรงงานซึ่งประกาศรับคนเข้าทำงาน 200-300 คน กลับได้คนเข้าทำงานจริงเพียง 20-30% เท่านั้น ถือว่าต่ำกว่าความต้องการที่แท้จริงค่อนข้างมาก
"นอกจากนี้ลักษณะประชากรศาสตร์ของไทย พบว่า ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ประกอบกับลักษณะครอบครัวไทยมีบุตรน้อยลง ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อภาคอุตสาหกรรมที่จะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นภายใน 3-5ปีข้างหน้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการซื้อเครื่องจักรนวัตกรรมใหม่ เพื่อทำหน้าที่ผลิตทดแทนแรงงานที่จะหดตัวลงในอนาคตด้วย" นายทวีกิจ กล่าว
แรงงานแห่ร่วมม็อบ ฉุดกำลังผลิตสินค้า-เผยตำแหน่งว่างนับแสน
แนวหน้า (
13 เม.ย. 53) - นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งแระเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการสอบถามผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหลายรายทราบว่า การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ได้มีแรงงานเข้าไปร่วมการชุมนุมวด้วย โดยในโรงงานบางแห่งยอมลางานเป็นเวลา 3-4 วัน เพื่อไปร่วมชุมนุม บางส่วนให้เหตุผลว่า ได้รับเงินตอบแทนวันละ 500-1,000บาท ในการจูงใจให้ไปร่วมชุมนุม ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าบ้าง เพราะช่วงนี้หลายบริษัทได้รับคำสั่งซื้อ(ออเดอร์) จากต่างประเทศ เพื่อผลิตสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับสถานการณ์แรงงานในไตรมาสแรกของปีนี้ ยังอยู่ในภาวะขาดแคลนราว 2-3 แสนคน เมื่อเทียบกับปีก่อน ถือเป็นปัญหาที่หนักขึ้น เนื่องจากปีนี้ออเดอร์เริ่มกลับเข้ามามากขึ้น แต่ไม่มีแรงงานเพียงพอ ขณะที่ปีก่อนภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาทำให้กำลังผลิตสินค้าลดลง บางโรงงานถึงขั้นต้องลดคนงานด้วยซ้ำ ปัญหาขาดแคลนแรงงานจึงไม่กระทบภาคอุตสาหกรรมมากนักสำหรับแนวโน้มแรงงานอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ของปีนี้ คาดว่าจะยังขาดแคลน โดยส่วนหนึ่งเพราะผลผลิตสินค้าทางการเกษตรหลายรายการมีราคาที่ดีขึ้น ส่งผลให้แรงงานกลับคืนสู่ภาคเกษตร ทำให้บางโรงงานซึ่งประกาศรับคนเข้าทำงาน 200-300 คน กลับได้คนเข้าทำงานจริงเพียง 20-30% เท่านั้น ถือว่าต่ำกว่าความต้องการที่แท้จริงค่อนข้างมาก"นอกจากนี้ลักษณะประชากรศาสตร์ของไทย พบว่า ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ประกอบกับลักษณะครอบครัวไทยมีบุตรน้อยลง ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อภาคอุตสาหกรรมที่จะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นภายใน 3-5ปีข้างหน้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการซื้อเครื่องจักรนวัตกรรมใหม่ เพื่อทำหน้าที่ผลิตทดแทนแรงงานที่จะหดตัวลงในอนาคตด้วย" นายทวีกิจ กล่าว
ขรก.เกษียณกว่า 1.1 หมื่นใน 10 ปี
เว็บไซต์คมชัดลึก (13 เม.ย. 53) -
นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)ร่วมกับหน่วยงานราชการ 14 แห่ง สำรวจข้อมูลโครงสร้างอายุและแนวโน้มเกษียณอายุใน 10 ปี ของข้าราชการพลเรือนในสังกัด ได้แก่ 1.กรมส่งเสริมการเกษตร อายุเฉลี่ย 47.88ปี อายุ50 ขึ้นไป 4,913 คน คิดเป็น 52.55% แนวโน้มเกษียณ 3,879 คน คิดเป็น 41.49% 2.กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อายุเฉลี่ย 46.98 ปี อายุ50ปีขึ้นไป 98 คน คิดเป็น 52.41% แนวโน้มเกษียณ 93 คน คิดเป็น49.73% 4. กรมการข้าว อายุเฉลี่ย 46.91 ปี อายุ50ปีขึ้นไป346คน คิดเป็น40.05% แนวโน้มเกษียณ 307 คน คิดเป็น 35.53% 5.กรมแรงงานอุตสาหกรรม อายุเฉลี่ย 46.87ปี อายุ50ปีขึ้นไป 258คน คิดเป็น 46.82% แนวโน้มเกษียณ 239 คนคิดเป็น43.38%
6.สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย อายุเฉลี่ย 46.62 ปี อายุ50ปีขึ้นไป 1,147คน คิดเป็น 43.68% แนวโน้มเกษียณ 994คน คิดเป็น37085% 7.กรมศุลกากร อายุเฉลี่ย 46.58 ปี อายุ50ปีขึ้นไป 1,888คน คิดเป็น42.05% แนวโน้มเกษียณ 1,696คน คิดเป็น37.77% 8.สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อายุเฉลี่ย 46.37ปี อายุ 50 ปีขึ้นไป 899คน คิดเป็น 46.68% แนวโน้มเกษียณ 789 คนคิดเป็น 40.97%
9.กรมชลประทาน อายุเฉลี่ย46.24ปี อายุ 50 ปีขึ้นไป 2,627คน คิดเป็น 41.14% แนวโน้มเกษียณ 2,342 คน คิดเป็น 36.67% 10.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อายุเฉลี่ย 46.15 ปี อายุ 50 ปีขึ้นไป 337 คน คิดเป็น 42.39% แนวโน้มเกษียณ 288 คน คิดเป็น 36.23% 11. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ อายุเฉลี่ย 45.86 ปี อายุ 50 ปีขึ้นไป 82 คน คิดเป็น 41.21% แนวโน้มเกษียณ 72 คน คิดเป็น 36.18%
12.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อายุเฉลี่ย 45.79 ปี อายุ 50 ปีขึ้นไป 132 คน คิดเป็น 40% แนวโน้มเกษียณ 123 คน คิดเป็น 37.27 % 13.กรมการกงสุล อายุเฉลี่ย 47.78ปี อายุ 50 ปี ขึ้นไป 36 คน คิดเป็น 45.57% 14. กรมการค้าภายใน อายุเฉลี่ย 44.60 ปี อายุ 50 ปีขึ้นไป 320 คน คิดเป็น40.30% แนวโนมเกษียณ 274 คน คิดเป็น 34.51% ทั้งนี้โดยภาพรวมใน 10 ปีข้างหน้าข้าราชการ แนวโน้มเกษียณ 35 คนคิดเป็น 44.30% ภาพรวมทั้ง 14 หน่วยงานจะมีข้าราชการเกษียณทั้งสิ้น 11,870 คน
"เมื่อเร็วๆนี้ ก.พ. ได้หารือกับ 14 หน่วยงานราชการทำแผนปฏิบัติร่วมกันเพื่อนสรรหาหรือสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยให้แต่ละหน่วยงานไปตรวจสอบปัญหาและอัตรากำลังสขาขาดแคลน"เลขาธิการก.พ.กล่าว
ประกันสังคมเมืองน้ำดำสร้างเครือข่าย ขยายความคุ้มครองแรงงานนอกระบบ
เดลินิวส์ (
13 เม.ย. 53) - นางชลอลักษณ์ แก้วพวง ประกันสังคมจังหวัดกาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงโครงการสร้างเครือข่ายขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบแก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ณห้องประชุมทศพร โรงแรมริมปาว จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งโครงการดังกล่าวสำนักงานประกันสังคม ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาในการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม 2533 เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้กลุ่มอาชีพอิสระ ซึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์มีจำนวนกว่า 18,000 คน ได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็น 5 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตายและชราภาพ โดยจ่ายเงินสมทบเพียง 280 บาทต่อเดือน จำนวนเงินสมทบ 100 บาท เป็นเงินออมชราภาพจะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินสมทบ 180 บาท คุ้มครอง 4 กรณี หากเฉลี่ยแล้วจ่ายเงินสมทบเพียง 6 บาทต่อวัน ถือว่าเป็นโอกาสของผู้มีรายได้น้อยสามารถสร้างหลักประกันให้ชีวิตและครอบครัวได้ สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีอาสาสมัครแรงงาน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านนายก อบต. แรงงานนอกระบบกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ประชาชนทั่วไป และข้าราชการในจังหวัดจำนวน 120 คน ร่วมรับฟังการชี้แจง
ผ่าแผนลงทุนประกันสังคม ชี้อีก 40 ปี เงินประกันสังคมหมด
เว็บไซต์ไทยรัฐ (14 เม.ย. 53) -
 ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ผู้ซึ่งเคยทำวิจัยเกี่ยวกับการบริหารเงินกองทุนประกันสังคม เปิดเผยว่า ในอีก 40 ปีข้างหน้า เงินกองทุนประกันสังคมที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 6.6 แสนล้านบาท อาจจะหมดลงเนื่องจากในช่วง 4 ปีต่อจากนี้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะเริ่มจ่ายเงินคืนให้กับผู้ประกันตนที่เกษียณอายุการทำงานประมาณ 3 – 4 แสนราย ขณะที่อีก 20 ปีข้างหน้า สปส.จะต้องจ่ายเงินให้กับสมาชิกกว่า 5 ล้านคน หรือ ครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดกว่า 10 ล้านคน และ ในอีก 35 – 40 ปีข้างหน้า กองทุนประกันสังคมจะต้องจ่ายเงินให้กับสมาชิกกว่า 10 ล้านคน เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากแม้ว่าจะมีสมาชิกใหม่เข้ามาทดแทน แต่ไม่มากพอ ดังนั้นหากรัฐบาลโดย สปส.ไม่ดำเนินการบริหารเงินให้มีศักยภาพก็จะประสบปัญหาอย่างแน่นอน
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า การบริหารเงินกองทุนประกันสังคมนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและจะต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง มีหลักในการคิดตัดสินที่ถูกต้องและตามกฎหมาย ที่สำคัญต้องโปร่งใส มีประสิทธิภาพ เพราะเงินดังกล่าวนั้นเป็นเงินของลูกจ้าง ที่มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของพี่น้องแรงงาน เพราะถ้าบริหารไม่ดีลงอะไรไปแล้วขาดทุน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเป็นเรื่องที่กระทบส่งผลระยะยาวต่อผู้ประกันตนที่จะต้องรับเงินชราภาพประมาณ 2.6 แสนคน คิดเป็นเงินประมาณ 118 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้น และ หมดไปเรื่อยๆเพราะอัตราลูกจ้างผู้ประกันตนที่เกษียณอายุการทำงานมีขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ว่า หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าภายในปี 2557 ที่เริ่มมีการจ่ายเงินกรณีชราภาพ จะทำให้สถานะของกองทุนย่ำแย่ เพราะปริมาณเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้านั้น จะมีการเพิ่มช่องทางการลงทุนและปรับปรุงการเก็บเงินสมทบ โดยจะบริหารเงินดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยการลงทุนส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสินทรัพย์ที่มั่นคง เช่น พันธบัตร 80% ส่วนอสังหาริมทรัพย์จะลงทุนไม่เกิน 5% และ ในอนาคตจะขยายผลการลงทุนทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะพวกโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน พืชพลังงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหาประสบการณ์ โดยดูประสบการณ์จากต่างประเทศ ส่วนการลงทุนในต่างประเทศนั้น จะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ด้วย
นายปั้น อธิบายเพิ่มเติมว่า สำหรับการลงทุนในต่างประเทศปี 2553 จะใช้ประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 100 ล้านเหรียญ และพันธบัตร 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกัน ได้มีการลงทุนในต่างประเทศไปแล้ว 680 ล้านเหรียญ ทั้งนี้นอกจากการหารายได้เพิ่มแล้ว ในส่วนของกองทุนชราภาพมีแผนว่า จะปรับหลายเรื่อง เช่น การเพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินสมทบ และ ขยายอายุการรับเงินบำนาญ ขยายเวลาการรับเงินบำนาญชราภาพ เป็นต้น
ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ฯ เสนอว่า แนวทางการแก้ปัญหา เงินกองทุนประกันสังคมหมดนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขปัญหา เช่น การปล่อยให้อัตาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เพื่อดึงรายได้เข้าสูงขึ้น การขยายอายุผู้เกษียณออกไป การเพิ่มสัดส่วนการส่งเงินเข้ากองทุน ทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และ รัฐบาล และ การหาทางลด จ่ายเงินชดเชยให้แก่สมาชิก
แม้สัมพันธ์จะย่ำแย่ แรงงานเขมรยังแห่เข้าไทย
ASTV ผู้จัดการ (14 เม.ย. 53) -
คนงานชาวกัมพูชาเข้าแถว "เช็คเอ้าต์" ที่ด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด คนงานเหล่านี้ข้ามเข้ามาทำงานก่อสร้างในประเทศไทย และ เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเป็นระยะๆ ไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ชาวกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อ เนื่อง แม้ว่ารัฐบาลสองฝ่ายจะลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันก็ตาม ASTVผู้จัดการรายวัน - แรงงานชาวกัมพูชายังคงหลั่งไหลเข้าทำงานในไทยอย่างต่อเนื่อง ไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มถึง 26% แม้ว่า สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างสองประเทศยังคงตึงเครียด ก็ไม่สามารถยับยั้งการเดินทางของแรงงานชาวกัมพูชาได้ สื่อในประเทศนี้รายงานโดยอ้างตัวเลขของกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมอาชีพ นายแญม กิมฮุย (Nhem Kimkouy) เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานฯกล่าวกับหนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ว่า ช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค.ปีนี้ กัมพูชาได้ส่งแรงงานจดทะเบียนไปทำงานในประเทศไทย 701 คน เป็นหญิง 315 คน เพิ่มขึ้นจาก 553 คนในไตรมาสก่อน "ผมคิดว่าปัญหาทางการเมืองในกรุงเทพและการเผชิญหน้าบริเวณชายแดนไม่ส่งผล กระทบต่อความต้องการแรงงาน" เจ้าหน้าที่แรงงานคนเดียวกันกล่าว คนงานที่ไปทำงานในมาเลเซียก็เพิ่มขึ้นเช่นกันและเพิ่มเป็นจำนวนมากด้วย ตามตัวเลขของทางการในไตรมาสแรกของปี 2553 มีแรงงานกัมพูชาเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียกว่า 3,000 คน เป็นหญิงถึง 2,350 คน เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ที่มีเพียง 1,664 คนเนื่องจากความต้องการแรงงานในแขนงเสื้อผ้าส่งและแขนงการผลิตอื่นๆ "ปีนี้รัฐบาลมาเลเซียได้เปิดกว้างสำหรับแรงงานเพื่อเข้าทำงานในโรงงานและ อุตสาหกรรมอื่นๆ
เสริมสร้างความรู้อาสาสมัครแรงงาน
เว็บไซต์ไทยรัฐ (
16 เม.ย. 53) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เสริมสร้างความรู้ให้กับอาสาสมัครแรงงาน เพื่อเป็นเครือข่ายในการนำข้อมูลข่าวสารและบริการของกระทรวงแรงงานไปสู่ประชาชนในพื้นที่นายธัชชัย อุราสุขแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดโครงการเสริมสร้างความรู้ด้านแรงงานสำหรับอาสาสมัครแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครแรงงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจภารกิจของกระทรวงแรงงาน และเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาสาสมัครแรงงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้แก่อาสาสมัครแรงงาน ในการนำข้อมูลข่าวสารและบริการไปสู่ชุมชนในพื้นที่ ทำให้ประชาชนได้มีช่องทางในการรับทราบข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงแรงงานโดยตรง เนื่องจากอาสาสมัครแรงงานเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่มากที่สุด
รถไฟอุบลฯ เพิ่มขบวนรถฟรีรับแรงงานกลับกรุงเทพฯ
ผู้จัดการ (
17 เม.ย. 53) - อุบลราชธานี -รฟท.สั่งเพิ่มขบวนรถไฟฟรีสายอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ วันละ 2 เที่ยว รับแรงงานที่กลับเที่ยวสงกรานต์ได้ทั้งหมด พร้อมหอบหิ้วข้าวสารอาหารแห้ง เผยหัวรถจักรเสียที่ จ.นครราชสีมากว่า 3 ชั่วโมง ด้านบขส.อุบลฯเพิ่มรถอีกวันละ 30-50 เที่ยว บรรยากาศการเดินทางกลับไปทำงานกรุงเทพฯ ที่สถานีรถไฟ จ.อุบลราชธานี มีแรงงานที่ต้องการเดินทางกลับจำนวนมาก โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สั่งเพิ่มขบวนรถจากเดิมปกติวันละ 7 ขบวน เป็นวันละ 9 ขบวน จำนวนนี้เป็นขบวนรถไฟฟรีเที่ยวเช้าเวลา 08.45 น. และเที่ยวค่ำเวลา 19.45 น. อย่างละ 1 ขบวน ที่ผ่านมายังไม่ปัญหาผู้ใช้บริการตกค้าง แต่สำหรับวันนี้ ปรากฏว่าขบวนรถไฟฟรีเที่ยวเช้ามีความล่าช้าเกือบ 3 ชั่วโมง เนื่องจากหัวรถจักรใช้ลากขบวนรถเสียที่สถานีหินดาด
อ.จักรราช จ.นครราชสีมา ช่างต้องนำรถหัวจักรใหม่ไปเปลี่ยน เพื่อให้สามารถเดินทางมาส่งผู้โดยสารที่สถานีปลายทาง จ.อุบลราชธานี และรับผู้โดยสารที่ตกค้างเดินทางกลับไปกรุงเทพฯต่อไป ทั้งนี้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ ได้นำสัมภาระเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง กลับไปด้วย เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ใช้จ่ายเงินเที่ยวฉลองสงกรานต์ไปจำนวนมาก จึงนำอาหารไปกินระหว่างกลับไปทำงาน เพื่อรอเงินเดือนออกในสิ้นเดือนนี้ ด้านสถานีขนส่งรถโดยสารประจำทาง จังหวัดอุบลราชธานี มีแรงงานและครอบครัวทยอยเดินทางมาซื้อตั๋ว โดยปริมาณผู้ใช้บริการเดินทางกลับหนาแน่น สถานีขนส่งได้เพิ่มรถโดยสารประจำทางจากปกติอีกวันละ 30-50 เที่ยว ไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 18 เม.ย.นี้ ส่วนมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากผู้ควบคุมรถ เจ้าหน้าที่ขนส่งได้ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โชเฟอร์ทุกคน
กรมการจัดหางาน เผย แรงงานไทยกว่า 10 ราย ถูกเรียกขึ้นศาลในไต้หวัน ข้อหานำเข้าหรือพกพายาแก้ปวด
สำนักข่าวแห่งชาติ (17 เม.ย. 53)
- รอง อธิบดีกรมการจัดหางาน ระบุ แรงงานไทยกว่า 10 ราย ถูกเรียกขึ้นศาลในไต้หวัน ข้อหานำเข้าหรือพกพายาแก้ปวด เตือนแรงงานไทยและญาติ อย่าพกพายาแก้ไข้หวัดไปทำงานในไต้หวัน เกรงถูกดำเนินคดีหากตรวจพบว่ามีสารต้องห้าม
นายสุภัท กุขุน รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า มีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในไต้หวันได้รับหมายเรียกไปขึ้นศาลกว่า 10 ราย เพื่อสอบปากคำข้อหานำเข้ายาแก้ปวดและแก้ไข้จำพวกทิฟฟี่ และดีโคเจน แล้วหลายคน เนื่องจากยาเหล่านี้มีส่วนผสมของตัวยาพีพีเอหรือฟีนิลโปรปาโลนามี ซึ่งเป็นยาต้องห้ามที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 ซึ่งสำนักงานอาหารและยาของไต้หวัน เคยประกาศเตือนแรงงานไทย ว่า การนำเข้ายาใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และแรงงานต่างชาติที่เดินทางมาทำงานที่ไต้หวันทุกคน มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว เมื่อเจ็บป่วย ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ จะได้รักษาถูกทาง อย่าซื้อหาหรือให้ญาติพี่น้องส่งยาชุดหรือยาสำเร็จรูปมาให้ เพราะอาจใช้ยาไม่ตรงกับโรค ก่อให้เกิดผลข้างเคียง หรือทำให้อาการลุกลามรุนแรงยิ่งขึ้นได้ อีกทั้งทางการไต้หวันเกรงว่าจะมีการลักลอบขนยาเสพติดเข้าไปจึงได้มีการออก ประกาศเตือน
นายสุภัท ยังกล่าวถึง สาเหตุที่แรงงานไทยถูกออกหมายเรียก ว่า เกิดจากความไม่สะดวกในการไปรักษาที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะคนที่อยู่ตามชนบท ส่งผลให้คนไทยนิยมซื้อหายาสำเร็จรูปหรือยาชุดมาทานกัน นอกจากนี้ ยังนิยมให้ญาติในไทยส่งยาทางไปรษณีย์ไปให้ ดังนั้นเพื่อป้องกันการถูกหมายเรียกจากศาลในไต้หวัน และประเทศอื่นๆที่แรงงานไทยเดินทางไปทำงาน จึงขอเตือนทั้งแรงงานไทยว่าอย่าซื้อหายาทานเองและญาติก็ไม่ควรส่งยาไปให้ ด้วยเช่นกัน ซึ่งเบื้องต้นเจ้าหน้าที่สำนักบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศได้เข้าให้การ ช่วยเหลือทางกฎหมายแล้ว
เล็งเลิกใบขับขี่แรงงานพม่า
มติชน (
18 เม.ย. 53) -  พ.อ.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 (ฉก.ร.25) กองกำลังเทพสตรี กล่าวว่าขนส่งจังหวัดระนอง ออกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่มีหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต กว่า 100 คน ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วขนส่งไม่สามารถออกใบอนุญาตดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่มีมติคณะรัฐมนตรีรองรับจึงจะเสนอให้ยกเลิกใบอนุญาตขับรถที่ขนส่งได้ออกให้กับแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าทั้งหมดในที่ประชุมความมั่นคงจังหวัดระนองประจำเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากกระทบต่อความมั่นคง
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท