สถาบันธรรมรัฐแนะ 3 แนวทาง บริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด

“บัณฑูร” ชี้ทิศทางการพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยองวันนี้ยัง ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน พร้อมเสนอ 3 แนวทางการบริหารจัดการปัญหา ต้องตั้งเป้าทิศทางการพัฒนาให้ชัด เปิดพื้นที่การเมืองเรื่องสิ่งแวด ล้อม รวมทั้งปฏิรูปเครื่องมือบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้ทำงานได้จริง

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และอดีตโฆษกคณะกรรมการแก้ปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงทิศทางการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพพื้นที่มาบตาพุด ในงานประชุมวิชาการ “Thai Professionals Conference 2010 : Green Thailand และ ก้าวต่อไปความร่วมมือระหว่างการอุดมศึกษาไทยและนักวิชาชีพไทยใน ต่างประเทศ” ซึ่งจัดขึ้นโดย โครงการสมองไหลกลับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า มาบตาพุดเป็นปรากฏการณ์ของปัญหา ที่เปรียบเสมือนยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาเท่านั้น เพราะ ยังมีปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้อีกมากในแทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ขณะเดียวกันมาบตาพุดยังเป็นตัวสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบ บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ โครงสร้างด้านระบบกฎหมายสิ่งแวดล้อมและและรัฐ ธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องกัน

“แนวทางในการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพพื้นที่มาบ ตาพุดและจังหวัดระยอง ที่อยากนำเสนอมีอยู่ 3 ประเด็นหลักๆ คือ ประเด็น แรก เรื่องทิศทางการพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง ทุกวันนี้เวลาการแก้ปัญหาหรือแม้แต่กลไกตามมาตรา 67 ที่ใช้อยู่ เรา ดูทีละโครงการที่เข้ามาสู่กระบวนการพิจารณา แต่โจทย์สำคัญที่วันนี้ชาวบ้านมาบตาพุดเริ่มตั้งคำถาม และจะดังขึ้นเรื่อยๆ ว่า อีก 10 ปีข้างหน้า จังหวัดระยองจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร จะออกมาในทิศทางใด ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมามีการจัดเวทีในการพูดคุยกัน และมีข้อเสนอจากคนในพื้นที่ถึงทิศทางการพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดออก เป็นหลายแนวทาง เช่น แนวทางแรก ต้องหยุดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม แนวทางที่สอง คือ ยินยอมให้เพิ่มอีก 76 โครงการแล้วหยุดขยาย แนวทางที่สาม สามารถเพิ่มขยายการพัฒนาอุตสาหกรรมได้ต่อไป แต่ต้องเป็นโครงการที่ผ่านกฎหมาย และผ่านการอนุมัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ อีกทั้งระยะหลังเริ่ม มีบางความคิดเสนอว่า มีการขยายอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไปได้ แต่ควรเป็นอุตสาหกรรมด้านการเกษตร หรือด้านพลังงานทางเลือก เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกัน ไม่มีกรรมการชุดใดที่จับโจทย์เรื่องนี้มาวิเคราะห์อย่างจริงจัง ว่าแต่ละทางเลือกมีข้อดี ข้อเสีย หรือข้อจำกัดอย่างไร ศักยภาพ ในการรองรับมลพิษทางอากาศที่มาบตาพุดเป็นอย่างไร ทางเลือกไหนดีกว่ากัน”

นายบัณฑูร กล่าวว่า ประเด็นที่สอง คือ การ เปิดและขยายพื้นที่การเมืองด้านสิ่งแวดล้อม สืบเนื่องจากกระแสโลกา ภิวัตน์ก่อให้เกิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ระบอบเสรี ประชาธิปไตย และกระแสทางด้านสิ่งแวดล้อมโลก ส่งผลให้เกิดแรงกดดันทางด้านการ จัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยระบอบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ที่เกิดขึ้น ทำให้มีการถ่ายโอนอำนาจสู่ตลาด ทั้งการลงทุนข้ามชาติ ข้อตกลงระหว่างประเทศ อาทิ WTO FTA ที่อาจมีผลให้อำนาจรัฐลดลง ส่วนกระแสระบอบของเสรีประชาธิปไตย เห็นได้ชัดจากกรณีมาบตาพุด ซึ่งมีพลเมืองที่ตื่นตัวมากในทุกพื้นที่ เช่น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นอีกกลไกที่เข้ามาตรวจสอบมากกว่าที่รัฐจะสามารถตัดสินใจ ได้โดยลำพัง ด้านกระแสสิ่งแวดล้อมโลก ที่เข้ามาในกระบวนการมาตรา 67 เรื่องมาบตาพุดโดยตรง อาทิ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA ) หรือองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กรีนพีซ ซึ่งถ้าไม่มีการปรับเรื่องพื้นที่ทางการเมือง เรื่องสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ตรงนี้ก็ไม่สามารถลุล่วงไปได้

“ทุกวันนี้ในพื้นที่ จะเห็นว่ามีผู้เล่นหลายระดับ ทั้งหน่วยงานส่วนกลาง เช่น คณะกรรมการ 4 ฝ่าย คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานในพื้นที่ เช่น คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด นิคมอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์กรอิสระ รวมทั้งยังมีเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออก กรีนพีซ เป็นต้น ดังนั้นภายใต้กลไกที่มีผู้เล่นมากเช่นนี้ จึงอยากเสนอแนวคิด “การบริหารปกครองหลายระดับ (Multi level governance)” ในการนำไปปรับใช้ในออกแบบพัฒนา อาทิ โครงสร้างองค์กรบริหารจัดการ เพื่อเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้เครือข่ายทุกระดับได้เดินหน้าทำ หน้าที่ของตนเองต่อไปได้ ทำอย่างไรให้ทุกหน่วยงานทำงานเชื่อมโยงกัน มีกระบวนการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจร่วมกัน อีกทั้งระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ต้อง ไม่ใช่แค่มีเครื่องมือวัดซึ่งตั้งอยู่ตามสถานีต่างๆ แต่ทุกภาคส่วนต้องเข้าไปทำงานเชื่อมประสานกัน ตรวจสอบซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความไว้ใจว่าข้อมูลที่ออกมาเชื่อถือได้มากที่สุด”

นายบัณฑูร กล่าวว่า สำหรับประเด็นสุดท้าย คือ เครื่องมือเพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพ สิ่งสำคัญคือต้องมีการปรับปรุงเครื่องมือที่ มีอยู่เดิม อาทิ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ซึ่งมีการใช้กันมากว่า 20 ปีแล้ว แต่กลับยังมีปัญหาเชิงระบบอยู่มาก ทั้งปัญหาในเชิงหลักการ การจัดทำ การพิจารณา และการติดตาม ซึ่งมาบตาพุดเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่สะท้อนชัดว่า หลายโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ไม่ได้ดำเนินการและปฏิบัติตามกระบวน การที่วางไว้อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังต้องมีการพิจารณา เครื่องมือใหม่ เช่น การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์(strategic environment Assessment : SEA) เพื่อการวิเคราะห์ คาดการณ์ และประเมินทางเลือกในเชิงนโยบาย นอกจากนี้ ก็มีเครื่องมือทางด้านกฎหมาย เช่น กลไกยุติข้อพิพาท เครื่องมือทางด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม กองทุนประกันความเสียหาย เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ถ้าหากวันนี้เราไม่สามารถนำบทเรียนจาก มาบตาพุด มาเป็นโจทย์ในการหาทิศทางการแก้ปัญหาในระยะยาวได้ เชื่อว่าในอนาคตย่อมเกิดปรากฏการณ์มาบตาพุดสอง มาบตาพุดสามในพื้นที่อื่นๆ อย่างแน่นอน นายบัณฑูร กล่าวทิ้งท้าย
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท