Skip to main content
sharethis

หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เวียนหนังสือขอความร่วมมืออาจารย์เลี่ยงแสดงความเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมชุมนุมทางการเมือง ด้านคณบดีอักษรศาสตร์ออกหนังสือเวียนซ้ำให้คณาจารย์ทั้งคณะ

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกบันทึกข้อความ ลงเลขที่ ศธ.0512.23.09/298 ถึง คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ เรื่อง “ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง” โดยขอความร่วมมืออาจารย์และผู้สอนในภาควิชา 6 ข้อ โดยบันทึกข้อความดังกล่าวสำเนาส่งถึง ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

"อนึ่ง ภาควิชาฯ ตระหนักว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละท่านย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับหน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้ อีกทั้งเนื้อหาสาขาวิชาภาษาศาสตร์โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง จึงไม่มีความจำเป็นใดใดที่จะต้องนำเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองแทรกเข้ามา ในรายวิชาต่างๆ " รายละเอียดตอนหนึ่งในบันทึกข้อความของ รศ.ดร.วิโรจน์ ระบุ

ต่อมาในวันที่ 31 พ.ค. ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้ทำบันทึกข้อความถึง คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ เรื่อง ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง โดยมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน 

“อนึ่ง คณะตระหนักดีว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละคนย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับ หน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้” รายละเอียดตอนหนึ่งในบันทึกข้อความของ ดร.ประพจน์ ระบุ

สำหรับรายละเอียดของบันทึกข้อความทั้ง 2 ฉบับ รายละเอียดมีดังนี้

 

 

 

 

บันทึกข้อความ

ส่วนงาน ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

ที่ ศธ.0512.23.09/298      วันที่ 26 พฤษภาคม 2553

เรื่อง ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง

เรียน คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์

 

ตามที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันได้ส่งผลให้สังคมในทุกระดับมีความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรง และในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โทรศัพท์มาที่คณะและที่บางภาควิชาเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการแสดงออกทางการเมืองของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์บางคน เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองอันจะนำไปสู่ความสงบสุขในหน่วยงานและสังคม และเพื่อความมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ภาควิชาจึงใคร่ขอความร่วมมือจากอาจารย์และผู้สอนในภาควิชา ดังต่อไปนี้

 

1. ขอให้หลีกเลี่ยงการสอดแทรกเนื้อหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันในเนื้อหารายวิชาต่างๆ โดยไม่มีเหตุจำเป็น

2. หากมีความจำเป็นต้องยกเอาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเป็นตัวอย่างประกอบการสอนในชั่วโมงใด ก็ขอให้ยกเอาความคิดเห็นที่รอบด้านจากฝ่ายต่างๆ อย่างปราศจากอคติ ไม่จำกัดการแสดงความคิดเห็นจากเพียงฝ่ายเดียว และงดเว้นการให้ข้อมูลใดใดอันเป็นเท็จ

3. ขอให้งดเว้นการชักจูงนิสิตทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง เพราะการชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันอาจมีเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อนิสิตได้ หากนิสิตคนใดจะร่วมชุมนุมทางการเมือง ขอให้เป็นเรื่องโดยสมัครใจของนิสิตเอง

4.ในกรณีที่ต้องมีการนัดหมายนิสิตเพื่อพูดคุยในเรื่องกิจกรรมวิชาการ ขอให้นัดมาพบกันในเขตมหาวิทยาลัย กรุณาอย่านัดนิสิตมาพบในที่ชุมนุมทางการเมือง

5. ห้ามใช้การให้คะแนนหรือผลสอบใดใดเป็นมาตรการบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมให้นิสิตต้องตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในลักษณะอันเป็นที่พึงพอใจของอาจารย์เท่านั้น

6. ในการรับเชิญเป็นวิทยากรในที่ต่างๆ หากต้องมีการแสดงความคิดเห็นใดใดทางการเมือง ขอให้เป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะส่วนบุคคล ไม่ควรเอ่ยอ้างฐานะการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือการเป็นนักภาษาศาสตร์ เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านอื่นๆ หรือนักภาษาศาสตร์ท่านอื่นๆ อาจไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดของท่านได้ และอาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นเข้าใจผิดคิดว่าอาจารย์หรือนักภาษาศาสตร์ที่สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท่านอื่นๆ มีความคิดเห็นในลักษณะเดียวกับท่าน

 

อนึ่ง ภาควิชาฯ ตระหนักว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละท่านย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับหน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้ อีกทั้งเนื้อหาสาขาวิชาภาษาศาสตร์โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง จึงไม่มีความจำเป็นใดใดที่จะต้องนำเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองแทรกเข้ามาในรายวิชาต่างๆ

 

จึงเรียนมาเพื่อทราบและให้ความร่วมมือถือปฏิบัติตามนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง

(ลงลายมือชื่อ)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล

หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์

 

สำเนาส่ง คณบดี คณะอักษรศาสตร์

 

 

  

บันทึกข้อความ

ส่วนงาน คณะอักษรศาสตร์

ที่ วันที่ 31 พฤษภาคม 2553

เรื่อง ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง

เรียน คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์

 

ตามที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันได้ส่งผลให้สังคมในทุกระดับมีความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรง และในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โทรศัพท์มาที่คณะและที่บางภาควิชาเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการแสดงออกทางการเมืองของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์บางคน เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองอันจะนำไปสู่ความสงบสุขในหน่วยงานและสังคม และเพื่อความมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน คณะจึงใคร่ขอความร่วมมือจากคณาจารย์ ดังต่อไปนี้

 

1. ขอให้หลีกเลี่ยงการสอดแทรกเนื้อหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันในเนื้อหารายวิชาต่างๆ โดยไม่มีเหตุจำเป็น

2. หากมีความจำเป็นต้องยกเอาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเป็นตัวอย่างประกอบการสอนในชั่วโมงใด ก็ขอให้ยกเอาความคิดเห็นที่รอบด้านจากฝ่ายต่างๆ อย่างปราศจากอคติ ไม่จำกัดการแสดงความคิดเห็นจากเพียงฝ่ายเดียว และงดเว้นการให้ข้อมูลใดใดอันเป็นเท็จ

3. ขอให้งดเว้นการชักจูงนิสิตทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง เพราะการชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันอาจมีเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อนิสิตได้ หากนิสิตคนใดจะร่วมชุมนุมทางการเมือง ขอให้เป็นเรื่องโดยสมัครใจของนิสิตเอง

4.ในกรณีที่ต้องมีการนัดหมายนิสิตเพื่อพูดคุยในเรื่องกิจกรรมวิชาการ ขอให้นัดมาพบกันในเขตมหาวิทยาลัย กรุณาอย่านัดนิสิตมาพบในที่ชุมนุมทางการเมือง

5. ห้ามใช้การให้คะแนนหรือผลสอบใดใดเป็นมาตรการบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมให้นิสิตต้องตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในลักษณะอันเป็นที่พึงพอใจของอาจารย์เท่านั้น

6. ในการรับเชิญเป็นวิทยากรในที่ต่างๆ หากต้องมีการแสดงความคิดเห็นใดใดทางการเมือง ขอให้เป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะส่วนบุคคล ไม่ควรเอ่ยอ้างฐานะการเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะอาจารย์คณะอักษระศาสตร์ จุฬาฯ คนอื่นๆ อาจไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดของท่านได้ และอาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นเข้าใจผิดคิดว่าอาจารย์ที่สังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนอื่นๆ มีความคิดเห็นในลักษณะเดียวกัน

 

อนึ่ง คณะตระหนักดีว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละคนย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับ หน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้

 

จึงเรียนมาเพื่อทราบและให้ความร่วมมือถือปฏิบัติตามนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง

(ลงลายมือชื่อ)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

คณบดีคณะอักษรศาสตร์

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net