สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 11 - 17 ต.ค. 2553

ก.แรงงาน เปิดเวทีถกปัญหาสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

11 ต.ค. 53 - นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงานฝ่ายการเมือง กล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะจัดประชุมวิชาการประจำปี 2553 โดยการเปิดเวทีเสวนาประกันสังคมยุคใหม่ เพื่อสังคมไทยที่เข้มแข็งในโอกาสที่สำนักงานประกันสังคมครบรอบ 20 ปี พร้อมเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง อาทิ สถานประกอบกิจการ ผู้ประกันตน สภาองค์การนายจ้าง-ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรู้และเข้าใจการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม รวมถึงร่วมถกปัญหาการพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม เช่น กรณีชราภาพ กรณีสงเคราะห์บุตร และระบบบำเหน็จบำนาญ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เจ้าของนโยบายคำไหน...คำนั้น...คำมั่น...เพื่อแรงงานที่ต้องการให้กระทรวงแรงงานเป็นองค์กรหลักในการดูแลรับผิดชอบผู้ใช้แรงงาน และผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ครบถ้วนตั้งแต่ก้าวเข้ามาเป็นผู้ ประกันตนจนกระทั่งเสียชีวิต โดยการปฏิรูปประกันสังคม ซึ่งจะเข้าร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ นโยบายด้านการประกันสังคมปัจจุบัน และอนาคตด้วย

สำหรับเวทีการเสวนาภายในงาน ผู้ร่วมงานสามารถเลือกสรร ร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้หลากหลายมุมมอง โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาวิชาชีพต่างๆ มาแบ่งปันประสบการณ์ อาทิก้าวต่อไปของประกันสังคมโดยที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร (นายนคร มาฉิม) ศาสตราภิธาน รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ความรู้ง่ายๆ กับกฎหมายประกันสังคมโดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิชการปฏิรูปการประกันสังคมกรณีชราภาพ : ประสบการณ์ที่เป็นบทเรียนสำหรับประเทศไทยโดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ (ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการลงทุน (น.ส.นวพร เรืองสกุล) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ทางเลือกในการปฏิรูปการประกันสังคมกรณีชราภาพ สำหรับประเทศไทยโดย ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง (นายประสิทธิ์ จงอัศญากุล) และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง (นายพนัส ไทยล้วน)

ทั้งนี้ ผู้สนใจและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน ประกันสังคมยุคใหม่ เพื่อสังคมไทยที่เข้มแข็งในวันที่ 15 ต.ค.53 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี สอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวัน เวลา 07.00-19.00 น. ระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการ 24 ชั่วโมง

(บ้านเมือง, 11-10-2553)

บอร์ดค่าจ้างยังไม่สรุปปรับขึ้นค่าแรงปี 54 เหตุยังเป็นชุดรักษาการ

11 ต.ค. 53 - นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางว่าวันนี้จะยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับ ขึ้นค่าจ้างประจำปี 54 โดยจะเป็นเพียงการหารือถึงแนวทางและกรอบความคิดการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของแรงงานและต้นทุนของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ ยังต้องรอการประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการค่าจ้างกลางอย่างเป็นทางการภายใน สัปดาห์หน้า เพราะคณะกรรมการชุดนี้ยังเป็นชุดรักษาการซึ่งจะมีวาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี จึงทำให้ไม่สามารถมีมติการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีได้

ขณะเดียวกันต้องใช้เวลาในการรวบรวม ข้อมูลสรุปตัวเลขอัตราค่าจ้างที่คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดได้ส่งมาให้ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.53 ซึ่งจะทราบข้อมูลการปรับขึ้นค่าจ้างได้ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.นี้ โดยมีเวลาเพียงพอในการประกาศขึ้นค่าจ้างอย่างเป็นทางการตั้งแต่ต้นปี 54 เพื่อให้ผู้ประกอบการและแรงงานได้มีเวลาปรับตัวทัน

สำหรับการเสนอกรอบการปรับขึ้นค่า จ้างแบบก้าวกระโดดมาเป็น 250 บาท/วันเท่ากันทั่วประเทศตามแนวคิดของนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเพียงกรอบที่ต้องการให้คุณภาพชีวิตแรงงานไทยดีขึ้น แต่หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างครั้งนี้คณะกรรมการจะศึกษาจากค่าครองชีพของ แรงงาน, ต้นทุนของผู้ประกอบการ และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นไปตามกรอบที่นายกรัฐมนตรีให้ไว้หรือ ไม่

ส่วนแนวทางการแบ่งค่าจ้างเป็นโซนตาม พื้นที่นั้น จะนำมาหารือถึงข้อดีข้อเสียและผลกระทบตามพื้นที่อย่างรอบคอบเพราะหากปรับ ขึ้นเป็นโซนจะส่งผลต่อพื้นที่ใกล้เคียงที่มีอัตราค่าจ้างไม่เท่ากัน และจะทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในอนาคต

(อินโฟเควสท์, 11-10-2553)

สื่อนอกตีข่าวอภิสิทธิ์ไปพม่าหารือเรื่องแรงงาน-ปิดด่าน

สำนักข่าวต่างประเทศเสนอรายงานกรณี นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของไทย เดินทางไปเยือนพม่าเป็นเวลา 1 วัน โดยนายกฯอภิสิทธิ์ขึ้นเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศ มุ่งหน้ากรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า และมีกำหนดจะพบปะกับพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำรัฐบาลทหารพม่า และนายกรัฐมนตรีเต็ง เส่ง

นายกฯอภิสิทธิ์ได้กล่าวต่อผู้สื่อ ข่าวก่อนออกเดินทางว่า จะหารือระดับทวิภาคีกันในประเด็นสำคัญ เช่น แรงงานอพยพชาวพม่าและการปิดด่านชายแดนแม่สอด โดยพม่าให้เหตุผลว่าไม่พอใจการสร้างเขื่อนกันน้ำเซาะตลิ่งของไทย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ด่านชายแดนแม่สอด-เมียวดี เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่างไทยกับพม่า โดยเฉพาะสินค้าที่หลั่งไหลเข้าไปในพม่า การปิดด่านส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้าอุปโภค-บริโภคหลายรายการในย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงของพม่า ที่ปัจจุบันมีฐานะเป็นเมืองท่าที่สำคัญ

นายกฯอภิสิทธิ์มีกำหนดเยือนย่างกุ้ง ที่พ้นสภาพเมืองหลวงเมื่อปี 2547 แต่ยังเป็นที่ตั้งของสถานทูตและธุรกิจส่วนใหญ่ ขณะที่ไทยตั้งความหวังว่าจะไปเข้าไปพัฒนา "ทวาย" ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของพม่า เพื่อเป็นท่าเรือและศูนย์กลางอุตสาหกรรมให้กับบริษัทของไทย


(เนชั่นทันข่าว, 11-9-2553)

เสียงจาก 39 คนงานไทย ยืนยันเรียกร้องสิทธิที่สวีเดนต่อ

11 ต.ค. 53 - จรรยา ยิ้มประเสริฐ ประธานสหภาพคนทำงานต่างประเทศแห่งประเทศไทย  สัมภาษณ์คนงานไทยที่ไปเก็บลูกเบอร์รี่ในสวีเดนและยังยืนยันที่จะต่อสู้อยู่ ที่สวีเดน โดยคนงานให้ข้อมูลพื้นฐานว่าก่อนที่จะมาทางนายหน้าได้บอกและรับประกันว่าจะ ไม่มีการขาดทุน และได้บอกกับคนงานว่าเป็นโควตาของแรงงานที่จะสามารถเก็บผลไม้ได้เกินเป้า แต่เมื่อไปทำงานจริงๆ แล้วพบว่ามีคนที่ได้เกินเป้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น

คนงานเล่าต่อว่าสาเหตุที่เก็บผลไม้ ไม่ได้ตามเป้านั้นเพราะเดินทางมาถึงที หลัง แรงงานกลุ่มอื่นรวมถึงอากาศเย็น ซึ่งเหตุผลที่คนงานไปถึงสวีเดนช้านั้นเพราะว่าต้องหาเงินเพิ่มให้กับนายหน้า (นอกเหนือจากค่าเดินทาง 25,000 บาท) โดยคนงานบางคนต้องยอมเป็นหนี้สินที่ประเทศไทยเพราะต้องนำใบโฉนดที่ดินไปกู้ เงินจากแหล่งทุน รวมถึงให้ญาติพี่น้องช่วยหยิบยืมมาอีกต่อหนึ่ง

ในเรื่องการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย นั้น คนงานที่ยังอยู่ที่สวีเดนได้กล่าวว่าทางการไทยได้ให้คำแนะนำว่าให้กลับมายัง ประเทศไทยก่อนแล้วค่อยแจ้งความดำเนินคดีเกลี้ยกล่อมให้กลับบ้าน โดยกรณีของเพื่อนคนงานไทยที่เดินทางกลับบ้านไปก่อนเมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมานั้น (ดู: คนงานบางส่วนที่ถูกหลอกไปเก็บผลไม้สวีเดนกลับไทยแล้ว) คนงานที่สวีเดนกล่าวว่าได้สอบถามเพื่อนที่กลับบ้านไปแล้วและได้ความว่าความ ช่วยเหลือในขั้นต้นคือการให้ลงชื่อไว้กับทางการไทย และได้เงินช่วยเหลือกลับบ้านคนละ 400 บาท และมีคนงานส่วนหนึ่งไปแจ้งความที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ทั้งนี้เมื่อถามเรื่องการกลับบ้าน คนงานไทยที่เหลือตอบว่าจะอยู่เพื่อเรียกร้องสิทธิที่ควรได้รับจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินจากการเก็บผลไม้, ค่าทำงานล่วงเวลา และขอสิทธิในการกลับมาทำงานในอนาคตอีก

(ประชาไท, 11-9-2553)

ผู้ใช้แรงงานทวงความคืบหน้ารับสัตยาบัน ILO 87-98

11 ต.ค. 53 – เวลาประมาณ 13.00 น. ที่กระทรวงแรงงาน ตัวแทนแรงงานในนามของคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งประกอบไปด้วยสภาองค์การลูกจ้าง, สหพันธ์แรงงาน, กลุ่มสหภาพแรงงาน, สมาพันธ์แรงงานวิสาหกิจสัมพันธ์, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, สหภาพแรงงานและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ได้เข้ามอบหนังสือ "ทวงสัญญา 1 ปี กับความคืบหน้าในการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO" ให้กับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

โดยตัวแทนแรงงานระบุว่าเมื่อปีที่ แล้ว (วันที่ 7 ต.ค. 52) กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้ทำการยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลไทยให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO 87 และ 98 โดยในขณะนั้น ได้ยื่นผ่านนายสนั่น ขจรประศาสน์ ส่งต่อไปให้กับนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายสนั่นได้รับปากว่าจะดำเนินงานผลักดันการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO 87 และ 98 ให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน

แต่ถึงแม้จะมีการประชุมร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการประสานงานเพื่อให้ สัตยาบันของกระทรงแรงงานถึง 5 ครั้งซึ่งมีมติร่วมกันว่าให้รัฐบาลไทยรับอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับพร้อมกัน แล้วหลังจากนั้นค่อยแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ แต่ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันได้ครบรอบ 1 ปีไปแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการให้สัตยาบันโดยรัฐบาลไทยแต่อย่างใด

ตัวแทนแรงงานระบุว่าการที่รัฐบาลไม่ รับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ดังนั้นหากรัฐบาลจะแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมีจำนวนมากถึง 37 ล้านคน รัฐบาลไทยโดยกระทรวงแรงงานต้องให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับโดยทันที

(ประชาไท, 11-10-2553)

ทีดีอาร์ไอพบยังมีการใช้แรงงานเด็กผิด กม.เสนอทำบัญชีอาชีพเด็ก

11 ต.ค. 53 - ทีดีอาร์ไอ สำรวจพบมีการใช้แรงงานเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 15-18 ปี และต่ำกว่า 15 ปี  เสนอทำบัญชีอาชีพเด็กทำได้ทำไม่ได้ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองแรงงานเด็ก

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า  ขณะนี้ทีดีอาร์ไอกำลังศึกษาการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมการแปรรูปกุ้งและ อาหารทะเลซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญและมีมูลค่ามากกว่า  9 หมื่นล้านบาท แต่จากในการสำรวจแรงงานต่างด้าวใน 5 จังหวัด พบว่าในจำนวนแรงานต่างด้าว 600 คน ที่ตอบแบบสอบถาม เป็นแรงงานเด็กกว่า 20 ราย โดยในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 15-18 ปี อีกครึ่งอายุต่ำกว่า 15 ปี ในกลุ่มอายุ 15-18 ปี บางคนทำงานถึงวันละ 10-12 ชั่วโมง ซึ่งเกินกฎหมายกำหนด และรัฐยังดูแลไม่ถึง จึงเน้นการศึกษาตั้งแต่กระบวนการแรกของอุตสาหกรรมก่อนจะส่งเข้าโรงงาน ซึ่งมีแรงงานเข้าไปเกี่ยวข้องมากทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว 

นายยงยุทธ กล่าวอีกว่า การศึกษานี้จะทำให้เกิดความชัดเจนในการใช้แรงงานเด็ก เพื่อดูว่าเด็กซึ่งควรอยู่ในโรงเรียน (ตามกฎหมายมีนโยบายเรียนฟรี) แต่ตกหล่นไม่ได้เรียน และต้องมาสู่การใช้แรงงานนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนไหน ด้วยเหตุผลใด มีสภาพการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนของคนไทย ทุกปีจะมีแรงงานในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลายซึ่งตกหล่นจากระบบโรงเรียนราว 1.3 แสนคน ส่วนหนึ่งอาจย้อนกลับไปเรียนต่อได้ แต่มีบางส่วนที่มาเข้าสู่ตลาดแรงงาน เริ่มจากทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ และบางคนอาจเข้าไปทำงานที่ไม่ค่อยเหมาะสม การศึกษาครั้งนี้เน้นกรณีแรงงานเด็กต่างด้าว 20 คนจากผลการสำรวจ และลงศึกษาเชิงลึกใน 5 จังหวัด เช่น สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบไม่ได้อยู่ในโครงสร้างที่จะได้รับการคุ้มครอง ใด ๆ ส่วนใหญ่ทำงานกับนายจ้างรายย่อย ทำหน้าที่ในการตัดหัว แกะเปลือก ทำความสะอาดกุ้ง ก่อนส่งเข้าสู่โรงงาน  แรงงานเด็กก็จะมีส่วนมาทำงานตรงนี้ การสำรวจที่ครอบคลุมแรงงานไทยของหน่วยราชการจึงยังไม่พบว่ามีสถานประกอบการ รายใดใช้แรงงานเด็ก ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาเพิ่มเติมจะนำไปสู่การกำหนดกรอบการศึกษาภาพรวม ทั้งประเทศอีกครั้งหนึ่ง  มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กที่จำเป็นต้องเข้าสู่การทำงานได้รับการคุ้มครองดูแล ในการทำงานที่เหมาะสม และไม่ถูกเอาเปรียบและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ก็ควรจะอยู่ในโรงเรียน 

นายยงยุทธ กล่าวด้วยว่า นายจ้างรายย่อยอย่าง ล้งอาจจะรู้หรือไม่รู้ว่าเมื่อใช้แรงงานเด็กก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรง งานด้วย ดังนั้น การมีบัญชีอาชีพที่เด็กทำได้ทำไม่ได้จะเป็นประโยชน์ในการคุ้มครองแรงงานเด็ก และผู้ประกอบการจะได้ตระหนักและปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะการใช้แรงงานเด็กยังเป็นปัญหาอ่อนไหวที่อาจถูกนำไปใช้เป็นข้อกีดกันทาง การค้ากับบางประเทศได้ เช่น สหรัฐ

(สำนักข่าวไทย, 11-10-2553)

แรงงานไทยไปลิเบียร้องถูกบริษัทหางานข่มขู่

นายมานะ พึ่งกล่อม อายุ 43 ปี อยู่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เข้าพบ ร.ต.ท.ธนัทพัชร์ ครุฑชัยอนันต์พงส.(สบ1) กก.1 บก.ป.ให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานกรณีถูกบริษัทจัดหางานแห่งหนึ่งข่ม ขู่และส่งตัวกลับประเทศไทยหลังออกมาร้องเรียนสื่อมวลชนว่าถูกนายจ้างเอารัด เอาเปรียบ

นายมานะ เปิดเผยว่า เคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศไต้หวันมาแล้ว ต่อมามีนายหน้าชวนไปทำงานที่ประเทศลิเบียตนจึงไปกู้เงินนอกระบบมาจ่ายค่าหัว คิว 180,000 บาทให้กับบริษัทแห่งนี้ จากนั้นทางบริษัทได้ต่อให้ไปให้บริษัทนายหน้าจัดหางานเงินและทอง พัฒนา จำกัด ส่งไปทำงานที่เมืองพาจูลี่ ประเทศลิเบีย โดยมีนายจ้างคือบริษัทนรันฮิว โดยทำงานตั้งแต่ 16 ม.ค.53 แต่กลับได้เงินเดือนล่าช้าไป 3-4 เดือน ส่วนเงินเดือนที่ตกลงกันไว้ 40,000 บาทก็ได้แค่ 16,000-17,000 บาท หนำซ้ำยังต้องทำงานเกินเวลาโดยไม่มีค่าล่วงเวลาให้ และเกิดเรื่องต่างๆอีกมากมายระหว่างทำงาน เมื่อทนไม่ไหวจึงโทรศัพท์กลับประเทศไทยมาร้องเรียนสื่อมวลชน เมื่อบริษัททราบเรื่องจึงให้คนมาข่มขู่ และส่งตัวกลับเมืองไทย รวมทั้งหักเงินไปเกือบ 60,000 บาท ตนกับเพื่อนแรงงานไทยร้อยกว่าจึงร้องเรียนคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทน ราษฎรแต่เกรงว่าจะได้รับอันตรายจากการ้องเรียนดังกล่าวจึงมาพบตำรวจเพื่อขอ ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

เบื้องต้น ร.ต.ท.ธนัทพัชร์ ได้สอบปากคำ และลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

(เนชั่นทันข่าว, 13-10-2553)

เพื่อไทยชูนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน

12 ต.ค. 53 - นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และหนึ่งในทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทีมเศรษฐกิจของพรรคได้พิจารณากำหนดนโยบายว่า หากพรรคได้กลับมาเป็นรัฐบาลจะเร่งดำเนินการ 3 เรื่อง คือ ทำให้ผู้ใช้แรงงานได้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท นักศึกษาที่จบปริญญาตรีจะได้เงินค่าจ้างเริ่มต้นเดือนละ 15,000 บาท และเกษตรกรชาวนาที่ปลูกข้าวจะสามารถขายข้าวเปลือกที่สีเป็นข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ในราคาเกวียนละ 15,000 บาท โดยยึดโยงตามราคาน้ำมัน ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยยังเตรียมแนวทางในการลดหนี้สาธารณะของรัฐบาลด้วย

(สำนักข่าวไทย, 12-10-2553)

เปิดตัวร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน

12 ต.ค. 53 - เครือข่ายแรงงาน เปิดตัวร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน เผยขยายความคุ้มครองถึงลูกจ้างทุกประเภท เสนอ สปส.เป็นหน่วยงานอิสระ เลือกตั้งตรงผู้แทนลูกจ้าง ชี้เป็นผลดี เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน

เครือข่ายแรงงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานไทย ร่วมกันแถลงข่าว ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน สู่การปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรอิสระ โดย น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า สาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับบูรณาการแรงงาน คือการขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ และแก้ไขนิยามของคำว่า ลูกจ้าง เพื่อให้รวมถึงลูกจ้างทำงานบ้าน และผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับเดิม คุ้มครองไม่ถึง รวมถึงแก้ไของค์ประกอบของกระบวนการได้มา คุณสมบัติ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประกันสังคม และกำหนดให้ สปส.เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ มีเลขาธิการฯ จากกระบวนการสรรหา

ด้านนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงสร้างที่สำคัญของกฎหมายฉบับนี้จะเปลี่ยนแปลงการได้มาของกรรมการประกัน สังคม ในส่วนของผู้ประกันตน ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง จากเดิมจะมาจากการเลือกตั้งขององค์กรสหภาพแรงงาน ซึ่งมีเพียง 3 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1-2  ของผู้ประกันตนทั้งหมด 9 ล้านคนเท่านั้น  หากมีการเลือกตั้งโดยตรงจะเป็นผลดีต่อผู้ประกันตน ในการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.ระกันสังคม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. การขยายการคุ้มครองให้รวมถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บ ป่วย รวมทั้งขยายสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมแก่ผู้ประกันตน และเตรียมเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แต่เครือข่ายแรงงานเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ของรัฐบาลยังขาดสาระสำคัญหลายประการที่จะคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน จึงยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับบูรณาการแรงงาน โดยอิงกับร่างของรัฐบาล แต่ได้ปรับเปลี่ยน และเพิ่มรายละเอียดในบางมาตรา ซึ่งยกร่างแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา

(สำนักข่าวไทย, 12-10-2553)

มาร์คชี้ค่าแรงสูงอาจทำให้ไมมีการจ้างงาน

13 ต.ค. 53 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า ได้คุยเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกับ  นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน   โดยเรื่องความไปได้ที่จะมีการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทนั้น  คิดว่าถ้าค่าแรงสูงมากเกินไปก็จะทำให้ไม่มีการจ้างงาน   เพราะเรื่องนี้ต้องดูทั้งค่าแรงและการจ้างงานด้วย

อย่างไรก็ตามเรื่องการเพิ่มค่าแรงคง ชัดเจนเร็วๆนี้  โดยจะทำควบคู่กับเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคมด้วย  โดยนอกจากเรื่องค่าแรงแล้วส่วนตัวตั้งใจจะทำอีก 3 เรื่อง คือ  1. เรื่องของสิทธิประโยชน์อื่นๆในประกันสังคม 2.คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบค่าแรงที่เป็นทางการที่มีจำนวนมากที่อยู่นอกระบบของ การจ้างงานเขาจะมีรายได้ดีขึ้น 3.ถ้าค่าแรงสูงแล้วคนตกงานเยอะ ก็คงไม่ได้

ผมเอาที่ว่าค่าแรงสมเหตุสมผลและมีการจ้างงานไม่ให้คนตกงานนายกฯ กล่าว

ส่วนที่จะเป็นจุดสมดุลนั้นกลไกตลาดจะเป็นตัวที่จะให้คำตอบอยู่แล้ว ถ้าเราบังคับให้ค่าแรงสูงมากก็จ้างงานคนไม่ได้

(โพสต์ทูเดย์, 13-10-2553)

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอ้อมน้อยห้ามคนงานพม่าท้อง

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอ้อมน้อยห้ามคนงานพม่าท้อง ใครท้องส่งกลับ อ้างเป็นนโยบายรัฐกันแย่งทรัพยากรคนไทย

จากกรณีที่ทางฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทไทยการ์เม้นท์เอ๊กซ์ปอร์ต สาขาอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาครได้เรียก น.ส.ซู (นามสมมุติ) วัย18ปี และน.ส.จี (นามสมมุติ) วัย 31 ปี คนงานพม่าเข้าพบเพื่อขอเลิกจ้าง เนื่องจากทั้งคู่ตั้งครรภ์ได้ 2-3 เดือน

แหล่งข่าวแจ้งว่า เมื่อประมาณปลายเดือนกันยายนทางบริษัทฯ ได้ผสานให้ทางโรงพยาบาลกระทุ้มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อมาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่ทางน.ส.ซู และน.ส.จี ไม่ยอมมาฉีดเนื่องจากรู้ตัวว่า ตั้งครรภ์เกรงจะมีผลถึงลูกในครรภ์ เมื่อฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทฯทราบจึงได้กระทำการเลิกจ้างคนงานพม่าทั้ง สองดังกล่าวโดยสั่งให้รถตู้ไปรับที่หอพักเพื่อจะส่งกลับประเทศ

ทั้งนี้ผู้เสียหายทั้งสองเป็นแรงงานที่มาอย่างถูกกฎหมาย มีหนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต) และหนังสือรับรองการทำงาน มีการประสานไปยังมูลนิธิศักยภาพชุมชน ให้คำแนะนำแก่ผู้เสียหายให้นำเรื่องไปร้องกับสหภาพแรงงานรวมใจเพื่อน สัมพันธ์ ให้ความช่วยเหลือประสานกับฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทฯพร้อมทั้งทำหนังสือ คัดค้านเพราะการกระทำของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ล่าสุดทางบริษัทฯ ได้ระงับคำสั่งการเลิกจ้างผู้เสียหายทั้งสองอย่างไม่มีกำหนด

(นักสื่อสารแรงงาน, 13-10-2553)

ลูกจ้างโรงงานทอผ้าหวั่นโดนเบี้ยวเงินชดเชย

น.ส.ซารี ดอระวงษ์ ประธานสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสัมพันธ์ เปิดเผยว่าขณะนี้ลูกจ้างบริษัทอาริยะการทอประมาณ 300 คนวิตกกังวลเป็นอย่างมากว่าโรงงานจะปิดกิจการและจะไม่ได้รับเงินชดเชยเลิก จ้าง

ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวตั้งอยู่ย่าน ลำลูกกา ปทุมธานีมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ค้างจ่ายเงินให้ประกันสังคมประมาณ 24 ล้านบาทและมีแผนจะขายทรัพย์สินสิ่งปลูกสร้างตลอดจนที่ดินทั้งหมดในวันที่ 15 ต.ค.นี้ แต่ยังไม่แจ้งให้พนักงานทราบอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินกิจการต่อหรือปิดกิจการ ลูกจ้างจึงกังวลว่าอาจไม่ได้ค่าชดเชยรวมมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท รวมถึงเงินค่าจ้างที่โรงงานยังค้างจ่ายพนักงานอีกประมาณ 3 ล้านบาท

พวกเราไม่อยากให้โรงงานปิดถึงขนาด ไปขอร้องประกันสังคมไม่ให้อายัดเครื่องจักรเพราะหากไม่มีเครื่องจักรก็ต้อง ตกงาน ก่อนหน้านี้ลูกจ้างทุกคนพยายามที่จะช่วยกันประคับประคองยอมหยุดงานเป็นระยะๆ เพื่อที่จะไม่ต้องปิดโรงงานนส.ซารีกล่าว

ทั้งนี้กลุ่มลูกจ้างยังได้ทำหนังสือ ถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน ให้สั่งการเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์เพื่อรักษาสิทธิของลูกจ้างอีกด้วย 

(โพสต์ทูเดย์, 13-10-2553)

คนงาน PCB ร้องแรงงานจังหวัด นายจ้างเบี้ยวค่าแรงหลังปิดกิจการ

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2553 พนักงานบริษัท พีซีบี เซนเตอร์ จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ เลขที่ 684-685 ถ.สุขาภิบาล 8 หมู่ 11 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  ผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ มีพนักงาน 400 กว่าคน  ได้รวมตัวกันกว่า 100 คน ที่สำนักงานคณะทำงานกลุ่มแรงงานแหลมฉบังสัมพันธ์ ก่อนทำหนังสือคำร้อง (คร7.) เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ชลบุรี เรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าจ้างหลังจากที่บริษัทจ่ายไม่ตรงตามกำหนดมากว่า 2 เดือนแล้วและล่าสุดกำหนดจ่ายภายในวันที่ 28 กันยายน 2553 แต่จนถึงขณะนี้ทุกคนก็ยังไม่ได้รับค่าจ้าง จึงได้รวมตัวกันเรียกร้องพร้อมปักหลักประท้วงอยู่หน้าโรงงานร้องให้บริษัท รับผิดชอบ

ย้อนไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2553 เวลาประมาณ 21.30 น.บริษัท พีซีบี เซนเตอร์ เครื่องจักรได้เกิดระเบิดอย่างรุนแรงและเกิดเพลิงลุกไหม้ ส่งผลให้พนักงานที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้รับบาดเจ็บทันทีกว่า 20 ราย สาหัส 6 ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในพื้นที่ภายหลังทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิต 3 ราย เป็นผลให้บริษัทต้องปิดกิจการลงชั่วคราว

หนึ่งในพนักงานบริษัทดังกล่าวซึ่ง ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดเปิดเผยว่า เราทำงานมาหลายปี หลังจากที่บริษัทได้ปิดกิจการชั่วคราวจากเหตุระเบิดเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมานั้น ตอนนี้พวกเราได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการจ่ายค่าจ้างที่ไม่ตรงเวลา ซึ่งบริษัทจะต้องจ่ายทุกวันที่ 28 ของทุกเดือน แต่ถึงขณะนี้ทุกคนยังไม่ได้รับเงินเดือนเลย และในส่วนตนเองได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากเพราะอายุก็มากแล้ว การที่จะหางานใหม่ทำเพื่อรองรับระหว่างที่รอความชัดเจนจากบริษัทว่าจะดำเนิน การอย่างไรต่อไปนั้นก็เป็นการยาก ไม่เหมือนคนที่อายุน้อยพวกเขาสามารถหางานทำได้ง่าย พวกเรามีภาระต้องใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าห้องหรือต้องเลี้ยงครอบครัว แต่พอถึงสิ้นเดือนเงินเดือนกลับไม่ได้รับทำให้ยิ่งเดือดร้อนหนักเข้าไปอีก

พนักงานยังกล่าวต่ออีกว่า พวกเราต้องการความชัดเจนจากบริษัทว่าจะดำการอย่างไร จะเปิดกิจการต่อหรือปิดกิจการ ก็ให้แจ้งพวกเราหรือไม่ก็มีเงินให้พวกเราสักก้อนหนึ่งเพื่อใช้เป็นทุนหาก ต้องออกจากงาน

คนงานกลุ่มดังกล่าวยังคงประท้วงอยู่ หน้าโรงงานตั้งแต่ช่วงบ่าย โดยมีกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกร่วมให้กำลังใจ ซึ่งในเวลาต่อมามีการเจรจาขึ้นโดยตัวแทนพนักงาน ตัวแทนบริษัท และเจ้าหน้าที่แรงงาน จนกระทั่งจนถึงเวลาประมาณ 22.00 จึงยุติการชุมนุม


(นักสื่อสารแรงงานภาคตะวันออก, 13-10-2553)

ดึงกงสุลช่วยดูแลแรงงานในต่างประเทศ

14 ต.ค. 53 - กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจถึงกรมการกงสุล เรื่องการดูแลแรงงานไทยที่ทำงานในต่างประเทศ เพื่อปกป้องคุ้มครองดูแลแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ทั้ง 2 หน่วยงาน จะบูรณาการในการปกป้อง คุ้มครองดูแลแรงงานไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งมีกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของโลกประมาณ 469,000 คน ตามลำดับดังนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก (ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น และฮ่องกง) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลาง (กลุ่มประเทศอาหรับ และอิสราเอล) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน) ภูมิภาคแอฟริกา (ลิเบีย แอลจีเรีย และแอฟริกาใต้) ภูมิภาคยุโรป (สเปน โปรตุเกส และสวีเดน) และภูมิภาคแปซิฟิกใต้ (ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)

โดยแรงงานไทยเหล่านี้ ส่วนหนึ่งขาดความพร้อมในการเตรียมตัวไปทำงานในต่างประเทศ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทจัดหางานที่ผิดกฎหมาย จึงเห็นพ้องที่จะร่วมมือเตรียมความพร้อมแก่แรงงานไทย พร้อมประชาสัมพันธ์เตือนภัยแก่แรงงานไทยทั้งในและต่างประเทศ และจะตั้งคณะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแรงงานไทย

(ข่าวสด, 14-10-2553)

คนงานไม่หวังค่าแรงขั้นต่ำวันละ 250 บาท ส.อ.ท.ยาหอมขึ้นเงินเดือน 3-5%

14 ต.ค. 53 - นายทวีศักดิ์ หมัดเนาะ คณะกรรมการบริหารสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ร่วมมือกับคณะบริหารธุรกิจ มหา วิทยาลัยศรีปทุม สำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ปี/54 จากสถานประกอบการ 302 แห่ง ระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค. 53 พบว่า การจ่ายค่าจ้างสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น 3-5% และการจ้างงาน ค่าจ้าง และโบนัสมีแนวโน้มภาพรวมดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนที่ลดค่าแรง ลดโบนัส ลดจำนวนแรงงานลง แม้ว่าขณะนี้ค่าเงินบาทจะส่งผลกระทบกำไรของบริษัทส่งออก แต่คาดว่าการจ่ายเงินเดือนและโบนัสจะยังอยู่ในแนวบวก เพราะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (บจ.) ส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้น

ส่วนการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวัน 250 บาทนั้น ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 25% ของค่าแรงสูงสุดที่จ่ายในกทม. และสมุทรปราการที่จ่ายวันละ 206 บาท หากดูแนวโน้มการปรับขึ้นค่าจ้างเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งนี้แทบจะ เป็นไปไม่ได้เลย

นายประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ปี ปรับขึ้นเงินเดือนเฉลี่ย 5.05% ซึ่งบริษัทด้านปิโตรเคมี ก๊าซ และพลังงานทดแทน ปรับขึ้นเงินเดือนสูงสุด 15.04% กลุ่มเคมีต่ำปรับสุดที่ 1% มีกลุ่มบริษัทที่จ่ายโบนัส 254 ราย คิดเป็น 91.7% ไม่จ่าย 23 ราย คิดเป็น 8.3% โดยจ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 2.30 เดือน กลุ่มที่จ่ายโบนัสสูงสุด คือ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จ่าย 15 เดือน ส่วนกลุ่มการค้าและบริการต่ำสุด 0.20 เดือน

ด้านนายประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ผลการสำรวจค่าจ้างภาพรวมพบว่า ค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์จำแนกตามคุณวุฒิโดยเฉลี่ยต่อเดือน ระดับปวช. อยู่ที่ 6,590 บาท ปวส. 7,697 บาท ปริญญาตรี 11,518 บาท ปริญญาโท 16,868 บาท ปริญญาเอก 24,961 บาท

ส่วนค่าจ้างสำหรับผู้มีประสบการณ์ จำแนกตามระดับตำแหน่ง พบผู้บริหารกลุ่มงานระดับสูงค่าจ้างต่อเดือนเฉลี่ยที่ 79,492 บาท สูงสุดที่ 289,610 บาท ต่ำสุด 12,500 บาท ผู้บริหารกลุ่มงานระดับกลางเฉลี่ย 46,382 บาท สูงสุดที่ 160,000 บาท ต่ำสุดที่ 11,000 บาท ระดับเจ้าหน้าที่ค่าเฉลี่ย 15,748 บาท สูงสุด 62,500 บาท ต่ำสุดที่ 11,000 บาท ส่วนระดับปฏิบัติการค่าเฉลี่ย 9,788 บาท สูงสุด 30,421 บาท ต่ำสุด 4,500 บาท

ทั้งนี้ ค่าแรงเมื่อจำแนกตามสาขาวิชาชีพ พบว่า ปวช.-ปวส. สาขาช่างเทคนิคจ่ายสูงสุดที่ 6,694 บาท และ 7,903 บาทตามลำดับ สาขาคหกรรมจ่ายต่ำสุดที่ 6,196 บาท และ 7,169 บาทตามลำดับ ส่วนระดับ ปริญญาตรี โท เอก สาขาวิศวกรรมจ่ายสูงสุดที่ 15,056 บาท 19,670 บาท และ 37,840 บาท ตามลำดับ ส่วนจ่ายต่ำสุดในระดับปริญญาตรี โท คือ สาขาคหกรรมจ่าย 10,133 บาท และ 14,051 บาท ตามลำดับ ปริญาเอกสาขาเทคโนโลยีอาหารจ่ายต่ำสุดที่ 18,000 บาท

นายประพันธ์ กล่าวว่า เมื่อแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจ่ายค่าแรงสูงสุด กลุ่มยานยนต์ กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยางจ่ายค่าแรงสูงสุด กลุ่มจ่ายต่ำสุดคือ กลุ่มเซรามิก อัญมณีเครื่องประดับ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ กลุ่มยาและเวชภัณฑ์ โดยพบว่าพื้นที่กทม.

(ข่าวสด, 14-10-2553)

สร.ไทยอินดัสเตรียลแก๊สจี้บริษัทรับอนุกรรมการสหภาพฯ กลับเข้าทำงาน

14 .. 53 - สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 53 สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สระบุว่า ผู้บริหารของบริษัท TIG-LINDE ได้ดำเนินการสอบสวนและตัดสินไล่นายวสันต์ เรืองลอยขำ ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ ออก โดยไม่จ่ายเงินชดเชย ซึ่งมีผลมาตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 53 ซึ่งสหภาพฯ ระบุว่าการกระทำของผู้บริหารเป็นการจงใจละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง และแม้ว่าทางสหภาพฯ จะทักท้วงอย่างไรก็ไม่เป็นผล จนนำไปสู่การชุมนุมของคนงาน

ต่อมาในวันที่ 8 ต.ค. 53 บริษัท ได้จัดให้มีการทบทวนตามข้อตกลงฯ โดยไม่มีคนกลางและไร้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเข้าร่วม และสหภาพฯ ได้นำเสนอเอกสารที่เป็นของบริษัท TIG-LINDE เขียนขึ้นมาเองว่าการตัดสินของผู้บริหารเกิดข้อผิดพลาดและโทษของคนงานไม่ถึง ขั้นไล่ออก แต่ผู้บริหารนำเสนอเอกสารเพียง 1 หน้าและยืนยันด้วยดุลยพินิจของหัวหน้างานว่าสามารถไล่นายวสันต์ออกได้

จากนั้นในวันที่ 11 ต.ค. 53 สหภาพฯ มีโอกาสประชุมร่วมกับ MD และคณะบริหารของ TIG-LINDE เพื่อชี้แจงเรื่องทั้งหมดอีกครั้ง แต่ทางผู้บริหารยังให้คำตอบว่าเป็นการไล่ออกตามดุลยพินิจของหัวหน้างาน โดยไม่คำนึงถึงนโยบาย-ข้อกำหนด-แนวปฏิบัติ-ข้อปฏิบัติ ของบริษัทและบริษัทแม่ (LINDE Group)

ในวันนี้ (14 ต.ค. 53) สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส (TIGLU) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้บริษัท TIG-LINDE รับนายวสันต์ เรืองลอยขำ ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ กลับเข้าทำงาน ระบุการเลิกจ้างเป็นการละเมิดนโยบาย-ข้อกำหนด-แนวปฏิบัติ-ข้อปฏิบัติ ของบริษัทเอง นอกจากนี้สหภาพฯ ขอให้บริษัทตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยมีคนกลางและผู้มีอำนาจตัดสินใจร่วมกับผู้แทนจากสหภาพฯ และขอให้บริษัทนำ Work Rule มาหารือกับสหภาพฯ ก่อนนำไปบังคับใช้

(ประชาไท, 14-10-2553)

บริษัทจัดหางานโร่ลงประจำวันปัดข่มขู่แรงงาน

14 ต.ค. 53 - ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายเศกสรรค์ สุวรรณสาร กรรมการบริษัท เงินและทอง พัฒนา จำกัด เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน บก.ป.เพื่อขอลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่ถูกนายมานะ พึ่งกล่อม อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99/132 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น แรงงานที่ได้เคยส่งไปทำงานในประเทศลิเบีย กล่าวพาดพิงว่าข่มขู่คุกคามหลังจากที่นายมานะ ถูกส่งตัวกลับประเทศไทยมาก่อนหน้านี้และร้องเรียนสื่อมวลชนว่าไม่ได้รับความ เป็นธรรมและถูกเอาเปรียบจากการทำงาน โดยนำภาพถ่าย จดหมายที่เขียนด้วยลายมือของแรงงานไทยที่ทางบริษัทได้ส่งไปทำงานที่ประเทศ ลิเบีย รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องมามอบให้พนักงานสอบสวนเป็นหลักฐาน

นายเศกสรรค์ กล่าวว่า ทางบริษัทได้ประกอบธุรกิจจัดหางานและส่งแรงงานไปทำงานยังต่างประเทศลิเบีย มาตั้งแต่ปี 2546 มีการขออนุญาตจากกระทรวงแรงงานถูกต้องทุกประการ และได้ส่งคนงานในตำแหน่งงานต่างๆ เดินทางไปทำงานกับบริษัทผู้จ้างงานในประเทศลิเบีย อย่างต่อเนื่องยาวนาน ไม่เคยมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น แต่ในรายของนายมานะ กับพวก รวม 12 คนนั้น เป็นแรงงานชุดที่เดินทางไปทำงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมกับบริษัท RANHILL ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ก่อนจะสิ้นสุดสัญญาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเดินทางไปพร้อมกับแรงงานไทยอีกหลายสิบคน ซึ่งทางบริษัทเคยชี้แจงเรื่องการทำงาน ค่าตอบแทนที่จะได้รับให้ทราบอย่างละเอียดแล้วโดยทั้งหมดก็พอใจและเต็มใจที่ จะไปทำงานเอง และหากไม่มั่นใจก็ไม่ควรตัดสินใจเดินทางไป

นายเศกสรรค์ กล่าวต่อว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นตนเชื่อว่าเกิดจากกลุ่มแรงงานเพียงส่วนน้อยที่ต้องการ สร้างปัญหาและพยายามหาข้ออ้างข้อเรียกร้องต่างๆ ว่า ถูกเอารัดเอาเปรียบ การจ้างงานไม่เป็นธรรม พาดพิงมาที่บริษัทจัดหางานให้ได้รับความเสียหายเหมือนเป็นการดิสเครดิตกัน ตนก็ไม่อยากจะกล่าวเลยเถิดไปว่าน่าจะมีการทำกันเป็นขบวนการและมีผู้อยู่ เบื้องหลังเพราะยังไม่มีหลักฐานชี้ชัด อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้นายมานะ กับพวก มีความประสงค์ลาออกจากงานเพื่อเดินทางกลับประเทศไทยเองไม่ได้เป็นการถูกส่ง ตัวกลับหรือบีบบังคับ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปข่มขู่ใดๆ เลย ซึ่งหลังจากนี้ทางผู้บริหารบริษัทได้เตรียมรวบรวมหลักฐานเพื่อพิจารณาฟ้อง ร้องดำเนินคดีนายมานะ ให้ข้อหาหมิ่นประมาท อีกด้วย

(เดลินิวส์, 14-10-2553)

เตือนนายจ้างรีบพาแรงงานต่างด้าวต่อใบอนุญาตทำงาน

14 ต.ค 53 - นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเตือนนายจ้างของแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ แต่ได้รับการผ่อนผันให้มีใบอนุญาตทำงานในปี 2553 และใบอนุญาตจะหมดอายุในปี 2554 จะต้องรีบพาแรงงานต่างด้าวมาต่ออายุใบอนุญาตให้แล้วเสร็จก่อนใบอนุญาตหมด อายุ  โดยแรงงานเหล่านี้มีจำนวนทั้งสิ้น 932,255 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 20 มกราคม 2554 จำนวน 39,272 คน และแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 892,983 คน

ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานแล้วจะได้รับการผ่อนผัน ให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 20 มกราคม และ 28 กุมภาพันธ์ 2555 และจะต้องเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 หากตรวจพบแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ต่อใบอนุญาตทำงานในระหว่างทำงานกับนาย จ้าง/สถานประกอบการใด นายจ้างจะมีความผิด อัตราโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว 1 คน ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานจะมีความผิด จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(สำนักข่าวไทย, 14-10-2553)

อุตสาหกรรมหวั่นเกิดสงครามแย่งแรงงาน

14 ต.ค. 53 - นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการลงนามข้อตกลงว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรระหว่างกระทรวง อุตสาหกรรมและกระทรวงศึกษาธิการว่า ได้ขอความร่วมมือให้กระทรวงศึกษาธิการช่วยพัฒนาศักยภาพด้านวิชาชีพแก่นัก เรียน นักศึกษา เพื่อป้อนแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า  2 แสนคนภายใน 3 ปี เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น เพราะหากผลิตแรงงานประเภทฝีมือให้เพียงพอต่อกำลังการผลิตอาจทำให้ไทยประสบ ปัญหาวิกฤตขาดแคลนแรงงานจนเกิดการแย่งชิงแรงงานของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆใน อนาคตได้

ได้รับรายงานว่าหลายอุตสาหกรรมที่ ขาดแคลนแรงงานเริ่มแย่งแรงงานกันแล้ว โดยเฉพาะบริษัทบริษัทรายใหญ่ที่มีเงินเยอะก็พร้อมที่จะทุ่มเงินโดยให้ค่า จ้างที่สูงเพื่อดึงแรงงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ให้ค่าจ้างไม่มาก  ซึ่งหากภาครัฐไม่สามารถพัฒนาบุคลากรเพื่อป้อนตลาดให้เพียงพอเชื่อว่าแรงงาน ภาคการผลิตจะปั่นป่วนแน่ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ฯ ใน 2-3 ปีข้างหน้าจะเพิ่มกำลังผลิต 60-70%  ที่สำคัญแรงงานในกลุ่มอื่นก็จะไหลเข้ายานยนต์ด้วย เนื่องจากมีค่าจ้างสูงมาก

นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ปี54 จะมีโรงงานประกอบรถยนต์สร้างใหม่และสามารถดำเนินการได้อีก 2 แห่ง ประกอบด้วย  โรงงานประกอบรถเก๋งของฟอร์ด และโรงงานประกอบรถยนต์ประหยัดพลังงานขนาดมาตรฐานสากล(อีโคคาร์)ของซูซูกิ ทำให้กำลังการผลิตรถยนต์ในปีหน้าเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 3 แสนคันต่อปี  ซึ่งจะต้องใช้ทั้งแรงงานเก่าและแรงงานใหม่ในทุกระดับเข้ามา ดังนั้นมองว่าในช่วงอีก 3 ปีข้างหน้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนต้องหาแรงงานเข้าสู่ระบบเพิ่มอีก 2 แสนคนจากปัจจุบันที่มีแรงงานอยู่แล้ว  3 แสนคน

ทั้งนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ต้องการให้ ภาครัฐเร่งผลิตแรงงานประเภทฝีมือให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทอื่นเริ่มแสดงความไม่พอใจกลุ่มยานยนต์ บ้างแล้วที่ดึงแรงงานจากที่อื่นเข้ามาทำงาน โดยให้ผลตอบแทนที่สูงมากโดยบางโรงงานมีค่าจ้างขั้นต่ำถึง 400 บาทต่อวันจากที่ต้นปีค่าจ้างอยู่ที่ 300 บาทต่อวันเอง

(เดลินิวส์, 14-10-2553)

อดีตคนงานไทย แอร์พอร์ตฯ ร้องกระทรวงแรงงาน ถูกเลิกจ้างไม่จ่ายเงินชดเชย

14 ต.ค. 53 -อดีตคนงานบริษัทไทย แอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งให้บริการด้านการบริการและการบริหารภาคพื้นดินในสนามบินสุวรรณภูมิ ให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และงานด้านขนส่งสินค้าภายในเขตปลอดอากรให้กับบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)  จำนวนกว่า 100 คนรวมตัวประท้วงที่ด้านหน้ากระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานเร่งติดตามความคืบหน้า และหาทางช่วยเหลือคนงาน  จำนวนกว่า 1,500 คน ที่ถูกบริษัทเลิกจ้าง ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2552 ถึง เมษายน 2553 แต่ไม่ได้รับเงินชดเชย หลังบริษัทอ้างว่าไม่ได้รับสัญญาจ้างงานต่อ

ขณะที่ นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้คนงานจำนวน 378 คน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง จ.สมุทรปราการ และศาลมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา บังคับให้บริษัทจ่ายเงินชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินประกันเครื่องแบบการทำงาน รวมเป็นเงินกว่า  22  ล้านบาท ขณะเดียวกันเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน จ.สมุทร ปราการ ได้ออกคำสั่ง ให้บริษัทจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างจำนวน 640 คน เป็นเงินกว่า 80 ล้านบาท แต่บริษัทยังคงเพิกเฉย จึงเดินทางมาให้กระทรวงฯ เร่งหาทางช่วยเหลือเยียวยาคนงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน   โดยคนงานเคยยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีความคืบหน้า

(สำนักข่าวไทย, 14-10-2553)

กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี จับมือ นายจ้าง- รัฐ สร้างเครือข่ายความปลอดภัยฯ

13 ต.ค. 53 - กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการสร้างเครือข่ายแรงงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ห้องพลอยไพรินทร์ โรงแรมสระบุรีอินน์ อ.เมือง จ.สระบุรี มีผู้นำแรงงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ (จป.วิชาชีพ) และฝ่ายบริหารงานบุคคล เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้กว่า 70 คนซึ่งและได้รับเกียรติจากนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมาเป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาในครั้ง นี้ โดยมีนายวินัย ลัทธิกาวิบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน นายสมชาย อมตเวช นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสระบุรี นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง และนายอดุล สุเดน ประธานชมรมบริหารงานบุคคล ร่วมอภิปรายในมุมมองและแนวคิดของแต่ละภาคส่วนว่ามีความคิดเห็นอย่างไร

นายสมชาย อมตเวช กล่าวว่าในเรื่องของความปลอดภัยฯ มีกฎหมายควบคุมอยู่หลายฉบับรวมถึงกฎกระทรวง และหน่วยงานรัฐเองก็พยายามที่จะเข้าไปดูแลอย่างทั่วถึงแต่เนื่องจากเจ้า หน้าที่มีจำนวนน้อยไม่สอดคล้องกับสถานประกอบการดังนั้นจึงต้องอาศัยเครือ ข่ายในการช่วยเป็นแจ้งเข้ามายังเจ้าหน้าที่ ก็จะทำให้คนงานได้รับความปลอดภัยมากขึ้น

ด้านนายบุญสม ทาวิจิตร กล่าวว่ากลุ่มฯเคลื่อนไหวในด้านความปลอดภัยมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีนายจ้างที่เห็นแก่ตัวบางรายโดยเฉพาะนายจ้างรับเหมาที่ยังไม่ให้ ความสำคัญในด้านนี้ ในส่วนของกลุ่มฯเองได้ผลักดันเรื่องนี้ในอนุกรรมการความปลอดภัยฯจังหวัดหลาย ครั้ง แต่ไม่ได้รับการสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นแผนงานต่างๆที่ได้เสนอไป โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเองก็มักอ้างเรื่องเวลาหรืองบประมาณที่จะมา ดูแลเรื่องนี้ไม่มี ทำให้ภาพรวมของจังหวัดสระบุรีมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้น โดยในปีนี้จากสถิติมีเสียชีวิตแล้วถึง 13 คน

ส่วนทางด้านนายอดุล สุเดน กล่าวว่าในส่วนของนายจ้างนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากโดยเฉพาะสถานประกอบการ ใหญ่ๆ และจะมีบ้างกับสถานประกอบการเล็กๆที่ละเลยเรื่องนี้ แต่ทั้งหมดก็ต้องได้รับความร่วมมือกับทุกคนเพราะเรื่องความปลอดภัยเป็น เรื่องของทุกคน

การสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นอีกความก้าวหน้าหนึ่งของจังหวัดสระบุรีในการทำงานเชิงรุกและจัดตั้ง เครือข่ายความปลอดภัย อย่างเป็นรูปธรรมโดยได้ตั้งแกนนำเข้มข้นจำนวน 12 คน เพื่อประสานการทำงานอย่างเชื่อมโยงต่อไป

(รายงานโดย พรนารายณ์ ทุยยะค่าย นักสื่อสารแรงงานพื้นที่สระบุรี)

(นักสื่อสารแรงงาน, 15-10-2553)

คนงานพม่า รง.ทออวนเดชา "ประท้วง-หนี" อีก "ขอวีซ่าคืน-ไปทำงานที่อื่น" ระบุได้ค่าแรงไม่เท่าคนไทย

15 ต.ค. 53 - เนชั่นทันข่าวรายงานว่าที่บริเวณหน้าโรงงานทออวนเดชาของ หจก.โรงงานทออวนเดชาพานิช เลขที่ 191 ถนนมิตรภาพ บ้านสำราญ ต.สำราญ อ.เมือง ได้มีแรงงานชาวพม่ากว่า 800 คน กำลังชุมนุมก่อเหตุประท้วงนายจ้างอีกครั้ง หลังจากที่นายจ้างได้ยึดหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ตไปของแรงงานชาวพม่าทั้งหมดไป เพื่อไม่ให้แรงงานชาวพม่าได้เดินทางไปไหนมาไหนตามความต้องการ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 9 ก.ย.53 ที่ผ่านมา

การชุมนุมของแรงงานชาวพม่าที่ออกมา เรียกร้องขอคืนพาสปอร์ตในครั้งนี้ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลตรงกันว่า แรงงานพม่าทุกคนถูกเอารัดเอาเปรียบ นายจ้างไม่จ่ายค่าแรงให้กับชาวพม่าเทียบเท่ากับแรงงานชาวไทยในราคาวันละ 157 บาท เนื่องจากนายจ้างจ่ายค่าแรงให้วันละ 144 บาท ซึ่งทุกคนทำงานเหมือนกันแต่ค่าตอบแทนได้ไม่เท่ากัน จึงถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชน

อีกทั้งการกระทำของนายจ้างแห่งนี้ มีการแบ่งชนชั้นเหยียดหยามมนุษย์ด้วยกัน ชาวพม่าทุกคนจึงขอวีซ่าคืนเพื่อจะได้ไปหางานทำที่ใหม่ หรือขอวิซ่าคืนเพื่อเดินทางกลับบ้าน จึงทำให้ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นมาแรงงานพม่าหนีออกจากโรงงาน พร้อมกับเคลื่อนกำลังพลไปพักอยู่ที่วัดป่าบ้านสำราญ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากโรงงานทออวนเดชาของ หจก.โรงงานทออวนเดชาพานิช ไม่ไกลนัก

ดังนั้นจึงทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองขอนแก่น ต้องจัดกำลังเจ้าหน้าที่หลายสิบนายเข้าไปควบคุมดูแล เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการก่อเหตุความวุ่นวายเกิดขึ้น อีกทั้งหากมีการหลบหนีออกนอกพื้นที่ก็ถือว่ามีความผิด ตำรวจสามารถจับกุมดำเนินคดีได้ และขณะนี้ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดขอนแก่น และกับฝ่ายนายจ้างแรงงานทออวนเดชากำลังหาลือกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาและเข้า เจรจา ซึ่งเบื้องต้นยังไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ เนื่องจากกลุ่มแรงงานพม่าไม่ยอมพูดคุย ยืนยันที่จะขอวีซ่าคืนอย่างเดียว

(ประชาไท, 16-10-2553)

กมธ.จวกกระทรวงแรงงานถลุง 100 ล.อ้างดูงาน ตปท.ทอดทิ้งคนงาน

ความคืบหน้าความเดือดร้อนของแรงงาน ไทยในประเทศลิเบีย ภายหลังบริษัทหางานเงินและทองพัฒนา จำกัดส่งแรงงาน 200 กว่าชีวิตไปทำงานกับบริษัทนายจ้าง ARSEL BENA WA TASEED JOINT VENTURE จนประสบปัญหานายจ้างผิดสัญญา ไม่จ่ายเงินเดือนค่าจ้างตรงและครบ รวมทั้งไม่จ่ายค่าล่วงเวลาและความเป็นอยู่แร้นแค้น นอกจากนี้ ยังเกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันกับแรง งานไทยกว่า 1,400 คน ซึ่งไปทำงานกับบริษัทรันฮิลล์ (RANHILL) โดยแรงงานไทยได้ทำหนังสือร้องเรียนนายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว พร้อมช่วยเหลือแรง งานทั้งหมดเดินทางกลับประเทศไทย

ล่าสุด วันที่ 15 ต.ค.53 นายสถาพรมณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนและหลักฐานของแรงงานไทยที่ทำงานกับ บริษัทรันฮิลล์แล้ว ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกับการร้องเรียนนายจ้างรายอื่นๆ อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศลิเบียมีความต้องการแรงงานในการก่อสร้างอาคารจำนวน มาก เนื่องจากรัฐบาลลิเบียกำลังสร้างเมืองใหม่ จึงให้บริษัทต่างๆประมูลงานก่อสร้าง ซึ่งนายจ้างส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติตามสัญญาค่าจ้างแรงงานแต่ก็มีนายจ้างบางส่วน ไม่ปฏิบัติตามสัญญาบางรายถึงขั้นปล่อยเกาะแรงงานด้วยซ้ำ

"ปัญหาเรื่องค่าคอมมิชชั่น หรือค่าหัวคิวนั้น มีการเรียกเก็บเกินกว่ากฎหมายกำหนดจริง แต่รัฐบาลโดยกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานปล่อยปละละเลย ถือว่ามีการทำสัญญาที่เลี่ยงกฎหมาย ระบุค่าคอมมิชชั่นต่ำไม่เกิน 4 เท่าของเงินเดือนก็ปล่อยไปไม่ลงไปดูแล โดยเฉพาะชีวิตความเป็นอยู่แรงงานที่ตกระกำลำบากหากกระทรวงแรงงานและกระทรวง ต่างประเทศลงไปดูแลกันจริงๆ ก็คงไม่มีปัญหารุนแรงขนาดนี้"นายสถาพร กล่าวและว่า ในวันที่ 20 ต.ค.นี้คณะกรรมาธิการการแรงงานจะมีการบรรจุวาระการประชุมเรื่องความเดือด ร้อนของแรงงานไทยในลิเบีย และจะนำกรณีของแรงงานบริษัท รันฮิลล์หารือด้วย พร้อมกับจะเชิญทางกรมการจัดหางาน และบริษัทจัดหางาน เงินและทองพัฒนามาให้คำชี้แจงแก้ไขปัญหาด้วย

ประธานกรรมาธิการการแรงงานกล่าวต่อ ว่า การประชุมสภา ในวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา การพิจารณาเรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตนก็ยังได้อภิปรายพาดพิงไปถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน ว่า การดูแลเอาใจใส่ปัญหาแรงงานไทยในต่างประเทศไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างจริง จัง นอกจากนี้ ไม่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปดูแลข้อเท็จจริงในไซต์งานในต่างประเทศที่ได้รับ การร้องเรียน ซึ่งแตกต่างจากสมัยนายไพฑูรย์แก้วทอง อดีต รมว.แรงงาน ที่เดินทางไปดูแลและแก้ไขปัญหาแรงงานไทยในสวีเดน1,000-2,000 คนที่ถูกปล่อยเกาะ

"ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงแรงงานไม่เดินทางไปดูความเดือดร้อนของแรง งานไทยและแก้ไขปัญหาอย่างจริง แต่กลับเอางบประมาณปีหนึ่งๆเกือบ 100 ล้านบาท พากันไปเที่ยวต่างประเทศ โดยอ้างไปดูงาน แต่ปัญหาแรงงานกลับไม่เอาใจใส่ ซึ่งเรื่องนี้ไปหารือกับคณะกรรมาธิการการแรงงาน เพื่อของบประมาณส่งกรรมาธิการการแรงงานเดินทางไปดูปัญหาแรงงานในต่างประเทศ เพื่อได้เห็นสภาพความเป็นจริงเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป"

(แนวหน้า, 16-10-2553)

ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถฯจี้รัฐช่วย ปรับลดภาษี/แก้แรงงานขาด

นายประสาทศิลป์ อ่อนอรรถ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ประสบปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก เนื่องจากจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้แรงงานลาออก และเข้าโครงการเกษียณอายุการทำงานก่อนกำหนดเพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัว และทำงานในภาคการเกษตรแทนปีละไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นคน จากปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มีแรงงานกว่า 3.5 แสนคน และแรงงานในอุตสาหกรรมสนับสนุนอีก 1 แสนคน

 ปัจจุบันมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยายยนต์ กว่า 3,000 ราย และเป็นสมาชิกสมาคมฯ 578 ราย แบ่งเป็นรายใหญ่ 10% รายกลาง 20% และรายเล็ก 70% และช่วง 8 เดือนแรก(มกราคม-สิงหาคม2553)มีการส่งออกมูลค่า 7,274 ล้านบาท ขยายตัว 53.13% จากปีก่อน และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโลก และสอดคล้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เติบโตขึ้น ซึ่งในปี 2553 คาดการณ์ยอดการผลิตรถยนยนต์จะมีราว 1.67 ล้านคัน และส่งออกกว่า 9 แสนคัน และจากเป้าหมายในปี 2563 ตั้งเป้าจะมียอดการผลิตรถยนต์เป็น 2.5 ล้านคัน เพื่อก้าวเป็น 1 ใน 5 ของผู้ผลิตยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก เป้าหมายดังกล่าวทำให้ต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วย

 "ตอนนี้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยายนต์เผชิญ ปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมาก โดยเฉพาะช่างเทคนิค วิศวรที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่คาดว่าในปี 2554 อุตสาหกรรมยานยนต์จะขยายตัวในระดับสูง เพราะค่ายรถยนต์รายใหญ่มีการลงทุนผลิตรถประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ อีโค คาร์ ยิ่งทำให้เกิดความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่ม แต่แรงงานกลับเออลี่ฯไปอยู่ในอาชีพอื่นเป็นจำนวนมาก" นายประสาทศิลป์ กล่าว

 ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน สมาคมฯได้กำหนดยุทธศาสตร์ ปี 2553-2563 ด้วยการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากขึ้นรวมทั้งการพัฒนา บุคลากร การพัฒนาผู้ประกอบการเป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้า(โปรดักส์ติวิตี)ให้มากขึ้น 10% ต่อปี

 โดย สมาคมฯได้เรียกร้องให้ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม รวมทั้งรัฐบาลจัดทำ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ เช่นเดียวกันกับโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ทดสอบชิ้นส่วนยานยนต์เต็มรูปแบบภายในปี 2558 เพื่อวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี่ด้านยานยนต์ให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพมีมาตรฐานในระดับนานาชาติและมีมูลค่าเพิ่มใน ประเทศสูงขึ้น และยังเป็นการรองรับกรอบการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ด้วย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง

 นอกจากนี้ รัฐบาลควรเร่งรัดการปรับลดภาษีวัตถุดิบ เช่น เหล็ก อลูมิเนียมและวัสดุที่จำเป็นให้เหลือ 0% เพื่อช่วยลดต้นทุนให้สามารถสร้างตลาดในประเทศสร้างฐานการผลิตให้แข่งขันกับ ต่างประเทศได้ และกระตุ้นให้มีการลงทุนและพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนในประเทศเพิ่ม ขึ้นในระยะต่อไป

 (แนวหน้า, 17-10-2553)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท