Skip to main content
sharethis

นักวิชาการและประชาชนใน จ.อุบลราชธานี ร่วมกันลงชื่อขอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ชี้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว การคง พ.ร.ก.สร้างความอึดอัดคับข้องใจกับประชาชน  ส่วนการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับรัฐบาล ก็สมควรเป็นสิ่งที่ทำได้ตามปกติในระบอบประชาธิปไตย ชี้การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่ากับยกเลิกรัฐธรรมนูญเท่ากับบ้านเมืองไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมาย

วานนี้ (23 มิ.ย.) เวลา 13.00  ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีการเสวนาทางวิชาการเนื่องในโอกาส 78 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ภายหลังการเสวนาได้มีการออกแถลงการณ์ให้มีการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่ จ.อุบลราชธานี ดังข้อความในแถลงการณ์ต่อไปนี้

000

  แถลงการณ์ชาวอุบลราชธานีขอให้ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

                   ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในภาวะฉุกเฉินมาระยะหนึ่งแล้วนั้น โดยที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้ตกอยู่ใต้ภายใต้การบริหารของ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวจวบจนบัดนี้ พวกเราชาวจังหวัดอุบลราชธานีหลากหลายสาขาอาชีพดังมีรายชื่อแนบท้ายนี้ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้

                 ประการแรก ขณะนี้สถานการณ์ที่จังหวัดอุบลราชธานีอยู่ในภาวะปกติ ประชาชนทำมาหากินและประกอบกิจกรรมอื่นๆตามที่เคยเป็นมา และในเดือนกรกฎาคมนี้จะมีงานเทศกาลฉลองเทียนพรรษา ซึ่งเป็นงานพิธีของชาวพุทธ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของจังหวัด ส่วนในด้านของการก่อเหตุร้ายก็ไม่มีปรากฏ และถ้าหากจะมี ทางราชการก็สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายในภาวะปกติจัดการได้อยู่แล้ว

                ประการที่สอง การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้รัฐบาลจะอ้างว่าไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติ แต่โดยแท้จริงแล้ว พ.ร.ก. กลับมีผลต่อการรับรู้และแสดงออกทางความคิดและกิจกรรมต่างๆ อย่างยิ่ง อาทิมีการปิดกั้นเวปไซต์อย่างเหมารวม การปิดสถานีวิทยุ การติดตามตรวจสอบการส่งข่าวสารของประชาชน การห้ามพบปะกันเกินกว่า 5 คน  ทั้งที่กิจกรรมเหล่านี้อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองแต่อย่างใดทั้งสิ้น จึงสร้างความอึดอัดคับข้องใจกับประชาชนอย่างมาก หรือแม้กระทั่งหากมีการรวมตัวกันแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับรัฐบาล ก็สมควรเป็นสิ่งที่ทำได้ตามปกติในระบอบประชาธิปไตย หากมีสิ่งใดเกินเลยกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐบาลก็ยังสามารถใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเข้ามายับยั้งได้  

                ประการที่สาม ภายใต้ พ.ร.บ. ฉุกเฉิน ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจอย่างไม่มีขอบเขต จึงปรากฏว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งที่รัฐบาลต้องสงสัยว่ามีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกับรัฐบาล ถูกสอดส่องติดตาม  มีความหวั่นเกรงว่าจะถูกกลั่นแกล้งด้วยการออกหมายจับ และเมื่อถูกหมายจับก็ไม่สามารถจะฟ้องร้องหรือชี้แจงได้ตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งถูกคุมตัวในเรือนจำในเวลานี้ ทั้งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางการเมืองที่ผ่านมา  หรืออาจมีส่วนร่วมในบางกิจกรรม แต่กลับถูกตั้งข้อหาที่เกินไปกว่าความจริง พวกเราไม่ปฏิเสธที่จะให้มีการเอาผิดตามกฎหมายกับบุคคลไม่ว่าฝ่ายใด แต่ขอเรียกร้องให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมตามกระบวนการกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

                ประการสุดท้าย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นการละเมิดหลักการประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง การใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีค่าไม่ต่างกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญ เท่ากับบ้านเมืองไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง  ทั้งหมดนี้ไม่เพียงทำให้รัฐบาลเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ยังทำให้ชาติไทยโดยรวมเสื่อมเสียเกียรติ์คุณอย่างร้ายแรงในสายตาชาวโลก อีกทั้งในขณะที่รัฐบาลต้องการดำเนินการปรองดองและปฏิรูปประเทศไทย การคง พ.ร.บ. ฉุกเฉิน เป็นอุปสรรค์ต่อเจตนารมณ์ดังกล่าว เพราะ มันได้แต่ทำให้เกิดการอึดอัดคับข้องไปจนถึงแค้นเคืองใจ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่เอื้อให้สังคมไทยสร้างสรรค์สิ่งที่ดีร่วมกันในขั้นต่อไปได้เลย

                ด้วยเหตุดังกล่าวพวกเราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน ที่จังหวัดอุบลราชธานีโดยเร็วที่สุด.

   

ชื่อ – สกุล                                                               สังกัดหรืออาชีพ

 1.ผศ.พฤกษ์ เถาถวิล                                 อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. ผศ.กิติพร โชประการ                             อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

3.นายวิเชียร อันประเสริฐ                           อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

4.นางเสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์           อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

5 .นายธีรพล อันมัย                                 อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

6 .ดร.ชมพูนุช ธารีเธียร                            อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

7. นางสาวดวงดาว พันธ์นิกุล                      อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

8. นายแพทย์กิติภูมิ จุฑาสมิต                    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ

9. นายวีรพจน์ ธีรชาญวิทย์                        นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

10.น.ส.อุไรวรรณ ดาวัลย์                         นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

11.นายยุทธนา ดาศรี                              นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

12.น.ส. วินนา หอมโทน                          นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

13.น.ส.ปิรัญญา ยังกองแก้ว                     ประชาชน

14.นายพล บู่แก้ว                                   ประชาชน

15.นายเชษฐา ทองคำ                             นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี                               

16.นายธนานวัฒน์ คำเกิ่ง                         นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

17.น.ส.ฉัตรสุดา หาญบาง                        นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

18. น.ส. ลลิตา มานะสาร                         นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

19.นายธนวัต ศรีลาชัย                             นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

20.นายสุธาวุฒิ เรืองเดช                           นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

21.น.ส. ชลธิชา ศรีโยหะ                          นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

22.น.ส.อุไรวรรณ ผาธรรม                        นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

23.น.ส.ผกาวรรณ นามโครต                     นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

24น.ส.รัชฎาภรณ์ พลเขต                         นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

25.น.ส.ยุพารัตน์ กึงก้อง                          นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

26.น.ส.บุญลักษณ์ ดัชนี                          นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

27.น.ส.วิกานดา อินทรสมหวัง                   นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

28.น.ส.ประภาพันธ์ โพรัง                         นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

29.ดร.ปภัสสร เธียรปัญญา                       อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

30.น.ส. ปุญญิกา บัวงาม                          ประชาชน

31. นายมนต์ชัย สุพล                              นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

32.นายมนัส ทองชื่น                               นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

33.นายศุภกร บุญขาว                             นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

34 น.ส.ประภาพร ชัยพรม                        นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

35.น.ส.สุพัตรา แสนคำยอ                       นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

36.น.ส. ชฎาภรณ์ สานันต์                       นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

37.น.ส. เมธิวรรณ ชินวัง                         ประชาชน

38. นายธนศักดิ์ โพธิ์คุณศรี                     ประชาชน

39.นายเกรียงไกร ศรีธรรม                      นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

40.นายเอกรัฐ ทาตาสุข                          นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

41.นายอนุวัฒน์ เจริญศรี                         นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

42.นายกฤตย์กิตติพงศ์ กิติพิเชฐสรรค์      สื่อมวลชน

43.นายวีระ ทนงค์                                 นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

44.นายคมสันต์ บุญญานุเคราะห์           นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

45.นางสาววรรณวิมล บัวงาม                ครูโรงเรียนลือคำหาญ 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net