Skip to main content
sharethis

ก.แรงงาน เร่งผลักดันให้ลูกจ้างในระบบราชการ เข้าสู่ระบบประกันสังคม

16 ม.ค. 54 - นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน กำลังเร่งผลักดันให้ลูกจ้างในระบบราชการทุกประเภท ซึ่งมีจำนวนหลายแสนคน เข้าสู่ระบบประกันสังคม หลังจากที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้กำหนดรูปแบบของลูกจ้างส่วนราชการใหม่ เพื่อประหยัดงบประมาณ ซึ่งส่งผลให้ลูกจ้างกลุ่มนี้ไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีเพียงพอ กระทรวงแรงงาน จึงเตรียมเสนอกฎหมาย เพื่อให้ลูกจ้างกลุ่มนี้ เข้าระบบประกันสังคมได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอบรรจุระเบียบวาระเข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทน ราษฎร และคาดว่าจะสามารถผลักดันให้ลูกจ้างกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบประกันสังคมได้เร็วๆ นี้ ซึ่งจะเป็นไปตาม 1 ในนโยบาย 9 ข้อ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศให้เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทย ในการพยายามดูแลให้แรงงานนอกระบบกว่า 20 ล้านคน เข้าสู่ประกันสังคม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

(สำนักข่าวแห่งชาติ, 16-1-2554)

TMB ปลด พนง.บริการ 500 คนใช้เอาท์ซอร์สแทน

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ธนาคารได้พิจารณาจัดทำ "โครงการปรับแนวทางบริหารพนักงานบริการ" (Service Staff Realignment Program) เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน โดยคัดเลือกบริษัทผู้ให้บริการภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามารับผิดชอบงาน งานนี้แทนธนาคาร โดยใช้พนักงานบริการเดิมของธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป ซึ่งธนาคารหวังว่า จะได้ร่วมงานกับพนักงานเหล่านี้ซึ่งจะมีงานทำในหน้าที่เดิมต่อไป ในฐานะพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ พนักงานที่เลือกเข้าโครงการจะได้รับผลตอบแทนพิเศษจากธนาคารในอัตราที่สูง กว่ากฎหมายกำหนด กรณีที่ออกไปเป็นพนักงานของบริษัทภายนอกที่ได้รับมอบหมายจากธนาคาร

ธนาคารจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ มั่นใจว่า งานทุกด้านของธนาคารมีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหลักของธนาคาร  จึงได้มีการพิจารณาทบทวนการบริหารจัดการงานที่แม้มีคุณค่าและสำคัญ แต่ไม่ได้เป็นธุรกิจหลักของธนาคาร เช่น งานบริการ ซึ่งได้แก่ งานด้านการรักษาความปลอดภัย ขับรถ รับส่งเอกสาร และ นักการ ให้มีการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing)

ในการดำเนินโครงการปรับแนวทางบริหาร พนักงานบริการนี้ ธนาคารคำนึงถึงระยะเวลาที่พนักงานได้ร่วมงานกับธนาคารมาด้วยความทุ่มเทเสีย สละ รวมทั้งทางเลือกในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตในอนาคต

ธนาคารจึงได้ดำเนินการหลายด้าน เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานทุกคนจะยังคงมีงานทำในหน้าที่เดิมต่อโดยเป็นพนักงานของบริษัทผู้ให้ บริการภายนอกที่ธนาคารได้พิจารณาคัดเลือกให้มารับสมัครพนักงานเพื่อปฏิบัติ งานด้านบริการให้แก่ธนาคาร และในขณะเดียวกัน ก็ได้รับการดูแล กรณีที่ออกจากธนาคารไปเป็นพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอกดังกล่าว โดยได้รับค่าตอบแทนพิเศษที่ดีจากธนาคารเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าเงินชดเชยตาม กฎหมาย รวมทั้งยังได้รับการดูแลผ่อนผันเรื่องสินเชื่อสวัสดิการที่มีอยู่กับธนาคาร อีกด้วย

ทั้งนี้ นอกจากธนาคารได้ทำความตกลงให้บริษัทผู้ให้บริการภายนอกรับพนักงานบริการของ ธนาคารเข้าร่วมงานแล้ว ธนาคารยังได้เจรจากับบริษัทดังกล่าว เพื่อให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของการจ้างงานใหม่ ตามอัตราตลาด โดยให้คำนึงถึงประสบการณ์การทำงานของพนักงานเพื่อให้พนักงานมีโอกาสได้รับ ค่าตอบแทนที่สูงกว่าอัตราทั่วไปของตลาด

สำหรับผลตอบแทนพิเศษที่จะได้รับจาก ธนาคารกรณีลาออก เพื่อไปเป็นพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอก และทำงานในหน้าที่เดิมให้แก่ธนาคาร ได้แก่ เงินตอบแทนเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฏหมายแรงงาน คำนวณจากฐานเงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมค่าครองชีพ, เงินตอบแทนเทียบเท่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน คำนวณจากเงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมค่าครองชีพ และเงินเพิ่มพิเศษตอบแทนตามอายุงาน เท่ากับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณจำนวนปีที่ทำงาน

นอกจากนี้ พนักงานบริการยังจะได้รับเงินโบนัสประจำปี 2553 ตามผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งพนักงานจะได้รับในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ส่วนพนักงานที่มีสินเชื่อสวัสดิการพนักงาน จะได้รับการดูแลให้คงภาระหนี้เงินกู้สวัสดิการกับธนาคารต่อไป โดยธนาคารจะให้ความช่วยเหลือพนักงานให้ผ่อนชำระเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยเท่า กับเงินกู้สวัสดิการพนักงานเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกับลูกค้าของธนาคาร

ทั้งนี้ ในการดำเนินการ ผู้บังคับบัญชาโดยตรงได้แจ้งให้พนักงานบริการประมาณ 500 คน ทราบเป็นรายบุคคลถึงการจัดทำโครงการนี้แล้ว โดยมีการชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อสงสัยของพนักงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฎว่า มีกระแสการตอบรับที่ดี โดยมีพนักงานตอบรับเข้าร่วมโครงการในทันที กว่า 100 คน ในวันเดียวกัน และธนาคารกำลังได้รับเอกสารตอบรับทยอยเข้ามาเพิ่มเติมอีกอย่างต่อเนื่องทั้ง วัน ในวันนี้ (17 มกราคม) โดยในขณะนี้รับการตอบรับเข้ามาเกือบ 200 คนแล้ว ซึ่งกำหนดวันสุดท้ายของการส่งเอกสารตอบรับ คือวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2554

อย่างไรก็ตาม หากพนักงานบริการต้องการจะทำงานกับธนาคารต่อไปแม้ว่าธนาคารไม่ได้มีตำแหน่ง หน้าที่เดิมแล้ว โดยต้องการจะทำงานในตำแหน่งงานด้านอื่นๆ พนักงานก็สามารถสมัครงานในตำแหน่งงานว่างได้ ซึ่งหากพนักงานได้รับการคัดเลือกและโอนย้ายไปยังตำแหน่งดังกล่าว พนักงานจะไม่ได้รับผลตอบแทนพิเศษ

สำหรับพนักงานบริการที่ไม่ต้องการทำ งานกับผู้ให้บริการภายนอกที่ธนาคาร คัดเลือกมา หรือทำงานกับธนาคารต่อ และมีความประสงค์ที่จะจากธนาคารไปเพื่อแสวงหาโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ ธนาคารก็ยินดีที่จะให้การสนับสนุน โดยพนักงานจะได้รับผลตอบแทนพิเศษกรณีลาออก พร้อมกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับ พนักงานบริการที่ต้องการไปทำงานกับผู้ให้บริการภายนอก และจะได้รับการให้คำปรึกษา และแนะแนวอาชีพจากผู้ชำนาญการที่ธนาคารจัดให้มีขึ้นอีกด้วย

มีรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.00-13.00 น. พนักงานฝ่ายบริการประมาณ 40-50 คน รวมตัวประท้วงบริเวณสำนักงานใหญ่ เพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าว เนื่องจากังวลกับสถานภาพการทำงาน หลังลาออก และย้ายไปบริษัทใหม่

(กรุงเทพธุรกิจ, 17-1-2554)

สหภาพแรงงาน GM ไทย แจ้งพิพาทแรงงาน

บุญยืน สุขใหม่
ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
 

 

สหภาพแรงงาน GM ไทย แจ้งพิพาทแรงงาน หลังเจรจาข้อเรียกร้อง 4 ครั้ง ไม่มีความคืบหน้า แต่กลับถูกนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวน

 

เมื่อ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ก่อนสิ้นปีใหม่สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัทฯ จำนวน ๑๕ ข้อ หลังจากทราบข้อมูลว่าบริษัทฯ จะมีกำลังการผลิตในปี ๒๕๕๔ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวและมีการจ้างงานพนักงานเหมาค่าแรง และแรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก

 

 

 

ข้อเรียกร้อง ปี 2554ของสหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย

*****************************************************************************

­­­­­­­­ข้อ 1 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2554 ให้กับ สมาชิก สหภาพแรงงาน เจนเนอรัล มอเตอร์สประเทศไทยทุกคนรวมถึงเหมาค่าแรง ดังต่อไปนี้

            1.1 จ่ายเงินโบนัสแบบคงที่ จำนวน 1.5 เดือน และบวกเงินพิเศษคนละ 20,000 บาท 

            1.2 จ่ายเงินโบนัสแบบไม่คงที่ จำนวน 4.5 เดือน

            1.3 ให้จ่าย 2 งวด คือ งวดสิ้นเดือน มีนาคม 2554 และงวดสิ้นเดือนธันวาคม 2554

ข้อ 2 ขอให้บริษัทฯ ปรับฐานเงินเดือนขึ้นประจำปี 2554 ให้กับสมาชิก สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์สประเทศไทยทุกคน เป็นดังต่อไปนี้

           2.1   เกรด    A =   10 เปอร์เซ็นต์ บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท

           2.2   เกรด    B =    9 เปอร์เซ็นต์   บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท

           2.3   เกรด    C = 8.5เปอร์เซ็นต์   บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท

           2.4   เกรด    D =   6   เปอร์เซ็นต์  บวกเงินพิเศษเข้าฐานเงินเดือน คนละ 300 บาท

           2.5  ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2554

ข้อ 3ขอ ให้บริษัทฯ ปรับเงินเบี้ยทำงานต่างจังหวัด (ค่าเช่าบ้าน) ให้กับ สมาชิก สหภาพแรงงาน เจนเนอรัลมอเตอร์สประเทศไทยทุกคน เป็นดังนี้

3.1 ปรับเกณฑ์ขั้นต่ำค่าเบี้ยต่างจังหวัดให้พนักงานทุกคน = ค่าเฉลี่ยเบี้ยต่างจังหวัดของระดับผู้จัดการขึ้นไป

 วิธีคำนวณ  ผลรวมค่าเบี้ยต่างจังหวัดของผู้จัดการขึ้นไปทุกคน    =   ค่าเบี้ยต่างจังหวัดของพนักงานแต่ละคน

                                        จำนวนผู้จัดการขึ้นไป

ข้อ 4 ขอให้บริษัทฯเปลี่ยนแปลงการคำนวณ ค่าล่วงเวลา และ ค่าจ้างในวันหยุด เป็นดังต่อไปนี้

         การคำนวณค่าล่วงเวลา จากเดิม            เปลี่ยนเป็น        {เงินเดือน÷22} × 2      ทุกระดับ                                      

                                                                                                             8

ข้อ 5 ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่าทำงานกะ เป็นดังต่อไปนี้

             5.1พนักงานระดับ  HOURLY กะดึก จากเดิม 190 บาท เปลี่ยนเป็น 220 บาท เท่ากันทุกคน

             5.2พนักงานระดับ  HOURLY กะบ่าย จากเดิม 135 บาท เปลี่ยนเป็น 150 บาท เท่ากันทุกคน

ข้อ 6 ขอให้บริษัทฯ เปลี่ยนผลประโยชน์ทดแทนของประกันชีวิตกลุ่มเป็นดังต่อไปนี้

6.1    ROOM     จากเดิม   1,500   บาท    เปลี่ยนเป็น    3,000   บาท

6.2    OPD         จากเดิม     800    บาท    เปลี่ยนเป็น    1,500   บาท

6.3    VISIT       จากเดิม     700    บาท    เปลี่ยนเป็น    1,500   บาท

ข้อ 7กรณี ที่บริษัทฯ ไม่มีการผลิตในฝ่ายผลิต ให้บริษัทฯ ประกาศเป็นวันหยุดที่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการตามปกติ และให้ยกเลิก ระเบียบข้อบังคับบริษัทฯ ดังนี้

หมวดที่ 3   วันทำงาน เวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด และการบันทึกเวลาทำงาน

            3.1 วัน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก

      3.1.2 เวลาทำงานปกติ

โรงงานระยอง                       เวลา 07.30 . ถึงเวลา 17.00 .เปลี่ยนเป็น เวลา 07.30 น. ถึงเวลา 16.30 น.

      3.1.3 เวลาพัก

โรงงานระยอง ช่วงแรก      เวลา 12.00 . ถึงเวลา 12.40 .เปลี่ยนเป็น เวลา 12.00 . ถึงเวลา 13.00 .

                  ช่วงที่สอง   เวลา 16.40 น. ถึงเวลา 17.00 น. เปลี่ยนเป็น เลิกงาน เวลา 16.30 น.

         3.2 วันหยุด และหลักเกณฑ์การลาหยุด

3.2.3  วันหยุดพักผ่อนประจำปี

(6) บริษัทฯ อาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี ให้พนักงานพร้อมกันทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ตามความจำเป็นหรือความเหมาะสม โดยบริษัทฯจะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า ในกรณีที่บริษัทฯกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานพร้อมกันนี้ พนักงานที่ยังไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี ให้ถือว่าเป็นการใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้า

              หมวดที่ 6 ค่าจ้าง วัน และสถานที่จ่ายค่าจ้าง

6.7 กรณีที่บริษัทฯ มีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของ บริษัทฯจนทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้ง หมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่พนักงานในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่พนักงานได้รับก่อนบริษัทฯ หยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่บริษัทฯ ต้องหยุดกิจการ

ข้อ 8ใน กรณีที่บริษัทฯ จะประกาศ เปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีผลกระทบต่อพนักงาน บริษัทฯ ต้องปรึกษาหารือ และ ต้องได้รับความยินยอม จากทาง คณะกรรมการลูกจ้าง และคณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ ที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรก่อน จึงจะสามารถประกาศเปลี่ยนแปลงได้

ข้อ 9 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในส่วนของบริษัท เป็นดังต่อไปนี้

            9.1 พนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนครบ 5 ปี ได้เงินสมทบส่วนของบริษัทฯ 100 % 

            9.2 พนักงานที่ลาออกจากสมาชิกกองทุน และยังทำงานอยู่บริษัทฯ ต้องได้รับเงินสมทบในส่วนของบริษัทฯตามสัดส่วน

ข้อ 1ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่าชำนาญการให้กับพนักงาน เป็นดังต่อไปนี้

            10.1 พนักงานที่ทำงาน 1 ถึง 3 ปี    ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ      300   บาท / เดือน

            10.2 พนักงานที่ทำงาน ถึง 6 ปี    ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ      600   บาท / เดือน

            10.3 พนักงานที่ทำงาน ถึง 9 ปี    ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ      900   บาท / เดือน

            10.4 พนักงานที่ทำงาน 10ปีขึ้นไป ได้ค่าชำนาญการ เท่ากับ  1, 200   บาท / เดือน

ข้อ 1ขอให้บริษัทฯ จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานเป็นดังต่อไปนี้

      11.1 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ BODY SHOP, M/T,WFG  จำนวน 200 บาท/ เดือน

      11.2 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ PAINT SHOP, M/T,WFGจำนวน 200 บาท/ เดือน

      11.3 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ    GA SHOP , M/T,WFG    จำนวน 200 บาท/ เดือน

      11.4 จ่ายเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับพนักงานประจำ   GCAจำนวน 500 บาท/ เดือน  (ที่ออกไป Test รถข้างนอก)

ข้อ 1ขอให้บริษัทฯ สนับสนุนกิจกรรมสหภาพฯเป็นดังนี้

           12.1 ขอให้บริษัทฯ เพิ่มกรรมการทำงานสหภาพฯ เต็มเวลาอีกจำนวน 5 คน

           12.2 ขอให้บริษัทฯ อนุญาตให้กรรมการเต็มเวลาเข้ากะตามการผลิตของบริษัทฯ

           12.3 ขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินสนับสนุน งบประมาณการอบรมสัมมนาของสหภาพฯ เป็นครั้งๆไป

ข้อ 13 ขอให้บริษัทฯ ปรับพนักงานชั่วคราวทุกประเภทเป็นพนักงานประจำ ปีละ 200 คน

ข้อ 14 ขอให้บริษัทฯ สนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับกรรมการลูกจ้าง เป็นดังต่อไปนี้

           14.1 เพื่อดูแลพนักงานในกรณี บิดา มารดา ภรรยา สามี และบุตรเสียชีวิต

           14.2 เพื่อดูแลพนักงานในกรณี พนักงานประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วยอื่น

ข้อ 1ขอให้บริษัทฯ จ่ายค่าฝึกซ้อม เบี้ยเลี้ยง และ โอที ให้กับ นักกีฬาที่เป็นตัวแทนบริษัทฯ ทุกคน

 

 

 

 

ต่อ มาเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ได้มีการเจรจากันเป็นครั้งที่ ๔ แต่ไม่มีความคืบหน้า ก่อนจบการเจรจานายจ้างได้มีการยื่นข้อเรียกร้องสวนต่อสหภาพแรงงานจำนวน ๒ ข้อ ดังนี้ 

 

 

(1.) ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ที่มีการเจรจาและตกลงระหว่างบริษัทฯ และสหภาพแรงงานฯ ภายหลังข้อตกลงฯ ฉบับเดิมสิ้นสุดลง มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่มีข้อตกลงร่วมกัน

(2.) เพื่อ ให้เกิดความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงการผลิตตามความต้องการของลูกค้าและให้ เกิดความสอดคล้องกับการผลิตตามความต้องการทางธุรกิจ บริษัทฯ สามารถปรับเปลี่ยนวันและเวลาการทำงานรวมถึงเวลาพักของกะการผลิต โดยอาจเพิ่มหรือลดกะการผลิตรวมถึงการโอนย้ายพนักงานระหว่างกะ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อบรรลุเรื่องความปลอดภัย คุณภาพและเป้าหมายการผลิต ด้วยการพิจารณาด้วยความเป็นธรรมและเท่าเทียม

 

 

 

 

หลัง จากนั้นในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔ สหภาพแรงงานจึงได้แจ้งเป็นข้อพิพาทแรงงานไปที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จังหวัดระยอง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 54 ที่ ผ่านมา พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดระยองได้นัดทั้งสองฝ่ายไกล่เกลี่ยที่ สำนักงานของการนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถกำหนดทิศทางในการเจรจาได้ ฝ่ายนายจ้างต้องการทำสัญญาข้อตกลงสภาพการจ้างสองปี โดยที่ระหว่างสองปีห้ามลุกจ้างยื่นข้อเรียกร้องใดๆ แต่ฝ่ายลูกจ้างยังคงยืนยันที่จะคงสภาพการจ้างเดิมไว้คือให้ทำเป็นข้อตกลง สภาพการจ้างปีต่อปี เพราะเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองมีการผันผวนตลอดเวลา ในขณะเดียวกันยอดการผลิดของรถคลูตและรถกระบะที่เพิ่มขึ้นต้องผลิตถึง 2 กะและการผลิตของรถเก๋งเพิ่มการผลิตจาก 13 jph เป็น 15 jph และรถกระบะตัวใหม่แผนการผลิตจากปลายปี 54 เลื่อนการผลิตขึ้นมาประมาณมีนาต้นปี 54 และจะผลิตงานเพิ่มจากสองกะเป็น3กะ รวมทั้งการเพิ่มโรงงานประกอบเครื่องยนต์เองที่จะเริ่มผลิตในปลายปี 54 ยอดการผลิตจะสูงขึ้น จึงควรที่จะรอดูผลประกอบการก่อน จึงทำให้การเจรจาทั้งสองฝ่ายอาจถึงทางตัน

 

ขณะ เดียวกันนายจ้างได้มีการเตรียมรับมือโดยการใช้สิทธิ์ปิดงาน สังเกตได้จากตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา มีการรับพนักงานในส่วนของลูกจ้างเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็น จำนวนมาก รวมกันแล้วน่าจะมากกว่าพนักงานประจำในฝ่ายผลิต ถ้านายจ้างปิดงานเฉพาะสมาชิกสหภาพแรงงานหรือสหภาพแรงงานใช้สิทธิ์นัดหยุดงาน นายจ้างก็สามารถที่จะนำแรงงานเหล่านี้เข้าทำงานทดแทนได้เลย

 

พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานอีกครั้งในวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป

 

 

สปส.เล็งแยกโรคร้ายแรงจากค่าเหมาจ่ายรายหัว

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าขณะนี้คณะกรรมการสปส.อยู่ระหว่างการหารือเพื่อแยกค่าใช้จ่ายโรค ร้ายแรงออกมาจากค่าเหมาจ่ายรายหัวปีละประมาณ 2,000 บาทที่ต้องจ่ายให้โรงพยาบาลในสังกัด เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนเรื่องการรักษาโรคร้ายแรงเป็นระยะ เช่น โรงพยาบาลบ่ายเบี่ยงไม่รับรักษาหรือรับรักษาแต่ไม่ยอมส่งตัวไปยังโรงพยาบาล ที่มีความพร้อมกว่า เนื่องจากการรักษาโรคร้ายแรงมีค่าใช้จ่ายสูงไม่คุ้มกับเงินเหมาจ่ายที่ได้ รับ

วิธีการคือแยกค่ารักษาโรคร้าย แรงออกมาโดยค่าเหมาจ่ายรายหัวจะครอบคลุม เฉพาะการรักษาผู้ป่วยนอกแต่ผู้ป่วยโรคร้ายแรงจะแยกจ่ายค่ารักษาต่างหากโดย กำหนดมาตรฐานค่ารักษาไว้ล่วงหน้านพ.สมเกียรติกล่าว

ทั้งนี้จากการประชุมสมัชชาแรงงาน ในหัวข้อ ปฎิรูปประกันสังคมกับคุณภาพแรงงาน : ประกันสังคมถ้วนหน้า อิสระและโปร่งใสเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพการบริการที่ได้รับจากการใช้สิทธิ ประกันสังคมว่ายังด้อยกว่าบัตรทองและโรงพยาบาลไม่เต็มใจรักษาผู้ป่วย

นายชาลี ลอยสูง ประธานสมาพันธ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิค ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่าผู้ประกันตนควรได้รับการรักษาทุกโรงพยาบาลแต่วันนี้ยังถูกจำกัด สิทธิ ไม่ว่าผู้ประกันตนอยู่สท่วนไหนของประเทศควรที่จะเข้าโรงพยาบาลในสังกัด ประกันสังคมได้โดยเฉพาะตอนนี้กำลังมีการขยายไปยังภาคประชาชนทั่วประเทศจึง ควรแก้ไขในเรื่องนี้

นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เปิดเผยว่าจากการวิจัยเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ระหว่างระบบประกันสังคม (สปส.) และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) พบว่าผู้ประกันตนกับประกันสังคมได้รับสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลน้อย กว่าผู้ใช้สิทธิบัตรทองกว่า 11 รายการ เช่น การบริการในลักษณะของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บัตร ทองได้รับแต่ผู้ประกันตนไม่ได้รับ หรือแม้แต่บริการส่งตัวผู้ป่วยด้วยเฮลิคอปเตอร์ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกันตนไม่ มีสิทธิแต่ผู้ใช้บัตรทองมีสิทธิ

(โพสต์ทูเดย์, 17-1-2554)

เตือนต่อใบอนุญาตต่างด้าว 20 ม.ค. นี้

18 ม.ค. 54 - กรมการจัดหางาน ขอให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล 8 แห่ง ในกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลของรัฐในส่วนภูมิภาค พร้อมต่อใบอนุญาตทำงาน ภายในวันที่ 20 มกราคมนี้ หากพ้นกำหนดจะไม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดงาน แจ้งเตือนนายจ้าง/สถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา ที่ใบอนุญาตทำงานกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 20 มกราคม นี้ ต้องนำแรงงานไปตรวจสุขภาพและต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนวันดังกล่าว สำหรับโรงพยาบาลที่แรงงานต่างด้าวสามารถตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพ ประกอบด้วย โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี โรงพยาบาลเลิศสิน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลบางปะกอกเก้าอินเตอร์เนชั่นแนลและโรงพยาบาลกลาง รวมทั้งโรงพยาบาลของรัฐในต่างจังหวัด สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามกำหนดจะสามารถทำงานต่อไปได้ อีก 1 ปี แต่แรงงานต่างด้าวที่ฝ่าฝืนจะไม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไป และมีความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ 2,000-100,000 บาท

(สำนักข่าวแห่งชาติ, 18-1-2554)

ครม.อนุมัติแรงงานนอกระบบจ่ายเงินสมทบ

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้ ได้อนุมัติร่างพ.ร.ฎ.การประกันคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยมีสาระสำคัญคือ การให้แรงงานนอกระบบที่จะเข้าสู่ประกันสังคมจ่ายเงินสมทบใน2ทางเลือก ประกอบด้วย 1.จ่ายเงินสมทบ 100บาท แบ่งเป็นประชาชนจ่ายเอง 70 บาทรัฐสมทบ30 บาท ให้สิทธิ์ประโยชน์คุ้มครอง 13 ข้อ และ2.จ่ายเงินสมทบ 150บ.แบ่งเป็นประชาชนจ่ายเอง 150 บาทรัฐสมทบ50บาท จะได้สิทธิประโยชน์ 13 ข้อเหมือนกรณีแรก แต่เพิ่มเติมเรื่องบำเหน็จชราภาพอีกกรณีด้วย

ทั้งนี้ แรงงานนอกระบบที่ประสงค์รับบำเหน็จชราภาพเพิ่ม สามารถจ่ายสมทบเพิ่มได้ คาดว่าจะมีแรงงานนอกระบบ สนใจสมัครเข้าประกันสังคมปี 2554 จำนวน 2.4 ล้านคน แบ่งเป็น กทม. 6 แสนคนปริมณฑล 1.2 แสนคน และต่างจังหวัด 1.68 ล้านคน

(โพสต์ทูเดย์, 18-1-2554)

สหภาพธ.ทหารไทยขู่บุกคลังทวงถามคืบหน้าปลดซีอีโอ

เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ที่สำนักงานใหญ่ ธนาคารทหารไทย สหภาพแรงงานพนักงานธนาคาร จำนวนหนึ่ง นำโดยนายสุขุม เครือวรรณ ประธานกรรมการสหภาพแรงงานพนักงานธนาคารทหารไทย ได้รวมตัวกันประท้วงการปรับแนวทางบริหารงานพนักงานบริการของฝ่ายบริหาร ธนาคาร เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมทั้งออกแถลงการณ์ระบุว่า ความกังวลที่สหภาพแรงงานพนักงานธนาคารทหารไทย ได้สะท้อนมาได้ปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งมาถึงพนักงานระดับรากหญ้า ที่ไม่มีทางต่อต้านขัดขืนอำนาจบริหารแบบเบ็ดเสร็จของผู้บริหารที่ขาดคุณธรรม จากการดำเนินโครงการปรับแนวทางการบริหารพนักงาน ที่เปิดขึ้นอย่างลุกลี้ลุกลน เพื่อให้พนังงานในกลุ่มงานบริการทั้งหมดกว่า 500 คน ต้องตัดสินใจในอนาคตของพวกเขา เพียงเวลาไม่ถึงสัปดาห์ เพราะฉะนั้น หากยังคงให้ผู้บริหารที่ขาดคุณธรรมยังคงบริหารองค์กรนี้ต่อไป นับแต่จะก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้น

ดังนั้น สหภาพแรงงานพนักงานธนาคารทหารไทยในฐานะผู้แทนพนักงานตามกฎหมาย จึงขอให้ รมว.คลัง พิจารณาดำเนินการดังนี้ 1. ปลดประธานเจ้าหน้าที่บริหารออกจากตำแหน่งทันที 2. ยุติโครงการปรับแนวทางการบริหารพนักงาน ออกไปจนกว่าจะได้มีการทบทวนให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่พนักงานได้เสนอไว้ 3. ยุติการประกาศใช้โครงการ HR Transformation ที่กำลังจะนำสู่ปัญหาด้านพนักงานในวงกว้างขึ้น

นายสุขุม กล่าวว่า ช่วงเวลาประมาณ 14.30 น. วันนี้ ตัวแทนกลุ่มสหภาพฯจะเดินทางไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลังจากก่อนหน้านี้ได้ยื่นหนังสือไปก่อนหน้าแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในกรณีดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้ทางสหภาพฯ ได้ส่งหนังสือไปยังกระทรวงการคลัง เรื่องขอให้พิจารณาปลดประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารออกจากตำแหน่ง ฉบับลงวันที่ 4 ก.ย. 2552 และเรื่อง การคงสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารทหารไทยของกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 31 ส.ค. 2553

ทางสหภาพฯ ยังขอให้ธนาคารแก้ไขเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง เนื่องจากมีความแตกต่างกันมากกับพนักงานใหม่ที่เข้ามา ซึ่งมีเงินเดือนสูงมาก ซึ่งนายสุภัค ผู้บริหารคนเก่าได้พยายามแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่สำเร็จและได้ลาออกไปก่อน จากนั้น ผู้บริหารคนใหม่ได้เข้ามาแก้ปัญหาโดยการนำฟิกซ์โบนัส 1.5 เดือน รวมเข้ากับเงินเดือน และระบุว่าเป็นการปรับเงินเดือนแล้ว ซึ่งสหภาพฯ มองว่าไม่ใช่การแก้ปัญหา จึงอยากเรียกร้องให้มีการปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม ซึ่งได้ยื่นฟ้องศาลแรงงานไปแล้ว เมื่อเดือน พ.ย. 2553 และศาลนัดไต่สวน ในเดือน มี.ค. 2554

นอกจากนี้ ทางสหภาพได้ยื่นเรื่องไปยังกระทรวงการคลัง กรณีมีคำสั่งควบรวมกิจการ กับผู้ร่วมทุนใหม่ ซึ่งทางสหภาพฯ มีความเห็นว่าไม่จำเป็น เพราะกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่แล้ว จึงไม่ต้องหาผู้ร่วมทุนอีก โดยเสนอให้ธนาคารทหารไทย เป็นธนาคารของคนไทยต่อไป ซึ่งกระทรวงการคลัง ได้ตอบกลับกรณีนี้ว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และกำลังอยู่ระหว่างการดูราคาหุ้น

จากนั้น สหภาพฯ ได้ยื่นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ตรวจสอบกรณีที่ผู้บริหารคนใหม่ ได้ขายหุ้นธนาคารทหารไทย 2.3 ล้านหุ้นในนามส่วนตัว ซึ่งราคาหุ้นในขณะนั้นอยู่ที่ 3.50 บาท แต่ ได้ขายไปในราคาหุ้นละ 1.90 บาท โดย ก.ล.ต. ได้ตอบกลับมาว่า การขายหุ้นไม่ใช่การชี้นำตลาด เพราะจำนวนหุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.04 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ทางสหภาพฯ มองว่า สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่จำนวนหุ้น แต่อยู่ที่บุคคลใดเป็นผู้ขาย ซึ่งนายบุญทักษ์ ถือเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของธนาคาร ในวันนี้ทางสหภาพฯ จึงจะไปยื่นเรื่องอีกครั้ง เพื่อให้เร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา นายเอกพล ณ สงขลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่าธนาคารได้จัดทำโครงการปรับแนวทางบริหารพนักงานบริการ ได้แก่ พนักงานรักษาความปลอดภัย ขับรถ รับ-ส่งเอกสาร และนักการ เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยคัดเลือกบริษัทผู้ให้บริการภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามารับผิดชอบแทน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.นี้เป็นต้นไป สำหรับพนักงานบริการปัจจุบันมีประมาณ 500 คน ธนาคารได้จัดทางเลือกไว้ ดังนี้ 1. ทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปในฐานะพนักงานของบริษัทผู้ให้บริการภายนอก และ 2. รับผลตอบแทนพิเศษจากธนาคารในอัตราที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด ได้แก่ เงิน ตอบแทนเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน คำนวณจากฐานเงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมค่าครองชีพ, เงินตอบแทนเทียบเท่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และเงินเพิ่มพิเศษตอบแทนตามอายุงานเท่ากับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณ จำนวนปีที่ทำงาน นอกจากนี้ ยังได้รับโบนัสประจำปี 2553 ตามผลการปฏิบัติงาน และจะได้รับโบนัสในเดือน ก.พ.นี้

อย่างไรก็ตาม พนักงานบริการที่โอนย้าย ธนาคารได้ทำความตกลงให้บริษัทผู้ให้บริการ ภายนอก ให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของการจ้างงานใหม่ตามอัตราตลาด โดยให้คำนึงถึงประสบการณ์การทำงานของพนักงานเพื่อให้พนักงานมีโอกาสได้ รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าอัตราทั่วไปของตลาด โดยเมื่อวันที่ 14  ม.ค. มีพนักงานตอบรับเข้าร่วมโครงการกว่า 100 คน และวันที่ 17 ม.ค. ตอบรับเกือบ 200 คน ซึ่งกำหนดวันสุดท้ายของการส่งเอกสารตอบรับคือวันที่ 20 ม.ค.นี้.

(ไทยรัฐ, 19-1-2554)

รมว.แรงงานไปพม่าหารือนำเข้าแรงงานถูกกฏหมาย

19 ม.ค. 54 - นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงงาน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 22 - 24 มกราคม 2554 จะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า พร้อมกับนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน เพื่อหารือแนวทางการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ยังล่าช้า ที่เป็นผลมาจากการปิดด่าน  กับนายหม่อง หมิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการการต่างประเทศพม่า

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า จะขอให้ทางการพม่า ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำด่านพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทย บริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เช่นเดียวกับด่านในจังหวัดระนอง เพื่อให้สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ทันตามกำหนดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 รวมทั้งจะขอให้ใช้ด่านอื่น เป็นจุดพิสูจน์สัญชาติ ตามที่รัฐบาลไทยได้เจรจาให้เปิดด่านอื่นทดแทน

นอกจากนี้ จะหารือถึงแนวทางโครงการนำร่องการนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าอย่างถูกกฎหมายจำนวน 100,000 คนด้วย

(โพสต์ทูเดย์, 19-1-2554)

เครือข่ายแรงงานนอกระบบชี้นโยบายประชาวิวัฒน์ยังไม่โดนใจ

19 ม.ค. 54 - ในงานเสวนาเรื่องประกันแรงงานนอกระบบ ช่วยเหลือหรือเพิ่มภาระคนจนจัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย มีผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคม นักวิชาการ และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมกันแสดงความเห็นเกี่ยวกับหนึ่งในนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล ที่จะเข้าไปคุ้มครองแรงงานอกระบบ โดยส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่านโยบายดังกล่าวไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้กับคนจน เพราะเป็นโครงการภาคสมัครใจไม่ได้บังคับ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้แรงงานนอกระบบที่แท้จริงเข้า ร่วมมากขึ้น
 
นางสุจิน รุ่งสว่าง ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ทางเลือกที่รัฐออกมาทั้ง 2 รูปแบบ ยังไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของแรงงาน โดยเฉพาะทางเลือกที่ 1 ที่แรงงานจ่ายเงินสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท ได้รับสิทธิ 3 กรณี คือ 1.เงินชดเชยการขาดรายได้จากการเจ็บป่วย 2.ทุพพลภาพ และ 3.เสียชีวิต แต่ไม่มีบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพ ซึ่งหากแรงงานต้องการเงินบำเหน็จบำนาญต้องไปสมัครเข้าร่วมกับกองทุนการออม แห่งชาติ (กอช.) อีกเดือนละ 100 บาท ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระมากเกินไป
 
นางสุจิน กล่าวอีกว่า หากเลือกทางเลือกที่ 2 ซึ่งแรงงานจ่ายเงินสมทบ 100 บาท รัฐสมทบ 50 บาท จะได้รับสิทธิเพิ่มจากทางเลือกแรกอีก 1 กรณี คือบำเหน็จชราภาพ แต่แรงงานต้องการบำนาญเพราะมีความมั่นคงมากกว่า ที่สำคัญทางเลือกที่ 2 ยังตัดสิทธิการเข้าร่วมกองทุน กอช.ซึ่งจะต้องหาทางแก้ไข นอกจากนี้ยังอยากเสนอให้ปรับปรุงเงื่อนไข ในส่วนของระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบ เพื่อให้ได้รับสิทธิ เช่น กรณีเจ็บป่วย ต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน หรือกรณีเสียชีวิตต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 6 ใน 10 เดือน ถึงจะมีสิทธิ
 
ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันแม้รัฐบาลจะพยายามเข้าไปดูแลแรงงานนอกระบบ แต่ยังติดกรอบวิธีคิดเรื่องภาระงบประมาณในระยะยาว ทั้งที่ความจริงรัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้แรงงานในระบบมากกว่านอกระบบหลายเท่า ตัว เสมือนการช่วยคนที่มีฐานะดีกว่า ที่สำคัญยังทำตัวเป็นเหมือนบริษัทประกันที่พยายามคิดดอกเบี้ยแพงเพื่อ ป้องกันขาดทุน สุดท้ายเงื่อนไขจึงไม่จูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้าร่วม จึงต้องเร่งแก้ไขในส่วนนี้ เพื่อให้แรงงานนอกระบบเข้ามาสู่ในระบบให้มากขึ้น
 
ด้าน รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากรัฐคิดจะเข้ามาดูแลแรงงานนอกระบบ ต้องกำหนดทิศทางและคำนิยามแรงงานนอกระบบให้ชัดเจนว่า แท้ที่จริงแล้ว แรงงานเหล่านี้มีจำนวนมากน้อยเพียงใด และไม่ต้องกังวลเรื่องเงินงบประมาณไม่พอ โดยสามารถแก้ไขด้วยการขึ้นค่าภาคหลวงน้ำมัน หรือทองคำ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังจัดเก็บในอัตราที่ต่ำมาก เช่น ร้อยละ 2.5 ขณะที่ในต่างประเทศจัดเก็บสูงถึงร้อยละ 30 หรือลดการอุดหนุนด้านภาษีให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของบีโอไอ เพื่อนำเงินมาชดเชยได้อีกปีละหลายแสนล้านบาท

(สำนักข่าวไทย, 19-1-2554)

ลูกจ้างเหมาค่าแรงใน บ. GM ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง

 

บุญยืน สุขใหม่
ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก

 

20 .. 54 - พนักงานเหมาค่าแรงในบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย คือ บริษัท สกิลพาวเวอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวนเกือบสามร้อยคน ได้ร่วมกันลงรายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของพนักงานเหมาค่าแรงเฉพาะส่วน บริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ฯ เพื่อหวังให้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนงานในระบบเหมาค่าแรงให้ดีขึ้น ดังมีมีรายละเอียดหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องและข้อเรียกร้องจำนวน 10 ข้อ ดังนี้

 

 

ข้อเรียกร้องของพนักงานบริษัท สกิลพาวเวอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

(เฉพาะส่วนบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย)

 

ยื่นต่อบริษัท บริษัท สกิลพาวเวอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

(เฉพาะส่วนบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย)

 

1. ขอให้บริษัทฯ ปรับเพิ่มค่าเช่าบ้านจากเดิม ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน เป็น ๒,๒๐๐ บาทต่อเดือน

 

2. ขอให้บริษัทฯ อนุญาตให้พนักงานชายลาไปเพื่อเกณฑ์ทหารได้ไม่น้อยกว่า ๓ วันทำงาน โดยไม่ถือเป็นวันลา และได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ ตามปกติ

 

3. ขอให้บริษัทฯ นำส่งเงินประกันสังคมให้กับพนักงานทุกคน

 

4. ขอให้บริษัทฯ จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยหักเงินสะสมและเงินสมทบฝ่ายละ ๕%

 

5. ให้บริษัทฯ อนุญาตให้พนักงานชายลาบวชได้ไม่เกิน ๓๐ วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้างและสวัสดิการตามปกติไม่เกิน ๑๕ วันทำงาน

 

6. กรณีที่พนักงานป่วยถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาลให้นายจ้างมีกระเช้าไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล

 

7. ในกรณีที่รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ให้นายจ้างปรับผลต่างของค่าจ้างที่ปรับขึ้นให้กับพนักงานทุกคน

 

8. ขอให้บริษัทฯ ทำสัญญาจ้างงานมากกว่า ๒ ปี

 

9. ให้นายจ้างจัดให้พนักงานที่อายุงานครบ ๑ ปีขึ้นไป ให้มีการสอบเพื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำของบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย จำกัด ไม่น้อยกว่าปีละ ๒ ครั้ง และจำนวนไม่น้อยกว่าปีละ ๒๐๐ คน

 

10. ให้บริษัทฯ จ่ายโบนัสประจำปีให้กับพนักงานทุกคนไม่น้อยกว่า ๔ เดือน และบวกเพิ่มพิเศษอีกคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท

 

ห้ามไม่ให้นายจ้างเลิกจ้างโยกย้ายหรือกลั่นแกล้งพนักงานที่มีรายชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องและผู้แทนในการเจรจาทุกคน

 

 

 

 

หลัง จากที่ลูกจ้างเหมาค่าแรงเหล่านี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองเพื่อลด บทบาทของสหภาพแรงงานมาโดยตลอดแต่ตนเองกลับไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลย พนักงานเหมาค่าแรงจำนวน ๒๘๙ คน จากจำนวนพนักงานเหมาค่าแรงทั้งหมดประมาณ ๙๐๐ คน ได้เข้าชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องและแต่งตั้งผู้แทนเจรจาจำนวน ๕ คน เสนอต่อนายจ้างเพื่อให้ปรับปรุงสวัสดิการให้ดีขึ้น เนื่องจากตนเองก็มีส่วนในการผลิตและเป็นกลไกหลักที่สำคัญในขบวนการผลิตเช่น เดียวกับพนักงานประจำ แต่กลับได้รับค่าจ้างและสวัสดิการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และในข้อเรียกร้องของลูกจ้างเหมาค่าแรงและสหภาพแรงงานที่มีการสอดคล้องกัน คือการบรรจุลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรงให้เป็นลูกจ้างประจำ 

 

ขณะ ที่ยื่นข้อเรียกร้องให้กับผู้แทนของนายจ้าง แต่ผู้แทนนายจ้างไม่ยอมลงชื่อรับหนังสือข้อเรียกร้อง ผู้แทนลูกจ้างจึงได้เซ็นต์ชื่อต่อหน้าพยานและมอบให้กับผู้แทนนายจ้างและได้ เดินทางไปแจ้งเป็นหนังสือให้กับพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจังหวัดระยองต่อ ไป นายวันวุฒิ พลับยินดี ประธานผู้แทนฝ่ายลูกจ้างกล่าวว่า วันนี้ รู้สึกยินดีและมีความภูมิใจ เพราะที่ผ่านมาคิดมาตลอดว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตของตนเองและเพื่อน ร่วมงานมีความมั่นคงไม่ต้องคอยอยู่อย่างหวาดระแวงตลอดเวลาว่าจะถูกเลิกจ้าง เมื่อไร มาถึงวันนี้ไม่มีอะไรที่จะให้กังวลอีกแล้วเพราะไปอยู่ที่ไหนก็เป็นพนักงาน เหมาค่าแรงเหมือนกันขอเพียงได้สู้ก็รู้สึกว่าชนะแล้วครับ

 

(ประชาไท, 20-1-2554)

 

แกนนำสหภาพแรงงานถูกทำร้ายร่างกาย ช่วงเจรจาข้อตกลง

 

21 ม.ค. 54 - สหภาพแรงงาน เจเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงหัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ในฐานะพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน) และกรรมการผู้จัดการบริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส เรื่องขอให้แก้ไขปัญหาหัวหน้างานโดยมิชอบ

 

ทั้งนี้สหภาพแรงงานฯ ได้อ้างถึงการยื่นข้อพิพาทยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพฯ ต่อบริษัทฯ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 53 และมีการเจรจาตามขั้นตอนตามกฎหมายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้ โดยพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้นัดให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยอีกครั้งในวัน ที่ 27 ม.ค. 54

 

แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 54 ทางสหภาพแรงงานฯ ได้ระบุว่า เวลาประมาณ 06.15 น. รองประธานสหภาพฯ คือนายชัยพร ทาเชาว์ ได้ถูกทำร้ายร่างกาย และนายชัยพรได้เข้าแจ้งความที่ สภ.บ่อวิน สาขาบึง ว่าได้ถูกหัวหน้างานคนหนึ่งของบริษัท และพวกรุมทำร้ายร่างกาย

 

โดยสหภาพแรงงาน เจเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ระบุว่านายชัยพร นอกจากเป็นรองประธานสหภาพแล้ว ยังเป็นตัวแทนเจรจาข้อเรียกร้องฝ่ายสหภาพแรงงาน และได้ให้ปากคำแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าตนเองไม่เคยมีเรื่องกับใครมาก่อน นอกจากการเป็นตัวแทนของพนักงานในการนำเรื่องเข้าหารือกับผู้บริหาร ในเรื่องการเปลี่ยน Line ผลิตใหม่ที่มีจุดทำงานไม่ปลอดภัยหลายจุด ซึ่งหลายครั้งได้มีการถกเถียงกัน และฝ่ายบริหารหัวหน้างานก็ไม่รับฟังเหตุผลและไม่ได้นำไปแก้ไขแต่อย่างใด และได้ทำเรื่องร้องเรียนไปที่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งอาจทำให้หัวหน้างานบางคนไม่พอใจตนเองก็เป็นได้ รวมถึงประเด็นที่ผู้แจ้งความความเป้นรองประธานสหภาพฯ และเป็นตัวแทนของสหภาพในการยื่นข้อเรียกร้อง

 

โดยหลังเกิดเหตุสหภาพฯ ได้ขอให้บริษัทฯ ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง แต่บริษัทฯ ปฏิเสธที่จะดำเนินการใดๆ โดยระบุว่าให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย ทางสหภาพฯ จึงได้ทำหนังสืออย่างเป็นทางการเพื่อขอให้บริษัทฯ เร่งดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่พนักงาน สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงานทุกคนต่อไป แถลงการณ์ของสหภาพแรงงานดังกล่าวระบุ

 

(ประชาไท, 21-1-2554)

 

ก.ต่างประเทศ ติดตามช่วยเหลือแรงงานไทยเหยื่อกระสุน

21 ม.ค. 54 - ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ รายงานเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ในการช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บจากจรวดคัสซัม ที่คิบบุตซ์นาฆาล โอ๊ช (Nahal Oz) ใกล้กับฉนวนกาซา ประเทศอิสราเอล โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดและเดินทางไปเยี่ยมคนงานไทยที่โรงพยาบาล เพื่อให้กำลังใจ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ นั้น

ล่าสุด สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ เดินทางไปเยี่ยมและติดตามผลการรักษาของคนงานไทย ๒ คน ที่โรงพยาบาล Soroka อีกครั้ง โดยอาการของทั้ง ๒ คนดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ยังได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เป็นล่ามให้แก่คนงานไทยทั้ง ๒ คนในการดำเนินการแจ้งความจำนงค์เพื่อเรียกค่าเสียหายจากสำนักประกันสุขภาพ แห่งชาติของ  ประเทศอิสราเอล (Bituach Leumi) อีกด้วย

(RYT9, 21-1-2554)

นายจ้างลอยแพคนงานไม่จ่ายอ้างเหตุไฟไหม้

นับตั้งแต่ วันที่ 23 มิ.ย.2553 เวลา 21.30 น.จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 7 เดือนกว่าที่เกิดเพลิงลุกไหม้อย่างแรงที่บริษัท พีซีบี เซ็นต์ จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ เลขที่ 684-685 ถ.สุขาภิบาล 8 หมู่ 11 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายจ้างเป็นคนไทยโดยทำกิจการผลิตแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ ส่งขายให้ต่างประเทศ มีพนักงานทั้งหมด 500กว่าคน
 
สาเหตุที่เกิดเพลิงไหม้เกิดที่แผนกเพร์สเนื่องจากอุณหภูมิเครื่อง hot press มีความร้อนสูงถึง 400  องศา ปกติ 220 องศา ทำให้เกิดประกายไฟขึ้นแล้วเครื่องระเบิด มีผู้บาดเจ็บสาหัสทั้งหมด 7 คนต่อมาได้เสียชีวิต 3 คน ส่วนผู้บาดเจ็บที่เหลือขณะนี้อยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟู จ.ระยอง หลังจากเกิดไฟไหม้บริษัทฯก็ได้ปิดโรงงานชั่วคราว โดยจ่ายค่าจ้างให้พนักงาน 75 %  แต่การจ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามกำหนดการจ่ายและบริษัทฯบอกว่าอาจจะปิดโรงงาน พนักงานจึงได้ไปร้องเรียนตามหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร, นายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,ผู้ว่าราชการจ.ชลบุรี ,สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจ.ชลบุรี แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งการจ่ายค่าจ้างช้าทำให้พนักงานทุกคนได้รับความเดือดร้อน
 
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 เวลา 14.00 น.ตัวแทนบริษัทฯ,สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจ.ชลบุรีเจ้าหน้าที่ กระทรวงแรงงาน ,กรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกับตัวแทนลูกจ้าง ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.ชลบุรี ตัวแทนบริษัทฯบอกว่าจะปิดกิจการในวันที 27 มกราคม 2554 แต่มีเงินจ่ายเพียง 6.5 ล้านบาท และห้ามฟ้องร้องใดๆอีก ทำให้ตัวแทนพนักงานรับไม่ได้  ซึ่งหากเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดต้องจ่ายเงินทั้งหมดรวมเป็นเงิน 60 ล้านกว่าบาท และเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.ชลบุรี แนะนำให้เขียนคำร้อง คร.7 หากบริษัทฯปิดโรงงาน เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมาย
 
จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้พนักงาน 500กว่าคนได้รับความเดือดร้อนจะหางานใหม่ก็ลำบากเพราะอายุมากแล้วจึงต้อง เรียกร้องให้บริษัทฯจ่ายเงินตามที่กฎหมายกำหนด

(นักสื่อสารแรงงาน, 22-1-2554)

เปิดสินเชื่อแบงก์รัฐ 5 พันล้านอุ้มแท็กซี่-วินมอเตอร์ไซค์-หาบเร่แผงลอย

หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี มอบของขวัญ 9 ชิ้นให้ แรงงานนอกระบบกว่า 26 ล้านคนได้เข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐที่ดีขึ้นแล้วยังได้ขยายโอกาสให้พ่อค้า แม่ค้า แท็กซี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง  ได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบผ่านสินเชื่อแบงก์รัฐ วงเงินรวม5,000 ล้านบาท ในโครงการสินเชื่อสู่อาชีพไทยเข้มแข็ง และโครงการสินเชื่อแท็กซี่ไทยเข้มแข็ง

โดยคนขับรถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่แผงลอยที่อยู่ในจุดผ่อนผันในเขต กทม.สามารถขอสินเชื่อสู่อาชีพไทยเข้มแข็งวงเงิน 3,400 ล้านบาท กับแบงก์รัฐ 4 แห่ง ได้แก่ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ธนาคารพัฒาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) เพื่อนำไปลงทุนและใช้ในการดำรงชีพ โดยจะได้รับอนุมัติวงเงินรายละไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลากู้ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกที่ 6.75-18% ต่อปี

ในส่วนที่เป็นกลุ่มชุมชนและกลุ่ม อาชีพที่มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 10 คน แต่ไม่เกิน 25 คน สามารถกู้เงินกับธนาคารออมสินได้สูงสุด 5 เท่าของเงินออมกลุ่ม หรือเงินกองทุนระยะเวลา 5 ปี ดอกเบี้ย 6% ต่อปี

ส่วนที่เป็นแรงงานนอกระบบสามารถกู้ ผ่านโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน วงเงินสูงสุด 100,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ย 0.5-0.75% ต่อเดือน, กู้ผ่าน ธ.ก.ส.ไม่เกิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย 6.75-12% ต่อปี, กู้ผ่านธพว. 50,000-100,000 บาทต่อรายดอกเบี้ย 9-12% ต่อปี, กู้ผ่าน ธอท.ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย คิดส่วนแบ่งกำไร 8.4-18% ต่อปี

สำหรับโครงการสินเชื่อแท็กซี่ไทย เข้มแข็ง วงเงิน 1,600 ล้านบาท กรณีบุคคลกู้ ติดต่อได้ที่ ธพว.และ ธอท. เพื่อเช่าซื้อรถแท็กซี่ NGV ใหม่ พร้อมอุปกรณ์ส่วนควบ ปล่อยกู้สูงสุด 800,000 บาท ระยะเวลา 6 ปี คิดดอกเบี้ยแบบflat rate (เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกที่ 12% ต่อปี) หรือผ่อนชำระประมาณ 550 บาทต่อวัน

แต่ถ้าผู้กู้เป็นกลุ่มสหกรณ์แท็กซี่ กู้ได้ที่ธนาคารกรุงไทยและ ธ.ก.ส. เพื่อนำเงินไปปล่อยกู้ต่อให้สมาชิกซื้อรถแท็กซี่ โดยสหกรณ์ที่มาขอกู้จะต้องดำเนินการมาไม่น้อยกว่า 1 รอบปีบัญชีปล่อยกู้สูงสุดไม่เกินวงเงินสินเชื่อที่นายทะเบียนเห็นชอบ ผ่อนชำระเป็นรายเดือนสูงสุดไม่เกิน 5 ปี คิดดอกเบี้ยแบบ flat rate

 (ประชาชาติธุรกิจ, 22-1-2554)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net