Skip to main content
sharethis

รอง ปธ.สมาคมประมงฯร้องสอบบัตรแรงงานต่างด้าวปลอม

นาย สุทิน ชาวปากน้ำ รองประธานสมาคมประมงแห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาสมาคมประมง จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า กรณีได้รับแจ้งปัญหาหลังพบบัตรแรงงาต่างด้าว สะพัดอยู่ ในสถานประกอบการต่าง โดยมีแรงงานต่างด้าวหลายราย ทั้งนายจ้างเสียทรัพย์เงินใบละร่วม 20,000 บาท ทั้งนี้ทำให้เมื่อเข้าต่อใบอนุญาตทำงาน ไม่สามารถผ่านขั้นตอนได้ ขณะที่ปัญหาการพิสูจน์สัญชาติแรงงานของประเทศต้นทาง ยังมีปัญหาความล่าช้าที่ล่าช้าจากกระบวนและขั้นตอนต่างๆ ซึ่งถือเป็นปัญหารุมเร้าอย่างหนัก จากการตรวจสอบบัตรหลายราย พบว่าหน้าตาแรงงานต่างด้าวซ้ำๆกันถึง 5 - 6 คน ในหมายเลขประจำตัว 13 หลักเดียวกัน ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมโดยกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งอยาก ให้รัฐบาลลงช่วยดูแล อย่างไรก็ตามอยากว่า สันนิฐานคาดมีคนในเข้าเอี่ยว

(เนชั่นทันข่าว, 18-12-2553)

แรงงานพม่ากว่าพันรณรงค์วันแรงงานข้ามชาติสากล

แรงงานพม่าในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กว่า 1,000 คน ต่างเดินทางไปรวมตัวกันที่วัดแม่สอดหน้าด่าน หรือ วัดหลวง เขตเทศบาลนครแม่สอด เพื่อจัดรูปขบวน และแจกเอกสารต่างๆ จากนั้นได้ออกเดินทางไปตามถนนสายต่างๆ โดยกลุ่มแรงงานชาวพม่า ได้ใช้วงดุริยางค์ของโรงเรียนในพื้นที่นำหน้าขบวน และมีขบวนของแรงงานพม่าตาม ทั้งนี้เนื่องจากวันแรงงานข้ามชาติสากล โดยแรงงานชาวพม่าต่างถือป้ายผ้า เขียนด้วยข้อความต่างๆ เช่น แรงงานทุกคนต้องได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน , ขอบคุณชาวอำเภอแม่สอด ที่เปิดพื้นที่ให้ทำงาน , สิทธิแรงงานข้ามชาติคือ สิทธิมนุษยชน และแรงงานข้ามชาติร่วมสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโต เป็นต้น

ทั้งนี้แรงงานพม่าดังกล่าวได้เดินไป รอบเมืองแม่สอด และเดินทางต่อไปที่โรงเรียนซีดีซี.ของชาวพม่า ที่อยู่ตำบลท่าสายลวด เพื่อจัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ซึ่งได้รับความสนใจในหมู่ชาวพม่าเป็นอย่างมาก

(เนชั่นทันข่าว, 18-12-2553)

ไทยจับมืออิสราเอลลดค่าหัวจัดส่งคนงาน

20 ธ.ค. 53 - ที่กระทรวงแรงงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังการลงนามร่วมกับ นายอิตซ์ฮัก โซฮัม เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับคนงานไทยที่ไปทำงานที่อิสราเอลว่า ข้อตกลงของการลงนามนอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายสำหรับแรงงานไทย ที่จะเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอลแล้ว ยังกำหนดจำนวนโควตาแรงงานไทย ที่จะเดินทางไปในรูปแบบรัฐต่อรัฐ โดยไม่ต้องผ่านบริษัทนายหน้าจัดหางาน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการระหว่างไทย และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ให้เกิดความร่วมมือในรูปแบบดังกล่าวในอนาคต

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ในแต่ละปีมีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในประเทศอิสราเอล ปีละ 5,000 – 6,000 คน โดยเสียค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทจัดหางานปีละประมาณ 300,000 บาท ซึ่งการลงนามในข้อตกลงฉบับนี้ จะทำให้ค่าใช้จ่ายต่อคนลดลงเหลือเพียง 150,000 บาท ซึ่งในการดำเนินงานครั้งนี้จะส่งผลให้การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรใน อิสราเอล จะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ เนื่องจากต่อไปอิสราเอลจะไม่อนุญาตให้แรงงานต่างชาติที่ไม่ได้ทำข้อตกลงนี้ เข้าไปทำงานอีก ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากแรงงานคนใดสนใจไปทำงานที่อิสราเอล สามารถติดต่อได้ที่กระทรวงแรงงาน

ด้านนายอิตซ์ฮัก กล่าวว่า ขณะนี้มีแรงงานไทยอยู่ในประเทศ 26,000 คน มากกว่าร้อยละ 96 อยู่ในภาคการเกษตรของประเทศ ซึ่งการลงนามครั้งนี้ถือเป็นข้อตกลงฉบับแรกที่อิสราเอลทำกับประเทศอื่น เนื่องจากเห็นว่าแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีความขยัน มีฝีมือ และเป็นที่ยอมรับของนายจ้างอิสราเอล โดยข้อตกลงดังกล่าวทำให้แรงงานไทยลดค่าใช้จ่ายในการทำงานลง และสร้างโอกาสให้แรงงานที่มีฝีมือเข้ามาทำงานมากขึ้น

ขณะที่นายเกริกศักดิ์ ศักดิ์บดินทร์ นายกสมาคมจัดหางานไทยไปต่างประเทศ กล่าวถึงการลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยกับอิสราเอลว่า จะส่งผลดีต่อแรงงานไทย แต่ในส่วนของบริษัทจัดหางานอาจได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมามีบริษัทจัดหางานบางแห่ง เรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงาน จนเข้าข่ายการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว บริษัทจัดหางานก็จะยังคงอยู่ได้ แต่ต้องมีการปรับตัว ซึ่งในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ บริษัทจัดหางาน 64 แห่งจะนัดประชุม เพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุในการยกเลิกการจัดส่งคนงานแบบเดิม และหาข้อสรุปร่วมกับกรมการจัดหางาน และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือไอโอเอ็มก่อนนำข้อสรุปเสนอให้กระทรวงแรงงานพิจารณาทบทวนอีกครั้ง.

(เดลินิวส์, 20-12-2553)

แรงงานกัมพูชากว่า 500 คนปิดโรงงานกุ้งจันทบุรีไม่พอใจที่ถูกหักค่าแรง

20 ธ.ค.53 - ที่โรงงานจันทบุรีซีฟู้ด ต.วังใหม่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม นายอำเภอ นายายอาม จ.จันทบุรี พร้อมด้วย พ.ต.อ.อภิชาต ไชยบุญเรือง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรนายายอาม สนธิกำลังเจ้าหน้าที่กองร้อยอาสารักษาดินแดนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรึงกำลังควบคุมสถานการณ์

ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานชาวกัมพูชา จำนวนกว่า 500 คน ที่ลุกฮือปิดล้อมทางเข้าออกโรงงานจันทบุรี ซีฟู้ด เพื่อประท้วงนายจ้าง เนื่องจากเกิดความไม่พอใจที่โรงงานได้เรียกหักค่าแรงเพิ่มขึ้นจากเดิม มากเกือบเท่าตัว โดยเหตุการณ์เกือบจะบานปลายเมื่อมีแรงงานบางราย พยายามยุยงให้เกิดการชุมนุมประท้วงเกิดความรุนแรง โดยการขว้างปาสิ่งของเข้าไปในโรงงาน แต่ถูกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ อส. เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ทัน
      
ด้านนายชุน เห็ดตูม อายุ 40 ปี หัวหน้าแรงงานกัมพูชาเปิดเผยว่า สาเหตุที่มีการประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นจากกลุ่มใช้แรงงานบางส่วน ไม่เข้าใจถึงกฎหมายพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวฉบับใหม่ ที่ให้สถานประกอบการเรียกเก็บค่าประกันแรงงานเดินทางกลับประเทศ รายละ 350 บาท ต่อ 1 เดือน และเรียกร้องให้ยกเลิกการเรียกเก็บค่าพาสปอร์ต ที่แรงงานต้องจ่ายรายละ 18,000 บาท ต่อราย ที่ได้ตกลงกับสถานประกอบการให้ชำระผ่อนจ่าย เดือนละ 2,000 บาท เนื่องจากไม่เหลือค่าแรงไว้ใช้จ่ายประจำวัน จึงได้รวมตัวประท้วงขึ้น
      
นายสุชาติ ประสงค์เจริญ จัดหางาน จ.จันทบุรี ได้ขึ้นกล่าวชี้แจงแก่กลุ่มผู้ใช้แรงงานว่า การเรียกเก็บหรือหักค่าแรงของสถานประกอบการเป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติของ คนงานต่างด้าว พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้สถานประกอบการเรียกเก็บค่าประกันค่าเดินทางกลับประเทศ จากแรงงานต่างด้าว รายละ 350 บาท ต่อเดือนในระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ถึง เดือนเมษายน 2554 โดยให้สถานประกอบการ ทำหนังสือประกาศแจ้งให้แรงงานทราบล่วงหน้า
      
ด้านพันตำรวจเอกอภิชาต ไชยบุญเรือง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรนายายอาม ได้เสนอทางออกให้กลุ่มผู้ประท้วง อยู่ใต้อาณัติและเคารพกฎหมายไทย โดยให้แกนนำตั้งตัวแทนแรงงาน จำนวน 10 คน เข้าประชุมหารือ ร่วมกับสถานประกอบการและทางจัดหางาน เพื่อสรุปหาทางออกในเรื่องการหักชำระผ่อนจ่ายค่าพาสปอร์ตและอื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นคนกลางให้กับทั้งสองฝ่าย โดยให้แรงงานมารับฟังผลการประชุมของอีกวัน จากข้อเสนอดังกล่าวสร้างความพอใจให้แก่กลุ่มผู้ประท้วงจึงได้แยกย้ายกันเข้า ทำงานตามปกติ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-12-2553)

แรงงานอีสานร้องตำรวจระยองถูกหลอกอ้างส่งทำงานที่เฮติ

21 ธ.ค. 53 - นายสมพร ไขแสงจันทร์ อายุ 31 ปี ชาว จ.หนองคาย พร้อมพวกอีก 15 คน นำหลักฐานเข้าแจ้งความกับ พ.ต.ท.พงษ์ศักดิ์  คดีธรรม พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ้านฉาง จังหวัดระยอง ว่า  ถูก นายวิฑูรย์ สิงห์ฉลาด และนางรินจง ทะสังขา สองสามีภรรยา ชาว จ.มหาสารคาม หลอกลวงอ้างสามารถจัดส่งไปทำงานประเทศเฮติ โดยเรียกรับเงินค่าหัวรายละ 40,000 บาท เบื้องต้นมีแรงงานผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีของนางรินจง คนละ 40,000 บาทกว่า 200 คนแล้ว โดยอ้างว่ากรมยุทธบริการทหาร กระทรวงกลาโหม จัดโควตากำลังพลทั้งทหารและพลเรือนจำนวน 750 นาย เพื่อไปทำงานช่วยเหลือและฟื้นฟูประเทศเฮติที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหว และต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ 40,000 บาท โดยให้โอนเงินเข้าบัญชีของนางรินจง จึงหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าว และให้เตรียมตัวเดินทางในวันที่ 27 มิ.ย.53 จากนั้นเมื่อใกล้ถึงวันเดินทางก็ไม่เห็น 2 สามีภรรยาคู่นี้ติดต่อมา จึงโทรศัพท์ไปสอบถามกับนายวิฑูรย์ ก็อ้างว่าทางทหารติด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่สามารถเดินทางออกต่างประเทศจะต้องประจำการอยู่ในประ เทศไทยก่อน และขอเลื่อนกำหนดเดินทางไปอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งผู้เสียหายก็หลงเชื่อและรอจนครบกำหนด 2 สัปดาห์ เมื่อโทรศัพท์ไปสอบถามก็อ้างว่าติดภารกิจอยู่อย่างนั้น แต่จนถึงขณะนี้ก็ไม่ได้ไปทำงานตามที่ 2 สามีภรรยากล่าวอ้าง และไม่ได้รับเงินคืนแต่อย่างใด จึงต้องมาพึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ช่วยดำเนินการ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้ลงบันทึกประจำวัน และจะได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานดำเนินคดีกับสองผัวเมียดังกล่าวในข้อหาจัดหางาน โดยไม่ได้รับอนุญาต หลอกลวงคนหางานว่าจะสามารถจัดส่งไปทำงานต่างประเทศได้ แต่ไม่สามารถจัดส่งไปทำงานยังต่างประเทศตามคำกล่าวอ้าง และไม่คืนเงินให้กับแรงงาน

(สำนักข่าวไทย, 21-12-2553)

อนุค่าจ้างจังหวัดขู่ลาออกบีบปรับสูตรใหม่

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สายงานแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ตัวแทนอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างของแต่ละจังหวัดได้ร้องเรียนมายัง ส.อ.ท. ให้สอบถามถึงความชัดเจนกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเกี่ยวกับการ พิจารณาค่าจ้างในปี 2554 จะเหมือนปีนี้อีกหรือไม่ เพราะผลจากการพิจารณาของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างกลางที่ออก มาสูงกว่าตัวเลขที่คณะอนุกรรมการค่าจ้างแต่ละจังหวัดเสนอไป ซึ่งหากยังใช้ สูตรการคิดเดิมก็อาจลาออก เพราะภาครัฐไม่ใส่ใจเสียงตัวแทนผู้ประกอบการของแต่ละจังหวัด

"ส.อ.ท.กำลังสรุปข้อมูลปัญหาเพื่อ ใช้ในการหารือกับกระทรวงแรงงาน โดยเฉพาะ ปัญหาความเดือดร้อนจากการปรับขึ้นค่าแรงงานส่งผลต่อต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการส่งออกเพราะปัจจุบันกำลังประสบปัญหาจากเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่ง ภาคอุตสาหกรรมกังวลว่าในปี 54 อาจทำให้มีผู้ประกอบการส่งออกบางรายต้องปิดกิจการลง" นายทวีกิจกล่าว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า วันที่ 23 ธ.ค.นี้ จะหารือร่วมกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 8-17 บาทต่อวันทั่วประเทศ ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.54 นี้ ซึ่ง ส.อ.ท.ต้องการให้ภาครัฐรับทราบผลกระทบจากการปรับค่าแรงครั้งนี้ ซึ่ง ส.อ.ท.ยืนยันตั้งแต่ต้นแล้วว่าเห็นด้วยที่คุณภาพชีวิตของแรงงานจะดีขึ้นจาก ค่าจ้าง แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการก็ดูแลพนักงานหรือลูกจ้างผ่านสวัสดิการอื่นๆ อย่างครอบคลุมอยู่แล้ว

"การหารือกับกระทรวงแรงงานครั้งนี้ เพราะต้องการทราบถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าแรงของคณะอนุกรรมการวิชาการและ กลั่นกรองค่าจ้างกลางที่เพิ่มขึ้นไม่สอดคล้องกับที่คณะอนุกรรมการค่า จ้างกลางของแต่ละจังหวัดเสนอไป" นายพยุงศักดิ์กล่าวและว่า ผลจากการปรับค่าจ้างแรงงานย่อมส่งผลให้สินค้าปรับ ราคาขึ้นตามไปด้วย แต่หากภาครัฐยังพยายามตรึงราคาสินค้าในหลายๆ ประเภทที่วัตถุดิบด้านต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดแน่ นอน.

(ไทยโพสต์, 21-12-2553)

ปลัดแรงงานยันขึ้นค่าจ้างตามที่ประชุม

จากกระแสข่าวว่า สภาอุตสาหกรรมไม่พอใจในตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับใหม่ในอัตราวันละ 8-17 บาท เนื่องจากไม่ใช่ตัวเลขที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ นายแพทย์สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ยอมรับว่า มีความเห็นต่างเกี่ยวกับตัวเลขค่าจ้างในขณะที่มีการประชุมจริง แต่สุดท้าย ทุกคนก็เห็นพ้องกับตัวเลขใหม่ที่เพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงาน ตามที่ได้ประกาศไป

ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงาน จัดงานสัมมนา "การกำหนดค่าจ้างทิศทางในเชิงนโยบาย" ขึ้น โดยมีตัวแทนลูกจ้าง และนักวิชาการเข้าร่วมประชุม ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ให้เน้นการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งขณะนี้กำหนดอัตราไปแล้วกว่า 30 อาชีพ และอยู่ระหว่างการศึกษาอีกกว่า 1 พันอาชีพ รวมทั้งการปรับขึ้นค่าจ้าง นายจ้างควรคำนึงถึงอายุงาน และประสบการณ์การทำงานด้วย

(ช่อง 7, 22-12-2553)

คนงานโรงงานสิ่งทออยุธยารวมตัวประท้วงขอขึ้นโบนัส

22 ธ.ค. 53 - เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ พนักงานบริษัทไทยโพเกต การ์เมนท์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ม. 2 ต.คลองจิก อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เกือบ 1,000 คน ได้รวมตัวประท้วงที่บริเวณลานหน้าอาคารโรงงาน เรียกร้องให้บริษัทขึ้นโบนัสตามที่บริษัทได้เคยบอกเอาไว้ โดยการชุนนุมเป็นไปด้วยความสงบมาตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ตัวแทนพนักงานได้เรียกร้องขอให้บริษัทขึ้นโบนัส จำนวน 80 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน แต่เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงิน บริษัทกลับจ่ายให้เพียง 72 เปอร์เซ็นต์ โดยอ้างว่าบริษัทไม่สามารถจ่ายโบนัสตามจำนวนที่พนักงานร้องขอได้ เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาขาดทุน ทำให้พนักงานไม่พอใจรวมตัวประท้วง พร้อมกับยืนยันว่าจะต้องได้ 80 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา หากไม่สำเร็จพนักงานจะรวมตัวประท้วงไปเรื่อยๆ และจะนัดหยุดงานทั้งหมด

(สำนักข่าวไทย, 22-12-2553)

กสร.ลุยแรงงานสัมพันธ์ลดข้อพิพาทรับฟังทั้งสองฝ่าย

22 ธ.ค. 53 - นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยในการสัมมนาเรื่องแรงงานสัมพันธ์ โดยหลักสุจริตใจว่า จากข้อมูลด้านแรงงานสัมพันธ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552-30 พฤศจิกายน 2553 พบว่ามีสถานประกอบการแจ้งขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน 322 แห่ง มีลูกจ้างเกี่ยวข้องประมาณ 2.8 แสนคน เกิดข้อพิพาท 78 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องประมาณ 5.2 หมื่นคน มีการชุมนุมเรียกร้อง 132 ครั้ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องประมาณ 135,000 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ 11,885 ล้านบาท สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเรียกร้องโบนัส และขอขึ้นเงินเดือน

นางอัมพร กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมเรียกร้องในปี 2553 ว่า มีลูกจ้างชุมนุมเรียกร้องระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2552-30 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 5,630 คน ในสถานประกอบการ 15 แห่ง และชุมนุม 18 ครั้ง มีสถานประกอบการที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้อง 161 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 95,207 คน โดยเกิดข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง 31 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 11,341 คน และเกิดข้อขัดแย้ง 37 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 11,942 คน มีลูกจ้างผละงาน 3 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 760 คน มีการนัดหยุดงาน และปิดงาน 1 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 500 คน

ด้านนายสุวิทย์ สุมาลา ผู้อำนวยการสำนักแรงงานสัมพันธ์ กสร. กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีการประท้วงหยุดงาน และความไม่ลงรอยกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างมาก ดังนั้น ต้องปรับกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ โดยรับฟังกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

(มติชนออนไลน์, 22-12-2553)

พนง.ฟูจิตสึในนิคมฯ แหลมฉบังม็อบเรียกร้องเงินเดือน-โบนัส-สวัสดิการ

23 ธ.ค. 53 - ที่หน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี นายสมควร โสนรินทร์ ประธานสหภาพแรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 92/9 หมู่ 2 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พร้อมพนักงานกว่า 300 คน รวมตัวประท้วงร้องเรียนนายจ้าง เนื่องจากปัจจุบันค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รายรับของลูกจ้างไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในการดำรงชีวิต ดังนั้นทางสหภาพ จึงทำหนังสือขอขึ้นเงินเดือน, จ่ายโบนัส และสวัสดิการต่างๆ แก่พนักงาน

สำหรับข้อเรียกร้องมีทั้งสิ้น 13 ข้อ ประกอบด้วย

1.ให้บริษัทจ่ายเงินโบนัส 4.5 เท่าของฐานเงินเดือน บวก 12,000 บาท พร้อมเพิ่มเงินพิเศษแก่สมาชิกสหภาพอีกคนละ 15,000 บาท
2.เพิ่มเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10%
3.ขอให้บริษัทสนับสนุนกิจกรรมของสหภาพ
4.เพิ่มค่าครองชีพให้แก่สมาชิกสหภาพ 800 บาทต่อเดือน
5.ถอนคำเลิกจ้างคณะกรรมการ นายวัลลภ จั่นเพชร
6.หักเงินค่าจ้างสมาชิกสหภาพ เพื่อเป็นค่าบำรุงผ่านธนาคาร
7.ปรับค่าแรงลูกจ้างที่ทำงานให้แก่บริษัทครบ 24 เดือน
8.ปรับค่าจ้างประจำปี 2554
9.แก้ไขเวลาทำงาน วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง 20 นาที
10.อนุญาตให้สหภาพเผยแพร่ข่าวสารแก่สมาชิก โดยไม่ถูกแทรกแซง
11.จ่ายเงินค่าความเสี่ยงแก่พนักงานบางกลุ่ม
12.จ่ายเงินช่วยเหลือพนักงาน หากบิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร เสียชีวิต รายละ 10,000 บาท
13.จัดสวัสดิการประกันสุขภาพให้แก่พนักงาน

นายสมควรกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีการเจรจาร่วมกันภายในจำนวน 5 ครั้ง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และฝ่ายนายจ้างไม่นัดให้มีการเจรจาครั้งที่ 6 สหภาพแรงงานจึงแจ้งเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา พร้อมแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อ ยุติร่วมกัน
      
ที่ผ่านมาพนักงานพยายามประนอมข้อพิพาทแรงงาน โดยข้อไกล่เกลี่ยที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้

นายสมควรกล่าวต่อไปว่า ล่าสุดทางบริษัทได้ประกาศปิดงานอย่างกะทันหัน ทำให้ลูกจ้างสับสน โดยประกาศให้พนักงานกลับบ้านด่วนเพราะบริษัทปิดงานชั่วคราวเป็นเวลา 2 วัน คือ 22-23 ธ.ค.นี้ ทำให้กลุ่มสหภาพและพนักงานไม่พอใจในการกระทำครั้งนี้ จึงนัดรวมตัวเพื่อเรียกร้อง เพื่อกดดันทางบริษัทให้กระทำตามข้อเรียกร้องทั้งหมด และหากการเจรจาในครั้งนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จอาจจะมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงอย่างแน่นอน และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา 3 ฝ่าย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-12-2553)

บอร์ดก.พ. ไฟเขียว กม.ตั้ง "สหภาพข้าราชการ"

23 ธ.ค. 53 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน วันที่ 23 ธันวาคม

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือน พ.ศ.... มีเนื้อหารวม 48 มาตรา จะมีการเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าวจะ เป็นการเปิดทางให้ข้าราชการสามารถรวม กลุ่มกันได้ในลักษณะสหภาพ แบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ 1.สหภาพข้าราชการพลเรือน 2.สหภาพข้าราชการระดับกระทรวง 3.สหภาพข้าราชการระดับกรม และ 4.สหภาพข้าราชการระดับจังหวัด

(มติชนออนไลน์, 23-12-2553)

NTN นิเด็คระยองเปิดโครงการสมัครใจลาออก
 
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2553 บริษัท นิเด็ค แบริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด 300 หมู่ที่ 4 ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองนายจ้างประเทศญี่ปุ่น ประกอบตลับลูกปืนหัวอ่านข้อมูล คอมพิวเตอร์มีพนักงานประมาณ 900 กว่าคน ได้ประกาศ ถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้ใช้มาตรการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจของบริษัทฯ  หลายอย่างเช่น ปรับปรุงสายการผลิตและเครื่องจักร หาตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ลดค่าล่วงเวลา และมีการเปิดโครงการสมัครใจลาออกไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือน กรกฎาคม  2553 ที่ผ่านมาจำนวน 328 คน ในครั้งนี้บริษัทฯเปิดเข้าโครงการแบบไม่จำกัดจำนวน แต่จำกัดวันตั้งแต่วันที่ 15 – 21 ธันวาคม 2553 มีสิทธิประโยชน์พิเศษ เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการสมัครเข้าโครงการดังต่อไปนี้ 
 
1.  ค่าชดเชย ตามกฎหมายกำหนด + เงินช่วยเหลือพิเศษ 60 วัน
2. วันหยุดพักผ่อนประจำปี  บริษัทฯ จ่ายให้สำหรับวันหยุดที่ยังไม่ได้ใช้
3. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพร้อมดอกเบี้ย  100%
4. หนังสือรับรองการผ่านงาน  บริษัทฯ ดำเนินการออกให้แก่พนักงาน
5. เงินรางวัลพิเศษประจำปี
 
ต่อมาวันที่ 20 ธันวาคม 2553 เวลา 11.15 น. นางสาวพัชนีย์  ศรีวิชัย ตำแหน่ง Sr.Supervisor ได้ประกาศเสียงตามสายย้ำอีก ว่า บริษัทฯจะหยุดการผลิตภายในสัปดาห์นี้ และบริษัทฯไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายสำหรับในปีถัดไป ดังนั้นเป็นโอกาสสุดท้ายที่บริษัทฯจะจัดเงื่อนไขที่ดีที่สุดให้กับพนักงาน ทุกคน ทำให้พนักงานได้ตัดสินใจ สมัครใจลาออกประมาณ 600 กว่าคนเพราะไม่มั่นใจในอนาคตของตัวเอง
 
จากการประกาศสมัครใจลาออกครั้งนี้ นางสาวสุนารี  กิ่งคำ ประธานสหภาพแรงงานฯ กล่าวว่าการที่บริษัทฯอ้างว่าปรับปรุงการผลิตและเครื่องจักรนั้น ความจริงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรทำให้ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อ ที่จะลดจำนวนคนงานลง และในช่วงเดือน กรกฎาคม  2553 ที่ผ่านมามีการสั่งซื้อเครื่องจักร CNC เข้ามา จำนวน 10 เครื่องเพื่อผลิตและประกอบเอง นี่หรือที่บริษัทฯอ้างว่าขาดทุนต้องลดพนักงานลง และบริษัทฯได้มีการลงทุนเพิ่มเติมโดยการเข้า เทคโอเวอร์บริษัท เอสซีวาโด้ นิคมฯบ่อวิน และนิคมฯปิ่นทอง และกล่าวอีกว่าบริษัททั้งสองแห่งนี้มีการจ้างแรงงาน ข้ามชาติเป็นจำนวนมาก สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ทำให้ดิฉันเข้าใจแล้วว่าการกระทำเช่นนี้ บริษัทเองต้องการที่จะรักษาสถานะของบริษัทไว้ โดย การเปิดโครงการ  “ ลาออกด้วยความสมัครใจ แล้วจะนำแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานแทนเพื่อเป็นการลดต้นทุน โดยการจ่ายค่าจ้างที่ต่ำ แต่ได้ปริมาณงานมากกว่าเดิม
 
จาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็มีจำนวนคนงานที่ตั้งครรภ์จำนวน 100 กว่าคน หนึ่งในพนักงานที่ตั้งครรภ์กล่าวว่า การสมัครใจให้ลาออก ก็เหมือนกับการบังคับให้ลาออกโดยสมัครใจ พนักงานหลายคนต่างหวั่นวิตกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองทั้งปัจจุบันและใน อนาคต ความไม่มั่นคงในอาชีพ ตื่นขึ้นมาทำงานตอนเช้าก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ไม่รู้ว่าจะถูกเลิกจ้างอีกหรืไม่ ถ้าเธอลาออกด้วยความสมัครใจเธอจะได้เงินเพียงเล็กน้อยใช้ไม่กี่เดือนก็หมด ค่าคลอดบุตรก็จะได้เฉพาะในส่วนที่เธอจ่ายเข้าประกันสังคมเท่านั้น
 
ที่ปรึกษาด้านแรงงานกลุ่มภาคตะวันออกได้นำเสนอว่า ทัศนคติของผู้นำด้านแรงงานต่างมองตรงกันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้กำลังบอกอะไรกับกระบวนแรงงานหรือเปล่า นายทุนผู้ถืออำนาจในหลายรูปแบบ พวกเขาจะเปลี่ยนชะตากรรมของคนงาน ชาวนา ชุมชน ผู้ด้อยทั้งทุน ทั้งอำนาจพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่าน สิ่งที่จะเกิดต่อจากนี้ไปไม่รู้ว่าพวกเราจะได้รับความเป็นธรรมมากน้อยเพียง ใดจะมีใครที่กินภาษีของเรา จะยื่นมือเข้ามาช่วยพวกเราหรือเปล่าอยากให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานชาวไทยทุกคน ช่วยกันติดตาม
 
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริม การ ลงทุนทำให้นักลงทุนแสวงหาแต่กำไรจึงไม่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของ คนงานและนำไปสู่การเกิดปัญหาความไม่มั่นคงของประเทศ ความเหลื่อมล่ำ อาชญากรรม อาญชกร ขโมย ฉกชิงวิ่งราว แรงงานข้ามชาติตีคนงานไทยเพราะแย่งงานกันทำแล้วอนาคตของลูกหลานไทยจะเป็น เช่นไร? ที่ปรึกษาด้านแรงงาน กล่าว

(นักสื่อสารแรงงาน, 23-12-2553)

การเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานฟูจิตสึ-นายจ้างล้มเหลวไร้ข้อยุติ

จากกรณีที่พนักงานโรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 92/9 หมู่ 2 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี กว่า 300 คน รวมตัวประท้วงร้องเรียนนายจ้างชาวญี่ปุ่น เพราะปัจจุบันค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รายรับของลูกจ้างไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในการดำรงชีวิตของพนักงาน ดังนั้น สหภาพและพนักงาน จึงทำหนังสือขอขึ้นเงินเดือน โบนัส และสวัสดิการต่างๆ แก่พนักงาน
      
สำหรับข้อเรียกร้องมีทั้งสิ้น 13 ข้อ ประกอบด้วย 1.ให้บริษัทจ่ายเงินโบนัส 4.5 เท่าของฐานเงินเดือน บวก 12,000 บาท พร้อมเพิ่มเงินพิเศษแก่สมาชิกสหภาพทุกๆคนอีกคนละ 15,000 บาท 2.ขอให้บริษัทเพิ่มเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็น 10% และแก้ไขระเบียบการสมัคร 3. ขอให้บริษัทสนับสนุนกิจกรรมของสหภาพฯ โดยให้พนักงานทำงานให้กับสหภาพจำนวน 2 คน เพื่อเป็นตัวแทนลูกจ้างในการสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน 4.เพิ่มค่าครองชีพให้แก่สมาชิกสหภาพทุกคน 800 บาท ต่อเดือน
      
5.ให้บริษัทถอนคำร้องขออนุญาติเลิกจ้างคณะกรรมการลูกจ้าง นายวัลลภ จั่นเพชร 6.ขอให้บริษัทหักเงินค่าจ้างสมาชิกสหภาพ เพื่อชำระเป็นค่าบำรุงให้กับสหภาพผ่านธนาคาร 7.ขอให้บริษัทปรับลูกจ้างเหมาค่าจ้างค่าแรงที่ทำงานให้แก่บริษัทครบ 24 เดือน เป็นลูกจ้างประจำโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน 8.ปรับค่าจ้างประจำปี 2554 ให้กับลูกจ้าง 9. แก้ไขเวลาทำงาน วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง 20 นาที 10.อนุญาตให้สหภาพเผยแพร่ข่าวสารแก่สมาชิก โดยไม่ถูกแทรกแซง(ขอถอน) 11.จ่ายเงินค่าความเสี่ยงแก่พนักงานบางกลุ่ม 12.จ่ายเงินช่วยเหลือพนักงาน หาก บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร เสียชีวิต รายละ 10,000 บาท 13.จัดสวัสดิการประกันสุขภาพกลุ่มให้แก่พนักงาน
      
การเจรจาทั้ง 13 ข้อนั้นเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ โรงงานจึงมีคำสั่งปิดโรงงานตั้งแต่วันนี้ ถึง 27 ธ.ค.2553 และหากพนักงานคนใดจะเข้าทำงานหลังจากนี้ก็ขอให้เซ็นชื่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่าย บุคคล โดยในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการเจรจาได้มีการเรียกร้องในหลายข้อ แต่อยู่ดีๆ จะให้พนักงานเซ็นชื่อรับในเงื่อนไขและหลักการบางข้อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและชอบธรรม เพราะยังไม่มีการรับข้อเจรจาใดๆในขณะนี้เลย
      
ขณะนี้ทางโรงงานพยายามสร้างความแยกแยกต่อพนักงาน และบิดเบือนข้อมูลบางประการ เพื่อให้พนักงานสับสน เนื่องจากมีการแจกเอกสารบางอย่างให้พนักงานเซ็นชื่อ โดยชี้ให้เห็นว่าการเจรจาที่เกิดขึ้นมีข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงยังไม่มีการเจรจาและตกลงกันแม้แต่ข้อเดียว ซึ่งพนักงานเริ่มไม่ไว้วางใจทางโรงงานแล้ว เพราะได้สร้างความสับสนต่อพนักงาน ทั้งๆที่ก่อนหน้าเจรจานั้น ได้มีการตกลงแล้วว่าจะไม่มีการชี้แจงหรือสร้างความสับสนต่อพนักงานในเรื่อง ใดๆทั้งสิ้น แต่ขณะนี้โรงงานเริ่มกระทำดังกล่าวแล้ว ซึ่งทำให้พนักงานไม่พอใจและอาจจะรุนแรงขึ้นก็ได้
      
ในความเป็นจริงพนักงาน และกลุ่มสหภาพไม่ต้องการที่จะเรียกร้องหรือกดดันโรงงานมากนัก แต่เนื่องจากทางโรงงานไม่สามารถตอบหรือชี้แจง ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือข้อเรียกร้องที่ไม่สามารถให้กับพนักงานได้ ที่สำคัญได้สร้างความสับสนให้กับพนักงาน โดยมีการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลไปแจ้งต่อพนักงานตามจุดรับส่งพนักงานว่าไม่ ต้องมาทำงานแล้ว เนื่องจากการเจรจานั้นทางบริษัทได้ดำเนินการตามข้อเรียกร้องแล้วและให้มาทำ งานได้ในวันที่ 27 ธ.ค.2553

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 24-12-2553)

ก.แรงงานแจงข้อมูลการร้องทุกข์!คนงานไทยไปทำงานตปท.ลดลง

กระทรวงแรงงานสรุปผลข้อมูลคนหางาน ร้องทุกข์กรณีเดินทางไปทำงานต่างประเทศลดลง โดยในปีงบประมาณ 2554 ตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2553 คนหางานร้องทุกข์กับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานมีจำนวน 376 คน ลดลงจากในช่วงเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ.2553 จำนวน 128 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 25.40 คนหางานได้รับการช่วยเหลือจำนวน 374 คน ลดลงจากช่วงเดือนเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ.2553 จำนวน 92 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.74 ผลจาก  "ปฏิญญา 3 สิงหา"เพื่อการทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ที่ดึงบริษัทจัดหางานกว่า 84 บริษัท ให้"คำมั่น" พร้อมกัน ไม่เก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตรากฎหมายกำหนด รวมทั้งยังจับมือภาครัฐ เอกชน และชุมชน ขึ้นเป็นเครือข่ายคอยแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อนให้กับ ทางราชการ เพื่อป้องกันปัญหาหลอกลวงแรงงานไปทำงานต่างประเทศ

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน  เปิดเผยผลสรุปข้อมูลคนหางานร้องทุกข์กรณีเดินทางไปทำงานต่างประเทศตามที่ กรมการจัดหางานเสนอในที่ประชุมกระทรวงแรงงาน ว่าจำนวนผู้ร้องทุกข์ในเดือนพฤศจิกายน 2553 มีคนหางานร้องทุกข์ จำนวน 160 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ.2553 จำนวน101 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.70 คนหางานได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 151 คน ลดลงจากช่วงเดือนเดียวกันของปีงบประมาณ 2553 จำนวน 101 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 40.08 สาเหตุที่คนหางานร้องทุกข์ ได้แก่ บริษัทจัดหางานเก็บเงินค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่สามารถจัดส่งคนหางาน ไปทำงานต่างประเทศได้  และคนหางานเดินทางไปทำงานต่างประเทศแล้วประสบปัญหา  ไม่สามารถทำงานได้ จึงเดินทางกลับมาร้องทุกข์ ขอค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืน เหตุที่ทำให้จำนวนผู้ร้องทุกข์ลดลงคาดว่าน่าจะสืบเนื่องมาจากนโยบายของ นาย

 เฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่ให้ความสำคัญกับการมีงานทำอย่างมีศักดิ์ศรี  โดยตั้งเป้าให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็น"รูปธรรม" และยังผลักดันหลากหลายมาตรการ อาทิ"จับมือชุมชนเฝ้าระวัง" "คลายทุกข์-สร้างสุข" คนทำงาน ร่วมมือให้ความรู้ ความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและชุมชนในการเป็นเครือข่ายแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสาย/นายหน้าจัดหา งานเถื่อนให้กับทางราชการ เพื่อป้องกันปัญหาหลอกลวงแรงงาน ไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งตอกย้ำความมุ่งมั่นในการปราบปรามการค้ามนุษย์และลดต้นทุนของแรงงาน ไทย ที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ด้วย"ปฏิญญา 3 สิงหา" เพื่อการทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี  ดึงบริษัทจัดหางานกว่า84 บริษัท ให้"คำมั่น" ไม่เก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตรากฎหมายกำหนด รวมทั้งรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ ซึ่งรวมไปถึงการดูแลแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในไทยด้วยกระทรวงแรงงานสรุปผล ข้อมูลคนหางานร้องทุกข์กรณีเดินทางไปทำงานต่างประเทศลดลง โดยในปีงบประมาณ 2554 ตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2553 คนหางานร้องทุกข์กับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานมีจำนวน 376 คน ลดลงจากในช่วงเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ.2553 จำนวน 128 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 25.40 คนหางานได้รับการช่วยเหลือจำนวน 374 คน ลดลงจากช่วงเดือนเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ.2553 จำนวน 92 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.74 ผลจาก  "ปฏิญญา 3 สิงหา" เพื่อการทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ที่ดึงบริษัทจัดหางานกว่า 84 บริษัท ให้"คำมั่น" พร้อมกัน ไม่เก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตรากฎหมายกำหนด รวมทั้งยังจับมือภาครัฐ เอกชน และชุมชน ขึ้นเป็นเครือข่ายคอยแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อนให้กับ ทางราชการ เพื่อป้องกันปัญหาหลอกลวงแรงงานไปทำงานต่างประเทศ

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน มีนโยบายให้คนทำงานเดินทางไปทำงานในต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  มีสัญญาจ้างที่ชัดเจน รวมถึงการติดตามดูแลมิให้คนงานไทยถูกเอารัดเอาเปรียบระหว่าง การทำงานในต่างประเทศ  หากมีข้อสงสัยติดต่อสำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด  สำนักงานจัดหางานเขตพื้นที่ 1-10  ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานและสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694

(พิมพ์ไทย, 24-12-2553)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net