เครือข่ายภาคประชาชนจี้รัฐผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯ

เครือข่ายสนับสนุนกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข กดดันให้รัฐบาลตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ประชาชน และเรียกร้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ทำหน้าที่เร่งพิจารณากฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขให้ทันในสมัยประชุม

เมื่อวันที่ 5 ต.ค.เครือข่ายภาคประชาชนที่สนับสนุนกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการ สาธารณสุข จำนวน 3,000 คน กดดันให้รัฐบาลตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ประชาชน และเรียกร้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ทำหน้าที่เร่งพิจารณากฎหมายคุ้มครองผู้ เสียหายจากบริการสาธารณสุขให้ทันในสมัยประชุมนี้

ในแถลงการณ์ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับกลุ่มแพทย์ที่คัดค้านและ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องการ ให้ขยายมาตรา 41 เพราะไม่สามารถทำได้เนื่องจากมาตรา 41 ระบุไว้อย่างชัดเจนให้ช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้น นอกจากจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายซึ่งจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และที่สำคัญเป็นการเลือกปฏิบัติกับสถานพยาบาลบางกลุ่มไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน หรือสถานพยาบาลทั้งหมดที่ให้บริการประชาชนในปัจจุบัน พร้อมย้ำว่า การเสนอเรื่องนี้ของกลุ่มที่คัดค้านทำเพื่อล้มกฎหมายฉบับนี้เท่านั้น

นอกจากนี้เครือข่ายภาคประชาชน ยังขอขอบคุณคณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีและคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตลอดจนสภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ และสภาวิชาชีพอื่น ๆ ที่สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้

พร้อมทั้งขอประณามแพทยสภาที่ไม่อยู่กับร่องกับรอยกีลกฎหมายฉบับนี้ สมาคมโรงพยาบาลเอกชน แพทยสมาคม สหพันธ์แพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข สมาคมคลินิกเอกชน ที่คัดค้านกฎหมายโดยไม่ยึดหลักเหตุผลและไม่สนับสนุนการแก้ปัญหาร่วมกันในที่ ประชุม

เครือข่ายภาคประชาชนเชื่อว่าเหตุผลสำคัญในการคัดค้านขณะนี้ ไม่ได้อยู่ที่สาระของ กฎหมาย แต่กลุ่มคัดค้านมีทั้งคัดค้านที่ไม่รับฟังเหตุผล และขาดหลักประกันในการมีส่วนร่วมในการพิจารณากฎหมายในขั้นตอนของรัฐสภา ถึงแม้ว่า กลุ่มแพทย์ที่คัดค้านได้เสนอร่างพ.ร.บ. ผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... แต่การเสนอกฎหมายมีขั้นตอนอีกมากซึ่งหากเป็นไปตามขั้นตอนเช่นเดียวกันกับ กฎหมายของภาคประชาชน(5 มิถุนายน 2552 - 4 พฤษภาคม 2553)  จะ ทำให้กฎหมายของผู้คัดค้านไม่สามารถบรรจุวาระได้ทันในการพิจารณาของสภาผู้แทน ราษฎรในสมัยนี้ กลุ่มผู้คัดค้านจึงต้องทำทุกวิถีทางที่จะสกัดการพิจารณากฎหมายทั้งที่ไม่มี เหตุผล เช่น การวอคเอาท์ไม่ร่วมประชุมเพื่อหาข้อตกลงรายละเอียดของข้อกฎหมายที่แตกต่าง กัน

ภาคประชาชนเห็นว่าเพื่อให้สามารถพิจารณา กฎหมายได้ทันในสมัยประชุมนี้ จึงมีความสำคัญที่พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านที่เห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับ นี้ ให้หลักประกันการมีส่วนร่วมของแพทย์ที่คัดค้านในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณากฎหมาย(จัดสรรโควตากรรมาธิการ) รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาควรเร่งเดินหน้าอย่างเร่งด่วนในการพิจารณากฎหมายที่เป็น ประโยชน์กับประชาชนทุกคน เพื่อลดความเหลี่ยมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคมไทย

เวลา 12.30 น. เครือข่ายภาคประชาชนได้เข้าพบนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เพื่อเรียกร้องให้ทางสภาฯ เร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ให้ทันสมัยประชุมนี้ โดยนายสามารถ กล่าวว่า เรื่องการเร่งรัดดังกล่าว ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการประสานงานร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านจะตกลงว่าจะเลื่อน วาระพิจารณร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมได้เมื่อไร เพราะขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ทั้ง 7 ฉบับถูกบรรจุในวาระการประชุมด่วนอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามเพื่อความสบายใจของประชาชนและเครือข่ายที่เรียกร้อง ช่วงบ่ายวันนี้ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อให้ทางส.ส.ฝ่ายค้านช่วยเสนอไปยังรัฐบาลให้นำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาให้ทันสมัยการประชุมสามัญ นิติบัญญัติก่อนหมดสมัยในวันที่ 28 พ.ย.นี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท