“องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า” ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลไทยช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบ

เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า ออกแถลงการณ์ “ผู้หญิงและเด็กได้รับบาดเจ็บจากปลอกกระสุนปืนใหญ่ตามชายแดนไทย – พม่า องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า เรียกร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือชาวบ้านที่หลบหนีจากการสู้รบ” โดยระบุว่า ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 10,000 คน ได้หลบหนีอยู่ในประเทศไทย หลังมีการต่อสู้เกิดขึ้นในทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ กระเหรี่ยง ระหว่างการต่อสู้ของรัฐบาลทหารพม่า (SPCD) และ กองพันที่ 5 ของกองทัพทหารกะเหรี่ยงพุทธ (DKBA) เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 หนึ่งวันหลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าได้จัดการเลือกตั้ง
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่าได้แสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างยิ่ง ที่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยพักพิงอาศัยในสถานที่ที่ปลอดภัยอาศัยในช่วงที่มีการ สู้รบ แต่อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเรื่องนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งผู้ลี้ภัย กลับประเทศ ในขณะที่สถานการณ์ของฝั่งตรงข้ามยังไม่สงบและปลอดภัย เพราะชาวบ้านที่ผู้ลี้ภัยเคยถูกเจ้าหน้าที่ไทยให้ออกจากพื้นที่ชั่วคราวใน ขณะที่พื้นที่รัฐกะเหรี่ยงยังมีการสู้รบมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสาม เดือน อีกทั้งยังไม่มีท่าทีว่าการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายจะยุติลง
 
แถลงการณ์ให้ข้อมูลต่อมาว่า ชาวบ้านที่เคยถูกส่งกลับไปรัฐกะเหรี่ยง ต้องกลับเข้ามาเพียงในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงให้หลังเมื่อการเริ่มต่อสู้ใหม่ ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่กลัวที่จะกลับไปประเทศพม่า พวกเขาจึงหลบหนีการสู้รบโดยพักอาศัยอยู่ในฝั่งไทยตามหมู่บ้าน ตามไร่สวน และในป่าใกล้แม่น้ำ
 
สำหรับข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ขององค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า คือ 1) อนุญาตให้ชาวบ้านหลบหนีจากการสู้รบพักพิงชั่วคราวในประเทศไทย จนกว่าการสู้รบในรัฐกะเหรี่ยงจะยุติและรู้สึกปลอดภัยในการกลับประเทศ
2) อนุญาตให้องค์กรมนุษยธรรมต่างประเทศและองค์กรชุมชนเข้าถึงชาวบ้านที่ลี้ภัย จากการสู้รบ เพื่อให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือในด้านมนุษยธรรมที่จำเป็น
 
“เราขอให้องค์กรได้รับอนุญาตเพื่อให้การบริการขั้นพื้นฐานและการรักษา พยาบาลที่เหมาะสม แม้พวกเขาจะอยู่บริเวณพื้นที่การหลบภัยพักพิงชั่วคราว” แถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้อง
 
ทั้งนี้ แถลงการณ์มีรายละเอียดดังนี้
 
 
 
แถลงการณ์โดยองค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า
 
1 กุมภาพันธ์ 2554
 
ผู้หญิงและเด็กได้รับบาดเจ็บจากปลอกกระสุนปืนใหญ่ตามชายแดนไทย – พม่า
องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า เรียกร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือชาวบ้านที่หลบหนีจากการสู้รบ
 
 
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยจากรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ต้องหนีภัยเข้ามาในประเทศไทย และหลบหนีอยู่ในป่าใกล้กับชายแดนประเทศไทย เนื่องจากได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเศษกระสุนปืนที่ข้ามมาจากฝั่งพม่า จนถึงตอนนี้พวกเขายังไม่ได้รับการรักษาใดๆ องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยดังกล่าวสามารถพักพิงในประเทศ ไทยจนกว่าการต่อสู้ในพื้นที่รัฐกระเหรี่ยงจะยุติลง และอนุญาตให้มีการจัดตั้งการบริการช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย
 
แม่อายุ 33 ปี ได้รับบาดเจ็บจากการใช้ตัวเองบังกระสุนปืนแทนลูกชาย 2 คน ทำให้ได้รับบาดเจ็บตรงขาซ้าย และลูกชายวัย 8 ขวบ ได้รับบาดเจ็บตรงข้อพับเข่าขวา ส่วนลูกชายอีกคนวัย 7 ขวบ ได้รับบาดเจ็บจากเศษระเบิด ทำให้บริเวณสะโพก และขา เป็นแผลขนาดใหญ่ ขณะนี้มีอาการสาหัสและกำลังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
 
สามแม่ลูกที่ได้รับบาดเจ็บนี้เป็นหนึ่งในจำนวนชาวบ้านประมาณ 1,500 คน ที่หลบหนีอยู่ตามชายแดนไทย-พม่า บริเวณฝั่งแม่น้ำเมย ในช่วงที่มีการสู้รบเมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งการต่อสู้ใช้เวลายาวนานกว่า 7 ชั่วโมง โดยระเบิดและกระสุนปืนได้ตกริมฝั่งแม่น้ำในไทย บริเวณที่ชาวบ้านหลบภัยอยู่
 
ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 10,000 คน ได้หลบหนีอยู่ในประเทศไทย หลังมีการต่อสู้เกิดขึ้นในทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ กระเหรี่ยง ระหว่างการต่อสู้ของรัฐบาลทหารพม่า (SPCD) และ กองพันที่ 5 ของกองทัพทหารกะเหรี่ยงพุทธ (DKBA) เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 หนึ่งวันหลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าได้จัดการเลือกตั้ง จึงได้มีการจัดพื้นที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลหลบหนีจากการ สู้รบขึ้นในพื้นที่ฝั่งไทยตั้งแต่นั้นมา องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า ขอแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างยิ่ง ที่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยพักพิงอาศัยในสถานที่ที่ปลอดภัยอาศัยในช่วงที่มีการ สู้รบ
 
อย่างไรก็ตาม องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า มีความกังวลเรื่องนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศในขณะที่ สถานการณ์ของฝั่งตรงข้ามยังไม่สงบและปลอดภัย เพราะชาวบ้านที่ผู้ลี้ภัยเคยถูกเจ้าหน้าที่ไทยให้ออกจากพื้นที่ชั่วคราวใน ขณะที่พื้นที่รัฐกะเหรี่ยงยังมีการสู้รบมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสาม เดือน อีกทั้งยังไม่มีท่าทีว่าการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายจะยุติลง
 
ชาวบ้านที่เคยถูกส่งกลับไปรัฐกะเหรี่ยง ต้องกลับเข้ามาเพียงในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงให้หลังเมื่อการเริ่มต่อสู้ใหม่ ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่กลัวที่จะกลับไปประเทศพม่า พวกเขาจึงหลบหนีการสู้รบในฝั่งไทยตามหมู่บ้าน ตามไร่สวน และในป่าใกล้แม่น้ำ
 
“ชาวบ้านขอร้องให้ผู้ใหญ่บ้านไม่ให้ส่งหรือผลักดันให้พวกเขากลับ เพราะชุมชนของพวกเขาไม่ปลอดภัย แต่ชาวบ้านที่ไปหลบหนีในพื้นที่ของฝั่งไทย พื้นที่เหล่านี้ก็ไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา หากไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้ที่หลบหนีจากการสู้รบ พวกเขาจึงยังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการสู้รบโดยตรง” นอ ดาเอเกลอ เลขาขององค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง กล่าว
 
นอกจากนั้น องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า ยังมีความกังวลในเรื่อง การให้บริการชั่วคราวกับผู้หลบหนีจากการสู้รบ ซึ่งไม่สามารถรองรับและให้บริการจากสถานการณ์การสู้รบเหตุการณ์ที่มีมาอย่าง ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้มีองค์กรพัฒนาเอกชน NGOs และองค์กรชุมชนที่ทำงานงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ฉุกเฉินชั่วคราว ที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นเช่นด้านสุขภาพ อาหาร และที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามการบริการดังกล่าวไม่สามารถรองรับอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ลี้ ภัยที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินมา ดำเนินให้ความช่วยเหลือเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน
 
ตราบใดที่ยังมีสงครามและการสู้รบ ผู้ลี้ภัยก็จะต้องเผชิญกับอนาคตก็ไม่แน่นอน พวกเขาไม่สามารถกลับบ้านตัวเองได้ และคงต้องพักพิงอยู่ในพื้นที่ระหว่างรัฐกะเหรี่ยงและประเทศไทยเป็นเวลาที่ ยืดเยื้อ ทำให้ได้รับผลกระทบการดำรงชีวิตและไม่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานได้ เช่น ทำให้กลายเป็นเด็กพลัดถิ่นและไม่มีที่อยู่อาศัย และไม่สามารถไปโรงเรียนกว่าสามเดือนตั้งแต่มีการสู้รบ จะต้องมีการเตรียมการเพื่อให้แน่ใจว่าคนเหล่านี้ไม่ได้รับผลกระทบอีกต่อไป
 
องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า เรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ดังนี้
 
1) อนุญาตให้ชาวบ้านหลบหนีจากการสู้รบพักพิงชั่วคราวในประเทศไทย จนกว่าการสู้รบในรัฐกะเหรี่ยงจะยุติและรู้สึกปลอดภัยในการกลับประเทศ
 
2) อนุญาตให้องค์กรมนุษยธรรมต่างประเทศและองค์กรชุมชนเข้าถึงชาวบ้านที่ลี้ภัย จากการสู้รบ เพื่อให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือในด้านมนุษยธรรมที่จำเป็น เราขอให้องค์กรได้รับอนุญาตเพื่อให้การบริการขั้นพื้นฐานและการรักษาพยาบาล ที่เหมาะสม แม้พวกเขาจะอยู่บริเวณพื้นที่การหลบภัยพักพิงชั่วคราว
 
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท