Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน                                                    

หลังจากวันอีดิลอัฎฮา ๒ วันกล่าวคือวันพฤหัสที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ผู้ เขียนร่วมกับ อาจารย์นัสรูดีน กะจิ บรรดาครูสอนสาสนาโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยา  อำเภอจะนะและครอบครัวของผู้เขียนได้รับของบริจาคชุดหนึ่งจากเพื่อน ผศ. ดร. วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณให้ไปมอบกับผุ้ประสบวาตภัย

คณะผู้เขียนก็เลยตัดสินใจแบ่งของบริจาคออกสองชุด ชุดที่๑ ไปมอบให้ชุมชนดาโต๊ะ จังหวัดปัตตานี อีกชุดหนึ่งมอบให้ชาวบ้านปาตาตันหยงลูโล๊ะเพราะได้ทราบข่าวจากสำนักข่าวอามานว่าที่นี่ไม่ค่อยได้รับของบริจาค

เวลาประมาณ ๑๕ นาฬิกาผู้เขียนและคณะถึงปากทางเข้าบ้านดาโต๊ะแต่ก็ต้องผิดหวังเพราะคลื่นผู้คนทั้งรถยนต์ จักยานยนต์จากทั่วทุกสารทิศจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่างมุ่งหน้าสู่บ้านดาโต๊ะ ผู้เขียนใช้ความพยายาเข้าไปหนึ่งชั่วโมงก็ต้องตัดสินใจหันหัวรถกลับเพราะรถติดมากยิ่งกว่ากรุงเทพมหานคร  และท้ายสุดมอบสิ่งของฝกเพื่อนที่ปากทางเอาเข้าไปให้ในหมู่บ้าน

หลังจากนั้นผู้เขียนเลยมุ่งหน้าสู่ปาตาตันหยงลูโละทันที่แต่ด้วยเวลาละหมาดค่ำมาถึงจึงแวะละหมาดค่ำที่มัสยิดประวัติศาสตร์กรือเซะ ก่อนทางเข้าหมู่บ้าน

หลังจากนั้นได้เข้าหมู่บ้านช่วงเวลากลางคืนผ่านนาเกลือที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก  บ้านเรือน เสียหาย 30 หลังคาเรือน โดยมี 14 หลังที่เสียหายทั้งหลัง    เรื่อประมงหลายสิบลำ 

จากการลงพื้นที่ของผู้เขียนและคณะ ได้สัมภาษณ์โต๊ะอิหม่ามอิรอเฮม มะดีเย๊าะและชาวบ้านได้เล่าเหตุการณ์ที่ประสบภัยว่าหน้ากลัวมากและไม่เคยประสบมาก่อนที่น้ำจากทะเลหนุนสูงเข้าท่วมชุมชนและไปถึงในอีกชุมชนหนึ่งข้างนอกพวกเขาต้องรีบอพยพไปขึ้นที่สูงในอีกชุมชนหนึ่งโดยทิ้งทรัพย์สินไว้ในบ้าน  พอกลับเข้ามาหลังน้ำรดพบว่าทั้งนาเกลือ  บ้านเสียหายเสียหาย 30 หลังคาเรือน โดยมี 14 หลังที่เสียหายทั้งหลัง    เรื่อประมงหลายสิบลำและบางส่วนของที่ละหมาดก็เสียหาย

ชุมชนที่นี่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลูโละ เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี อยู่ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ บริเวณฝั่งทะเลเหมาะสำหรับเลี้ยงหอยแครง และทำนาเกลือ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทำนาเกลือ ซึ่งในอดีตตำบลตันหยงลูโล๊ะเคยเป็นแหล่งการทำนาเกลือที่สร้างรายได้หลักให้แก่ชุมชนเป็นอ ย่างมาก เพราะมีรสชาติที่กลมกล่อม อร่อย รสชาติดี ดังนั้น จึงมีเรือสำเภาจากที่ต่างๆ มาจอดที่อ่าวตันหยงลูโล๊ะ เพื่อมารับเกลือ ชาวบ้านจะบรรทุกเกลือใส่เรือเล็กแล้วนำไปขึ้นที่เรือสำเภา โดยจะตักใส่ภาชนะที่ทำด้วยหวายสานขึ้นรูปคล้ายกระบุงแล้วขึ้นคานหาบ ในระหว่างการหาบจะมีเกลือบางส่วนที่ตกหล่นระหว่างการขนขึ้นเรือ ดังนั้น ผู้ขายเกลือจะต้องเพิ่มเกลือให้ผู้ซื้อ 1 หาบ ต่อการซื้อ 10 หาบ ลักษณะเช่นนี้ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แม้ว่าผู้ซื้อจะใช้ถังตวงโดยคิดเป็นกันตัง (กันตังของเกลือมีน้ำหนักเท่ากับ 5 ลิตร ซึ่งต่างจากกันตันในการตวงของแบบอื่นที่มีน้ำหนักเพียง 4 ลิตร)

ปัจจุบันเกลือปัตตานีเป็นสินค้าส่งออกไปยังจังหวัดสตูล และประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย โดยมีแหล่งผลิตเกลือหลงเหลืออยู่ที่ตำบลบานา ตำบลบาราเฮาะ ตำบลสะนิง และตำบลตันหยงลูโละ ซึ่งในส่วนของตำบลตันหยงลูโล๊ะ มีจำนวนผู้ผลิตเกลือประมาณ 40   ราย คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 228 ไร่ ในพื้นที่

ปัจจุบันการบริโภคเกลือจะใช้เกลือเม็ด มีทั้งระดับในเชิงพาณิชย์และใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น หมักปลาทำบูดู ใส่ในน้ำแข็งเพื่อหล่อเย็นในกรรมวิธีของไอศครีม กะปิ ฯลฯ

จากการประสบภัยครั้งนี้ที่ทำนาเกลือเสียหายย่อมส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่ทำนาเกลืออย่างแน่นอน  และจะเป็นลูกโซ่สำหรับที่อื่นซึ่งนำเกลือจากที่นี่ไปประกอบอาหาร

ชาวบ้านหากเป็นหนี้นายทุนนำเงินมาลงทุนก็อาจจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้โดยเฉพาะ ผู้ผลิตเกลือ ที่ ไม่ได้รวมกลุ่มเป็นชมรม  ต่างคนต่างขาย ในขณะบางส่วนที่รวมกลุ่มกันได้ก็ยังขาดผู้ดำเนินการหลักอย่างมีคุณภาพในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวที่จะก่อให้เกิดอำนาจในการต่อรองราคาที่เป็นธรรม ยกระดับมาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพ ช่วยให้ผู้ผลิตรายย่อย และสมาชิกมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

จากจุดนี้ก็ยากฝากหน่วยงานขอรัฐเข้ามาหนุนเสริมช่วยพี่น้องช่วงลำบาก

สำหรับบ้านเรือนที่พังเสียหายถึงแม้บางส่วนจะได้วัสดุ อุปกรณ์เพื่อทำบ้านใหม่จากรัฐหรือเอกชนก็ยังกังวลในการสร้างเพราะที่ดินนั้นเป็นที่ดินราชพัสดุ พร้อมทั้ง บ้านหลายหลังยังตั้งอยู่ในแนวเขตโครงการก่อสร้างถนนเลียบอ่าวปัตตานี

ชุมชนปาตามีมากว่า 30 ปีแล้ว เดิมชาวบ้านมาปลูกบ้านประมาณ 20 หลัง ต่อมาคนในหมู่บ้านมากขึ้น บางคนไม่มีที่ดินของตัวเอง และไม่มีเงินพอที่จะซื้อที่ดินสร้างบ้านได้ จึงเข้ามาจับจองที่ดินราชพัสดุในชุมชนแห่งนี้เพื่อสร้างบ้านมากขึ้น ทำให้ชุมชนขยายตัว

เพราะเดิมเป็นพื้นที่ดินงอก บางช่วงมีทรายมาทับถมหน้าหาดที่เป็นหาดโคลน ชาวบ้านจึงขุดทรายมาถมที่สร้างบ้าน พื้นที่งอกเพิ่มก็หายไป ช่วงหลังๆ ชายหาดไม่ได้งอกเพิ่มแล้ว ดังนั้น น่าจะใช้โอกาสที่เกิดภัยพิบัติครั้งนี้ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยหาทางออกร่วมกับชาวบ้านโดยเฉพาะผู้ว่าราชการปัตตานีคนปัจจุบันีเป็นคนบ้านตันหยงลูโล๊ะ

ความเสียครั้งนี้หากไม่มีป่าชายเลนน่าจะหนักว่านี้  ชาวบ้านคนหนึ่งเล่าให้ฟังเพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า เสมือนเขื่อนหรือกำแพงธรรมชาติที่คอยปะทะพายุและคลื่นลมทะเล ช่วยปกป้องบ้านเรือนและทรัพย์สินของมนุษย์ไม่ให้เสียหาย

จากผลกระทบในครั้งนี้ทำให้ป่าชายเลนที่นี้ได้รับผลกระทบไปด้วยซึ้งความเป็นจริงมนุษย์เริ่มทำลายป่าชายเลนตลอดอยู่แล้ว

จากวิกฤตในครั้งนี้เช่นกันหน่วยงานของรัฐ ควรร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกันฟื้นฟูป่าชายเลนที่นี้เพราะป่าชายเลนที่นี่หรือที่ไหนๆจะมีประโยชน์ (ซึ่งศ.ดร.สนิท แก้วอักษร นักวิชาการชาวไทยที่ศึกษาวิจัยป่าชายเลน ) ดังนี้

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนบ้าน

ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด สัตว์น้ำตัวเล็กๆ ต้องอาศัยระบบรากที่ซับซ้อนของ พืชป่าชายเลนสำหรับวางไข่ อนุบาลตัวอ่อนและหลบภัย ลิงแสมที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ก็ได้จับปู ปลา เป็นอาหาร ดังนั้นการทำลายป่าชายเลน จึงเท่ากับเป็นการทำลายบ้านที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์มากมาย

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงครัว

ยามน้ำขึ้น ป่าชายเลนจะมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ด้วยฝูงปลาหลากหลายชนิดต่างพากันออกมาหากินบนพื้นผิวป่าชายเลน ใบไม้ในป่าชายเลนที่ร่วงหล่น จะสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารอันอุดมสมบูรณ์สำหรับการดำรงอยู่ของสัตว์น้ำนานาชนิด เพื่อเติบโตกลายเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์ต่อไป

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงไม้

ระบบนิเวศของป่าชายเลนถูกกำหนดด้วยการขึ้นลงของน้ำทะเล ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกป่าเพื่อนำต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและหารายได้เลี้ยงครอบครัว เช่น เผาไม้โกงกางเพื่อทำเป็นฟืนและถ่านที่มีคุณภาพดี ใช้ไม้สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือทำประมง เป็นต้น

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนบ้าน

ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด สัตว์น้ำตัวเล็กๆ ต้องอาศัยระบบรากที่ซับซ้อนของ พืชป่าชายเลนสำหรับวางไข่ อนุบาลตัวอ่อนและหลบภัย ลิงแสมที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ก็ได้จับปู ปลา เป็นอาหาร ดังนั้นการทำลายป่าชายเลน จึงเท่ากับเป็นการทำลายบ้านที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์มากมาย

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงครัว

ยามน้ำขึ้น ป่าชายเลนจะมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ด้วยฝูงปลาหลากหลายฃนิดต่างพากันออกมาหากินบนพื้นผิวป่าชายเลน ใบไม้ในป่าชายเลนที่ร่วงหล่น จะสลายตัวกลายเป็นธาตุอาหารอันอุดมสมบูรณ์สำหรับการดำรงอยู่ของสัตว์น้ำนานาชนิด เพื่อเติบโตกลายเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์ต่อไป

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงไม้

ระบบนิเวศของป่าชายเลนถูกกำหนดด้วยการขึ้นลงของน้ำทะเล ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกป่าเพื่อนำต้นไม้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและหารายได้เลี้ยงครอบครัว เช่น เผาไม้โกงกางเพื่อทำเป็นฟืนและถ่านที่มีคุณภาพดี ใช้ไม้สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือทำประมง เป็นต้น

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงยา

วิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าชายเลน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากรากเหง้าแห่งภูมิปัญญาการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นต่อไป ด้วยคุณค่าทางสมุนไพรของพันธุ์ไม้เกือบทุกชนิดในป่าชายเลน อาทิ เหงือกปลาหมอดอกม่วง มีสรรพคุณแก้โรคมะเร็ง โรคหืดหอบ วัณโรค และอัมพาต เป็นต้น

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงบำบัดน้ำเสีย

รากที่สลับซับซ้อนและหนาแน่นคล้าย "ตะแกรง" ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน มีศักยภาพสูงในการดูดซับสารพิษ และเก็บกักตะกอน กลั่นกรองขยะ สิ่งปฏิกูลของเสียต่างๆ ที่มาจากพื้นบก อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เป็นการลดมลภาวะทางน้ำ ส่งผลให้น้ำใสสะอาด

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงฟอกอากาศ

ท่ามกลางสังคมเมืองที่แออัด ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศเพิ่มขึ้น หลายคนไขว่คว้าหาอากาศบริสุทธิ์ ป่าชายเลนจึงเป็นสวรรค์สำหรับคนเมือง เพราะช่วยฟอกอากาศ สร้างความสดชื่นแก่ทุกคน ท่ามกลางกระแสน้ำขึ้น น้ำลง ความโดดเด่นงดงามอย่างมหัศจรรย์ของพันธุ์ไม้ และเสียงกู่ร้องบรรเลงของสัตว์นานาชนิด

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนโรงเรียนธรรมชาติ

การศึกษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของป่าชายเลน เปรียบเสมือนได้ท่องสำรวจในห้องสมุดขนาดใหญ่ อางค์ประกอบและเรื่องราวสรรพสิ่งต่างๆ ในป่าชายเลน ล้วนมีคุณค่าควรแก่การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับระบบนิเวศชายฝั่ง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดอาหารโปรตีนที่สำคัญของโลก รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ร่วมกับป่าชายเลนได้อย่างมีความสุข

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนกำแพงธรรมชาติ

รากของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่โผล่ขึ้นมาแผ่กว้างเหนือดิน และหยั่งลึกลงใต้ดิน ช่วยยึดเกาะดินไว้ไม่ให้พังทลาย ป่าชายเลนที่ขึ้นเป็นแนวเขตบริเวณชายฝั่งทะเลจึงทำหน้าที่เหมือนเขื่อนหรือกำแพงธรรมชาติที่คอยปะทะพายุและคลื่นลมทะเล ช่วยปกป้องบ้านเรือนและทรัพย์สินของมนุษย์ไม่ให้เสียหาย

ป่าชายเลน เปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำ

ชาวประมงส่วนใหญ่เริ่มต้นกิจวัตรประจำวันด้วยการเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา หรือสัตว์น้ำอื่นๆ พวกเขาสำนึกในคุณค่าของป่าชายเลนว่าเป็นโรงผลิตอาหารทะเลหรืออู่ข้าวอู่น้ำ ทำให้พวกเขามีอาหารดีๆ รับประทาน และแบ่งขายได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องลงทุน

การฟื้นฟูป่าชายเลนโดยธรรมชาติ

การเริ่มต้นชีวิตใหม่ของป่าชายเลน ไม่จำเป็นต้องหาซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือต้นกล้ามาปลูกแต่อย่างใด ด้วยกลไกการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ เมล็ดลักษณะพิเศษของพืชป่าชายเลน เช่น โกงกาง เป็นฝักแหลมยาว เมื่อแก่จึงหล่นจากต้น และปักบนดินที่อ่อนนุ่ม พร้อมที่จะเจริญเติบโตเป็นต้นไม่ใหญ่ต่อไปโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์

นี่คือบทเรียนที่ได้รับจากภัยพิบัติครั้งนี้ที่มนุษย์ได้ทำลายธรรมชาติ ระบบนิเวศก่อนหน้านี้แต่คนไทยก็ยังมีน้ำใจล้นหลามในการช่วยเพื่อนร่วมชาติ โดยไม่คำนึงชาติพันธ์และศาสนา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net