Skip to main content
sharethis

แถลงการณ์กลุ่มนักวิชาการด้านสันติวิธีและสิทธิมนุษยชน

นับตั้งแต่การตัดสินใจใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าเมื่อวันที่ 10 เมษายน ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมได้ยกระดับเป็นความรุนแรงระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างเปิดเผย ความพยายามเจรจาถูกปฏิเสธจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผลก็คือ สังคมไทยขณะนี้มีสภาพใกล้เคียงสงครามกลางเมือง มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจนถึงขณะนี้จำนวนนับไม่ถ้วน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนหลายพันคน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการใช้อาวุธสงครามจากทางฝ่ายทหาร

การประกาศสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์โดยเร็วก็ดี การตัดเสบียงอาหารของผู้ชุมนุมก็ดี การใช้กำลังทหารที่รุนแรงถึงขั้นทำร้ายเจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือขัดขวางการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บก็ดี การประกาศใช้กระสุนจริงในถนนรอบที่ชุมนุมทุกสายก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นการใช้ยุทธวิธีทางทหารเพื่อยุติการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่จะสร้างปัญหาใหม่ทับถมปัญหาเดิมแล้ว สถานการณ์ย่อมไม่มีทางมีอะไรดีขึ้น รัฐบาลสามารถใช้ทหารชนะประชาชนได้ แต่วิธีนี้ไม่มีทางยุติความขัดแย้งทางการเมืองในระยะยาว

กลุ่มนักวิชาการด้านสันติวิธีและสิทธิมนุษยชนขอเสนอความเห็นเพื่อยุติความรุนแรงในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ดังต่อไปนี้

1.ไม่มีวิธีอื่นที่จะยุติความขัดแย้งระหว่างคนในชาติในขณะนี้ได้ดีไปกว่านี้การเสียสละของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีต้องแสดงภาวะความเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตยโดยเปิดโต๊ะเจรจาครั้งใหม่ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการคลี่คลายวิกฤตความรุนแรงและความสูญเสียในชีวิตของผู้คนทุกๆ ฝ่าย รวมทั้งรักษาคำพูดนายกเรื่องการยุบสภาและเลือกตั้ง 14 พฤศจิกายน

2.สถานการณ์เร่งด่วนเฉพาะหน้าคือ ยุติการเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนซึ่งขณะนี้ได้ลุกลามไปถึงผู้ไม่มีอาวุธ ผู้หญิงและเด็ก นายกฯ ต้องแสดงความกล้าหาญด้วยการประกาศให้พื้นที่ชุมนุมและพื้นที่โดยรอบเป็น "พื้นที่ปลอดภัย" นั่นหมายถึงการยุติปฏิบัติการทางทหารทุกชนิดยามวิกาล ยุติการยึดพื้นที่ด้วยกำลังทหาร ยุติมาตรการที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งหมด โดยฝ่ายผู้ชุมนุมก็มีความรับผิดชอบที่จะไม่กระทำการใดที่สุ่มเสี่ยงต่อเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

3.รัฐบาลต้องผ่อนคลายการเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมด้วยการยุติการตัดไฟซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายรวมทั้งเกิดเหตุร้ายต่างๆ มากที่สุดด้วยในเวลากลางคืน และต้องยกเลิกมาตรการตัดเสบียงซึ่งไม่ใช่มาตรฐานสากลในการจัดการกับการชุมนุม และเป็นวิธีการที่รัฐบาลประชาธิปไตยไม่พึงกระทำอย่างยิ่ง

แน่นอนว่าการยุติความรุนแรงไม่ใช่ความรับผิดชอบรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นภารกิจของประชาชนผู้ชุมนุมและคนกลุ่มอื่นในสังคมไทยด้วย แกนนำ นปช.ได้พูดหลายครั้งแล้วเรื่องยุติการชุมนุมและการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมายปกติ จึงจำเป็นต้องประกาศพันธะสัญญาข้อนี้ต่อสาธารณะอีกครั้งผ่านสื่อของรัฐ ขณะที่คนกลุ่มอื่นในสังคมไทยก็ต้องมีส่วนร่วมยุติความรุนแรงโดยการหยุดยุยงหรือสนับสนุนการสลายการชุมนุมด้วยกำลังทหารในทันที

เครือข่ายนักวิชาการด้านสันติวิธีและสิทธิมนุษยชน

สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โชคชัย วงษ์ตานี สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Ekraj Sabur, UNESCO Chair of Philosophy for Peace, Universitat Jaume I, Spain
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์
วราภรณ์ แข่มสนิท สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
วลักษณ์กมล จ่างกมล คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โกวิทย์ แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อัมพร จิรัฐติกร Nanyang Technological University
วิภู รุโจปการ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอริโซนา
ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จิรวัฒน์ แสงทอง สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทวิลักษณ์ พลราชม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มาลินี คุ้มสุภา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธนศักดิ์ สายจำปา โครงการปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เนตรดาว เถาถวิล ว่าที่ดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุสรณ์ อุณโณ คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ชลิดา บัณฑุวงศ์ ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
ทบพล จุลพงศธร นักศึกษาปริญญาโท สาขาเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักศึกษาปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน
พิพัฒน์ วิมลไชยพร นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชุติมาภรณ์ จิตจำ นิติศาสตรมหาบัณฑิต
รุจิพล อุบลเลิศกุล นิติศาสตรมหาบัณฑิต
นิอร มานะพันธ์โสภี ปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เจริญพงศ์ พรหมศร ปริญญาโท สาขาความขัดแย้งและสันติวิธี มหาวิทยาลัยสงขลา
ปิยณัฐ ประถมวงษ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธนันท์ อุนรัตน์ ดุษฎีบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์
แก้วตา ธัมอิน ประชาชนทั่วไป
ตติกานต์ เดชชพงศ สื่อมวลชน
เพ็ญวดี นพเกตุมานนท์ ประชาชน
พุทธรักษา พิทยพงศ์พันธุ์ ประชาชน
ปิยศักดิ์ อู่ทรัพย์ สื่อสาธารณะ
ฮาเมอร์ ซาลวาลา ศิลปิน
วิชญา พรหมสวัสดิ์ ประชาชน
อริยา พชรวรรณ ประชาชน
Krittiya Sintupongphan, Thammasat University
ชานันท์ สินธุศิริ ประชาชน
ศิววงศ์ สุขทวี ประชาชน
เฉลิมชัย ทองสุข ประชาชน
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ประชาชน
รพีพัฒน์ พัฒนา ประชาชน
กิติคุณ โตรักษา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net