Skip to main content
sharethis

"สมชาย หอมละออ" เผย คอป.นัดประชุม 24 ม.ค. สรุปผลงาน 6 เดือน โอดกองทัพไม่ให้ข้อมูลการปฎิบัติหน้าที่เล็ง เสนอนายกฯ จัดการ

17 ม.ค. 54 - ที่รัฐสภามีการประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา ที่มี นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน โดยมีการเชิญนายสมชาย หอมละออ หนึ่งในคณะอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบเพื่อค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ มาชี้แจงเกี่ยวกับความคืบหน้าในการทำงานและผลการทำงนนับตั้งแต่มีการแต่ง ตั้งจากรัฐบาล

นายสมชาย กล่าวว่า คอป.จะมีการรายงานผลการทำงานให้รัฐบาลทราบทุก 6 เดือนโดยจะประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่ 24 ม.ค.ก่อนจะนำเสนอให้รัฐบาลเพื่อให้ทราบว่าที่ผ่านมาคอป.มีความคืบหน้าในการ ทำงานอย่างไรบ้างและนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทั้งนี้การทำงานที่ผ่านมาได้เชิญทุกฝ่ายเข้ามาชี้แจงไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ กลุ่มผู้ชุมนุม ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)รวมไปถึงสื่อมวลชน ซึ่งในกรณีของสื่อมวลชนคอป.ให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะเป็นกลุ่มที่ไม่ ฝักใฝ่ฝ่ายใดและมีหลักฐานที่เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวซึ่งเป็น ประโยชน์อย่างมากในการทำงาน

"เรายังไม่ได้รับการตอบรับในการให้คำตอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฎิบัต ิการภาคสนาม โดยที่ผ่านมาได้ทำหนังสือถึงกองทัพหลายครั้งเพื่อขอความร่วมมือแต่ยังไม่ได้ รับการตอบรับเท่าที่ควร ซึ่งถ้ายังเป็นอยู่อย่างนี้ก็คงต้องขอความร่วมมือจากนายกรัฐมนตรีเพื่อ ประสานไปยังกองทัพต่อไป ขณะเดียวกัน ปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลของคอป.คือ ฝ่ายที่ประสงค์จะให้ข้อมูลมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับหากมี การเปิดเผยข้อมูลให้กับคอป. ซึ่งในส่วนนี้คอป.ได้คิดวิธีการตรวจสอบในเชิงการทำวิจัย กล่าวคือ ถ้าบุคคลให้ข้อมูลไม่ประสงค์จะลงนามเราก็จะดำเนินให้"นายสมชายกล่าว

นายสมชาย กล่าวว่า สำหรับการประกันตัวของผู้ที่ถูกดำเนินคดีที่ไม่ร้ายแรง คอป.ได้เสนอแนะต่อรัฐบาลให้ดำเนินการพิจารณาแล้ว ซึ่งการตอบสนองของรัฐบาลในเรื่องนี้ถือว่าดีเพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาไปกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและกองทุนยุติธรรมเพื่อ ดำเนินการประกันตัวในบุคคลที่ถูกตั้งข้อหาไม่ร้ายแรงแล้ว

"อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเรื่องนี้คอป.ไม่สามารถดำเนินการเกี่ยวกับการประกันตัวได้เต็มที่ เพราะคอป.ไม่ใช่คู่ความตามกฎหมายที่จะสามารถดำเนินการได้ แต่ที่ผ่านมาคอป.ได้แสดงท่าทีไปยัง อัยการ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งเป็นคู่ความจะต้องดำเนินการอย่างคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของจำเลยและการ สร้างความปรองดองด้วย ทนายความของจำเลยสามารถนำเสนอข้อมูลต่อศาลได้"นายสมชาย กล่าว

นายสมชาย กล่าวว่า นอกจากนี้ ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ ผู้ต้องหาบางคนไม่รู้สิทธิทางกฎหมายของตัวเอง ในบางกรณีที่ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกแล้วแต่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายว่าจะต้องทำ อย่างไรเพราะไม่มีทุนทรัพย์ในการจ้างทนายความ ทำให้ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการอุทธรณ์คดี ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่คอป.จะเสนอให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขด้วยการตั้งกองทุน เพื่อช่วย โดยเห็นว่าถ้าลดเรื่องสองมาตรฐานและอุปสรรคในการอำนวยความยุติธรรมได้จะทำ ให้การสร้างความปรองดองสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น

"อีกประเด็นที่สำคัญคือ พนักงานสอบสวนบางรายยังยอมรับว่า คำนึงถึงการสนองนโยบายของผู้ใหญ่บางรายที่สั่งการมา มากกว่าความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน คอป.เห็นว่า เป็นประเด็นสำคัญเรื่องความเป็นมืออาชีพ และหลักนิติรัฐ ซึ่งต้องเสนอเพื่อปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมต่อไป"นายสมชาย กล่าว

นายจิตติพจน์ กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ในวันที่ 24 ม.ค.จะเชิญผู้ดูแลเว็บไซต์เกี่ยวกับสื่อสารมวลชนที่ถูกรัฐบาลปิดมาชี้แจง เพื่อมาเป็นข้อมูลมาประกอบในการพิจารณาด้วย

 

 ที่มาข่าว: โพสต์ทูเดย์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net