Skip to main content
sharethis

อรรคพล สาตุ้ม กลุ่มอิสระคนรุ่นใหม่ เชียงใหม่ และสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง NGO กรรมการ กป.อพช.อีสาน และฝ่ายวิชาการ กป.อพช.(ระดับชาติ) ในซีรี่ส์ "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" กิจกรรมตีปี๊บ "เวทีทบทวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย

ตอน 19 อรรคพล สาตุ้ม

"ขบวนการภาคประชาชนที่ผ่านมา เราพยายามจะทบทวนและนิยามตัวเองว่านอกจากกลุ่มของทุนและรัฐ ซึ่งมันก็มีปัญหาว่า ตอนนี้ในภาคประชาชนเรานี้มันแยกแตกต่างเป็นหลายฝ่าย ซึ่งมีฝ่ายหนึ่งก็เข้ากับฝ่ายที่เราเรียกง่ายๆ ว่าฝ่ายเหลือง ซึ่งฝ่ายเหลืองเราก็รูว่ามันเป็นเรื่องที่ผิด แต่ก็ยังไม่มีการยอมรับผิด การที่มันทำร้ายระบบประชาธิปไตยอย่างมาก ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ล้าหลัง ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังไปสู่การรัฐประหาร เหมือนกับการพยายามดึงเรื่องเขาพระวิหาร หรือการที่เราพยายามจะกู้ชาติ การพยายามจะล้าหลังคลั่งชาติกันต่อไป มันก็ยังเป็นปัญหาที่ท้าทายและต้องทบทวนขบวนการภาคประชาชน"

"เอ็นจีโอ ซึ่งก็คือพวกที่ทำงานภาคประชาชน พยายามทำให้คนเข้าใจเรื่องประชาธิปไตย แต่ปัญหาในเรื่องหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง และปัญหาพื้นฐานทางประชาธิปไตยก็ถูกทำให้เป็นเรื่องที่ถูกลืมไป ทั้งที่ความเป็นจริงประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเรายังไปสนับสนุนรัฐบาลที่สนับสนุนเรื่องเกี่ยวกับทหารและระบอบอำมาตยาธิปไตย จะทำให้คนเกิดอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชัง และไม่มีทางออกในการแก้ปัญหาอย่างนี้ต่อไป"

"ในการทบทวนและรัฐตัวของภาคประชาชน เราจะต้องเริ่มรู้สึกว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ถูก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่ว่าปัญหาในปัจจุบันนี้คือบางคนไม่ยอมรับว่าตัวเองทำสิ่งที่ผิดไป จึงดันทุรังที่จะทำผิดต่อไปอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก"

"ผิดต่อประชาธิปไตย และผิดต่อคนที่ตายไป โดยไม่ยอมรับผิดชอบต่อคนที่เสียชีวิตและคนที่บาดเจ็บ แล้วไปเห็นด้วยกับการไล่ฆ่าสังหารคน ปล่อยให้คนบาดเจ็บเป็นผู้ก่อการร้ายไป" อรรคพล สาตุ้ม กลุ่มอิสระคนรุ่นใหม่ เชียงใหม่

000

ตอน20 สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง

"หลายคนอาจจะบอกว่ามันมีคนจำนวนหนึ่ง เป็นต้นว่าเอ็นจีโอมาเคลมตัวเองว่าเป็นภาคประชาชน ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับฉันทานุมัติ บางทีก็มีคำถามว่าประชาชนคนไหนเลือกคุณมาเป็นตัวแทน แต่เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น"

"คำว่าภาคประชาชนในความหมายของเรา ที่เราเข้าใจ คำว่าภาคประชาชน หมายถึง ไม่ใช่ประชาชนคนทั่วไป 63 ล้านคนในประเทศไทยนะ แต่มันคือคนที่เข้าใจและตระหนักในเรื่องสิทธิของตัว เข้าใจว่าตัวเองจะต้องมามีส่วนกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศ มาตรวจสอบควบคุมรัฐ สิ่งเหล่านี้แหละ องค์กรเหล่านี้และที่เรียกว่าภาคประชาชน"
 
"เอ็นจีโอน่าจะมีบทบาท 2 อันแรกคือตัวเองเป็นหนึ่งในภาคประชาชน เราเชื่อว่าเอ็นจีโอก็ส่วนที่จะแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม เพื่อที่จะทำให้สังคมมันดีขึ้น เอ็นจีโอก็เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาชน ในขณะเดียวกันเอ็นจีโอ ถ้า สมมติเรามองว่ามาจากคนชั้นกลางที่อาจจะเรียนหนังสือเยอะหน่อย มีประสบการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคมมากหน่อย เอ็นจีโอก็น่าจะมีบทบาทในทางเป็นพี่เลี้ยง ช่วยสนับสนับสนุนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนกลุ่มอื่นๆ"

"ตราบใดที่มันยังมีรัฐและยังมีผู้ที่ถูกผลกระทบจากการพัฒนา หรือการดำเนินการของรัฐที่ทำให้เขาเสียหาย เราคิดว่าบทบาทของเอ็นจีโอไม่น่าจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรนะ 1.ก็เป็นปากเป็นเสียงในฐานะที่ตัวเองก็เป็นภาคประชาชน 2.ก็คือสนับสนุนกลุ่มและองค์กรอื่นๆ ของภาคประชาชนที่กำลังทำงานปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของตนเอง” สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง NGO กรรมการ กป.อพช.อีสาน และฝ่ายวิชาการ กป.อพช.(ระดับชาติ)

.....................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความ ขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net