Skip to main content
sharethis

หนุนตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ หวังหาข้อเท็จจริงกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพม่า พร้อมร้องรัฐบาลไทยให้ผู้หนีภัยสู้รบอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวต่อ ส่วนอินโดฯ ประธานอาเซียนในปี ปี 54 ควรทบทวนหลักการไม่เข้าแทรกแซงกับพม่า

 
เมื่อวันที่ 15 พ.ย.53 กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้อาเซียนและสหประชาชาติเร่งสอบสวนกรณีทารุณกรรมในพม่า ปฏิเสธผลเลือกตั้ง โดยแถลงการดังกล่าวระบุเนื้อหา ดังนี้ 
 
แถลงการณ์กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC)
เรียกร้องให้อาเซียนและสหประชาชาติเร่งสอบสวนกรณีทารุณกรรมในพม่า ปฏิเสธผลเลือกตั้ง
 
15 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
 
การปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี สร้างความหวังครั้งใหม่ในพม่า แต่มิได้แก้ปัญหาหลักในประเทศ ประชาคมโลกต้องสู้ต่อไปเพื่ออิสรภาพของคนพม่า
 
ขณะนี้ ในพม่ายังมีนักโทษการเมืองอีก 2,200 คนที่ถูกกักขังอยู่หลังม่านเหล็ก การเลือกตั้งในพม่าที่ผ่านมาได้จุดชนวนความตึงเครียดให้แก่ชนกลุ่มน้อย และนำไปสู่การสู้รบครั้งใหม่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า การสู้รบที่เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยที่เป็นเป้าหมายหลักมีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำให้เกิดคลื่นผู้ลี้ภัยกลุ่มใหม่ที่ถูกบีบบังคับให้ละทิ้งบ้านเกิดเมือง นอนเพื่อรักษาชีวิตตน
 
อาเซียนและรัฐสมาชิกต้องกดดันให้พม่ารับประกันความปลอดภัย และอิสรภาพในการเดินทางและอิสรภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนางอองซาน ซูจี ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดทันที และหยุดทำร้ายราษฎร์ของตน อาเซียนจำต้องสนับสนุนข้อเสนอของผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพม่า และก้าวสู่ขั้นตอนเชิงปฏิบัติเพื่อให้การจัดตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมา
 
การเลือกตั้งที่ผ่านพ้นไปไม่นานนี้เป็นเพียงการแสดงอำนาจอย่างน่าละอายใจของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า การเลือกตั้งดังกล่าวมีข้อผิดพลาดมากมาย และจะไม่อาจนำมาซึ่งรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งจะใฝ่หาการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศพม่า ดังนั้น ประชาคมโลกได้แก่อาเซียนและสหประชาชาติ ต้องปฏิเสธผลการเลือกตั้งดังกล่าว และสหประชาชาติควรก้าวเข้ามามีบทบาทในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในพม่า
 
อาเซียนได้ชักชวนพม่าให้เร่งทำงานร่วมกับอาเซียนและสหประชาชาติ แต่อาเซียนจำเป็นต้องนำสิ่งที่ได้พูดคุยไว้มาสู่การปฏิบัติ ความน่าเชื่อถือขององค์กรจากการเลือกตั้ง อาเซียนและสหประชาชาติต้องให้การสนับสนุนนางอองซาน ซูจี และกดดันพม่า เพื่อให้การเจรจาสามฝ่าย ระหว่างรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า กลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยนำโดยนางอองซาน ซูจี และชนกลุ่มน้อยเกิดขึ้นได้จริงในที่สุด
  
แถลงการณ์ AIPMC เกี่ยวกับประเทศไทย:
รัฐบาลไทยและคนไทยได้แสดงออกถึงความโอบอ้อมอารีในการจัดพื้นที่ พักพิงและให้ความช่วยเหลือต่างๆ แก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบและการทารุณกรรมในพม่ามาเป็นเวลาช้านาน และ AIPMC ขอแสดงจุดยืนร่วมกับประชาสังคมในประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบจากพม่าที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และหวาดกลัวที่จะกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตนได้อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวในเขตแดนไทย
 
เป็นเรื่องน่ายินดีที่องค์กรในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้ดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์อุกฤษฏ์ในพื้นที่ชายแดนระหว่างสองประเทศได้อย่างทันท่วงที ในการณ์นี้ AIPMC ขอร่วมกับกับองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทย วิงวอนให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้สหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สามารถเข้าถึงผู้หนีภัยและให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่พวกเขา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย และที่อาศัยอยู่ตามรอยตะเข็บชายแดนในฝั่งประเทศพม่า อีกทั้ง สนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้ทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่นในพื้นที่ ในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ผู้หนีภัยความขัดแย้งจากพม่า
 
แถลงการณ์ AIPMC เกี่ยวกับ ประเทศอินโดนีเซีย:
จากประสบการณ์ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการเป็นเวลากว่า 30 ปี อินโดนีเซียมีพันธะสัญญาในการขจัดลัทธิอำนาจนิยมทุกรูปแบบ และ AIPMC มีความเสียใจต่อแถลงการณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ Mr. Marty Natalegawa ที่เปลี่ยนจุดยืนอันแข็งกร้าวในประเด็นเรื่องการเลือกตั้งในประเทศพม่าอันเป็นผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ผ่านมา
 
AIPMC อินโดนีเซียจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียมีจุดยืนต่อวาระการฟื้นฟูประชาธิปไตยและการขจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า AIPMC ขอเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซีย โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศใช้โอกาสของการเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ.2554 ที่จะถึงนี้ แสดงความเป็นผู้นำภูมิภาคที่มีความหมาย การเป็นประธานอาเซียนจะเป็นโอกาสดีที่จะประเมินพันธะสัญญาที่พม่ามีต่อกฎบัตร อาเซียนและความเป็นประเทศสมาชิกของอาเซียน อินโดนีเซียไม่ควรหลงเชื่อการเลือกตั้งที่ผ่านการดัดแปลงจนไร้ซึ่งความน่า เชื่อถือของพม่า ไม่ควรนำหลักสากลในการไม่เข้าแทรกแซงมาใช้อย่างผิดๆ โดยไม่แทรกแซงการคุมขังนักโทษการเมืองจำนวนกว่า 2,200 คน การทำร้ายประชาชน และการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในพม่า
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net