Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 53  ที่ผ่านมากลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า ได้ออกแถลงการณ์ ถึงผู้นำและตัวแทนประเทศ กลุ่มอาเซียน ในโอกาสการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 17 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 29-31 ตุลาคม พ.ศ. 2553
 

อาเซียน อย่าหลงกลรับรองผลการเลือกตั้งจอมปลอมของพม่า

การเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ สองทศวรรษของพม่าควรเป็นโอกาสทางประวัติศาสตร์ที่ชาวพม่าจะได้ สัมผัสประสบการณ์ประชาธิปไตย แต่ตรงข้ามกลับกลายเป็นกลลวงที่จะนำไปสู่การกดขี่ประชาชนอีกคำรบหนึ่ง และการเตรียมการเลือกตั้งโดยรัฐบาลทหารพม่าก็ไม่มีสิ่งใดใกล้เคียงกับ ประชาธิปไตย

ในโอกาสที่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 17 จะจัดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในพม่า กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) ขอเรียกร้องให้การประชุมครั้ง นี้มุ่งเน้นความสำคัญและบรรจุประเด็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในพม่าเป็นวาระลำดับต้นๆ ของการประชุม

อาเซียนไม่ควรปล่อยให้พม่าหลอก การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ อาจนับว่าเลือกตั้งได้เลย หากแต่เป็นกุศโลบายเพื่อสร้างความมั่นคงในการกุมอำนาจของรัฐบาลทหารพม่า และให้ความชอบธรรมแก่อำนาจทหารในการปกครองประเทศอย่างถาวรสืบไป

“นี่ไม่ใช่การเลือกตั้ง” นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกรัฐสภา ประเทศไทย และประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่ากล่าว ไม่มีสิ่งใดที่แสดงถึง ความยินยอมพร้อมใจของรัฐบาลเผด็จการพม่าในการส่งมอบอำนาจสู่ประชาชน แต่กลับพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ฝ่ายตนได้ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้

ความจริงดังต่อไปนี้ สามารถอธิบายเจตนาแฝงของรัฐบาลทหารพม่าได้เป็นอย่างดี

รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศใช้กฏหมายต่างๆ มาเพื่อกีดกันฝ่ายตรงข้ามออกจากกระบวนการเลือกตั้ง อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การล้มผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งพรรคสันนิบาตประชาธิปไตยแห่งชาติของ (NLD)ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น 392 ที่นั่งจากทั้งหมด 485 ที่นั่ง การกำจัดสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนั้นออกจากเวทีการเมือง โดยใช้วิธีจับกุม คุมขังอย่างยาวนาน บังคับให้ลาออกจากพรรคการเมือง และจำกัดกิจกรรมทางการเมืองทุกประเภทอย่างเข้มงวด นักโทษการเมืองมากกว่าสองพันคนยังคงถูกคุมขังในเรือนจำ ในจำนวนนี้มีสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2533 อยู่ 12 คน และยังมีนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยที่สำคัญอีกหลายคน

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันของประเทศพม่าร่างขึ้นโดยสมาชิกที่รัฐบาลทหารคัดเลือก มาทั้งหมด ไม่อนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ใดที่พากย์วิจารณ์การทำ งานของรัฐบาลจะถูกลงโทษ และรัฐธรรมนูญฉบับ นี้ได้รับการยอมรับโดยประชา พิจารณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ท่ามกลางบรรยากาศที่มีแต่การบังคับข่มขู่ ด้วยวิธีการเช่นนี้ รัฐบาลทหารประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2553

การละเมิดอย่างชัดเจนเกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่ประกาศใช้กฏหมายเลือกตั้งในเดือนมีนาคมปีนี้ เช่นการข่มขู่คู่แข่งทางการเมือง การจำกัดอิสระใน การเดินทาง ตัดพื้นที่เลือกตั้งสำคัญออกออกจากกระบวนการเลือกตั้ง กีดกันไม่ให้ออง ซาน ซูจีและพรรคสันนิบาติประชาธิปไตยแห่งชาติ (NLD) เข้าร่วมกระบวน การเลือกตั้ง 

ความตึงเครียดระหว่างทหารพม่าและชนกลุ่มน้อยที่อยู่ใน พื้นที่ขัดแย้งและกลุ่มวางอาวุธได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาล ทหารพม่าต้องการกำหนดผลการเลือกตั้งให้เป็นไปตามความต้องการของตน ภัยสงครามกำลังก่อตัวขึ้นอีกครั้ง

การสนับสนุนอย่างเป็นทางการของรัฐบาลทหารที่มีให้แก่พรรคที่ตนหนุนหลังเป็นไปอย่างกว้าง ขวางได้บิดเบือนความสมดุลของการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล ทหาร

กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่าเชื่อว่า การเลือกตั้งที่อยู่ภายใต้การกดขี่ไม่อาจนำมาซึ่งสันติสุขได้ แต่จะนำไปสู่ความรุนแรง และความไร้ซึ่งเสถียรภาพมากขึ้น

สิ่งที่ทำให้กลุ่มสมาชิกฯ มีความกังวลมากขึ้นอีก คือการที่รัฐบาลทหารพม่าไม่ดำเนิกนารใดๆ เพื่อปรับปรุง สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่ว ไปในประเทศของตน

พม่าได้เมินเฉยต่อการวิงวอนและคำแนะนำของอาเซียน และประชาสังคมนานาชาติในวงกว้าง ให้พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดและกำหนดปัจจัยโดยทั่วไปเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างครอบคลุม อิสระ และ ยุติธรรมอย่างแท้จริง

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่รัฐบาลทหาร กิจการทหารถูกแยกออกจากการวบคุมของพลเรือน ทั้งยังนิรโทษกรรมต่อความผิดใดๆ ก็ตาม ที่ทหารได้กระทำไปในอดีตอีกด้วย

กฏบัตรอาเซียนกำหนดให้สมาชิกอาเซียน ยึดมั่นในสันติภาพและเคารพสิทธิ มนุษยชน แต่พม่าได้ทำการละเมิดสัญญาที่ ตนได้ลงนามไว้อย่างสาหัสสากรรจ์ ชื่อเสียงของอาเซียนต้องแปดเปื้อนอย่าง รุนแรงเพราะสมาชิกอย่างพม่า และการเลือกตั้ง จอมปลอมในครั้งนี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งความ อัปยศที่เพิ่มลงไปในประวัติอัน เสื่อมเสียของพม่า

กลุ่มสมาชิกขอเรียกร้องให้ อาเซียนปฏิเสธผลการเลือกตั้งในครั้งนี้

รัฐบาลพม่าต้องแสดงความ ยินยอมพร้อมใจที่จะ ปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ซึ่งรวมไปถึง ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยด้วย

ผู้นำประเทศอาซียนจำเป็นต้องใช้โอกาสการประชุมสุดยอด ผู้นำอาเซียนครั้งที่ 17 นี้ ในการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในพม่าก่อน การเลือกตั้งจะเกิดขึ้น

กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียน เพื่อพม่าก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยสมาชิกรัฐสภาในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสนใจและมีอุดมการณ์ร่วมกันในการ ติดตามกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศพม่ากลุ่มหนึ่ง มีวัตถุประสงค์หลักในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ในประเทศพม่า ปัจจุบันมีสมาชิกจาก 6 ประเทศคือ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net