Skip to main content
sharethis

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญผู้บริหารองค์การมหาชน 28 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ นำโดยนางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)มาหารือเพื่อระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามแผนปรองดองแห่งชาติ

เว็บไซต์แนวหน้ารายงานว่า ที่ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญผู้บริหารองค์การมหาชน 28 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ นำโดยนางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)มาหารือเพื่อระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามแผนปรองดองแห่งชาติ ทั้งนี้ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง

โดยนายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชี้แจงถึงแนวทางตามแผนปรองดองทั้ง 5 ข้อที่ได้ประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมแผนไปเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ว่า สภาพปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองของแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาความมั่นคง เกิดความรุนแรงซึ่งสาเหตุเนื่องมาจากแกนนำนปช.ทำตามการส่งสัญญาณจากคนที่ อยู่ต่างประเทศที่ไม่ยอมให้รับเงื่อนไขที่ตนเสนอการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย.2553 และเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นถือเป็นอุทธาหรณ์ ถ้าไม่ระมัดระวังภาพความรุนแรงมันก็จะซึมเข้าอยู่ในความรับรู้และมีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมของคนได้ อย่างโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่เป็นหนึ่งในองค์การมหาชนก็เป็นเหยื่อของสภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่น่าเสียใจมาก

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ภายในสัปดาห์หน้านี้จะมีความชัดเจนในเรื่องรูปแบบของสำนักเลขาธิการปฏิรูปประเทศไทย และมีความมั่นใจว่าสังคมไทย 80 % เห็นด้วยกับแผนปรองดองเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยที่ประกาศไป แต่จะมีคนอย่างน้อยประมาณ 20 % ที่ยังระแวง ต่อต้าน คัดค้านเพราะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนกลุ่มนี้ยังแสดงจุดยืนท่ช ดเจนอยู่ ซึ่งเราไปห้ามเขาไม่ได้ แต่เราก็ไม่ได้ไปทอดทิ้งคนกลุ่มนี้ เราต้องเข้าไปให้ถึงคนอีก 20 % นั้นให้ได้ และองค์กรภาคส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากภาครัฐจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่อยู่ในการเมืองแน่นอนหรือกลไกของรัฐหรือราชการ

จากนั้นนายกฯได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารองค์การต่างๆ แสดงความคิดเห็น แต่ความเห็นที่น่าสนใจคือ นางปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กล่าวว่า เกี่ยวกับความแตกต่างความเหลื่อมต่ำสูงในสังคมมีจริงและรุนแรง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ในประเทศไทยมีความอคติในวัฒนธรรมสูงมาก โดยที่เราไม่รู้ตัว ถ้าดูในสื่อทำไมคนอีสานถึงต้องเป็นคนใช้ตลอด ต้องกินส้มตำ ขณะที่จริงๆแล้วชนบทอีสานเปลี่ยนแปลงมากมีนักวิจัยบางคนได้เทียบอัตราจำนวน ต่อจำนวนแล้วคนอีสานมีหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตมากกว่าคนกรุงเทพฯ เพราะไป ทำงานต่างประเทศแต่ภาพเหล่านี้ไม่ได้รับการสรรเสริญ เรายังเห็นว่าคนกรุงเหนือกว่าคนชนบทฉลาดกว่า มีการศึกษาสูงกว่า ถูกหลอกยากกว่าทำอย่างไร ทัศนคติเหล่านี้จะได้รับการแก้ไข ซึ่งเป็นเรื่องที่เอาจับยาก และเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมันตอกย้ำอคติดังกล่าวว่าคนจากต่าง จังหวัดหรือชาวบ้านไม่รู้  หรือไม่มีสำนักทางการเมืองถูกหลอก ซึ่งเป็นอคติซึ่งคนกรุงเองต้องแก้ไขความเข้าใจของตัวเอง ถ้าจะปรองดองเราต้องยอมรับว่าหลายอย่างเราไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต้องยอมว่าเรามีความแตกต่าง ต้องยอมรับว่าสังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมปิดล็อก เยาวชนที่มีภาษาแตกต่างกัน ทัศนการเมืองแตกต่างกัน มีความหวังในชีวิตแตกต่างกันแต่ทำอย่างไรเราจะมาอยู่ร่วมกันในฐานะเพื่อน ร่วมแผ่นดินที่ปัญหาร่วมกัน ต้องสร้างพื้นที่ให้คนที่คิดไม่เหมือนกันมาคุยกัน อาจต้องพัฒนาไม่ใช่เฉพาะที่ภาคใต้ตอนนี้ทั่วประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ วัฒนธรรมในการที่จะอยู่ร่วมกันท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่างได้

นาง ปริตตา กล่าวว่า การเผยความจริงออกเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อนำไปสู่ความยุติธรรม ความเป็นธรรม แต่เราได้แต่ความจริงไม่ได้หัวใจความเกลียด ความโกรธแค้น ความเดือดดาลจะไม่หายไป คิดว่าการเก็บความจริงไม่ง่ายที่จะดำเนินการโดยรัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่กรณี ทำอย่างไรเราจะสร้างพื้นที่เพื่อให้ทุกคนเต็มใจที่จะเล่าเรื่องของตัวเอง และอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สำคัญแต่เป็นเรื่องราวของมนุษย์เพื่อที่จะทำให้เรา เห็นว่าเขาก็เป็นมนุษย์เราก็เป็นมนุษย์ เหตุการณ์สงคราม ความรุนแรงมักจะลดทอนความเป็นมนุษย์ถ้าเราเห็นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ที่ถือปืน ทำให้นองเลือด เป็นผู้ที่ปราบปรามเป็นผู้กดขี่ หรือเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงทำอย่างไรที่เราจะมีวิธีจะเก็บเรื่องราวซึ่ง หลายประเทศหลายเหตุการณ์จะมีการเก็บเรื่องเล่าที่จะทำให้เห็นว่าทุกคนก็เป็น มนุษย์ ทุกคนก็ผิด ทุกคนมีความโกรธ มีความรัก วิธีทำอาจต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย เช่น เครือข่ายในชุมชนเองจะต้องเก็บความจริงเอง และอย่างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรคิดว่ามีเครื่องมือเก็บข้อมูลได้โดยปราศจาก ความระแวงลดความระแวงให้น้อยที่สุด เราน่าจะมีพื้นที่หรือคลังเพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของคลังความจริง อันนี้ เพื่อให้เด็กสักคนที่มาร่วมรู้สึกเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งนั้น และเราสามารถเป็นเพื่อนมนุษย์เดียวกันต่อไปได้

ที่มา: http://www.naewna.com

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net