Skip to main content
sharethis
ธุรกิจป่วนขาดแรงงาน ร้องรัฐเปิดรับต่างด้าวรอบใหม่
กรุงเทพธุรกิจ (19 เม.ย. 53) -
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รักษาการรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคการผลิตเริ่มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งคำสั่งซื้อสินค้าที่มีเข้ามามาก ขึ้น ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเล เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ มีการคาดการณ์ว่าปี 2553 ภาคอุตสาหกรรมจะขาดแคลนแรงงานประมาณ 300,000 คน
โดยแรงงานที่ขาดส่วนใหญ่อยู่ใน "กลุ่มกึ่งฝีมือ" ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมมาก เท่าที่สอบถามสมาชิก ส.อ.ท.ในอุตสาหกรรมที่ขาดแคลนพบว่า "มีแรงงานลาออกมากกว่า สมัครเข้ามาใหม่"
ส่วนหนึ่งมาจากราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มดี ส่งผลให้แรงงานลาออก เพื่อกลับไปอยู่ภาคการเกษตรมากขึ้น ชาวนาบางพื้นที่พอใจกับราคาข้าวที่รัฐบาลประกันราคาให้ รวมทั้งราคายางพารา ก็เพิ่มสูงมาก ปัจจุบันราคาเกินกิโลกรัมละ 100 บาทแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการกำลังกังวลว่าแรงงานที่กลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะไม่กลับมาทำงานต่อหลังสงกรานต์
นายทวีกิจ กล่าวว่า ช่วงนี้ไม่สามารถหาแรงงานได้ ส่งผลต่อการรับคำสั่งซื้อมาก ที่ผ่านมาบางอุตสาหกรรมได้ให้แรงงานทำงานล่วงเวลา (โอที) เต็มที่แล้ว ระยะสั้นผู้ประกอบการต้องแก้ปัญหาโดยใช้วิธีซับคอนแทรคให้กับเอสเอ็มอี เพิ่มโอที ใช้แรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรจะมีการอนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่ม ขึ้น เพราะยังมีการลักลอบนำเข้าอยู่ มีขั้นตอนและเอกสารมากส่งผลให้มีการลักลอบนำเข้า แรงงานที่ลักลอบนำเข้า คาดหวังว่าจะมีการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบ ใหม่ และได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในไทย ดังนั้น เรื่องนี้ ส.อ.ท.จะขอให้กระทรวงแรงงานเปิดให้การนำเข้าแรงงานเพิ่มขึ้นช่วงหลังเทศกาล สงกรานต์
"ผมว่าอีก 3-5 ปีแรงงานภาคอุตสาหกรรมจะขาดแคลนเพิ่มมากขึ้น เพราะไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดน้อยลง นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ทำให้คนหันไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น"
ดังนั้น ตอนนี้ยังไม่มีเครื่องยืนยันว่าภาครัฐจะไปหาแรงงานป้อนภาคอุตสาหกรรมได้ อย่างไร ผู้ประกอบการควรปรับตัวรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นเอง โดยเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อทดแทนแรงงานที่หายากขึ้น
หากไม่มีการปรับตัวจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมไม่ขยายตัว แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม มีการนำจักรอัตโนมัติมาใช้มากขึ้น แม้ราคาจะสูงถึงเครื่องละ 500,000-800,000 บาท แต่ทำงานได้เท่ากับแรงงาน 6-7 คน ซึ่งจักรอัตโนมัติจะทำงานเหมือนเครื่องจักรและเพียงวางผ้าไว้บนจักร ก็สามารถเย็บเองได้ ทำให้เย็บผ้าได้มากขึ้น จากจักรปกติที่เย็บได้วันละ 500 ชิ้น เพิ่มเป็น 3,500 ชิ้น แต่การลงทุนเปลี่ยนเครื่องจักรดังกล่าว ต้องใช้ต้นทุนสูง อาจเป็นอุปสรรคให้กับเอสเอ็มอี
ส่วนระยะยาวต้องสนับสนุนให้มีการเรียนในระดับอาชีวะมากขึ้น เหมือนในประเทศพัฒนาแล้ว จะสนับสนุนให้ผู้จบอาชีวศึกษาเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และทำงานมีประสบการณ์อย่างน้อย 2-3 ปี จึงจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรี จะดีกว่าให้ผู้เรียนจบปริญญาตรีออกมาแล้วทำงานไม่ได้เหมือนในไทย ซึ่งผู้ว่างงานในไทยส่วนใหญ่เป็นผู้จบปริญญาตรี เพราะไม่ต้องการมาทำงานในโรงงาน ซึ่งจบสาขาที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมไม่ได้ อาทิเช่น การตลาด การโรงแรม การท่องเที่ยว ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรติดตามนักศึกษาที่จบการศึกษาไปแล้ว ว่าได้งานทำกี่คน เพื่อจะได้ประเมินหลักสูตรที่สอนว่าเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่
นายวัลลภ วิตนากร ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ไฮเทค แอพพาเรล จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทต้องรับคำสั่งซื้อเกินกำลังการผลิตประมาณ 40% โดยช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา มีคำสั่งซื้อเข้ามามาก เพราะสต็อกของลูกค้าเริ่มหมดลง แต่บริษัทไม่สามารถปฏิเสธคำสั่งซื้อได้ เพราะทำธุรกิจแบบหุ้นส่วน ซึ่งแตกต่างจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้า (โออีเอ็ม) บริษัทไม่สามารถไปซับคอนแทรคกับผู้ผลิตรายอื่นได้ เพราะลูกค้าตรวจรับรองแล้วจึงย้ายโรงงานผลิตไม่ได้
บริษัทได้ปรับตัวด้วยการปฏิรูประบบการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น มีการปรับปรุงขั้นตอนเตรียมการผลิตให้พร้อมที่สุดก่อนเริ่มกระบวนการผลิต เพื่อลดการสูญเสีย และลดข้อผิดพลาดระหว่างการผลิต ถ้าปรับปรุงส่วนนี้ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างน้อย 30%
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มขาดแคลนแรงงานประมาณ 30,000 คนในปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไม่ดียังหาแรงงานไม่ได้ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นทำให้การหาแรงงานยิ่งลำบากขึ้น หลายโรงงานได้ใช้แรงงานต่างด้าวแก้ปัญหาการขาดแคลน แต่บางโรงงานยังไม่ได้ใช้แรงงานต่างด้าว เพราะมีปัญหาเรื่องพิสูจน์สัญชาติที่หมดเขตไปเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา การพิสูจน์สัญชาติถือว่าเป็นแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เหมาะสมแล้ว แต่เห็นว่าควรเปิดดำเนินการอีก
นายวัลลภ กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ความต้องการแรงงานมากขึ้น แรงงานบางส่วนที่กลับไปอยู่ภาคการเกษตรแล้ว อาจจะมีความรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะถูกปลดเหมือนช่วงต้นวิกฤติเศรษฐกิจหรือไม่ ส่งผลให้ไม่มั่นใจที่จะมาสมัครงาน เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับแรงงาน คาดหลังสงกรานต์จะมีแรงงานส่วนเกินจากภาคการเกษตรเข้ามาสมัครงานในภาค อุตสาหกรรมมากขึ้น
ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการก็พร้อมที่จะรับแรงงานที่ยังไม่มีทักษะเข้ามาทำงาน จะใช้เวลาในการฝึกความชำนาญ 15-21 วัน เพื่อก็จะเริ่มตัดเย็บได้แล้ว และค่อยๆ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
นายผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูป ต้องการให้มีการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งภาครัฐออกระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าวที่ใช้ได้จริง ผู้ประกอบการพร้อมที่จะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยทั้งปลอบและขู่ให้แรงงานต่างด้าวไปพิสูจน์สัญชาติเพื่อจะได้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย
โดยช่วงไตรมาส 2 ผู้ประกอบการยังไม่ต้องการแรงงานต่างด้าวมากนัก เพราะเป็นช่วงที่ส่งออกน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่น โดยผู้ประกอบการจะมีความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาส 3-4 ขณะนี้ เกือบทุกโรงงานจะต้องการใช้แรงงานต่างด้าว
"การที่ภาครัฐห้ามแรงงานที่ขึ้นทะเบียน เปลี่ยนนายจ้างเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อแรงงานมีทางเลือกในการทำงานที่ดีกว่า ก็ควรมีโอกาสไปทำงานที่อื่น" ส่วนการแรงงานต่างด้าวต้อง มีเอกสารจำนวนมากประกอบต่อการขึ้นทะเบียนเป็นเรื่องที่สมเหตุผล แต่ชนกลุ่มน้อยบางส่วนไม่มีประวัติว่าเป็นคนสัญชาติใด เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ยอมรับเป็นพลเมืองของตัวเอง
ภาครัฐควรหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติ ตามที่ทางการกำหนดได้ ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการบางส่วนที่ใช้แรงงานไร้สัญชาติ รัฐบาลควรหารือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหาทางที่ได้ผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์ เนื่องจากแรงงานก็จะมีรายได้ส่งกลับไปประเทศเพื่อนบ้าน และผู้ประกอบการไทยก็จะไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน
สั่งเฝ้าระวังแกนนำเสื้อแดงปลุกผู้ใช้แรงงานร่วมม็อบ
ข่าวสด (19 เม.ย. 53)
- เมื่อวันที่ 19 เม.ย. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ปรึกษา (มค.1) ปรท.ผบ.ตร. สั่งการด่วนที่สุด ถึง ผบช.น. ภ. 1-9 และ ศชต. จากสถานการณ์ด้านการข่าวคาดว่าในวันที่ 1 พ.ค. ซึ่งเป็นวันแรงงานและวันหยุดของผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ จึงเป็นเป้าหมายของแกนนำกลุ่ม นปช.ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดที่จะกระทำการปลุกระดมมวลชน ผู้ใช้แรงงานให้เข้าร่วมในการชุมนุมและเคลื่อนไหวในลักษณะที่เข้าข่ายการ กระทำผิดกฎหมาย และอาจจะก่อให้เกิดเหตุร้ายขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพจึงให้ดำเนินการ จัดชุดติดตามเฝ้าสืบสวนหาข่าวความเคลื่อนไหวของแกนนำกลุ่ม นปช.อย่างใกล้ชิดหากพบการกระทำผิดให้จับกุมดำเนินคดีโดยเฉพาะแกนนำที่เป็น เป้าหมายตามหมายจับ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการ นายจ้าง และผู้ใช้แรงงานทราบถึงข้อเท็จจริงของเหตุการณ์อย่าหลงเชื่อการยุยงปลุกปั่น ด้วยการเข้าร่วมเป็นร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ก.แรงงาน ตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบชุมนุมทางการเมือง
สำนักข่าวไทย (
19 เม.ย. 53) - นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในย่านราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียง ทำให้ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามปกติ และอาจจะต้องปิดกิจการหรือเลิกจ้างลูกจ้างเป็นจำนวนมาก ล่าสุดกรมการจัดหางานได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านการจ้าง งานจากการชุมนุมทางการเมือง (ศชจ.) โดยศูนย์ฯ ดังกล่าวจะทำหน้าที่เฝ้าระวังและเตรียมข้อมูลอุปสงค์/อุปทานด้านการจ้างงาน ตลอดจนกำหนดมาตรการรองรับปัญหาการเลิกจ้าง ทั้งการลงทะเบียนคนหางาน หรือส่งต่อให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานนำไปฝึกทักษะฝีมือเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ยังมีการจัดชุดบริการเคลื่อนที่เร็วจำนวน 2 ชุด เพื่อให้บริการแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ที่ได้รับความเดือดร้อนเร่งด่วนด้วย ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้นายจ้าง สถานประกอบการ และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวมาขอรับบริการที่ ศชจ. ซึ่งตั้งอยู่ภายในศูนย์บริการจัดหางาน (E-Job center) บริเวณกระทรวงแรงงานได้ทุกวันโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2248 7208, 0 2245 2260 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694
ยอดขอตั้งโรงงานใหม่พุ่งรับ ศก.ฟื้น
บ้านเมือง (
19 เม.ย. 53) - นายศุภชัย ศิริวัฒนเจริญชัย รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ยอดตัวเลขการอนุญาตให้ตั้งโรงงานใหม่ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 มีจำนวน 150 โรงงาน เงินลงทุนประมาณ 16,859,241,090 บาท จ้างแรงงานประมาณ 3,670 คน สำหรับการอนุญาตให้ขยายกิจการโรงงานมีจำนวน 77โรงงาน คิดเป็นเงินลงทุน 12,895,009,236 บาท จ้างแรงงานประมาณ 12,775 คน ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น จึงได้มีการตั้งกิจการและขยายโรงงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการก็มีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สงบ ปัจจุบันจากการประเมินแล้วอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศแย่ ลงกว่า เดิม ขณะที่ก็มีความเป็นห่วงว่าประเทศเพื่อนบ้านจะแซงหน้าเรา เช่น เวียดนาม ถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าจับตา เพราะขณะนี้เร่งพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น และสร้างบรรยากาศการลงทุน และเชื่อว่านักลงทุนก็กำลังพิจารณาตัดสินใจที่จะเข้าไปลงทุนเช่นกัน
ทั้ง นี้ กรอ.มีแนวทางการพัฒนาระบบกำกับดูแลโรงงานมิให้มีผลกระทบต่อชุมชนนั้น ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น 1.การบังคับใช้กฎหมายโดยกระบวนการมีส่วนร่วม โดยการจัดทำรายชื่อโรงงานที่ต้องจัดทำผลกระทบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (EIA) และประเมินความเลี่ยง พร้อมตรวจสอบให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้โรงงานนำเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดใน EIA อย่างเป็นทางการ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนและประชาชนรับฟัง
2.การ พัฒนาระบบเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการระบายมลพิษจาก โรงงานเข้าสู่ศูนย์เฝ้าระวังฯ ตลอดเวลา 3.การพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานให้สมบูรณ์ เพื่อให้เป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดและป้องกันมลพิษประจำโรงงาน ซึ่งจะช่วยให้การประกอบกิจการมีการระบายมลพิษเป็นไปตามมาตรฐาน 4.การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมโรงงานต้องการให้มีฐานข้อมูลระบายมลพิษ รายโรงงาน 5.การตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยโรงงาน และ 6.การสนับสนุนให้โรงงานดำเนินการโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และโครงการสนับสนุนให้โรงงานมีความรับผิดชอบต่อสังคม
แหล่ง ข่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมกล่าวว่า ภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้คาดว่าน่าจะมีความชัดเจน รวมไปถึงข้อสรุปทั้ง 64 โครงการในมาบตาพุดที่เหลือ โดยขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีโครงการที่เดินหน้าต่อไปได้แล้วจำนวน 29โครงการ เลิกโครงการจำนวน 5 โครงการ และยังคงเหลือโครงการที่ต้องให้คำปรึกษาจากศูนย์ประสานการบริการด้านการลง ทุน (OSOS) ต่อไปจำนวน 42 โครงการ (ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแล้วจำนวน 18 โครงการ)
อย่างไรก็ตาม โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงนั้นมองว่าโครงการดัง กล่าวที่เข้าข่ายรุนแรงมีจำนวนน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ดำเนินการศึกษาสิ่งแวดล้อมมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นเชื่อว่าโครงการที่ยังไม่มีความชัดเจนขณะนี้น่าจะมีสัญญาณไปในทางที่ ดีต่อการลงทุนในเร็วๆ นี้
ใช้ประกันสังคม ช่วยแรงงาน ผลกระทบชุมนุม
ไทยรัฐ (20 เม.ย. 53) -
เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวก่อนประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงผลกระทบของผู้ใช้แรงงาน 13, 000 คน การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า จะมีมาตรการเข้าไปช่วยเหลือการจ่ายค่าแรง ซึ่งจะมี 2ส่วนที่จะมารองรับ ประกอบด้วย ประกันสังคมที่เป็นการจ่ายเพราะหยุดงานชั่วคราวโดยจ่ายตามหลักการว่างงาน และงบประมาณที่มาจากรัฐบาล ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่มีก็ต้องใช้งบฉุกเฉิน ยังไม่มีตัวเลขว่าจะจ่ายเท่าไร เพราะยังไม่รู้ว่าจะมีการชุมนุมจะอยู่ถึงกี่วัน
เมื่อถามว่าแสดง รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยแทนเอกชน ใช่หรือไม่ นายไพฑูรย์ กล่าวว่า ใช่แต่ยังไม่มีตัวเลขว่าจะจ่ายให้เท่าไร ซึ่งจะต้องมีการสำรวจว่าการชุมนุมจะอยู่ถึงกี่วัน ส่วนการสร้างงานให้กับคน 13,000 คนที่ว่างงานนั้น ไม่ต้องห่วงเพราะปัญหาเรื่องนายจ้างขาดลูกจ้างมีจำนวนมาก แต่อาจจะชะงักไปบ้างเพราะมีการชุมนุม
นายไพฑูรย์ กล่าวว่า ได้พูดคุยกับนายจ้างว่าเมื่อปีที่แล้วเราได้รับผลกระทบจากการที่ ไม่มีการสั่งออเดอร์ แต่ปีนี้มีการสั่งออเดอร์มาก เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่อาจได้รับผลกระทบทางการเมืองก็ขอให้นายจ้างบอกกับลูกจ้างว่าขอให้อยู่ใน ความสงบอย่าเข้าไปร่วมการชุมนุมเพราะหากเกิดเหตุการณ์แบบวันที่ 10 เม.ย. จะทำให้มีผลกระทบถึงนายจ้างที่สั่งออเดอร์มาว่าอาจจะไม่ได้ของตามที่ต้อง การ ถ้าหากไม่ร่วมมือหรือไปสนับสนุนการชุมนุมตามที่มีการสืบ ก็ต้องมีการเชิญมาชี้แจง แต่หากลูกจ้างมีเวลาว่างอย่างในเวลากลางคืนก็ห้ามเขามาชุมนุมไม่ได้ ส่วนแรงงานต่างด้าวที่จะมาชุมนุมตนเชื่อว่าคงไม่มี เพราะนายจ้างต้องเสี่ยงมากเพราะถ้าถูกจับได้ก็ต้องผลักดันออกนอกประเทศ เมื่อถามว่ามีการจ้างให้มาชุมนุม นายไพฑูรย์ กล่าวว่า คงไม่มี ถ้ามีก็น้อยมาก
วันเดียวกัน นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ปทุมวัน ว่าขณะนี้มีสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่บริเวณราชดำริ เพลินจิต แล้วจำนวน 3,395 แห่ง ลูกจ้าง 63,601 คน และข้อมูล ณ วันที่ 20 เม.ย. มีโรงแรมปิดกิจการแล้ว 7 แห่ง ห้างสรรพสินค้า 8 แห่ง ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่ง 30 สาขา
สำหรับ มาตรการของกรมสวัสดิการฯ นั้นได้แต่แนะนำให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามปกติ ต้องใช้หลักแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งนายจ้างได้ปฏิบัติตัวได้ดีมาก ไม่มีการเลิกจ้าง ไม่มีการร้องเรียนเรียนจากลูกจ้างในกรณีนี้ เข้าใจว่าเป็นการชั่วคราว ขอแนะนำให้เจ้าของประกอบการได้เปิดโอกาสให้ลูกจ้างใช้สิทธิ์หยุดลา พักผ่อนตามสิทธิ์ตามกฎหมาย ซึ่งสามารถลาได้ถึง 6 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้นตามการตกลงระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง นอกจากนี้หากลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและไม่ได้รับค่าชดเชยขอให้มาร้องเรียนที่ กรมสวัสดิการฯได้ มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจำนวนกว่า 300 ล้านบาท ช่วยเหลือในเบื้องต้น
ด้านนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางานได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาด้านการจ้างงาน อันเนื่องมาจากการชุมนุมของการเมือง โดยทำการสำรวจผู้ที่อยู่ในข่ายประสบปัญหาเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือ โดยตั้งเป็นศูนย์วัน สต็อป เซอร์วิส ซึ่งกระบวนการโดยคนที่ถูกเลิกจ้างก็สามารถมาแจ้งเพื่อขอรับสิทธิประกันสังคม หางานใหม่ และหากสนใจตำแหน่งงานอื่นๆ แต่ยังไม่มีทักษะ กรมการจัดหางานจะส่งต่อไปยังกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อฝึกอาชีพเข้าสู่ ตำแหน่งงานต่อไป
"ตำแหน่งงานที่เรามีอยู่ตอนนี้กว่า 100,000 อัตรา ในตำแหน่งงานนี้มีตำแหน่งงานทางด้านบริการ โรงแรม ห้างสรรสินค้าประมาณ 20,000 อัตรา เราพร้อมรับอยู่แล้ว ถูกเลิกจ้างเมื่อไหร่ขอให้มาที่เราเลยที่ศูนย์ E-JOB กระทรวงแรงงาน" นายจริศักดิ์ กล่าว
สำหรับสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ขณะนี้ โรงแรมจำนวน 13 แห่ง ห้างสรรพสินค้าใหญ่ 5 แห่ง ร้านค้าประกอบการย่อยประมาณ 400 แห่ง มีลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจำนวน 14,000 คน แต่คิดว่าคงไม่ยืดเยื้อและคิดว่านายจ้างน่าจะประคองไปได้ประมาณ 2 เดือน เพราะเท่าที่หารือกับสมาคมค้าปลีก ทราบว่าขณะนี้ยังไม่มีการเลิกจ้าง ยังคงประคองไปได้ มีแต่เพียงการปิดกิจการจ่ายเงินให้พนักงานตามปกติ หากเหตุการณ์เลวร้ายลงทางกระทรวงแรงงานก็อาจจะมีมาตรการช่วยเหลือ โดยรวบรวมข้อมูลเสนอที่ประชุม ครม. ออกมาตรการพิเศษ เช่น การลดเงินสมทบประกันสังคม กองทุนกู้ยืม เป็นต้น
รบ.เผยแดงปิดราชประสงค์ 17 วัน ลูกจ้างเดือดร้อนเกือบ 2 แสนคน
มติชน (20 เม.ย. 53)
- ที่ ร.11 รอ. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า กระทรวงแรงงานได้เสนอรายชื่อสถานประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ของคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสถานประกอบกิจการทั้งหมด เขตปทุมวัน 7,012 แห่ง มีลูกจ้างทั้งหมด 114,704 คน สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบในบริเวณถนนพระราม 1 ถนนราชดำริ และถนนเพลินจิต 3,395 แห่ง มีลูกจ้างทั้งหมด 63,601 คน ทั้งนี้ มีสถานประกอบการที่หยุดให้บริการชั่วคราว แบ่งเป็นโรงแรม 13 แห่ง ห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งจำนวน 30 สาขา และสถานประกอบกิจการอื่นๆที่อยู่ภายในบริเวณห้างซึ่งจำเป็นต้องหยุดกิจการ ทั้งหมด
ขณะที่ นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้เสนอมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.ชี้แจงแนะนำให้นายจ้างจ่ายค่าค้างให้แก่ลูกจ้างตามปกติ 2.แนะนำให้นายจ้างให้ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี หรือลากิจ หรือลาหยุดเป็นกรณีพิเศษ 3.แนะนำให้นายจ้างใช้หลักแรงงานสัมพันธ์ในการปรึกษาหารือกับลูกจ้างเพื่อทำ ความตกลงกับลูกจ้างในการจ่ายค่าจ้างตามความสามารถในการจ่ายของนายจ้างโดย คำนึงถึงความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว และ 4.กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 สามารถยื่นคำร้องหรือแจ้งให้กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 1-10 หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามหมายเลข 1546
สหพันธ์แรงงานโรงแรมภูเก็ต เรียกร้องผลักดัน ILO ปรับคุณภาพชีวิตคนงาน
Phuket index (20 เม.ย. 53)
- ที่ห้องทำงานรองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต ได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ผ่านนายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
นายวิจิตร กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อเรียกร้องในระดับชาติขององค์กรแรงงานต่าง ๆ ในประเทศไทย คือ การเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลัก 2 ฉบับ ในทั้งหมด 8 ฉบับ ที่ประเทศสมาชิกของ ILO ต้องให้สัตยาบันรับรอง ซึ่งอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของผู้ใช้แรงงาน คือ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องการรวมตัวร่วมเจรจาต่อรอง
ซึ่งทั้ง 2 ฉบับนี้รัฐบาลไทยยังไม่ให้สัตยาบันรับรอง และเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีข้อจำกัดในการรวมตัว จัดตั้งเป็นองค์กรของคนงานและมีข้อจำกัดในการเจรจาต่อรอง ทำให้มีผู้ใช้แรงงานจำนวนมากที่เป็นแกนนำในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรแรงงานถูก เลิกจ้าง ส่งผลให้การรวมตัวของผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยอยู่ในจำนวนที่ต่ำมากหรือ ประมาณ 500,000 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.4 จากกำลังแรงงานทั้งหมดประมาณ 35 ล้านคน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว เครือข่ายองค์กรแรงงานต่าง ๆ ในนามของคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง, สหพันธ์แรงงาน, กลุ่มสหภาพแรงงาน, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และสมาชิกสหพันธ์แรงงานระดับสากล (GUF) จึงได้จัดทำข้อเรียกร้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในการให้รัฐบาลให้ สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 โดยด่วนที่สุด เพื่อประกาศต่อพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ทราบโดยทั่วกันในวันกรรมกรสากลปี 2553 (1 พฤษภาคม 2553)
นายวิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การให้สัตยาบันจะเป็นการเปิดโอกาสให้คนทำงานทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงสิทธิ ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ได้ ซึ่งจะนำสู่การเรียกร้องปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น อีกทั้งจะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการถูกมองว่าเป็นประเทศที่ยอมรับให้มีการ ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงานด้วย
รมว. แรงงาน ระบุ หากการชุมนุมย่านราชประสงค์ยืดเยื้อ ต้องพิจารณามาตรการช่วยเหลืออีกครั้ง
สำนักข่าวแห่งชาติ (20 เม.ย. 53)
- รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุ มาตรการช่วยเหลือลูกจ้างย่านราชประสงค์เป็นเพียงมาตรการเบื้องต้น ซึ่งหากการชุมนุมยืดเยื้อต้องพิจารณาอีกครั้ง
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการช่วยเหลือลูกจ้างสถานประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์ ว่า เบื้องต้นได้ให้สถานประกอบการที่มีสาขา ย้ายลูกจ้างไปยังสาขาอื่น ส่วนกรณีที่ไม่มีสาขาให้จ่ายเงินเดือนในอัตราร้อยละ 75 และรักษาสภาพการจ้างงานไว้ แต่หากสถานประกอบการใดไม่สามารถจ้างแรงงานได้ต่อ ให้ลูกจ้างมาลงทะเบียนกับกรมการจัดหางาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป แต่หากการชุมนุมยังยืดเยื้อจะพิจารณาความช่วยเหลืออีกครั้ง
 
นำเข้าแรงงานพร้อมตรวจสัญชาติล็อตแรก-ยันไม่เปิดรอบใหม่
กรุงเทพธุรกิจ (
21 เม.ย. 53) - จากกรณีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดรับแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ช่วงหลังสงกรานต์ เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งคาดการณ์ว่าปี 2553 จะขาดแคลนแรงงานถึง 300,000 คน ประกอบกับคาดว่าแรงงานกลับภูมิลำเนาช่วงสงกรานต์จะไม่กลับเข้ามาทำงาน จะเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้รุนแรงมากขึ้นนั้น
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า หลังจากการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานถึงกรณีดังกล่าว ล่าสุด รมว.แรงงาน(นายไพฑูรย์ แก้วทอง) มีคำสั่งให้กรมจัดหางานเพิ่มช่องทางนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าถูกต้อง ตามกฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนช่วงนี้ โดยให้ดำเนินการควบคู่ไปกับการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ได้ยื่น ความจำนงค์ไว้แล้วก่อนหน้านี้ ส่วนแนวทางที่จะเปิดรับแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ตามที่ ส.อ.ท.เสนอมานั้นยืนยันไม่มีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่แน่นอน ตัวเลขขาดแคลนแรงงาน 300,000 คนของส.อ.ท.เป็นตัวเลขชุดเดียวกันกับแรงงานต่างด้าวที่หายไป 300,000 คน ที่ไม่มายื่นขอพิสูจน์สัญชาติช่วงที่ผ่านมา จากยอดที่ขอจดทะเบียนกับทางกรมการปกครองทั้งหมด 1.3 ล้านคน ซึ่งกรมจัดหางานหาทางช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ ให้สามารถเข้ามาทำงานโดยใช้ระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าวดังกล่าว เบื้องต้นได้ติดต่อนำเข้าแรงงานจากพม่าแล้วประมาณ 20,000 คน
"เรายืนยันว่าไม่เปิดรอบใหม่แน่นอน แต่จะใช้วิธีการนำเข้าแรงงานควบคู่กับการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน ซึ่งวิธีนี้จะส่งผลดีกับผู้ประกอบการที่จะได้แรงงานคนเดิมกลับมาทำงาน เพียงแค่แจ้งความประสงค์ว่าต้องแรงงานคนเดิมเท่านั้น"
นายจิรศักดิ์ กล่าวต่อว่า กระบวน การนำเข้าแรงงานต่างด้าวด้วยวิธีนี้ นายจ้างต้องมาแจ้งความประสงค์ว่าจะจ้างแรงงานต่างด้าวชุดเดิมที่มีอยู่ โดยให้นายจ้างส่งแรงงานต่างด้าวดังกล่าวกลับประเทศต้นทาง พร้อมแจ้งรายชื่อต่างด้าวชุดเดิมมายังกรมการจัดหางาน โดยที่กรมการจัดหางานจะแจ้งรายชื่อความต้องการไปยังประเทศต้นทาง เพื่อให้มีการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายต่อไป
ขณะที่ตัวเลขความคืบหน้าการพิสูจน์ สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 70,000 คน โดยอัตราการให้บริการรวมทั้ง 3 ด่าน เพิ่มจาก 600 คน เป็น 1,000 คนต่อวัน ทั้งนี้กระทรวงแรงงานได้ประสานขอเพิ่มเจ้าหน้าที่ของทางการพม่า เพื่อมาให้บริการการพิสูจน์สัญชาติให้เพียงพอกับจำนวนการพิสูจน์สัญชาติที่ เพิ่มขึ้นในแต่ละวันด้วย
เชียงใหม่/ไฟไหม้หอพักแรงงานข้ามชาติชาวพม่ากลางเมืองเชียงใหม่วอด ชี้สาเหตุยังระบุไม่ได้
ประชาธรรม (
22 เม.ย. 53) - รายงานข่าวแจ้งว่าในรุ่งสางของวันที่ 21 เม.ย. ที่ผ่านมา ได้เกิดไฟไหม้ที่หอพักบริเวณหลังโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีแรงงานข้ามชาติพักอาศัยอยู่ประมาณ 40 คน และคนไทยอีก 3 คน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้แรงงานข้าม ชาติ 2 คนได้รับบาดเจ็บ โดยขณะนี้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว 1 คน ส่วนอีก 1 คนได้รับบาดเจ็บสาหัส ยังรับการรักษาในห้องไอซียู
อัคคีภัย ครั้งนี้ทำให้แรงงานข้ามชาติกลุ่มดังกล่าวผู้เข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำมาหา เลี้ยงชีพและส่งเงินกลับไปยังครอบครัวในประเทศพม่า ต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เงิน ทอง เครื่องประดับอัญมณี โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ล้วนถูกเผาไหม้เป็นเถ้าถ่าน รวมทั้งรถจักรยานยนต์ อีก 7 คัน
หน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นได้จัดให้แรงงานข้ามชาติผู้ประสบภัยเข้าพักในวัดเป็นระยะเวลาสัก 2-3 วันนี้ก่อน แต่ก็มิได้ให้บริการทางสาธารณูปโภค หรือเครื่องอุปโภคบริโภคใดๆ แก่แรงงานที่สิ้นเนื้อประดาตัวเหล่านี้เลย ทางมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์หรือมูลนิธิแมพจึงได้จัดหาอาหารและน้ำดื่มให้แรงงานกลุ่มนี้ รวมทั้งชุมชนชาวไทใหญ่ก็ได้ช่วยกันบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น นอกจากนั้นชุมชนไทยบริเวณใกล้เคียงจุดเกิดเหตุยังได้ช่วยกันรวบรวมเสื้อผ้ามอบให้กลุ่มแรงงานด้วยความรวดเร็ว
มูลนิธิแมพ ซึ่งได้เคยจัดให้มีการบรรเทาทุกข์อย่างเร่งด่วน แก่แรงงานข้ามชาติชาวพม่าในจังหวัดพังงาผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ รู้สึกผิดหวังที่พบว่าองค์กรท้องถิ่นภาครัฐยังคงมิได้มีมาตรการการรองรับที่ ดีขึ้นเพื่อจะให้ประชาชนที่ไม่ใช่คนไทยสามารถเข้าถึงการบรรเทาทุกข์ยามฉุกเฉินหลังประสบอุบัติภัยร้ายแรง
ในขณะนอนหลับพักผ่อนจู่ๆ พวกเขาก็รู้สึกตื่นตกใจเพราะเปลวไฟที่เผาผลาญรวดเร็วอย่างน่าสะพึงกลัว จึงพยายามหนีออกมาให้พ้นเปลวไฟเพื่อรักษาชีวิต แล้ว ก็พบว่าชีวิตของพวกเขาไม่เหลืออะไรอีกแล้ว ทั้งแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทยกลุ่มนี้ต่างยังล้วนอยู่ในอาการประหวั่น พรั่นพรึงด้วยความตกใจกลัวสุดขีด มิหนำซ้ำแรงงานข้ามชาติยังต้องพบเจอปัญหาอุปสรรคต่างๆอีกมากมายกว่าที่พวก เขาจะสามารถเริ่มตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ทางกรมการจัดหางานจึงต้องคัดสำเนาเอกสารให้แรงงานข้ามชาติที่บัตรอนุญาตทำ งานหายไปกับกองไฟเพื่อจะสามารถกลับไปทำงานได้ดังเดิม อีกทั้งแรงงานกลุ่มนี้ยังต้องหาที่พักใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายเลยสำหรับแรงงานข้ามชาติจำนวน 40 คน ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ไม่มีเงินติดตัวเลยแม้แต่บาทเดียว ส่วนสาเหตุของไฟไหม้ครั้งนี้นั้น ยังไม่สามารถระบุได้
นายจ้างลูกจ้างทยอยขอรับความช่วยเหลือจาก ศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองแล้วกว่า 63 ราย
สำนักข่าวแห่งชาติ (22 เม.ย. 53) -
นางสาวส่งศรี บุญบา รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงการเปิดศูนย์ศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการ เมือง หรือ ศชจ. ของผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานในพื้นที่การชุมนุมตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมาว่า ล่าสุดจนถึงเช้าวันนี้ มีผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมฯมาขอรับความช่วยเหลือแล้วทั้งหมด 63 ราย แบ่งเป็นนายจ้าง 24 ราย และลูกจ้าง 39 ราย โดยนายจ้าง ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการประเภทร้านขายเสื้อผ้า ร้านอาหาร และค้าขายอิสระ ซึ่งไม่สามารถเข้าไปประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหา เรื่องการจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างระหว่างหยุดทำการ ส่วนลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างในกิจการค้าขาย โรงแรม และศูนย์การค้า ประสบปัญหา ถูกนายจ้างให้หยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง หรือจ่ายไม่เต็มจำนวน และบางส่วนขาดรายได้ในการเลี้ยงชีพ ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างต่างขอทราบนโยบาย และขอรับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การขอให้ช่วยเหลือในการจ่ายค่าจ้าง ค่าเช่าพื้นที่ และขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า การช่วยเหลือในส่วนของการให้หยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเข้าไปช่วยเจรจาโดยใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ ส่วนเงินอุดหนุนในด้านต่างๆ จะรวบรวมรายชื่อและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบให้ชัดเจน ก่อนนำเสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยบูรณาการในการแก้ปัญหา โดยอาจของบประมาณฉุกเฉินจากรัฐบาล หรือนำเงินในส่วนของเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีกว่า 300 ล้านบาท มาช่วยจ่ายให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างแต่ไม่ได้รับเงินชดเชย สำหรับนายจ้างลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบขอให้แจ้งมาที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้ รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง กระทรวงแรงงานทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ หรือโทรมาที่ 02-2455763-65
คสทร.จี้รัฐช่วยลูกจ้างรับผลกระทบม็อบการเมือง
คม ชัด ลึก (
22เม.ย.53) - นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ความเดือดร้อนของแรงงานที่เกิดจากการชุมนุมเสื้อแดงที่ ราชประสงค์ ได้เริ่มส่งผลกระทบให้เห็นเป็นรูปธรรม นอกเหนือจากแรงงานที่ทำงานในพื้นที่รอบการชุมนุม ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงแล้ว ยังลามไปถึงแรงงานที่อยู่รอบนอกเขตปริมณฑลด้วย โดยเฉพาะสถานประกอบการประเภทสิ่งทอบางแห่ง ล่าสุดมี 2-3 แห่ง เริ่มขอลดสวัสดิการพนักงาน ทั้งโบนัส และค่าจ้าง โดยบริษัทอ้างว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณการเมือง ทำให้ยอดสั่งซื้อต่างประเทศลดลง ไม่มั่นใจสถานการณ์ ซึ่งยังไม่นับรวมถึงสถานประกอบการที่ไม่มีสหภาพแรงงาน ที่ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ อาจจะถูกเอาเปรียบจากนายจ้างมากกว่านี้ ซึ่งเราไม่มีข้อมูลส่วนนี้
“เราได้รับข้อมูลจากสหภาพแรงงาน2-3 แห่ง ว่าในการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้างนั้น ทางฝั่งนายจ้างได้ขอลดสวัสดิการเรื่องโบนัส และค่าจ้างลง โดยอ้างเหตุผลการชุมนุมการเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้ออเดอร์ลด ต่างชาติไม่มั่นใจ ขณะที่สถานประกอบการที่ผลิตสินค้าประเภทเสื้อผ้าป้อนให้กับร้านค้าในพื้นที่ ชุมนุมก็บอกว่าขณะนี้ไม่มีออเดอร์เข้ามาเลยตั้งแต่มีการชุมนุม” นางสาววิไลวรรณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทาง คสรท.มีความเป็นห่วงแรงงานที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ที่อยู่รอบพื้นที่การชุมนุม เพราะแรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างในร้านค้าเล็กๆ ไม่มีสวัสดิการเหมือนกับพนักงานบริษัท ซึ่งไม่มีความมั่นคงในการทำงาน และหากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไป ผลพวงของปัญหาก็จะขยายเป็นวงกว้าง กระทบเป็นลูกโซ่ เพราะคนเหล่านี้มีภาระทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ บางคนก็กำลังหาค่าเทอมให้ลูก ซึ่งก็ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว
นางสาววิไลวรรณ กล่าวอีกว่า อยากให้รัฐบาลตั้งศูนย์ช่วยเหลือเฉพาะกิจขึ้นมาเยียวยาแรงงานแต่ละกลุ่มให้ ชัดเจน แยกประเภทแรงงานที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือก่อนหลัง อยากเห็นมาตรการที่ออกมาเป็นรูปธรรม เพราะขณะนี้แรงงานยังรอความช่วยเหลืออยู่
ด้านนายสมบูรณ์ นำทิพย์จันทาเจริญ ประธานกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสุจริตที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมทางการ เมือง(สดช.)กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ขณะนี้กลุ่มได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก แม้ทางภาครัฐโดยกระทรวงแรงงานจะจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก การชุมนุมคนเสื้อแดงย่านราชประสงค์ แต่ก็ไม่มีผู้ได้รับผลกระทบกล้าเข้ามาขอรับการช่วยเหลือ เนื่องจากเกรงกลัวว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย
ขณะที่นางสาวส่งศรี บุญบา รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงความคืบหน้าหลังจากเปิดศูนย์ศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการ ชุมนุมทางการเมือง(ศชจ.) ของผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานในพื้นที่การชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา ว่า จนถึงขณะนี้มีผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมฯเข้ามาขอรับความช่วยเหลือแล้ว ทั้งหมด 63 ราย โดยแบ่งเป็นนายจ้าง 24 ราย และลูกจ้าง 39 ราย
ทั้งนี้ นายจ้างส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการประเภทร้านขายเสื้อผ้า ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านเบเกอรี่ และค้าขายอิสระ ซึ่งประสบกับความเดือดร้อน ไม่สามารถเข้าไปประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่มีรายได้ ที่จะนำมาจ่ายค่าเช่าพื้นที่ และจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง ในช่วงระหว่างที่ต้องหยุดทำการ ซึ่งเจ้าของกิจการส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย เหล่านี้ เพราะไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้อีกแล้ว
ส่วนกรณีลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบและขอความช่วยเหลือเข้ามา แบ่งเป็นลูกจ้างร้านค้าย่อยทั่วไป 22 ราย เป็นพนักงานในศูนย์การค้า 12 ราย และ เป็นพนักงานโรงแรม 5 ราย ส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกนายจ้างให้หยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง หรือจ่ายไม่เต็มจำนวน ทำให้แรงงานเหล่านี้ขาดรายได้ในการเลี้ยงชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาขอข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาล หรือบางรายก็ขอเงินช่วยเหลือในการลงทุนหลังถูกเลิกจ้าง และบางส่วนขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า จากนี้จะทางกรมจัดหางานจะรวบรวมรายชื่อและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดเร่ง เสนอผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง เพื่อพิจารณาในเรื่องของงบประมาณ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะออกมาตรการช่วยเหลือใน กลุ่มผู้เดือดร้อนต่างๆ พร้อมกันนี้ ได้เสนอฝ่ายนโยบายให้พิจารณาเห็นชอบในการตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ที่จะทำงานในลักษณะวันสต็อปเซอร์วิส สามารถเข้าไปให้บริการแรงงานที่ได้รับความเดือดร้อนได้รวดเร็ว ซึ่งจะต้องใช้เจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับนายจ้างลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบขอให้แจ้งมาที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้ รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง กระทรวงแรงงานทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ หรือโทรมาที่ 02-2455763-65
ด้านนายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีหากมีพนักงานถูกเลิกจ้างและนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ก็สามารถขอใช้สิทธิ์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่มีกว่า 300 ล้านบาทของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการช่วยเหลือ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดูว่าในกรณีลูกจ้างที่บริเวณแยกราชประสงค์เข้าข่าย หลักเกณฑ์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือไม่ แต่หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ กระทรวงแรงงานก็จะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อพิจารณาว่าเงินดังกล่าวจะนำมาใช้เพื่อรักษาสภาพการจ้างงานของลูกจ้างใน เหตุสุดวิสัยได้หรือไม่ แต่ถ้าไม่ได้ก็จะต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในการของบกลาง จากรัฐบาลเข้ามาเยียวยาแทน
นายสมชาย ยังกล่าวอีกว่า หากการชุมนุมยืดเยื้อนายจ้างที่ขาดสภาพคล่องก็ขอให้แจ้งมาที่กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เพื่อขอใช้มาตรา 75 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในการจ่ายค่าจ้างร้อยละ75 ของอัตราเงินเดือน โดยที่ลูกจ้างไม่ต้องทำงาน อีกทั้งรัฐบาลได้มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหามาตรการช่วยเหลือผู้ ประกอบการอีกทางหนึ่งแล้ว
สหภาพชินเอรุกผู้ว่าฯ ดันสิทธิแรงงาน
koratdaily (23 เม.ย. 53) -
 สหภาพชินเอ-ไฮเทค ร่วมผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง เพื่อความเท่าเทียมนายจ้าง-ลูกจ้าง บีบนายกฯไฟเขียว ๑ พ.ค.นี้ ด้านองค์กรนายจ้างหวั่นการรวมตัวของแรงงานต่างด้าว หากอนุสัญญาผ่าน
เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ นายสมพร รดจันทร์ และกรรมการสหภาพชินเอ-ไฮเทค เขตอุตสาหกรรมสุรนารี ยื่นหนังสือแก่นายประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา โดยมีนางอัษฎาลักษณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา ร่วมรับเรื่อง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ILO (International Labour Organization องค์การแรงงานระหว่างประเทศ) ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว เพื่อเจรจาต่อรอง ให้ลูกจ้างมีสิทธิในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน มีสิทธิในการเจรจาต่อรองอย่างมีศักดิ์ศรี ให้ได้รับการยอมรับจากนายจ้าง และรัฐบาลอย่างเท่าเทียม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานดำเนินไปอย่างเป็นธรรม ตามที่คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ อันประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง, สหพันธ์แรงงาน, กลุ่มสหภาพแรงงาน, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, สหภาพแรงงาน และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานต่างๆ ได้หารือกันเพื่อจะเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมกัน ในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ โดยมีพื้นที่ตอบรับในการร่วมรณรงค์แล้ว ๕ พื้นที่ ๒๖ จังหวัด เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานต่อรัฐบาล ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้มีการให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ โดยมีข้อเรียกร้องให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ในวันกรรมกรสากลปี ๒๕๕๓
นางอัษฎาลักษณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา สวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ในกรณีที่ตัวแทนลูกจ้างสหภาพแรงงานชินเอ-ไฮเทค ได้ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีให้มีการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยเรื่องการรวมตัวและการเจรจาของแรงงาน ซึ่งผู้ว่าฯ มอบเรื่องให้ทางสำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินเรื่องเสนอผ่านขั้นตอนการบริหารในส่วนของสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานฯ และส่งไปยังกระทรวงแรงงานต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่ลูกจ้างและแรงงานในประเทศได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ สิทธิเสรีภาพที่ตนเองพึงมี และรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทางกระทรวงแรงงานจัดตั้งคณะทำงานประสานงานขึ้นมาดูแลเรื่องดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ โดยมีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานการทำงาน
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราช สีมา กล่าวอีกว่า การที่คณะทำงานผลักดันการรับรองอนุสัญญาดังกล่าว เรียกร้องให้มีการประกาศรับรองอนุสัญญา ILO ภายในวันที่ ๑ พฤษภาคมนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องระดับสูงในการตัดสินใจประกาศรับรอง แต่การประชุมล่าสุดครั้งที่ ๔ ในที่ประชุมได้มีมติรับรองถึงความพร้อมกับการใช้อนุสัญญา แต่ตนก็ไม่สามารถบอกได้ว่าจะประกาศเมื่อใด เนื่องจากการจะประกาศใช้อนุสัญญาทั้งสองฉบับ ต้องมีการดำเนินการพิจารณาในส่วนอื่นอีกมากมาย เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว เช่น เรื่องของพระราชบัญญัติต่างๆ ซึ่งเมื่อมีความพร้อมในการรับรองก็ต้องมีความพร้อมในส่วนอื่นด้วย เพราะหากเราไม่สามารถทำตามอนุสัญญาได้อย่างครบถ้วน ก็จะมีความผิดเกิดขึ้นตามมา ทั้งนี้ ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทั่วประเทศ จะได้มีการลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องของการใช้สิทธิการร่วมกลุ่มทั้งนายจ้าง และลูกจ้างตามอนุสัญญา เพื่อให้แรงงานทราบถึงสิทธิตามข้อกำหนด ไม่เข้าไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
“เมื่อมีการรับรองอนุสัญญาทั้งสองฉบับคาดว่าจะส่งผลให้สินค้าที่ถูกผลิตออกมามี คุณภาพเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ทางสภาอุตสาหกรรม สมาคมองค์กรนายจ้าง หน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชน ก็ให้ความคิดเห็นว่าควรที่จะมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพราะอนุสัญญาที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบกับพวกเขาโดยตรง ในเรื่องของบทบาทที่ชัดเจนขึ้นของการรวมกลุ่ม การต่อรอง โดยเฉพาะความมั่นคงของการรวมตัวแรงงานข้ามชาติ” นางอัษฎาลักษณ์ กล่าว
นาย เอกลักษณ์ พรหมพันธ์ใจ ประธานสหภาพแรงงานชินเอ-ไฮเทค กล่าวว่า ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยหลายประเทศส่วนใหญ่รับรองอนุสัญญา ILO เพื่อให้แรงงานได้รับสิทธิพื้นฐานอย่างเท่าเทียม แต่ประเทศไทยยังไม่ประกาศรับรอง คิดว่าปัญหาที่ไม่สามารถรับรองได้ คือระบบทุน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งทางคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ก็ได้ดำเนินการผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะหากอนุสัญญานี้ได้รับการรับรอง จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานทั้งในและนอกระบบ ได้รับสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม โดยปราศจากการครอบงำจากส่วนต่างๆ ที่สหภาพบางแห่งประสบอยู่ในขณะนี้ และการรวมกลุ่ม หรือการตั้งสหภาพในประเทศไทยในปัจจุบันมีเพียงแค่ ๓,๐๐๐ แห่ง แต่ระบบอุตสาหกรรมทั้งประเทศของทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนนั้นมีจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นว่า การจัดตั้งสหภาพแรงงานเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากช่องโหว่ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ และการครอบงำจากเจ้าของกิจการโดยเฉพาะบางแห่ง หากลูกจ้างรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสหภาพแรงงานจะถูกไล่ออกทันที หรือหากจัดตั้งได้ก็อาจไม่มีความอิสระอย่างแท้จริง ซึ่งข้อดีของการรวมกลุ่ม และการจัดตั้งสหภาพแรงงาน จะทำให้แรงงานสามารถเจรจาต่อรองกับนาย จ้างอย่างเป็นธรรม เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานได้รับความเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาระบบแรงงานไทยให้มีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่ง
“ปัจจุบัน แรงงานไทยอยู่ในระบบการจ้างงานเพียงร้อยละ ๓๐ ส่วนอีกร้อยละ ๗๐ เป็นแรงงานนอกระบบ ที่ย่อมถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในเรื่องของสวัสดิการ สภาพการจ้างงาน ไม่ต่างจากแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศ ซึ่งถือได้ว่ามาตรฐานแรงงานไทยในขณะนี้อยู่ในอัตราที่ต่ำมาก ซึ่งหากรัฐบาลรับรองอนุสัญญา ๒ ฉบับนี้ จะสามารถรับรองสิทธิการทำงานทั้งแรงงานต่างชาติและแรงงานนอกระบบอย่างครอบ คลุม ผู้ประกอบการกับลูกจ้างก็จะได้รับประโยชน์กันทั้งคู่ คือแรงงานก็จะมีการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพราะได้รับการดูแลและได้รับสิทธิพื้นฐาน ส่งผลให้นายจ้างมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและเอาใจใส่กับงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อหนึ่งที่ทางผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับอนุสัญญานี้ คือผลกระทบในภาคทุนของนายจ้างซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น”
ประธานสหภาพแรงงานชินเอ-ไฮเทค กล่าวอีกว่า หากอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ถูกรับรองก็จะสามารถทำให้คณะทำงานทั้งสภาองค์การลูกจ้าง, สหพันธ์แรงงาน, กลุ่มสหภาพแรงงาน, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, สหภาพแรงงาน และองค์กรพัฒนาเอกชน มีการทำงานเป็นระบบและสามารถต่อยอดการทำงานได้เพิ่มมากขึ้น เพราะหากอนุสัญญาทั้งสองฉบับไม่ถูกรับรองการดำเนินเรื่องอื่นๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ของแรงงานก็เป็นไปได้ยาก ซึ่งหากได้รับการรับรองทางคณะทำงานก็จะสามารถพัฒนาพระราชบัญญัติที่เกี่ยว ข้องกับแรงงานให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับต่อไป และปัจจุบันสถานการณ์บ้านเมืองจะวุ่นวายอาจส่งผลให้การดำเนินเรื่องค่อนข้าง ช้า แต่คาดว่ารัฐบาลน่าจะประกาศรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ใน วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นวันกรรมกรสากล
อนึ่ง บริษัท ชินเอ-ไฮเทค จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๓ เขตอุตสาหกรรมสุรนารี ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ มีพนักงานกว่า ๑,๗๐๐ คน ซึ่งในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ ปลดคนงานเพิ่มอีกกว่า ๖๕๐ คน หลังจากที่เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ มีการปลดคนงานไปแล้ว กว่า ๔๐๐ คน และปลดตามมาอีกกว่า ๓๕๐ คน ซึ่งในเบื้องแรกเจ้าของโรงงานซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นให้เหตุผลว่า ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ยอดการสั่งสินค้าที่เคยได้รับหดหาย แทบไม่เหลือ โดยยอดสั่งสินค้า ลดลงกว่าร้อยละ ๕๐ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๑ ส่งผลให้บริษัทต้องปลดพนักงานฝ่ายผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานะของโรงงาน ประกอบกับทางบริษัท ชินเอ -ไฮเทค จำกัด จะยุบโรงงานจากเขตอุตสาหกรรมสุรนารี ต.หนองบัวศาลา อ.เมืองนครราชสีมาไปรวมไว้ที่เดียวกัน ณ ภายในเขตนวนคร นครราชสีมา แทน(ต.นากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา) ซึ่งที่นวนครฯ มีคนงานกว่า ๙๐๐ คน และทางบริษัทสร้างสาขาอีก ๑ แห่งที่จ.พระนครศรีอยุธยา แต่การก่อสร้างถูกระงับโดยอ้างผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลก ตามที่เสนอข่าวไปแล้ว
ก.แรงงานนำโครงการต้นกล้าอาชีพช่วยแรงงานที่ได้รับผลกระทบเหตุชุมนุม
สำนักข่าวไทย (
23 เม.ย. 53) - นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงฯ สั่งการให้กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน และสำนักงานประกันสังคม เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานและผู้ประกันตนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการ ชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งมีโรงงานและบริษัทหลายแห่งปิดทำการชั่วคราว
นายไพฑูรย์ กล่าวว่า ผู้ประกันตนสามารถลงทะเบียน เพื่อเข้าร่วมโครงการต้นกล้าอาชีพ ซึ่งจะได้รับเบี้ยเลี้ยง วันละ 120 บาท ช่วยลดภาระในการครองชีพได้ เพราะบริษัทบางแห่งจ่ายเงินเดือนพนักงานประมาณร้อยละ 75 ในกรณีหยุดให้บริการชั่วคราว แต่เชื่อว่าคงไม่เพียงพอกับรายจ่ายของบรรดาลูกจ้างที่เดือดร้อน ส่วนลูกจ้างที่อยากเปลี่ยนงานใหม่หรือออกจากงาน สำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้รับภาระจ่ายให้ โดยสามารถติดต่อได้ที่ฮอทไลน์ 1506 และกระทรวงแรงงาน
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานลงนามกับธนาคารพาณิชย์ในโครงการสนับสนุนการจ้างงานในเขตพัฒนา พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกระทรวงแรงงานนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 และให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ที่เป็นนายจ้างร้อยละ 5 ผู้ประกันตนร้อยละ 6 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งโครงการนี้ลงนามกับ 4 ธนาคาร คือ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน ส่วนโครงการสวัสดิการบ้าน สปส. เพื่อผู้ประกันตนลงนามกับ 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอิสลามฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารยูโอบี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วงเงิน 10,000 ล้านบาท ให้กู้ผู้ประกันตน เพื่อซ่อมแซมบ้าน ดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี นาน 5 ปี กู้ได้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อราย
ก.แรงงาน ทุ่มงบ 80 ล้านเยียวยาลูกจ้างตกงานจากเหตุชุมนุม
ช่อง 3 (23 เม.ย. 53)
- ก.แรงงาน ดึงงบประมาณ 80 ล้านบาท จากโครงการต้นกล้า มาช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ทั้งที่ถูกเลิกจ้าง และถูกพักงาน ให้ได้รับเงินชดเชย วันละ 120 บาท
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวหลังเป็นประธานพิธีลงนามโครงการสนับสนุนการจ้างงานในเขตพัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เขตหลักสี่ ว่า กระทรวงแรงงานได้ประสานงานไปยังผู้ประกอบการหลายแห่ง โดยเฉพาะย่านสีลมที่ปิดกิจการ หลังได้รับผลกระทบจากการชุมนุมแล้ว
โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าทุกคนเดือดร้อนและสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล แต่ส่วนใหญ่ยืนยันว่าไม่ได้เลิกจ้างพนักงานเป็นการถาวร โดยให้หยุดพักชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะสงบ ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะยอมจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานหรือลูกจ้างเพียง 75 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม่สามารถจ่ายให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ได้
นายไพฑูรย์ ระบุว่าเห็นใจกับพนักงานที่ส่วนใหญ่ถูกพักงาน และถูกเลิกจ้างงาน ซึ่งการถูกพักงานจะไม่ได้เงินเดือนเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่กระทรวงแรงงานได้หาทางออกที่ดีที่สุดให้ โดยจะดึงงบประมาณจากโครงการต้นกล้า เพื่อฝึกอาชีพมาช่วยเหลือเยียวยาพนักงานทุกคน ที่สามารถมาลงชื่อเข้าโครงการต้นกล้าในการฝึกอาชีพเฉพาะทางที่กระทรวงแรงงาน ได้ทุกวันตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจะได้รับเงินคนละ 120 บาทต่อวัน ถือเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายที่ขาดหายไป
ซึ่งกระทรวงแรงงานยอม จ่ายให้ทุกคน จึงไม่ต้องการให้ทุกคนท้อแท้กับปัญหาว่างงานที่เกิดขึ้น เนื่องจากกระทรวงแรงงานยังมีหนทางแก้ไข และพร้อมที่จะรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ ซึ่งเชื่อว่างบประมาณดังกล่าวน่าจะเพียงพอต่อการช่วยเยียวยาผู้ได้รับผล กระทบอย่างมีประสิทธิภาพ
แรงงานวิกฤติเหตุสถานศึกษาเปิดสอนสาขาซ้ำ
เว็บไซต์ไทยรัฐ (
23 เม.ย. 53) - รศ.ดร.ยงยุทธ์ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการผลิตกำลังคนของประเทศไทยมีปัญหาไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการกำลังและการผลิตกำลังคนของประเทศ เนื่องจากมีการนำข้อมูลความต้องการแรงงานไปใช้ในการกำหนดแผนการผลิตน้อยเกินไป สถาบันหรือสถานศึกษาต่างๆ เลือกผลิตกำลังคนตามขีดความสามารถทางทรัพยากรของตนเอง มีการเปิดสอนในสาขาซ้ำๆ ทำให้มีจำนวนผู้จบการศึกษาออกมามาก แต่มีปัญหาคุณภาพ ทำให้แรงงานส่วนหนึ่งไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ และเกิดปัญหาคนว่างงานไปพร้อมๆ กับการขาดแคลนกำลังคน
ผอ.วิจัยฯ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2551 กลุ่มแรงงานที่จบในระดับปริญญาตรี มีสัดส่วนการว่างงานนสูงกว่าแรงงานในระดับการศึกษาอื่นๆ เพราะผลิตมากเกินความต้องการของตลาดแรงงานในทุกระดับการศึกษาโดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยสะสมทุกปีร้อยละ 30 ของผู้จบการศึกษา ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่องความต้องการแรงงานของสถานประกอบการพ.ศ.2551 พบว่า ระดับปริญญาตรีทุกสาขามีความต้องการทั้งหมด 46,553 คน แต่ยังขาดแคลนอยู่ถึง 29,372 คน ขณะที่มีผู้ว่างงานในระดับนี้ถึง 91.192 คน
"ปัญหาของแรงงานไทยคือ การขาดแคลนแรงงานระดับล่างสุดและแรงงานระดับสูงซึ่งอยู่ในขั้นวิกฤติ จนต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทดแทนทางออกคือต้องเชื่อมโลกการศึกษากับโลกของงานให้เป็นเรื่องเดียวกัน และวางแผนการผลิตกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน" รศ.ดร.ยงยุทธ์ กล่าว
ก.แรงงาน เดินหน้าส่งเยาวชนไทยไปทำงานที่ญี่ปุ่น ตามโครงการไอเอ็มเอ็ม
สำนักข่าวแห่งชาติ (
23 เม.ย. 53) - นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร และเงินทุนในการประกอบอาชีพแก่ผู้ผ่านการฝึกงานตามโครงการ ที่กระทรวงแรงงานร่วมกับสมาคมพัฒนาแรงงานไทยระดับนานาชาติของสถานประกอบการ ขนาดกลางและขนาดเล็กประเทศญี่ปุ่น (ไอเอ็มเอ็ม) เป็นเวลา 3 ปี โดยเป็นผู้ฝึกสำเร็จประจำปี 2549 และ2550 จำนวน 116 คน ว่า แม้ในปีนี้ จะมีผู้ฝึกงานจำนวน 35 คน ถูกส่งกลับประเทศไทยก่อนกำหนด เนื่องจากผู้ประกอบการที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ประธานโครงการไอเอ็มเอ็ม ยืนยันแล้วว่า ในปีหน้า โครงการดังกล่าวยังสามารถเดินหน้าได้ต่อ และไม่จำเป็นต้องลดโควตาผู้ที่จะเดินทางไปฝึกงานในปีต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นแล้ว ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกงานเหล่านี้ จะได้รับเงินทุนในการประกอบอาชีพ จากไอเอ็มเอ็มคนละ กว่า 2 แสนบาท และบางส่วนจะได้รับโอกาสในการทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นในระเทศไทย ส่วนที่เหลือกรมการจัดหางาน ได้เตรียมตำแหน่งงานว่างไว้รองรับ จำนวนกว่า 477 อัตรา ซึ่งส่วนใหญ่มีนายจ้างเป็นชาวญี่ปุ่น
1 พ.ค.วันแรงงานแห่งชาติเปิดมิติใหม่เน้นสมานฉันท์กลมเกลียว ไม่แตกแยก
สำนักข่าวไทย (24 เม.ย. 53) -
เผยคำขวัญวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ “แรงงานไทยเข้มแข็ง ร่วมแรงสามัคคี สดุดีองค์ราชัน” เน้นให้เห็นถึงความสมานฉันท์กลมเกลียวของแรงงานไทย โดยจะร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่แตกแยก ด้านสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งชาติ เตรียมเสนอข้อเรียกร้อง 9 ข้อ ต่อรัฐบาล
ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553 เมื่อเร็ว ๆ นี้ กำหนัดจัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติฯ 1 พฤษภาคม เปิดมิติใหม่สู่ความสมานฉันท์กลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวของแรงงานไทยภายใต้คำ ขวัญ “แรงงานไทยเข้มแข็ง ร่วมแรงสามัคคี สดุดีองค์ราชัน” โดยการนำของกระทรวงแรงงาน ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้าง 12 สภา สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โดยกำหนดให้มีพิธีทางศาสนาในเวลา 07.00 น. ณ ปะรำพิธีบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และเคลื่อนริ้วขบวนจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปตามถนนราชดำเนินเข้าสู่ท้องสนาม หลวง เวลา 11.30 น. พิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยภายในงานยังมีการแสดง การแข่งขันกีฬาของผู้ใช้แรงงาน และเวลา 17.30 น. พิธีมอบถ้วยรางวัลการแข่งขันกีฬา พร้อมพิธีปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553
นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2553 กล่าวถึงข้อเรียกร้องปีนี้มี 9 ข้อ คือ 1.รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง ในกรณีที่สถานประกอบการปิดกิจการ เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน 2.รัฐต้องยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้ของลูกจ้างในกรณีค่าชดเชย และเงินรายได้อื่นๆ ซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้าย 3.รัฐต้องแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตรา 118 ให้ลูกจ้าง จากเดิมอายุงาน 10 ปีขึ้นไป จ่าย 10 เดือน เป็นอายุงาน 10 ปีขึ้นไป เพิ่มอีกปีละ 1 เดือน
4.เรื่องประกันสังคม รัฐต้องขยาย พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 กรณีป่วยเนื่องจากการทำงานให้มีสิทธิการรักษาพยาบาลเหมือนกับผู้ประกันตนใน พ.ร.บ.ประกันสังคม รัฐต้องแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2553 มาตรา 39 กรณีจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนจ่ายเท่าเดียว รัฐต้องแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เป็นอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ 5.รัฐต้องยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2552 และการขายรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ 6.รัฐต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98
7.รัฐต้องประกาศใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 8.รัฐต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ หรือในนิคมอุตสาหกรรมแล้วแต่กรณี โดยให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจกรรมนี้ไปลด หย่อนภาษีได้ และ 9.รัฐต้องตั้งคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานเป็นคณะทำงานติดตามและประสานงานข้อ เรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2553
รมว.แรงงานวอนนายจ้างแจง "ลูกจ้าง" ห้ามร่วมชุมนุมม็อบแดง
มติชน (
24 เม.ย. 53) - นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลังจากที่หลายฝ่ายกังวล ผู้ใช้แรงงานอาจถูกชักจูงเข้าร่วมชุมนุมด้วยว่า ตนเองได้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการว่า อย่าให้ลูกจ้าง โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวไปร่วมชุมนุม เพราะการที่แรงงานต่างด้าวออกนอกพื้นที่เพื่อไปร่วมชุมนุมนั้น ทั้ง 2 ฝ่ายจะถูกตัดสิทธิ์ความเป็นสภาพนายจ้างและลูกจ้าง พร้อมทั้งถูกปรับและดำเนินคดีอาญา
"ส่วนแรงงานที่เป็นคนไทย ซึ่งจะมีการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ในวันที่ 1 พฤษภาคม จนหลายฝ่ายเกรงว่า แรงงานที่เข้าร่วมงานในวันดังกล่าวจะเข้าไปร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. เชื่อว่า จะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากปีนี้ผู้นำสหภาพแรงงานทั้ง 3 แห่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งผิดกับสมัยก่อนที่สหภาพแรงงานแยกออกจากัน จึงทำให้ภาครัฐค่อนข้างหนักใจในการประสานงานหรือขอความร่วมมือ แต่เมื่อในปีนี้ทั้ง 3 กลุ่มรวมตัวกันได้ ทางกระทรวงแรงงาน จึงสนับสนุนงบประมาณจัดงานให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเนื่องในวันแรงงานอย่าง เต็มที่" นายไพฑูรย์ กล่าว
นายไพฑูรย์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้กลุ่มผู้ชุมนุมที่เคยชุมนุมอยู่ใกล้กับถนนราชดำเนิน ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่จัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ได้ย้ายออกจากพื้นที่ไปหมดแล้ว จึงเชื่อว่าปัญหาที่จะเกิดความกระทบกระทั่ง หรือการชักจูงเข้าร่วมชุมนุมจะน้อยลงไป
สปส.-9แบงก์ปล่อยกู้ประกันตน
เดลินิวส์ (24 เม.ย. 53) -
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงฯร่วมกับ 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารยูโอบี ธนาคารออมสิน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดโครงการบ้านสวัสดิการ สปส.เพื่อผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนสามารถกู้เงินเพื่อซ่อมแซม ต่อเติม สร้างบ้าน ซื้อบ้านใหม่ หรือเพื่อไถ่ถอนจำนอง (รีไฟแนนซ์) วงเงิน 10,000 ล้านบาท รายละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ดอกเบี้ย 2.50% คงที่ 5 ปี ผู้สนใจยื่นคำขอสินเชื่อตั้งแต่วันนี้-31 ธ.ค. 53 ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิร่วมโครงการต้องดำรงสถานะตลอดเวลาที่ใช้สิทธิ ตามโครงการ
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อจากโครงการดังกล่าว 3,000 ล้านบาท โดยผู้กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยกู้ได้สูงสุด 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน ในกรณีที่กู้เพื่อสร้างบ้าน ปรับปรุงที่อยู่อาศัยกู้ได้ 100% ของราคาสิ่งปลูกสร้าง และ ผ่อนชำระสูงสุด 30 ปี
ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าของธนาคารทั้งผู้ประกอบการร้านค้า โรงแรม และพนักงานลูกจ้าง บริเวณพื้นที่ราชประสงค์ สีลม และบริเวณใกล้เคียง ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมการเมือง ธนาคารมีมาตรการยืดเวลาชำระหนี้ หรือ ลดการผ่อนชำระต่องวด 40% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะหมดอายุสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ โดยธนาคารอยู่ระหว่างทบทวนมาตรการดังกล่าวด้วยว่าจะยืดเวลาหรือไม่
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ลูกค้าทั่วไปที่ไม่ใช่สมาชิกผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว ธนาคารเตรียมสินเชื่อบ้านบัวหลวง เพื่อที่อยู่อาศัย และรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินอื่น ด้วยอัตราดอกเบี้ย 4 แบบเลือกได้ตามความเหมาะสม วงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป แบบที่ 1 ดอกเบี้ย 2% คงที่ 1 ปี แบบที่ 2 ดอกเบี้ย 3.75% คงที่ 2 ปี แบบที่ 3 ดอกเบี้ยลอยตัว    1 ปี คิดเอ็มแอลอาร์ลบ 3.75% และดอกเบี้ยลอย ตัว 2 ปี คิดเอ็มแอลอาร์ลบ 1.75% หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 0.50% ตลอดอายุสัญญา
สำหรับวงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ธนาคารมี 4 ทางเลือก คือ แบบที่ 1 ดอกเบี้ยคงที่ 2.25% นาน 1 ปี แบบที่ 2 ดอกเบี้ย 4.00% นาน 2 ปี แบบที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว 1 ปี เอ็มแอลอาร์ลบ 3.50% และดอกเบี้ยลอยตัว 2 ปี เอ็มแอลอาร์ลบ 1.50% หลังจากนั้นทุกทางเลือกคิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 0.25% ตลอดอายุสัญญา ส่วนวงเงินกู้อนุมัติตั้งแต่ 500,000-1 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี 3.50% หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ตลอดอายุสัญญา และวงเงินกู้อนุมัติต่ำกว่า 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเอ็มแอลอาร์ตลอดอายุสัญญา ทั้งนี้ธนาคารลดเพิ่มอัตราดอกเบี้ยปีแรกลง 0.25% สำหรับลูกค้าที่สมัครทำประกันชีวิต โฮม เฟิร์สเต็มวงเงิน ระยะเวลากู้ขั้นต่ำ 10 ปี
ก.แรงงาน เตรียมนำงบ 86 ล้านบาท เยียวยาลูกจ้างและสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม
สำนักข่าวแห่งชาติ (24 เม.ย. 53)
- กระทรวงแรงงาน เตรียมนำงบกว่า 86 ล้านบาท เยียวยาลูกจ้างและสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้เตรียมให้ความช่วยเหลือพนักงาน และสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงที่แยกราช ประสงค์ จนทำให้สถานประกอบการหลายแห่งหยุดกิจการชั่วคราว ขาดรายได้ และพนักงานไม่มีงานทำ ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ชุมนุมทางการเมืองด้านการจ้างงาน (ศชจ.) เพื่อรับเรื่องขอความช่วยเหลือ และยังเตรียมนำงบที่เหลือจากโครงการต้นกล้าอาชีพจำนวน 86 ล้านบาท มาช่วยเหลือ หากต้องการฝึกอาชีพเพื่อให้ตรงกับงาน และได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 120 บาท ส่วนผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานทางกรมการจัดหางานจะให้ความช่วยเหลือ สำหรับผู้ประกอบการหากการชุมนุมยืดเยื้อจนนายจ้างขาดสภาพคล่องสามารถแจ้งมา ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อขอใช้มาตรา 75 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างร้อยละ 75 ของอัตราเงินเดือน โดยที่ลูกจ้างไม่ต้องทำงาน อย่างไรก็ตาม หากงบประมาณการช่วยเหลือจากโครงการต้นกล้าอาชีพไม่เพียงพอก็จะรวบรวมยอดผู้ ได้รับผลกระทบเพื่อเสนอของบประมานจากรัฐบาลมาเยียวยา
นายสมชาย กล่าวอีกว่า มีผู้ประกอบการและพนักงานที่ได้รับผลกระทบได้โทรศัพท์ และเดินทางมาลงทะเบียนขอความช่วยเหลือที่ ศชจ. รวม 3 วัน จำนวน 90 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการ 29 ราย และลูกจ้าง พนักงาน 61 ราย ซึ่งล่าสุดสถานการณ์การชุมนุมได้ลุกลามไปจนถึงย่านสีลม ส่งผลให้สถานประกอบการหลายแห่งได้รับผลกระทบ ซึ่งในถนนสีลมมีสถานประกอบการทั้งหมด 1,073 แห่ง ลูกจ้าง 28,066 คน ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจประเภทโรงแรม ร้านอาหาร สำนักงานให้เช่า

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net