Skip to main content
sharethis

3 เครือข่ายเอ็นจีโอต้านการค้ามนุษย์ผนึกกำลังแถลงข่าวเนื่องในวันต่อต้านการ ค้ามนุษย์แห่งชาติ เผยไทยสถานการณ์ค้ามนุษย์เข้าขั้นวิกฤต LPN เตือนไทยเสี่ยงถูกบอยคอตสินค้าที่เกี่ยวกับกระบวนการค้ามนุษย์ เอ็นจีโอเหนือเปิด 5 จังหวัดเสี่ยง เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่  สถิติถูกล่อลวงสูงสุด สลดสุดนำเด็กจากค่ายอพยพไปเป็นคนรับใช้ ด้านมูลนิธิกระจกเงาชี้แรงงานประมงถูกล่อลวงมากสุด แฉวงจรอุบาทว์ นักการเมืองไทยเล่นบทหนุนหลังกระบวนการคนค้าคน  พบ ทั้งเรือประมงเถื่อน ปลอมแปลงเอกสาร

3 มิ.ย.53 - เวลา 13.00 น.  ที่อาคารมูลนิธิกระจกเงา   3 เครือ ข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านการค้ามนุษย์ประกอบด้วย มูลนิธิกระจกเงา  มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)  และหน่วยประสานงานต่อต้านการค้ามนุษย์ ภาคเหนือตอนบน (TRAFCORD) ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวเนื่องในวันต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งชาติ โดยนายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) กล่าวว่า สืบเนื่องในวันที่ 5 มิ.ย.ที่จะถึงนี้เป็นวันต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งชาติ ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอันดับโดยสหรัฐอเมริกาว่ามีสถานการณ์การค้ามนุษย์ที่น่า เป็นห่วง และตลอดเวลาการทำงานนั้นเราพบว่าสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยไม่ได้ลด จำนวนลง ซ้ำร้ายกลับเพิ่มจำนวนมากขึ้นในหลายรูปแบบ โดยแรงงานที่เราพบว่ามีปัญหาในการถูกกระทำในกระบวนการค้ามนุษย์มากที่สุดคือ แรงงงานประมง โดยแรงงานข้ามชาติที่ถูกล่อลวงมากที่สุดคือชาวพม่า

ทั้งนี้ประเทศไทยมีสถานะเป็นประเทศปลายทางทีแรงงานข้ามชาติมุ่งตรงเข้ามา ประกอบอาชีพโดยมีจำนวนตัวเลขแรงงานโดยประมาณการทั้งหมดมาก 3-4 ล้านคน โดยเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายประมาณ 7 แสนคนเท่านั้น

ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับจำนวนตัวเลขของแรงงานที่เข้ามาอย่างผิดกฏหมายนี้คือกระบวนการในการ เข้ามาของแรงงานข้ามชาติที่ต้องผ่านกระบวนการจ่ายเงินจากทั้งนายหน้า และนายหน้าก็จะต้องนำเข้ามาเคลียร์กับเจ้าหน้าที่ของทางราชการบางส่วนที่รับ ผิดชอบในเรื่องนี้ในไทยซึ่ง และนอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการเองยังขาดจิตสำนึกในการจ้างงานให้ถูก กฎหมาย ซึ่งผู้ประกอบการบางคนอยากได้แรงงานที่มีราคาถูกโดยไม่สนใจซึ่งกระบวนการของ การได้มาของแรงงาน  และหากประเทศไทยยังคงสภาพการค้า มนุษย์อยู่แบบนี้ต่อไปไทยจะเสี่ยงต่อการถูกทั่วโลกบอยคอตสินค้าที่ได้มาจาก การประมงได้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นปัญหาอีกเรื่องคือกระบวนการในการเยียวยาผู้เสียหายา จากภาครัฐที่เป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งกระทรวงแรงงานจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานหรือแผนกขึ้นมาเพื่อ รับผิดชอบเรื่องการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ

ด้านนางสาวเดือน วงษา ผู้จัดการหน่วยประสานงานต่อต้านการค้ามนุษย์ภาคเหนือตอนบน (TRAFCORD) กล่าวถึงสถานการณ์ในการค้า มนุษย์ทางภาคเหนือว่า  สถิติการรับแจ้งเหตุของเราใน ปีพ.ศ. 2553 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 35 กรณี และได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทั้งสิ้น 4 กรณี มีผู้ได้รับความช่วยเหลือ 22 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 10 ราย โดยดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดจากการค้ามนุษย์ จำนวน 11 คน ซึ่งสถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ส่วนมากเป็นรูปแบบการบังคับค้าประเวณี มีทั้งชาวไทย และชาวพม่า และกลุ่มชาติพันธุ์ มีการชักชวนและล่อลวงให้ขายบริการทางเพศในสถานค้าประเวณี ร้านคาราโอเกะ อาบอบนวด นอกจากนั้นยังมี มีขบวนการนำพาเด็กจากค่ายอพยพจังหวัดตากเข้าสู่พื้นที่ชั้นใน เมื่อถูกจับจะมีขบวนการติดต่อนำเด็กไปขายเพื่อเป็นแรงงานรับใช้ในบ้าน โดยเด็กแทบจะไม่ได้รับเงินจากการทำงานและทำงานโดยไม่เต็มใจ

“นอกจากนี้ปัญหาในการค้ามนุษย์ทางภาคเหนือ เรายังพบการล่อลวงเด็กผู้ชายจากแม่สอดไปบังคับให้ขายขนมโรตีในจังหวัด เชียงใหม่ มีการข่มขู่และทำร้ายร่างกาย รวมถึงการติดต่อชักชวนเด็กเล็กจากครอบครัวในประเทศพม่ามายังจังหวัด เชียงใหม่เพื่อบังคับให้ขายดอกไม้อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีขบวนการจัดหาคนไปทำงานต่างประเทศซึ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ และแถบยุโรปฯ พื้นที่มีความเสี่ยงสูงคือ จ.เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ โดยไปทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย นายหน้าจะหลอกให้จ่ายเงิน ในราคาสูงและต้องทำงานในสภาพที่เลวร้ายในต่างประเทศทั้งการบังคับใช้แรงงาน และค้าประเวณี” ผู้ประสานงาน TRAFCORDกล่าว

ขณะที่นายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงากล่าวว่า  ถึงวันนี้ต้องยอมรับว่าสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย เข้าสู่ขั้นวิกฤตโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมภาคประมง เพราะอุตสาหกรรมประมงของไทยมีขนาดใหญ่ระดับโลกแต่เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานขั้น รุนแรงจึงทำให้เกิดขบวนการค้ามนุษย์เพื่อจัดหาคนเข้าสู่อุตสาหกรรมดังกล่าว และข้อมูลที่น่าตกใจคือการลงพื้นที่เราพบว่าในบางพื้นที่มีนักการเมืองและ ข้าราชการสบคบกันหนุนหลังขบวนการเหล่านี้ ในขณะที่ระเบียบและกฎหมายในการควบคุมอุตสาหกรรมประมงหลายฉบับไม่สามารถใช้ อย่างได้ผล หรือเกิดการจงใจไม่บังคับใช้จากเจ้าหน้าที่รัฐ  แรงงานถูกดำเนินการโดยขบวนการนายหน้าค้ามนุษย์ มีการปลอมแปลงเอกสารคนประจำเรือหรือ (sea man book) ซึ่งเป็นเอกสารประจำตัวของลูกเรือประมงที่ใช้แสดงสถานะบนเรือประมง  พร้อมทั้งมีเรือประมงเถื่อนจำนวนมากที่ไม่สามารถตรวจสอบ ข้อมูลภายหลังจากกระทำผิดกับแรงงานได้ ซึ่งรูปแบบของการกดขี่แรงงานมีตั้งแต่ระดับเบาสุดจนถึงหนักสุด โดยระดับเบาสุดคือการไม่จ่ายค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม การทำร้ายทุบตี รวมถึงความโหดร้ายที่แรงงานต้องพบเจออย่างรุนแรงที่สุดคือการถูกฆาตกรรมด้วย รูปแบบที่ทารุณ ปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ใช่ว่าหน่วยงานภาครัฐจะไม่รับรู้ แต่ตกอยู่ในสถานะของการปิดตาข้างเดียว นิ่งเฉยต่อการแก้ไขปัญหาเพราะธุรกิจประมงส่วนหนึ่งมีนักการเมืองเป็นเจ้าของ กิจการ”หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงากล่าว

นายเอกลักษณ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามมาตรการป้องกันและปราบปรามของเจ้าหน้าที่รัฐแม้ว่าจะดูเหมือนมี ความพยายามในการจัดการปัญหาแต่ก็เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ. 2551 ออกมาบังคับใช้ถึง 2 ปีเต็ม  แต่ยังเกิดปัญหาในการตีความของ ผู้บังคับใช้กฎหมายในเรื่องของคำว่า “ผู้เสียหาย” และองค์ประกอบของการกระทำความผิด จนทำให้ผู้เสียหายหลายรายไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่นมีผู้เสียหายหลายรายไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่โรงพักแต่ตำรวจ พยายามทำให้คดีค้ามนุษย์กลายเป็นคดีกักขังหน่วงเหนี่ยว ซึ่งในประเด็นนี้หน่วยงานจะมีข้อเสนอเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการอย่าง ถูกต้องต่อไป
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net