หลายกลุ่มร้องรัฐฯ จัดตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุรุนแรงทางการเมือง

สมชาย หอมละออ นำหลายเครือข่ายร้องรัฐ ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง หวั่นถ้าปรองดองไม่จริง จะสร้างกระแสความหวาดผวา คับแค้น โกรธเกลียดในหมู่ประชาชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับกลุ่ม นปช. ด้าน "หมอตุลย์" ลงชื่อด้วย

หลายองค์กรนำโดยนายสมชาย หอมละออ ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงความรุนแรงทางการเมือง โดยมีรายละเอียดแนบท้ายนี้

000

 

แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายประชาสังคม, เครือข่ายเยาวชน, เครือข่ายธุรกิจ และเครือข่ายชุมชน
เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดตั้ง คณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงความรุนแรงทางการเมือง

จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ได้กลายเป็นความรุนแรงทางการเมือง จนมีผู้เสียชีวิตรวม 88 ราย บาดเจ็บ 1,885 ราย (ตามตัวเลขล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข) และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวนมาก รวมทั้งมีคนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบทั้งด้านการประกอบอาชีพและรายได้จากความรุนแรงดังกล่าว

แม้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงจะคลี่ คลายลง แต่ในความเป็นจริงความแตกแยกภาย ในสังคมยังมิได้ยุติลง เนื่องด้วยความระแวงและความโกรธแค้นเกลียดชังยังคงดำรงอยู่ และมีโอกาสอย่างมากที่จะนำไปสู่การทำลายล้างกันด้วยความรุนแรงทั้งในที่ลับและในที่แจ้งอย่างไม่สิ้นสุดต่อไป เพราะความเข้าใจต่อเหตุการณ์ความ รุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการอธิบายเหตุแห่งความรุนแรงและการขยายผลความรุนแรงของคู่กรณีที่ขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อลดทอนหรือทำลายความความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงกันข้าม และสร้างความชอบธรรมให้ฝ่ายตนเอง

ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ จึงเห็นเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งจัดตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงความรุนแรงทางการเมือง เพื่อทำหน้าที่ในการพิสูจน์ความ จริงให้เป็นที่ประจักษ์ด้วย กระบวนการพิสูจน์ความจริงของ เหตุการณ์ความรุนแรงในครั้ง นี้ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ ยอมรับร่วมกันทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก อันเป็นหนทางหนึ่งในการจัดการกับความจริง เพื่อสร้างความเข้าใจความจริงร่วมกันของสังคมไทย

การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระต้อง มีหลักการสำคัญ ดังนี้

1.คณะกรรมการอิสระ ควรประกอบด้วยบุคคลจากทุกภาคส่วนซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม และต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงความรุนแรงทางการเมือง

2.คณะกรรมการอิสระ ต้องสืบค้นแสวงหา ความถูกต้อง ทั้งทางนิติรัฐ ทางคุณธรรม จริยธรรมในการปกครอง เพื่อที่จะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ทุกปฏิบัติการที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน เป็นปฏิบัติการที่มีทางเลือกอื่นๆ หรือไม่

3.คณะกรรมการอิสระต้องมีอำนาจใน การเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารทุกระดับชั้น ผู้ชุมนุมสื่อมวลชน และประชาชนผู้เห็นเหตุการณ์มาให้ข้อเท็จจริง

4.คณะกรรมการอิสระต้องนำผลการตรวจ สอบผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งสาเหตุการบาดเจ็บและเสีย ชีวิต จากแพทย์ผู้เกี่ยวข้องเปิดเผยต่อ สาธารณะเป็นระยะ

5.คณะกรรมการอิสระต้องเปิดโอกาสให้สื่อมวลชน องค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งไทยและต่างประเทศ สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์เพื่อความโปร่งใส ในจังหวะและเวลาอันควร

6.คณะกรรมการอิสระต้องมีมาตรการ ปกป้องคุ้มครองพยานผู้มาให้ถ้อยคำทุกฝ่ายอย่างเคร่งครัด

7.รัฐบาลต้องนำผลการสอบสวนของคณะกรรมการอิสระ เพื่อดำเนินการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางการเมืองโดยเน้นการสร้างความยุติธรรมลดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ขจัดเงื่อนไขและป้องกันปัญหาความ รุนแรง และสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น ในชาติ

8.รัฐบาลต้องสนับสนุนด้านบุคลากรและงบประมาณให้เพียงพอกับ การทำหน้าที่เป็นอิสระของคณะกรรมการอิสระ

9.รัฐบาลจะต้องแยกแยะคดีการเมือง กับคดีอาชญากรรม รวมทั้งแยกแยะความหนักเบาของคดีตามข้อเท็จจริง ระหว่าง (1) คดีก่อการร้าย ก่อจลาจล ครอบครองอาวุธ การวางเพลิง กับ (2) การเข้าร่วมชุมนุมในสถานการณ์ฉุก เฉิน และ การฝ่าฝืนเคอร์ฟิว ออกจากกัน กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องแยกแยะระหว่าง (1) ผู้ที่ก่อเหตุด้วยอารมณ์โกรธแค้น เฉพาะหน้า กับ (2) ผู้ที่จงใจวางแผนก่อเหตุวินาศกรรมและมีเจตนาใช้ความรุนแรง เพราะหากไม่คำนึงถึงหลักเมตตาธรรม มีการออกหมายจับคนจำนวนมากโดยไม่แยกแยะระหว่างผู้ตั้งใจก่ออาชญากรรม กับ ผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมือง การไปสู่ความปรองดองดังที่นายกรัฐมนตรีต้องการก็จะไม่สามารถปรากฏเป็นจริงได้ ในทางกลับกันมีแต่จะสร้างกระแสความหวาดผวา คับแค้น โกรธเกลียดในหมู่ประชาชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับกลุ่ม นปช.ซึ่งมีอีกเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ

นอกจากนี้ รัฐบาลยังควรทำให้การเยียวยาอย่าง เป็นธรรมและทั่วถึงแก่ทุก ฝ่าย ทั้งผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ บุคคลอื่นๆผู้ได้รับผลกระทบ หรือได้รับความเสียหาย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงความจริงใจและพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานของรัฐบาลมีความเป็นกลางหรือเป็นรัฐบาลของทุกคนในชาติมิได้แบ่งแยก เพื่อลดอคติของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้บรรเทาเบาบางลง

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาลงนาม

ด้วยความเคารพอย่างสูง
นายสมชาย หอมลออ
นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน
และภาคีเครือข่ายผู้ร่วมลงนาม

รายชื่อบุคคลและองค์กรผู้ร่วมลงนามแถลงการณ์

ก. องค์กร
1. มูลนิธิชุมชนไท นางปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิ
2. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
3. เครือข่ายวิทยุเด็กและครอบครัว นายนิธิกาญจน์ รัตนสิทธิ์
4. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายสื่อเพื่อ เด็ก ภาคเหนือ นายวรรณพร เพชรประดับ
5. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายสื่อเพื่อ เด็ก ภาคอีสาน นายอัมพร วาภพ
6. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายสื่อเพื่อ เด็ก ภาคตะวันออก นายณัฐพงษ์ ศุขศิริ
7. ขบวนการตาสับปะรด นายฉัตรชัย เชื้อรามัญ
8. สภาเครือข่ายครูอีสาน นายกฤษดา มังคะตา
9. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัด สงขลา นายชาคริต โภชะเรือง
10. มูลนิธิชุมชนสงขลา นายชิต สง่ากุลพงศ์
11. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ไม่ทิ้งประเทศ ชาติ นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร
12. กลุ่มแนวร่วมนักเรียนนักศึกษา ไทยในประเทศและต่างแดน World Thai Students Alliance (WTSA)
13. เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม (SVN) นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง
14. กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง

ข.บุคคล
1. พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ศูนย์สันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า
2. นางสาวสมลักษณ์ หุตานุวัตร เลขาธิการเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. นายเชษฐา มั่นคง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
5. นายแบ๊งค์ งามอรุณโชติ อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล (วุฒิสภา)
6. นายวรภัทร วีรพัฒนคุปต์ อดีตกรรมการสมาคมเพื่อองค์การนิรโทษกรรมสากล ประเทศไทย
7. น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. ดร.ไสว บุญมา
9. นายไมตรี จังไทรจักร์ เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง
10. นายธนธรณ์ ธำรงเจริญกุล รองประธานกลุ่มปลาดาว สมาชิกเครือข่ายเยาวชนโลก
11. นายชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12. นายพงศ์พร สุดบรรทัด เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพ
13. นายวีรวัฒน์ สุขุมาลชาติสมบัติ สมาชิกสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร
14. นายประเสริฐ เหลืองเจริญกุล กลุ่มเสียงไทย ผู้ผลิตรายการวิทยุไทยเพื่อเด็กและครอบครัวfm105
15. นาย ทศพล แก้วจันทิมา ประธานเครือข่ายสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ราชบุรี
16. นางรุจิรา ทองแสนช่าง เครือข่ายคนบ้านโป่งรักชาติ จังหวัดราชบุรี
17. นายบุญส่ง ณรงค์ สมัชชาประชาธิปไตย จังหวัดราชบุรี
18. ผู้ใหญ่สงัด คงสุวรรณ ผู้ประสานงานคนราชบุรีรักชาติ
19. นางสาวง่ายงาม ประจวบวัน ประธานกลุ่มเครือข่ายเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี
20. นายภานุวิท พราหมสำราญ สินเชื่อเขตประจวบคีรีขันธ์ ธนาคารกรุงไทย
21. นายวิเชียร เจษฎากานต์ เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
22. นางสาวพรรณชนก วณิชแสงโสภณ นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
23. นายสุธัมมะ ธรรมศักดิ์
24. นายสมเกียรติ ภู่ธรรมศิริ ประชาคม จ.สระแก้ว
25. น.ส.ทิพรัตน์ ธิรินทอง
26. นางแน่งน้อย สุทธิพงศ์เกียรติ์
27. นายอิศราวุฒิ ล้ำเลิศกิจ
28. นายบรรพต ศิริณัฏสมบูรณ์
29. นายชเนษฎ์ ศรีสุโข นักศึกษาแพทย์
30. นางสาวบุญทวี เทียมวัน
31. นายอัธกฤตย์ เทพมงคล นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัย NUS สิงคโปร์
32. นายคณิน หงษ์สมาทิพย์ นิสิตเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่4
33. นาย ศุภณัฐ จิตรรัตนพงษ์
34. นายจิรานุวัฒน์ สวัสดิ์นะที Ph.D., Mainland China studies, National Sun Yat-Sen University, Taiwan.
35. นายณัฐพล จงธนพิพัฒน์ นักศึกษาปริญญาโท เศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน
36. นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์
37. นาย ณัฐดนัย เอี่ยมวัฒนเสรี นิสิตปริญญาโทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
38. นางสาวอรุชิตา อุตมโภคิน
39. นายพัชรวีร์ พรหมวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
40. นายชนวิท ธัมมะอาสา
41. น.อ.ประจักษ์ วังกานนท์ ร.น. เลขาธิการชมรมสีเขียว
42. นายจิรายุ เเสงเล็ก ผู้ดำเนินรายการส้วมการเมือง FM 98.25
43. นายศตวรรษ อินทรายุธ ศูนย์ประสานงานนักเรียนนิสิตนักศึกษา
44. นายศุถฤกษ์ เอมโอช ผู้ประสานงานกลุ่มกล้าธรรมม์
45. นางสาวอภิรดา มีเดช กองบรรณาธิการ นิตยสาร way
46. นางสาวคีรีบูน วงษ์ชื่น เลขานุการ กองบรรณาธิการ นิตยสาร way
47. นายจุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ กองบรรณาธิการ วารสารกฎหมายใหม่
48. นางสาวกฤติยา ทองมโนกูร นักศึกษา
49. นายอิศราวุฒิ ล้ำเลิศกิจ
50. นายเสฏฐพงศ์ ภาคเสมา
51. น.ส.ธัญญลักษณ์ วินะยานุวัติคุณ
52. นายมงคล สาระคำ โครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
53. นายณภัสกรณ์ ลักขณาศิริกุล
54. นายจิราพัชร นิลแย้ม นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55. ผศ.ดร.นัฐพงษ์ จิตรนิรัตน์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
56. นางสาวคะนึงนิจ มากชูชิต เครือข่ายชุมชนศรัทธาจังหวัดชายแดนใต้
57. นายภควินท์ แสงคง เครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย
58. นายสุพัฒน์ นุ่นขาว เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต
59. นายศักดา พรรณรังสี เครือข่ายชุมนุมจังหวัดพังงา
60. นายสุรศักดิ์ อินทรประสิทธิ์ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนกรุงเทพฯ เขตจตุจักร
61. นางพรรณี มานหมัด เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนกรุงเทพฯ เขตคลองสามวา
62. นายเรืองศักดิ์ เจริญผล เครือข่ายพ่อแม่เยาวชนปฏิรูปการศึกษา
63. นายอำนวย วรญาณกุล

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท