Skip to main content
sharethis

วารสารถูกสั่งแบนเหตุพาดหัวข่าว “กันยายน” / ตานฉ่วยสั่งการ อาคารรัฐสภาต้องพร้อมช่วงการเลือกตั้ง/พรรคไทยใหญ่ ตัดสินใจส่งผู้สมัครหญิงลงเลือกตั้ง / พรรค USDP เปิดสำนักงานทั่วประเทศ / ยูซานาร์ ฮุบที่ดินชาวบ้านเกือบ 1,000 ครอบครัว / อาหารพม่าได้รับความสนใจในเทศกาลอาหารโลก

 
16 สิงหาคม 2553 
 
วารสารถูกสั่งแบนเหตุพาดหัวข่าว “กันยายน”
วารสาร ในย่างกุ้งรายสัปดาห์ชื่อ โมเดิร์นไทมส์ ถูกสั่งห้ามพิมพ์เป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์จากกองตรวจสอบและการจดทะเบียนสื่อ (The Press Scrutiny and Registration Division -PSRD) ซึ่งเป็นคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของพม่า หลังจากพาดหัวข่าวเกี่ยวกับสภาพอากาศในหน้าแรกซึ่งมีข้อความว่า “มันกำลังจะมาในเดือนกันยายนนี้หรือไม่?”
 
นักข่าวในกรุง ย่างกุ้งต่างเปิดเผยว่า ข่าวดังกล่าวได้รายงานเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุในเดือนกันยายน ตามที่นักอุตุนิยมวิทยาที่รู้จักกันดีคือ ดอกเตอร์ตั่นวิน ออกมาเปิดเผยว่า ในฤดูฝนนี้อาจจะมีฝนตกหนักและมีโอกาสที่จะเกิดพายุ ซึ่งได้นำภาพความเสียหายจากพายุนาร์กิสเมื่อปี 2008 ลงตีพิมพ์ด้วย
 
ทั้งนี้ นักข่าวคนหนึ่งกล่าวว่า เป็นการเขียนวิเคราะห์สภาพอากาศและความเป็นไปได้ตามลักษณะการเขียนข่าวทั่วไป แต่คำว่า กันยายน กลับเป็นคำที่คณะกรรมการเซ็นเซอร์ของพม่า สงสัยว่าอาจมีหมายถึงการครบรอบ 3 ปี ของเหตุการณ์การประท้วงของพระสงฆ์ในปี 2550 (2007) ที่ผ่านมา จึงทำให้ตัดสินใจแบนวารสารดังกล่าว
 
อย่างไรก็ตาม มีหนังสือพิมพ์และวารสารของบริษัทเอกชนจำนวน 187 ฉบับ ได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาระสนเทศของพม่า ซึ่งภายใต้กฎข้อบังคับของสื่อแล้ว สื่อสิ่งพิมพ์เหล่านี้จะต้องส่งต้นฉบับให้กองตรวจสอบและการจดทะเบียนสื่อ ตรวจสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้ง (Irrawaddy)
 
 
17 สิงหาคม 2553 
 
ตานฉ่วยสั่งการ อาคารรัฐสภาต้องพร้อมช่วงการเลือกตั้ง
พลเอกอาวุโสตายฉ่วย สั่งการกำชับต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงในการประชุมหารือรอบพิเศษ เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า การก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในอนาคต ในเมืองเนปีดอว์ จะต้องเสร็จสมบูรณ์ระหว่างการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง
 
ทั้งนี้ อาคารรัฐสภาหลังดังกล่าว จะถูกใช้เป็นที่พักของประธานรัฐสภาและรองประธานในอนาคต และจะใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนาหรือ USDP (Union Solidarity and Development Party) ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีเต็งเส่ง
 
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งระบุว่า หลังจากการการเลือกตั้ง รัฐสภาก็จะถูกจัดตั้งทันที ดังนั้นอาคารต้องมีความพร้อม ส่วนสัญลักษณ์ของพรรค USDP คือรูปสิงโต สง่างาม จะตั้งอยู่ที่อาคารสำนักงานใหญ่ของพรรค
 
ทั้งนี้รัฐบาลใช้เงินใน การก่อสร้างนับล้านเหรียญสหรัฐ หลังการประชุม มีรายงานว่า พลเอกอาวุโสหม่องเอได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้รับเหมากว่า 20 บริษัทเร่งดำเนินการก่อสร้างตามคำสั่งของพลเอกอาวุโสตานฉ่วย (Irrawaddy)
 
 
18 พฤษภาคม 2553 
 
พรรคไทยใหญ่ ตัดสินใจส่งผู้สมัครหญิงลงเลือกตั้ง
พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติไทใหญ่ (The Shan National Democratic Party - SNDP) ส่งผู้สมัครหญิงลงสนามเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้การตัดสินใจมาจากที่ประชุมกรรมการพรรคสาขาเมืองหมู่เจ้ ในรัฐฉานตอนเหนือตรงข้ามกับเมืองรุ่ยลี่ของจีน โดยใช้ระบบการลงคะแนนลับ ซึ่งได้ผู้ลงสมัครที่ได้รับเลือกจากสมาชิกในพรรคทั้งหมด 16 คน
 
หนึ่งในผู้ที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ นางหง่วยหง่วยวัย 54 ปี จบปริญญาด้านศึกษาศาสตร์ เป็นเจ้าของโรงเรียนในเมืองหมู่เจ้ และปัจจุบันได้ลาออกจาการเป็นครูแล้ว โดยเธอจะลงสมัครเลือกตั้งสภาในนามผู้สมัคจากรัฐฉาน
นอกเหนือ จากนางหง่วยหง่วยจากเมืองหมู่เจ้แล้ว ยังมีผู้หญิงที่คาดว่าจะได้รับการคัดเลือกจากเมืองอื่น ๆ อีก 40% ของสมาชิกพรรค SNDP ที่เป็นผู้หญิง โดยยังพบว่า ผู้หญิงราว10% จากจำนวน 40 % ในพรรค SNDP ยังพบว่า ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการบริหารระดับสูงของพรรครวมอยู่ด้วย
 
ทั้งนี้ มีรายงานว่าผู้หญิงที่เข้าร่วมกับพรรคมาจากทางตอนเหนือของรัฐฉาน เช่น เมืองน้ำตู้ เมืองน้ำคำ เมืองหมู่เจ้และเมืองกึ๋ง ในรัฐฉานตอนใต้ ตามด้วยจังหวัดท่าขี้เหล็ก ที่อยู่ติดกับ อ.แม่สายของประเทศไทย (S.H.A.N )
 
 
19 สิงหาคม 2553
 
พรรค USDP เปิดสำนักงานทั่วประเทศ
พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา หรือ USDP (Union Solidarity and Development Party) ที่นำโดยนายกรัฐมนตรี เต็งเส่ง ได้เปิดที่ทำการสาขาพรรคตามหัวเมืองใหญ่ในพม่า เช่น ในเนปีดอว์ กรุงย่างกุ้ง เมืองมัณฑะเลย์ พร้อมกันในเช้าวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ พรรค USDP อ้างว่า มีสมาชิกแล้วว่า 8 ล้านคน 
 
ขณะที่แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การเปิดสาขาพรรคครั้งนี้ พรรค USDP มีแผนจะรวมตัวเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับผู้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่พรรคUSDP ของรัฐบาลพม่าใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ (Irrawaddy)
 
ยูซานาร์ ฮุบที่ดินชาวบ้านเกือบ 1,000 ครอบครัว
ที่ดิน กว่า 10,000 เอเคอร์ (ประมาณ 25,000 ไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวและทำเกษตรกรรมของชาวบ้านกว่า 1 พันครอบครัวใน 5 หมู่บ้านซึ่งได้แก่หมู่บ้าน วาราสุป, บางกก, นัมใส, อองรายัง และหมู่บ้านสะทูสุป ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาฮุกวาง รัฐคะฉิ่น ถูกบริษัทยูซานาร์ยึดไปเพื่อทำไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง ทั้งนี้ชาวบ้านกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากไร้ที่ไร้ที่ทำกิน โดยชาวบ้านบางส่วนได้หาที่ดินในการเพาะปลูกผืนใหม่ในเขตภูเขาที่อยู่ไกลออก ไป ขณะที่ชาวบ้านบางส่วนต้องหาของป่าเพื่อแลกกับข้าวและของจำเป็นอื่นๆ
 
ทั้ง นี้ บริษัทยูซานาร์ที่นำโดย นายอูเทมิ้น ได้บุกรุกเข้าไปในหุบเขาฮูกวางในปี 2549 ที่ผ่านมาและยึดที่ดินของชาวบ้านในพื้นที่ไปกว่า 400,000 เอเคอร์ (ประมาณ 1 ล้านไร่) ซึ่งรวมถึงผืนป่าธรรมชาติ
 
ในขณะเดียวกัน บริษัทดังกล่าวได้ย้ายชาวพม่าหลายพันคนเข้ามาในพื้นที่หุบเขาดังกล่าว ในลักษณะของคนงานอย่างต่อเนื่อง มีรายงานเช่นเดียวกันว่า คนงานหลายคนในบริษัทมักจะหนีออกมาจากแคมป์คนงานเพราะไม่ได้รับเงินเดือน ติดต่อกันหลายเดือน อย่างไรก็ตามแรงงานพม่าเหล่านี้ก็ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้จึงตั้งตั้ง รกรากอยู่ในหุบเขาดังกล่าว
 
นอกจากนี้ ชาวพม่าเริ่มเข้ามาในเขตพื้นที่ดังกล่าว นับตั้งแต่มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลและองค์กรเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Organization-KIO) เมื่อปี 2537 อย่างไรก็ตาม แม้การยึดที่ดินของบริษัทพม่า รวมไปถึงการทะลักเข้ามาของชาวพม่าในพื้นที่ จะสร้างความไม่พอใจ แต่มีรายงานว่า ชาวบ้านในพื้นที่ไม่สามารถทำอะไรได้ (Kachin News Group)
 
 
21 สิงหาคม 2553
 
อาหารพม่าได้รับความสนใจในเทศกาลอาหารโลก
เทศกาลอาหารโลกที่จัดขึ้นที่เมือง Vung Tau ประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 21 – 25 กรกฎาคมที่ผ่าน ปรากฏว่า อาหารพม่าได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอาหารเมณูเส้น ข้าวเหนียวและปลาทอด ทั้งนี้ ผิ่วผิ่ว ติ่น เจ้าของภัตตาคารจากกรุงย่างกุ้งที่ไปร่วมงานในครั้งนี้เปิดเผยว่า อาหารพม่าขายดีจนไม่พอกับจำนวนผู้ที่เข้ามาเที่ยวงาน โดยผิ่วผิ่ว ติ่นเปิดเผยว่า เหตุที่มีชาวต่างชาติให้ความสนใจอาหารพม่า เนื่องจากรสชาติอาหารพม่ายังแปลกใหม่และอาหารพม่ายังไม่เป็นที่รู้จักนักใน ระดับนานาชาติ
 
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า แม้ทางการพม่าจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านอาหารเข้าร่วมในเทศกาลอาหารโลก ในครั้งนี้ แต่กลับพบว่า รัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการแต่อย่างใด (Mizzima)
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net