Skip to main content
sharethis

เครือข่ายภาคประชาชน 106 องค์กรแถลงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดยิงและหยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เข้าสู่กระบวนการเจรจา โดยพร้อมอาสาเป็นตัวกลางในการเจรจาหาทางออกจากวิกฤต

 

 

แถลงการณ์

ที่ประชุมภาคประชาชน ๑๐๖ องค์กร มีมติให้ทุกฝ่ายหยุดยิง เดี๋ยวนี้
พร้อมยืนยัน กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยคือทางออก
วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓

ที่ประชุมภาคประชาชน ๑๐๖ องค์กร ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติให้ทุกฝ่ายยุติการยิงโดยทันทีและหยุดสงครามกลางเมือง พร้อมยืนยันกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยต้องเป็นอิสระ ไม่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลและ นปช.

ที่ประชุมภาคประชาชน อันประกอบไปด้วยภาคประชาสังคม ๑๐๖ องค์กร ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ คน เชื่อว่าปัญหาวิกฤตของประเทศไทย เป็นความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนาน และขณะนี้ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

ที่ประชุมภาคประชาชน จึงมีมติร่วมกันดังนี้
๑. ให้ทุกฝ่ายหยุดยิงทันที หยุดสร้างเงื่อนไขความรุนแรง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเจรจา
๒. ให้ ศอฉ.ไม่ประกาศเคอร์ฟิว ให้ นปช. พักการชุมนุม หรือย้ายการชุมนุมไปในสถานที่ที่ไม่ส่งผลกระทบ ตลอดจนทหารอย่าฉวยโอกาสทำรัฐประหาร
๓. ให้มีพื้นที่ปลอดภัย (พื้นที่สีขาว) สำหรับทุกคนที่ต้องการ
๔. ให้คนในสังคมมีสติ และมีส่วนร่วมในการยับยั้งการใช้ความรุนแรงในทุกระดับของสังคม
๕. ให้มีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงอย่างเร่งด่วน
๖. ภาคประชาชนขออาสาเป็นตัวกลางในการเจรจาหาทางออกจากวิกฤตในครั้งนี้

เครือข่ายภาคประชาชน จำนวน ๑๐๖ องค์กร จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐๐ คน

๑. กลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียง ต.กุดน้ำใส จ.ขอนแก่น
๒. กลุ่มนักศึกษาใส่ใจไทย
๓. กลุ่มเพื่อนประชาชน
๔. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง
๕. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
๖. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช)
๗. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.ภาคเหนือ)
๘. คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
๙. คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.)
๑๐. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)
๑๑. เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์
๑๒. เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
๑๓. คณะเสริมสร้างความเข้มแข็งจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๑๔. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
๑๕. เครือข่ายชุมชน จ.พังงา
๑๖. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๑๗. เครือข่ายชุมชนฟื้นฟูเกาะลันตา จ.กระบี่
๑๘. เครือข่ายชุมชนฮักน้ำของ จ.อุบลราชธานี
๑๙. เครือข่ายเยาวชน (YPD)
๒๐. เครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชน (YPHR)
๒๑. สามชุก ตลาดร้อยปี สุพรรณบุรี
๒๒. เครือข่ายติดตามการศึกษาไทย
๒๓. เครือข่ายท้องถิ่นไทย
๒๔. เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN)
๒๕. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
๒๖.เครือข่ายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคประชาชน กรุงเทพมหานคร
๒๗. เครือข่ายป่าชุมชน
๒๘. เครือข่ายพุทธิกา
๒๙.เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ นครศรีธรรมราช
๓๐. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ ประเทศไทย
๓๑. เครือข่ายผู้บริโภค ๖ ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ อีสาน ใต้ กลาง ตะวันออก และตะวันตก
๓๒. เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพ
๓๓. เครือข่ายเยาวชนจากทะเลสู่หุบเขา
๓๔. เครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพและสิ่งแวดล้อมบางขุนเทียน
๓๕. เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำปราจีนบุรี
๓๖. เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน
๓๗. เครือข่ายลุ่มน้ำบางปะกง ปราจีนบุรี โตนเลสาป
๓๘. เครือข่ายศิลปิน
๓๙. เครือข่ายสันติวิธี
๔๐. เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จ.ปทุมธานี
๔๑. เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาเมืองภูเก็ต
๔๒. เครือข่ายองค์กรงดเหล้า
๔๓. เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
๔๔. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
๔๕. โครงการเสริมสร้างองค์กรชุมชน จ.สมุทรสงคราม
๔๖. ชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
๔๗. ชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน นครปฐม
๔๘. ชุมชนท้องถิ่นกรุงเทพ
๔๙. ชุมนุมสหพันธ์สหกรณ์ภาคอีสาน
๕๐. บางกอกฟอรั่ม
๕๑. ประชาคมบางลำพู กทม.
๕๒. ประชาสังคม จ.สระแก้ว
๕๓. มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
๕๔. กลุ่มภูมิพลังเอดีพี(ADP)
๕๕. มูลนิธิชุมชนไท
๕๖. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
๕๗. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาวิทยุชุมชนไทย
๕๘. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
๕๙. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
๖๐. มูลนิธิสุขภาพไทย
๖๑. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
๖๒.เครือข่ายพนักงานบริการ
๖๓. มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์
๖๔. ศูนย์พัฒนากิจกรรมภาคพลเมืองปราจีนบุรี
๖๕. สถาบันการเรียนรู้ภาคประชาสังคม จ.เพชรบูรณ์
๖๖. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย(สค.ปท.)
๖๗. สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
๖๘. สภาราษฎร
๖๙. สภาองค์กรชุมชนเขตพระโขนง
๗๐. สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย
๗๑. สมัชชาสภาองค์กรชุมชน กรุงเทพมหานคร
๗๒. สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
๗๓. สมาคมเครือข่ายเกษตรกรไทย (ภาคอีสาน)
๗๔. สมาคมนักรบนิรนาม บก. 333
๗๕. สมาชิกสภาเยาวชน กรุงเทพฯ
๗๖. สหภาพแรงงานไทรอัม
๗๗. เสมสิกขาลัย
๗๘. องค์กรเตรียมรับภัยพิบัติ เอเชีย
๗๙. องค์กรพัฒนาการเมือง จ.สระบุรี
๘๐. องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย
๘๑. เครือข่ายพัฒนาการเมือง ๓ วัย จ.สระบุรี
๘๒. เครือข่ายพ่อแม่-เยาวชน เพื่อการปฏิรูปการศึกษา
๘๓. โครงการสื่อสร้างสุข
๘๔. ชมรมพลังสตรีไทยสร้างชาติ
๘๕. สภาธรรมาภิบาล
๘๖. เครือข่ายวิทยุกระจายเสียง ภาคกลาง
๘๗. เครือข่ายโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
๘๘. สภาองค์กรชุมชนตำบลขอนแก่น
๘๙. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
๙๐. เครือข่ายสมัชชาสุขภาพภาคกลาง ๒๖ จังหวัด
๙๑. เครือข่ายชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
๙๒.สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ
๙๓. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
๙๔. สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น
๙๕. คณะขับเคลื่อนเชียงใหม่จัดการตนเอง
๙๖. เครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดขอนแก่น
๙๗. สมาคมผู้บริโภค จ. สงขลา
๙๘. เครือข่ายเยาวชนเพื่อการพัฒนา
๙๙. เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิและสิทธิชุมชน
๑๐๐. มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
๑๐๑. มูลนิธิประชาสังคม
๑๐๒. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำตะกั่วป่า คุระบุรี
๑๐๓. ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดภาคประชาชน
๑๐๔. สหพันธ์เกษตรกรเพื่อการพัฒนาภาคกลาง
๑๐๕. สถาบันจัดการทางสังคม (สจส.)
๑๐๖. เครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net