Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis
วันอังคารที่ 28 ธันวานี้ กลุ่มเกย์ กะเทย ทอม ดี้ หญิงรักหญิงนัดแต่งดำไปหานายกที่ทำเนียบฯ เพื่อขอทราบคำตอบว่าทำไมตัวแทนประเทศไทยถึงได้งดออกเสียงในมติที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างที่สุดนี้ 
 
จากกรณีที่ตัวแทนประเทศไทยงดออกเสียงในการประชุมสหประชาชาติเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในมติเกี่ยวกับห้ามไม่ให้สังหารคนที่เป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ หญิงรักหญิงนอกกระบวนการยุติธรรม โดยเร่งรัด หรือตามอำเภอใจ ทั้งที่ก่อนหน้านี้คือเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ได้เข้ายื่นหนังสือฯ กับนายกฯ เพื่อให้ออกเสียงสนับสนุนการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยมีคุณอัญชลี วานิช เทพบุตร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับจดหมายแทน 
 
แต่สุดท้ายประเทศไทยกลับงดออกเสียง!!
 
ทั้งที่ปีนี้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติด้วย อีกทั้งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในมาตรา 30 ก็มีบันทึกเจตนารมณ์ให้ความความคุ้มครองและห้ามเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศไว้ด้วย
 
ไม่นับรวมตราสารระหว่างประเทศต่างๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
 
แต่ถ้ามองย้อนกลับไป ก็จะพบว่าไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเท่าไรนักที่ตัวแทนประเทศไทยมีท่าทีเช่นนี้ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่เคยออกเสียงสนับสนุนประเด็นความหลากหลายทางเพศในเวทีสหประชาชาติแม้แต่ครั้งเดียว 
 
เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ทางเครือข่ายความหลากหลายทางเพศก็เคยไปยื่นหนังสือกับนายนัฐวัฒน์ กฤษณามระ ผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศเพื่อให้รัฐบาลไทยลงชื่อร่วมสนับสนุนในแถลงการณ์ของฝรั่งเศสว่าด้วยประเด็นความหลากหลายทางเพศนี้เช่นกัน ซึ่งปีดังกล่าวนั้นรัฐบาลฝรั่งเศสได้ทำแถลงการณ์ยืนยันหลักการห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์ทุกคน จากเหตุเพราะวิถีทางเพศ และ/หรือ อัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งคราวนั้นทางตัวแทนเครือข่ายฯ ได้คำตอบอย่างไม่เป็นทางการจากผู้แทนกระทรวงฯ ที่มารับมอบหนังสือในทำนองว่า “เพราะเกรงใจประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิม” 
 
เหตุผลดังกล่าว แม้ไม่อาจยอมรับได้ แต่อย่างน้อยคราวนั้น ก็ไม่ได้เกี่ยวกับการสังหารบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศแต่อย่างใด 
 
ผิดกันอย่างสิ้นเชิงกับคราวนี้ ซึ่งการงดออกเสียง ก็คล้ายกับการยอมรับให้มี "ปฏิบัติการ" สังหารคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้และตามอำเภอใจ มี 27ประเทศที่งดออกเสียง และอีก 55 ประเทศที่ยินดีที่จะให้มีการฆ่าหรือสังหารคนเหล่านี้ได้ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบอัฟริกาและมุสลิม)
 
ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ (อยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว) ไม่เห็นด้วยกับมติอันแสนโหดร้ายป่าเถื่อนนี้ ส่วนในแถบเอเชีย ประเทศที่ไม่เห็นมีเพียง 4-5 ประเทศเท่านั้น คือญี่ปุ่น เนปาล เกาหลี แต่ที่น่าประหลาดใจมากๆ เลยก็คือประเทศน้องใหม่อย่างติมอร์นั่นเอง
 
การงดออกเสียงของประเทศไทย ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลหรือเล่ห์กลทางการเมืองใดๆ ก็ควรที่จะต้องมีคำอธิบาย
 
นั่นเพราะว่าการสังหารคนเพราะพวกเขาเป็นเกย์ ไม่ใช่การปกป้องทางวัฒนธรรม แต่เป็นอาชญากรรมต่างหาก!!
 
0000
 
รายชื่อประเทศต่างๆ ที่เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย-งดออกเสียง-ไม่เข้าร่วมประชุม
 
เห็นด้วยกับการคุ้มครองIn favor of amendment restoring sexual orientation to UNGA resolution on executions (93)
 
:Albania, Andorra, Angola, Antigua-Barbuda, Argentina, Armenia, Australia, Austria, Bahamas, Barbados, Belgium, Belize, Bolivia, Bosnia-Herzegovina, Brazil, Bulgaria, Canada, Cape Verde, Chile, Colombia, Costa Rica, Croatia, Cyprus, Czech Republic, Denmark, Dominica, Dominican Republic, Ecuador, El Salvador, Estonia, Fiji, Finland, France, Georgia, Germany, Greece, Grenada, Guatemala, Honduras, Hungary, Iceland, India, Ireland, Israel, Italy, Japan, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Malta, Mauritius, Marshall Island, Mexico, Micronesia, Monaco, Montenegro, Nauru, Nepal, Netherlands, New Zealand, Nicaragua, Norway, Palau, Panama, Papua New Guinea, Paraguay, Peru, Poland, Portugal, Republic of Korea, Republic of Moldova, Romania, Rwanda, Saint Kitts and Nevis, Samoa, San Marino, Serbia, Slovakia, Slovenia, South Africa, Spain, Sweden, Switzerland, The Former Yugoslav Republic of Macedonia, Timor-Leste, Tonga, Ukraine, United Kingdom, United States, Uruguay, Vanuatu, Venezuela
 
ไม่เห็นด้วยกับการคุ้มครองLGBT Opposed to amendment (55)
 
:Afghanistan, Algeria, Azerbaijan, Bahrain, Bangladesh, Benin, Botswana, Brunei Dar-Sala, Burkina Faso, Burundi, China, Comoros, Congo, Democratic People’s Republic of Korea, Democratic Republic of Congo, Djibouti, Egypt, Gambia, Ghana, Indonesia, Iran, Iraq, Jordan, Kazakhstan, Kuwait, Lebanon, Libya, Malawi, Malaysia, Mauritania, Morocco, Namibia, Niger, Nigeria, Oman, Pakistan, Qatar, Russia, Saint Lucia, Saudi Arabia, Senegal, Sierra Leone, Solomon Islands, Somalia, Sudan, Syria, Swaziland, Tajikistan, Tunisia, Uganda, United Arab Emirates, Tanzania, Yemen, Zambia, Zimbabwe
 
ของดออกเสียง Abstained (27)
 
:Belarus, Bhutan, Cambodia, Eritrea, Guinea, Guinea-Bissau, Guyana, Haiti, Jamaica, Kenya, Lao, Lesotho, Liberia, Maldives, Mali, Mongolia, Mozambique, Philippines, Saint Vincent and the Grenadines, Sao Tome Principe, Singapore, Sri Lanka, Suriname, Thailand, Togo, Trinidad and Tobago, Vietnam
 
ไม่ได้เข้าประชุม Did not vote/Absent (17)
 
:Cameroon, Central African Republic, Chad, Cote D’Ivoire, Cuba, Equatorial Guinea, Ethiopia, Gabon, Kiribati, Kyrgyzstan, Madagascar, Myanmar, Seychelles, Turkey, Turkmenistan, Tuvalu, Uzbekistan
 
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net