Skip to main content
sharethis

วอนอย่ากดดันแรงงานกัมพูชา

7 ก.พ. 54 - นาย สุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงเหตุปะทะตามแนวชายแดนระหว่างทหารไทยและกัมพูชา โดยยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติ กัมพูชา โดยเฉพาะแรงงานที่ทำงานแบบเช้าไป-เย็นกลับตามแนวชายแดน เช่น ที่จังหวัดสระแก้ว สุรินทร์และศรีสะเกษ ที่ขณะนี้ด่านชายแดนทั้ง 3 แห่ง ได้ปิดชั่วคราว นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงการพิสูจน์สัญชาติที่เริ่มหยุดชะงักลง เนื่องจากแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชามีความกังวลในสถานการณ์ที่ยังรุนแรง อย่างต่อเนื่อง

อย่าง ไรก็ตาม ฝากเตือนไปยังนายจ้างรวมถึงคนงานชาวไทยให้ช่วยกันดูแลแรงงานกัมพูชาอย่าง ใกล้ชิดในช่วงนี้ และอย่าพูดจากดดันหรือทำอะไรที่เป็นการสร้างสถานการณ์ เนื่องจากแรงงานอาจเกิดความเครียด และอาจทำอะไรอย่างไม่ยั้งคิดได้ เช่นกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ที่คนงานชาวกัมพูชาขโมยรถเพื่อพยายามหลบหนีกลับประเทศ เพราะความเมาสุรา และถูกกดดันจากคนงานชาวไทย โดยขอให้คิดว่าแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยในขณะนี้ มาด้วยความสุจริตใจ และไม่มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(สำนักข่าวไทย, 7-2-2554)

นายกฯ คาดประกาศใช้ กม.ขยายประกันสังคมครอบคลุมคนไทยทุกคน 15 พ.ค.นี้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนปฎิรูปประเทศไทยครั้ง ที่ 2/2554 พร้อม ด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน และผู้บริหารจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรายงานความคืบหน้าการ ดำเนินการ

ทั้ง นี้ ที่ประชุมในวันนี้ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฎิรูปประเทศไทยของกระทรวงแรงงาน เรื่องการขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมชาวไทยทุกคน ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานอยู่ระหว่างให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่าง มาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2553 และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ในวันที่ 15 พ.ค.54 ทั้งนี้จะมีการจัดแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงราย ละเอียดและสิทธิประโยชน์ของการขยายประกันสังคมภายในวันที่ 19-21 ก.พ.54 โดยจะเริ่มดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ค.54

นอก จากนี้ ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการสินเชื่อไทยเข้มแข็งเพื่อเปิดโอกาส ให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสินเชื่อสถาบันการเงิน โดยในช่วงเย็นของวันนี้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะมีการหารือร่วมกับธนาคาร ต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อหาข้อสรุปโครงสร้างสินเชื่อของธนาคารแต่ละแห่ง ก่อนจะเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ก.พ.54

สำหรับการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนปฎิรูปประเทศไทยครั้งต่อไปจะจัดให้มีการประชุมในวันที่ 14 ก.พ. 54

(อินโฟเควส, 7-2-2554)

พนักงาน พีซีบี ร้องต่อทีวีไทยกลับโดนนายจ้างข่มขู่

นายกิตติพงษ์  ตาเขียว พนักงานบริษัทแผนกช่างซ่อมบำรุง  เล่าว่าหลังจากเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็น เวลา 6 เดือนผ่านมาต้องทนทุกข์จากบาดแผลที่โดนไฟไหม้ตามรางกายในการรักษายัง ต้องมีการผ่าตัดอยู่บ่อยครั้ง

ส่วนชีวิตครอบครัวลูก 2 คนต้องไปฝากญาติอยู่ต่างจังหวัดดูแลแทนภรรยาที่แยกทางกัน ตอนนี้ลำบากมาก  และการเดินทางไปที่ศูนย์ฟื้นฟูที่จังหวัดระยองนั้นมิได้รับการช่วยเหลือแต่ อย่างใด  จาก การให้ข้อมูลของปัญหาที่เกิดกับทีวีไทยยังโดนโทรศัพท์ลึกลับมาขมขู่โดย ห้ามไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นมิฉะนั้นจะไม่ได้รับความปลอดภัย ในชีวิต

หลังรอความหวังมาหลายเดือนยังไม่มี ความชัดเจนการช่วยเหลือจากหน่วยงานใด  พนักงาน พีซีบีจึงมีมติเข้าร่วมกับพี่น้องแรงงานแม็กซีสเดินเท้าเข้ากรุงเทพ เพื่อบอกคนทั้งประเทศว่าพวกเราถูกทอดทิ้งแม้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมยังถูก ข่มขู่

(นักสื่อสารแรงงาน, 8-2-2554)

สภาอุตฯ ตาก ร้องยุติพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าหลังพบไม่โปร่งใส

นาย ชัยยุทธ เสณีตันติกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ได้ยื่นหนังสือต่อ นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ประธานอนุกรรมาธิการติดตามประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้เดินทางมาตรวจสภาพข้อเท็จจริง ในการใช้แรงงานต่างด้าว ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ทั้งนี้ เพื่อขอให้คณะอนุกรรมาธิการฯ ประสานกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยขอให้ยุติการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ที่จังหวัดระนอง และจังหวัดเชียงราย โดยทันที เพราะกระบวนการพิสูจน์สัญชาติดังกล่าว ยังไม่โปร่งใส และพบพิรุธหลายอย่าง รวมทั้ง หากปล่อยให้ดำเนินการต่อไป ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดนจังหวัดตาก (อ.แม่สอด อ.พบพระ อ.แม่ระมาด อ.ท่าสองยาง และ อ.อุ้มผาง ได้รับความเดือนร้อนอย่างแน่นอน จากการถูกแย่งแรงงาน

รายงาน ข่าวแจ้งว่าประธานอนุ กรรมาธิการติดตามประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้รับเรื่องจาก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก และจะเร่งนำไปเสนอกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพื่อพิจารณาทบทวน และดำเนินการ ให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมต่อไป

(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 8-2-2554)

สหภาพฯ ขสมก.ปูดซ่อมรถเมล์ 500 คันเปลี่ยนช่างหวั่นเกิดปัญหา

เมื่อวันที่ 8 ก.พ. นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า บริษัท มิตซู ซึ่งรับจ้างเหมาซ่อมรถเมล์ของ ขสมก.ยี่ห้อมิตซู จำนวน 500 กว่าคัน ได้หมดสัญญาไปตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา และผู้บริหารไม่ได้ต่อสัญญาจ้างอีก เนื่องจากบริษัทฯ ขอขึ้นค่าจ้างเหมาซ่อมรถอีก 15% จากค่าเหมาซ่อมเดิม คือ 1,053 บาท/คัน/วัน และได้หารายใหม่ได้แล้ว คือ บริษัท อินทิรา วิจิตรลาภ คิดค่าเหมาซ่อม 1,015 บาท/คัน/วัน ทั้งนี้บอร์ด ขสมก. มีมติเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา อนุมัติการจ้างบริษัท อินทิรา ซ่อมรถ ที่อยู่ในเขตการเดินรถที่ 2, 4 และ 8 ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ บริษัทเพียงมาดูสภาพรถ แต่ยังไม่นำอุปกรณ์เข้าทำงานใด ๆ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะรถเมล์ของ ขสมก. เก่ามากมีอายุการใช้งาน 17 ปีขึ้นไป จะต้องมีการบำรุงรักษาดูแลระบบเบรก คลัตช์ ทุกวัน เพื่อความปลอดภัยในการออกให้บริการ หากไม่มีช่างมาซ่อมแซม รถเสียก็ต้องจอดทิ้งไว้ ออกให้บริการไม่ได้ ส่งผลเสียต่อ ขสมก.เอง อย่างไรก็ตามได้สอบถามเรื่องนี้ไปยังผู้บริหาร ขสมก.แล้ว ได้คำตอบว่า ขสมก.จะเซ็นสัญญากับบริษัท วันที่ 10 พ.ค.นี้ ระหว่างนี้จะส่งนายช่างวิศวะของ ขสมก.ไปดูแลซ่อมบำรุงรถดังกล่าวเบื้องต้นก่อน ซึ่งตนเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะไม่มีเครื่องมือและอะไหล่ในการซ่อมแซม ทั้งนี้สหภาพฯ จะติดตามการทำงานของฝ่ายบริหารต่อไป โดยจะนัดประชุมกรรมการสหภาพฯ ขสมก.ในวันที่ 11 พ.ค.นี้

ด้านนางปราณี ศุกระศร รองผู้อำนวยการ ขสมก. ฝ่ายบริหาร กล่าวว่า ฝ่ายบริหารได้ส่งช่าง 26 คน ไปช่วยดูตามเขตการเดินรถ เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายงาน บริษัทฯ  อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและจัดทำเอกสาร ยืนยันว่าบริษัท อินทิราฯ  มีประสบการณ์ทำงานซ่อมรถโดยสาร และผ่านขั้นตอนการคัดเลือกมาถูกต้อง พร้อมให้ข้อเสนอที่ดีจึงเลือกมาทำงาน  เนื่อง จาก ขสมก.ได้แจ้งบริษัทเหมาซ่อมรถโดยสาร มาเสนอราคาแต่ไม่มีรายใดเสนอมา มีเพียงบริษัทอินทิราฯ เพียงรายเดียว และเสนอราคาต่ำกว่าบริษัทเดิมที่เคยทำงานให้ ขสมก.

(เดลินิวส์, 9-2-2554)

สถานการณ์ไทย-กัมพูชายังไม่กระทบการจ้างแรงงานกัมพูชา 70,000 คนในไทย

9 ก.พ. 54 -นายสุธรรม  นที ทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง เหตุการณ์ตึงเครียดตามแนวชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ว่า ล่าสุดยังไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ที่ขณะนี้มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 70,000 คน เช่นเดียวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวกัมพูชา ที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้วกว่า 50,000 คน เหลือประมาณ 20,000 ที่ ยังคงเดินหน้าต่อ โดยทางการกัมพูชาส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยกเว้นการจ้างแรงงานแบบเช้าไป-เย็นกลับ ตามแนวชายแดน ที่ยังหยุดชะงักเพราะด่านชายแดนปิด

อย่าง ไรก็ตาม ขอฝากย้ำเตือนไปยังนายจ้างรวมถึงชาวไทยทุกคน ให้ช่วยกันดูแลแรงงานกัมพูชาอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างทั้ง 2 ประเทศ กระทบกับความรู้สึกของคนจำนวนมาก ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน อย่าพูดจากดดัน หรือทำอะไรที่เป็นการสร้างสถานการณ์ เนื่องจากแรงงานอาจเกิดความเครียด และอาจทำอะไรอย่างไม่ยั้งคิดได้ โดยขอให้คิดว่าแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยในขณะนี้ ไม่มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(สำนักข่าวไทย, 9-2-2554)

ไต้หวันเล็งใช้บริการแรงงานไทย หลังยืดเวลาคัดเลือกแรงงานฟิลิปปินส์

9 ก.พ. 54 -ทาง การไต้หวันขยายระยะเวลาในการคัดเลือกแรงงานชาวฟิลิปปินส์และขู่จะ ห้ามเข้าไต้หวันจากความขัดแย้งที่ฟิลิปปินส์ส่งกลับชาวไต้หวันไปดำเนินคดีใน จีนรุนแรงขึ้น

เหตุความขัดแย้งทางการทูตเริ่มขึ้น เมื่อเดือนธันวาคมภายหลังจากที่ทางการ ฟิลิปปินส์จับกุมตัวชาวไต้หวัน 14 คน ในข้อหาเป็นแก๊งต้มตุ๋นฉ้อโกงทรัพย์สินซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและ ได้ส่งกลับไปดำเนินคดีในจีน แม้ไต้หวันคัดค้านหลายครั้งและต้องการให้ส่งตัวกลับมาดำเนินคดีในไต้หวัน

ข้อกำหนดใหม่ของไต้หวันมีผลบังคับ ใช้ทันที โดยขยายเวลาเป็น 4 เดือนสำหรับการคัดกรองแรงงานฟิลิปปินส์ที่จะทำงานในไต้หวัน จากปัจจุบันที่ใช้เวลาสูงสุด 12 วัน  นอกจากนี้ไต้หวันยังเรียกตัวแทนทางการทูตกลับจากกรุงมะนิลา รวมถึงขู่จะระงับแรงงานฟิลิปปินส์เข้าไต้หวัน  ทั้งยังเรียกร้องให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นหันไปใช้แรงงานจากไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย

(สำนักข่าวไทย, 9-2-2554)

จี้รื้อประกันสุขภาพ ยิ่งจ่าย-ไร้สิทธิ์

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และนักวิจัยเรื่องความแตกต่างสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพระหว่างระบบประกัน สังคมและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เปิดเผยว่า หลักประกันสุขภาพทั้งสองระบบของไทยเกิดความเหลื่อมล้ำ โดยระบบประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าหรือบัตรทองที่บริหารโดยสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีสิทธิประโยชน์ดีกว่าระบบประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทั้งเงื่อนไขการคุ้มครองที่สะดวกต่อผู้รับบริการมากกว่า มีสิทธิประโยชน์มากกว่า และมีการบริหารจัดการเฉพาะเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพดี กว่า จึงเกิดคำถามว่าทำไมผู้ประกันตนที่มี 9.4 ล้านคนในปัจจุบันต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่กลับได้สิทธิประโยชน์ด้อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่ต้องจ่ายเงิน

นพ.พงศธรกล่าวว่า งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 18 เดือน มีเนื้อหา 4 ด้าน คือ 1.สิทธิประโยชน์ 2.การบริหารจัดการ 3.กรณีศึกษา และ 4.ผล การรักษาทั้งสองระบบแตกต่างกันอย่างไร ขณะนี้มีข้อมูลเปรียบเทียบสิทธิ ประโยชน์ทั้งสองระบบ พบว่าแตกต่างกันหลายรายการ เช่น กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ประกันสังคมให้สิทธิไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี บัตรทองไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีโรคไตวายเฉียบพลัน ประกันสังคมคุ้มครองไม่เกิน 60 วัน บัตรทองคุ้มครองไม่จำกัดเวลา กรณีรักษาตัวแบบพักฟื้นและบริการหลังผู้ป่วย กลับบ้าน ประกันสังคมไม่คุ้มครอง บัตรทองคุ้มครอง กรณีทันตกรรม ประกันสังคมไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี บัตรทองไม่จำกัดจำนวนครั้ง และยังมีอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรคที่ แตกต่างกัน ประกันสังคมมี 81 รายการ บัตรทองมี 207 รายการ

กรณีการ บริการแพทย์แผนไทยและการ แพทย์ทางเลือก โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย โรคที่เกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคหืด วัณโรค เบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นต้น สิทธิประโยชน์ดังกล่าว ระบบประกันสังคมไม่มีการจัดการเฉพาะ ในขณะที่บัตรทองมีการจัดการเฉพาะ สำหรับกรณีผ่าตัดสมองเป็นรายการเดียวที่ ประกันสังคมมี แต่บัตรทองไม่มี นอกจากนี้ กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะได้รับสิทธิคุ้มครองรักษา แต่บัตรทองได้รับสิทธิทันทีที่ลงทะเบียน

นพ.พงศธรกล่าวว่า กฎหมายประกันสังคมเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2533 ช่วง นั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุม จึงถือว่าประกัน สังคมเป็นนวัตกรรมสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ก้าวหน้าของสังคม แต่เมื่อประเทศไทยมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ 2545 ที่ ดูแลคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เวลานี้กฎหมายประกันสังคมจึงล้า หลังและถึงเวลาแล้วต้องยกเครื่อง โดยขอเรียกร้องให้ผู้ประกันตนทั้ง 9.4 ล้าน คนช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่าต้องปรับปรุงระบบประกันสังคมอย่างไรให้ มีสิทธิประโยชน์ดีขึ้น เช่น การรักษาพยาบาลโรคต่างๆ และสิทธิประโยชน์ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงในชีวิต ระยะยาว การเพิ่มเงินบำนาญชราภาพและการให้กู้ยืม เป็นต้น

"สังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุ สปส.ควรจะเพิ่มเงินบำนาญชราภาพให้ มากขึ้น ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอแน่นอน จากการตรวจสอบตัวเลขค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลและคลอดบุตรเมื่อปี 2552 จ่ายให้โรงพยาบาล 28,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 64% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งควรที่จะนำเงินก้อนนี้มาบริหารจัดการให้ดีกว่านี้" นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเผย

น.ส.สา รี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากผู้ประกันตนได้รับสิทธิ ประโยชน์จากการรักษาพยาบาลด้อยกว่าบัตรทองที่ไม่ต้องเสียเงิน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น วันนี้ผู้ประกัน ตนถามตัวเองว่าเราจะจ่ายเงินไปเพื่ออะไร ทั้งๆ ที่บัตรทองก็ให้สิทธิประโยชน์มากกว่า ขณะนี้จึงได้ตั้งชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนเพื่อตรวจสอบการบริหารงานอย่าง ต่อเนื่อง และจะจัดเวทีสมัชชาผู้ประกันตนให้มาร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมกับเตรียมยื่นหนังสือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ในเร็วๆ นี้

นาง วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกันตนยังยินดีจ่ายเงินสมทบประกันสังคม แม้ว่าอาจจะมีสิทธิประโยชน์บางอย่างที่ด้อยกว่าบัตรทอง แต่ก็ยังคิดว่า ประกันสังคมดีกว่า การนำเสนอข้อมูลวิจัยครั้งนี้เป็นเรื่องดีที่กระตุ้นให้คณะกรรมการประกัน สังคมเร่งจัดหาสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่การโอนย้ายผู้ประกันตน 9.4 ล้าน คนให้เข้าไปรวมกับบัตรทองเป็นเรื่องยุ่งยากและที่ต้องใช้ระยะเวลา รวม ทั้งต้องให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วมตัดสินใจ จากการสอบถามแรงงานที่ถือบัตร ประกันสังคมก็รู้สึกเฉยๆ กับเรื่องนี้ เพราะข้อมูลในทางวิชาการกับข้อเท็จจริงอาจแตกต่างกัน

"ตอน นี้กฎหมายประกันสังคมฉบับร่าง ใหม่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ รัฐสภา เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานให้เป็นองค์กรอิสระ เปิดโอกาส ให้ตรวจสอบได้อย่างโปร่งใสและเพิ่มสิทธิประโยชน์ได้มากขึ้น" นางวิไลวรรณกล่าว

ด้าน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม บอกว่า ได้แจ้งให้กรรมการที่เป็นแพทย์ไปพิจารณาว่าสิทธิประโยชน์ข้อใดที่ยังด้อย กว่าบัตรทอง ก็ควรปรับเปลี่ยนให้ใกล้เคียงกัน ยังมีสิทธิประโยชน์อีกหลายเรื่องที่ไม่มีอยู่ในบัตรทอง ส่วนสาเหตุที่สิทธิประโยชน์ทั้งสองระบบมีความแตกต่างกัน เพราะโครงสร้างการบริหารงานไม่เหมือนกัน ระบบประกันสังคมจ่ายเงินให้โรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย ซึ่งแตกต่างจากบัตรทองที่รับผิดชอบโดยรัฐบาล ดังนั้น หากเห็นว่าสิ่งใดที่ปรับปรุงแล้วดีขึ้นก็จะทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

(ไทยโพสต์, 9-2-2554)

สหภาพแรงงานแม็กซิสร้องสื่อโดยลอยแพ-ชดเชยไม่เป็นธรรม

เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 9 กุมภาพันธ์ นายชัยรัตน์ บุษรา ประธานสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย นำลูกจ้างบริษัท แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิตยางรถยนต์ที่ จ.ระยอง และลูกจ้างบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ จ.ชลบุรี เดินเท้ามาร้องเรียนที่เครือเนชั่น โดยระบุว่าบริษัทแม็กซิสได้ปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จนถึงปัจจุบัน อ้างว่าเพื่อปิดซ่อมแซมจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นขอให้ยุติข้อพิพาทกับแรงงานเพื่อให้ได้กลับเข้าทำงาน

ส่วนบริษัทพีซีบี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2553 เวลา 21.30 น.เกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงทำให้พนักงานบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน หลังจากนั้นบริษัทประกาศจ่ายค่าจ้างให้พนักงาน 75% จนกว่าบริษัทจะปรับปรุงโรงงานเสร็จ และเปิดกิจการใหม่ภายในเดือนธันวาคม 2553 แต่การจ่ายค่าจ้างผิดนัดมาตลอด กระทั่งวันที่ 21 มกราคม ที่ผ่านมา บริษัทประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกคน แต่ไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้แก่ลูกจ้างกว่า 500 คน ดังนั้น ขอเรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 รวมทั้งให้รัฐบาลทบทวนนโยบายส่งเสริมการลงทุนกรณีนายทุนต่างชาติที่ไม่เป็น ธรรมกับลูกจ้าง

นางบุญสาน แคมติ อายุ 35 ปี พนักงานบริษัทพีซีบี ซึ่งสามีเสียชีวิตจากเครื่องจักรในโรงงานระเบิด กล่าวว่า ตั้งแต่สามีตายไป บริษัทปิดกิจการชั่วคราวจึงไม่ได้ทำงานมา 7 เดือนแล้ว มีเพียงเงินชดเชยกว่า 2,000 บาทต่อเดือน จึงมาร้องเรียนเรียกร้องบริษัทจ่ายเงินค่าชดเชย 6 เดือนที่ค้างไว้ เพื่อจะนำไปเป็นต้นทุนประกอบอาชีพอื่น

(คมชัดลึก, 10-2-2554)

ประกันสังคมดีเดย์ใช้ ม.40” รับวันแรงงาน

นาย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายประชาวิวัฒน์ 9 ข้อ ที่จะต้องจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้ามาสู่ระบบประกันสังคม มาตรา 40 โดยหารือในเรื่องของแผนงานและเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงวันที่จะเริ่มเก็บเงินสมทบ โดยจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 19-21 ก.พ.นี้ ซึ่งขณะนี้ยังรอการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ว่าควรจะเป็นวันใด

ขณะ เดี่ยวกันนั้นในส่วนของเจ้า หน้าที่ ก็จะมีการแยกกองออกไปต่างหาก โดยขณะนี้ได้ขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จำนวนทั้งสิ้น 470 อัตรา ซึ่งอยู่ในการรออนุมัติ ในส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กระทรวงแรงงานก็จะคืนสิทธิให้กับผู้ประกันตนด้วย

ทั้ง นี้ นายเฉลิมชัย กล่าวว่า โจทย์สำคัญที่กระทรวงแรงงานจะต้องทำจากนี้ คือ การทำการประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มแรงงานนอกระบบทั่วประเทศ รับรู้และเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้ได้มากที่สุด ซึ่งมองนโยบายให้สำนักงานประกันสังคมดำเนินการต่อไป และจะต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ เพราะหากการประชาสัมพันธ์ไม่เข้าถึงกลุ่มผู้สามารถใช้สิทธิ์ก็คงจะไม่เข้ามา สมัครกัน

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 10-2-2554)

เตือนคนนานระวงถูกตุ๋นไปทำงานสร้างโรงไฟฟ้า สปป.ลาว

นายเมธา  จันทร์ ยวง จัดหางานจังหวัดน่าน แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีบุคคลฉวยโอกาสไปชักชวนคนหางานในจังหวัดน่านไปทำงานที่ สปป.ลาว โดยอ้างว่าเป็นงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า จำนวน 44  ตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งซูเปอร์ไวเซอร์ จะได้ค่าจ้างวันละ 1,800 บาท โฟร์แมน วันละ 1,500 บาท  และคนงานทั่วไปแผนกต่าง ๆ จะได้ค่าจ้าง วันละ 480-1,450 บาท  สัญญาจ้าง  1 ปี โดยผู้สมัครจะต้องเสียค่าบริการเบื้องต้น 15,000 บาท ซึ่งเป็นการชักชวนให้หลงเชื่อและถูกหลอกได้ เนื่องจากค่าจ้างถือว่าสูงเกินความเป็นจริง  และสูงกว่าในประเทศไทยมาก

โดย ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน ได้สอบถามไปยังผู้ประสานงานของบริษัทบ้านปู เพาเวอร์ จำกัดประจำจังหวัดน่าน และได้รับการชี้แจงว่าโครงการโรงไฟฟ้าหงสานั้น เป็นการร่วมทุนของบริษัทบ้านปูเพาเวอร์ จำกัด  บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ของประเทศไทย และบริษัท Lao Holding State En-terprise (LHSE) ซึ่งเป็นวิสาหกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อร่วมจัดตั้งบริษัท Hongsa Power Company Limited (HPC) และบริษัท Phu Fai Mining Company Limited (PFMC) สำหรับดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าหงสาที่เมืองหงสา โดยมีข้อตกลงด้านแรงงานว่าต้องใช้แรงงานลาวร้อยละ 80 ที่เหลืออีกร้อยละ 20 เป็น แรงงานจากชาติอื่น รวมทั้งไทยด้วย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการเปิดประมูลให้มีการก่อสร้างแต่อย่างใด นอกจากการทำถนน และหากมีการจ้างแรงงานไทยไปทำงานดังกล่าวจริง จะต้องดำเนินการรับสมัครงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน เท่านั้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครแต่อย่างใด  และจะประกาศให้ทราบในโอกาสต่อไป

ดัง นั้น เพื่อป้องกันมิให้คนหางานถูกหลอกลวงไปทำงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในลาว หากพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าวขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน  เพื่อ ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน ภายในบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดน่าน โทรศัพท์  0-5471-6075 ในวันและเวลาราชการ

(เดลินิวส์, 10-2-2554)

เผยแรงงานไทยจ่ายค่าเหล้ามากกว่าเดือนละพัน

10 ก.พ. 54 - นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนงาน 4 บริษัท ในปี 2533 ได้แก่ 1.บริษัท วาไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) จ.นนทบุรี 2.บริษัท สเต็ปสโตนส์ จำกัด จ.ลำพูน 3.บริษัท ยางโอตานิ จำกัด จ.นครปฐม และ 4.หจก.อุตสาหกรรมผลิตยางไทยสิน จ.สมุทรสาคร จำนวน 604 ราย อายุระหว่าง 16-45 ปี พบว่าคนงานกว่าร้อยละ 80 มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน โดยร้อยละ 39.2 มีค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาบริโภคเป็นอันดับ 4 รองจากค่าใช้จ่ายค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าเบ็ดเตล็ด ตามลำดับ

ผลสำรวจพบว่า คนงานเกือบ 1ใน 4 หรือร้อยละ 24.4 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดื่มเหล้ามากกว่า 1,000 บาทต่อเดือน ขณะที่คนงานร้อยละ 17.5 โดย 3 อันดับยอดนิยม คือ เบียร์ สุรา และสุราพื้นบ้าน โดยเทศกาล เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เป็นช่วงที่มีการดื่มมากที่สุด ร้อยละ 84.2 รองลงมาการเป็นการเลี้ยงฉลองกับเพื่อน และดื่มกับคนในครอบครัว ในด้านพฤติกรรมการดื่ม คนงานเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30.4 ดื่มเป็นประจำทุกวันหลังเลิกงาน โดยคนที่ดื่มสุราแล้วทำร้ายคนในครอบครัว เป็นบางครั้งร้อยละ 8.6 ดื่มเป็นประจำ ร้อยละ 2.1 และที่ดื่มสุราจนมีผลกระทบต่อการทำงาน ไปทำงานไม่ไหวในวันถัดไป เคยเป็นบางครั้งร้อยละ 36.3 และ เป็นประจำร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ คนงานมากกว่าร้อยละ 60 ระบุว่าสามารถหาซื้อดื่มได้ไม่จำกัดเวลา และมีร้อยละ 57.7 ที่รู้ว่ามี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อใช้ในการจำกัดการดื่มและการจำหน่าย ลดปัญหาสังคม

(สำนักข่าวไทย, 10-2-2554)

พนักงานโรงกลั่น Esso ศรีราชา ชี้แจงกรณีพิพาทแรงงาน

 

พนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ชี้แจงกรณีข้อพิพาทแรงงานหลัง คนงาน 259 คน ทั้งระดับปฏิบัติการและระดับบังคับบัญชายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหาร

10 ม.ค. 54 – สืบเนื่องจากพนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา จำนวน 259 คน ทั้งระดับปฏิบัติการและระดับบังคับบัญชา ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อ ยื่นข้อเรียกร้อง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่ได้ให้สิทธิลูกจ้างในการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพ การจ้าง ต่อฝ่ายบริหาร ของบริษัท เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553 จำนวน 16 ข้อ ซึ่งได้มีการประชุมเจรจา เป็นทางการจำนวน 6 ครั้ง และนอกรอบอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งได้มีการเจรจาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2554 โดยตัวแทนฝ่ายบริษัทตอบปฏิเสธข้อเรียกร้องของพนักงาน ทั้งจำนวน 16 ข้อ ซึ่งข้อเรียกร้อง ทั้ง 16 ข้อของพนักงานประกอบด้วย

1.ให้บริษัทจัดหาเครื่องแบบการ ทำงาน รองเท้าเซฟตี้ อย่างน้อยปีละ 1 คู่ ชุดทำงานปีละ 3 ชุด และสำหรับพนักงานสำนักงานให้จ่ายเป็นค่าตัดชุด เท่ากับ ราคา ที่พนักงานฝ่ายผลิตได้รับ

2.ให้บริษัทจัดเงินสนับสนุนการ ศึกษาบุตรพนักงาน ตั้งแต่ระดับอนุบาล ปริญญาตรี ทั้งนี้บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปีและไม่เกิน จำนวน บุตรที่ได้รับสิทธิ ไม่เกิน 2 คน

3.ให้ บริษัทจัดเงินสวัสดิการ สำหรับค่ารักษาพยาบาล บุตร / สามี / ภรรยา พนักงาน ในกรณีค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโดยให้จ่ายตามจริง แต่ทั้งนี้ ไม่เกิน ครอบครัวละ 25000 บาท / ปี

4.ให้บริษัทปรับเงินช่วยเหลือ ค่าครองชีพ ทั้งระดับปฏิบัติการ และระดับบังคับบัญชา ร้อยละ 4.5 ต่อปี ของเงินเดือนมูลฐาน

5.ให้ บริษัทจ่ายเบี้ยขยัน ให้กับพนักงาน ที่มาปฏิบัติงาน สม่ำเสมอไม่ขาดงาน มาสาย หรือลาป่วย เว้นแต่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการทำงาน ในอัตราเดือนละ 3,500 บาท

6.ให้บริษัทจ่ายเงินค่าตอบแทน การทำงาน ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าอาหารพร้อมค่าเดินทาง ให้กับพนักงาน อัตรา 3 เท่า กรณีเหตุฉุกเฉิน ไฟไหม้ แก็สรั่ว หรือ หน่วยกลั่นมีปัญหา สำหรับพนักงานระดับบังคับบัญชา ที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลา มาทำงานในกรณีเหตุฉุกเฉินในอัตรา 8000 บาท        

7.ให้บริษัทกำหนดหลักการจ่ายเงิน ตามแผน ESP

8.ให้บริษัทจ่ายเงินได้พิเศษ อัตราจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 1 เท่าของเงินเดือนมูลฐาน พร้อมเงินบวกเพิ่มพิเศษ 1.5 แสนบาท

9.ให้บริษัท จัดของที่ระลึกสำหรับ รางวัลอายุงาน

10. ให้ บริษัท ยกเลิกการจ้างงาน คนงานเหมาค่าแรง คนงานรับเหมาช่วง โดยให้รับเข้าเป็นพนักงานประจำ ของบริษัท ในหน่วยงานดังนี้ หน่วยงานแผนก ซ่อมบำรุง ที่เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง ชั่วคราว พนักงานห้องแล็ปพนักงานแผนก คอมพิวเตอร์ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และเจ้าหน้าที่ประจำห้อง อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล

11.ให้บริษัท จ่ายเงินค่าเดินทาง ค่าที่พัก และเบี้ยเลี้ยง ในกรณี ที่ถูกสั่งให้ไปทำงาน ของบริษัท นอกสถานที่ ค่าเดินทางอัตรา 12 บาท / กิโลเมตร ค่าที่พัก จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 2500 บาท / คืน เบี้ยเลี้ยงวันละ 250 บาท

12.ให้บริษัทยกเลิก ระบบการสอบ Web Cat โดยให้นำการ สอบความรู้ ระบบ KU มาใช้แบบเดิม ในการปรับเลื่อนตำแหน่ง

13.ให้บริษัทปรับอัตราการขึ้นเดือนประจำปี ตามระดับผลงาน ผลงานพอใจ 7 % ผลงานดี 8 % ผลงานดีมาก 9 %

14.ให้บริษัทปรับอัตราตัวคูณ สำหรับเงินตามแผนรางวัลอายุงานในอัตรา 0.5 ทุกระดับของรางวัลอายุงานที่มีสิทธิเบิกได้

15.ให้บริษัท ปรับเพิ่มวันลาหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อ ทำงานครบ 20 ปีบวกเพิ่มหลังปีที่ 20 ได้ปีละ 1 วันแต่ไม่เกิน 25 วันต่อปี

16.ข้อเรียกร้องให้มีผลบังคับเฉพาะพนักงานที่ลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น

อนึ่งโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ศรีราชา ตั้งอยู่เลขที่ 118 ม.2 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 ส่วนสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 3195 / 17-19 อาคารเอสโซ่ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กทม.10110

โดยดำเนินธุรกิจ การกลั่นน้ำมัน และจัดจำหน่าย สินค้า ปิโตรเลี่ยม ครบวงจร ภายใต้สัญลักษณ์ ESSO และ Mobil -1 ทุนจดทะเบียน 17,110,007,246.71 บาท  ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกา ยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของพลังงานระดับโลก ภายใต้ บริษัท เอ็กซอนโมบิล ที่มีผลกำไร ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกมาตลอด มีจำนวน พนักงานทั้งหมด จำนวน 700 คน ประจำโรงกลั่นน้ำมันศรีราชา จำนวน 370 คน ที่เหลือ ประจำสำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ แยกเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการประมาณ 230 คน ที่เหลือเป็นพนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัทได้ดำเนินการธุรกิจด้านน้ำมัน ในประเทศไทย มายาวนาน มีกำลังการผลิตการกลั่นน้ำมันดิบ 177,000 บาร์เรล ต่อวัน

ซึ่งขณะนี้ได้มีการขยายการลงทุน มูลค่าเพิ่มอีก ประมาณ 15,000 ล้านบาท บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เมื่อปี 2551 โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นสูงสุดคือ บ.เอ็กซอน โมบิล อินเตอร์เนชั่นแนล 65.43% กระทรวงการคลัง 7.33 % และบริษัท ต่างชาติ 7.20 % ที่เหลือเป็นนักลงทุนรายย่อย ในตลาดหลักทรัพย์ ประมาณ 20.04 % ผลประกอบการในปี 2552 มีกำไรสุทธิ 4,450,564 ล้านบาท ซึ่งได้รับการรับรอง จากผู้สอบบัญชี เมื่อ 26 ก.พ.2553 หรือ สามารถดูได้ที่ www.esso.co.th

เซ็นทรัลปิดปรับปรุงกระทบลูกจ้างร้านค้าย่อย 3 พันคน

กรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยตัวเลขพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดปรับปรุงห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ยืนยันยังไม่มีการร้องเรียน แนะ ขอรับคำปรึกษาที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

นาง อัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ประกาศปิดปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน โดยจะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ว่า ปัจจุบัน บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด สาขาลาดพร้าว มีลูกจ้าง 368 คน แบ่งเป็นชาย 95 คน หญิง 273 คน ในส่วนของพนักงานขาย (PC) มีทั้งหมด 1,127 คน เป็นชาย 338 คน หญิง 789 คน และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีลูกจ้างทั้งหมด 178 คน เป็นชาย 42 คน หญิง 136 คน ส่วนของร้านค้าย่อยมี 147 แห่ง จำนวนลูกจ้างของร้านค้าทั้งหมด 3,033 คน เป็นชาย 1,318 คน หญิง 1,715 คน

ซึ่ง ในระหว่างที่ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลปิดปรับปรุงนั้น ในส่วนของพนักงานสำนักงานของบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด สาขาลาดพร้าว จะย้ายไปปฏิบัติงานตามสาขาต่างๆ เป็นการชั่วคราว จนกว่าห้างจะเปิดทำการ ส่วนพนักงานของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จะปฏิบัติงานตามปกติในสำนักงานชั่วคราว ของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว สำหรับพนักงานขาย (PC) แต่ละบริษัทจะจัดให้พนักงานไปปฏิบัติตามหน่วยงานอื่นๆ เป็นการชั่วคราว จนกว่าห้างจะเปิดทำการ

อธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรง งาน กล่าวอีกว่า ในส่วนร้านค้าย่อย ทางห้างฯ ดำเนินการหาพื้นที่ชั่วคราวตามสาขาต่างๆ และบางส่วนย้ายไปขายอยู่ห้างอื่นๆ เช่น ห้างสรรพสินค้ายูเนี่ยนมอลล์ และเมเจอร์รัชโยธิน อย่างไรก็ตามจนขณะนี้ยังไม่มีการร้องเรียนเกิดขึ้น แต่หากลูกจ้างเกิดความไม่แน่ใจกับสัญญาจ้างต่างๆ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือโทรสายด่วน 1546

อย่าง ไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามพนักงานในร้านค้าย่อยภายในห้างพบว่าหลายคน มีความกังวลเรื่องของรายได้ ซึ่งกลัวว่าลูกค้าจะลดลงเมื่อต้องย้ายไปที่อื่น และไม่มั่นใจว่าเมื่อห้างปรับปรุงเสร็จแล้วจะได้กลับมาขายเหมือนเดิมหรือไม่

(กรุงเทพธุรกิจ, 11-2-2554)

ทีดีอาร์ไอจี้เพิ่มสัดส่วนแรงงาน ปวช.ปวส.แก้วิกฤติขาดแคลน

ทีดีอาร์ไอ เสนอปฎิรูปการศึกษารอบสอง เร่งยกระดับคุณภาพพื้นฐาน ปรับโครงสร้างแรงงานที่แหว่งกลางผลิตสายวิชาชีพให้มาก เพิ่มสัดส่วนปวช.ปวส.ในตลาดแรงงาน  เชื่อม ผู้ประกอบการจัดหลักสูตรระยะสั้นเติมความรู้เฉพาะดึงคนรอยต่อจะเรียน หรือทำงาน รวมทั้งพวกว่างงาน/ทำงานต่ำชั่วโมงก็ต้องดึงกลับสู่ระบบการทำงาน แก้วิกฤติแรงงานขาดแคลน

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวในการประชุมประชาพิจารณ์ โครงการศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของ ประเทศ แผนปฏิบัติการในระดับกลุ่มจังหวัด ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ทีดีอาร์ไอทำการศึกษา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างผู้จบการศึกษากับผู้ที่ตลาด แรงงานต้องการในแต่ละระดับการศึกษา โดยทำการศึกษา 8 กลุ่มจังหวัด คือ ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนกลาง ภาคกลางตอนบน ภาคกลางตอนล่าง  จังหวัดฝั่งอ่าวไทย ภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง  โดยงานดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ

จากการศึกษาพบว่า มีความไม่สอดคล้องกันอย่างมากของการผลิตผู้จบการศึกษาในพื้นที่โดยเฉพาะใน ระดับ ปวช.,ปวส.,อุดมศึกษา(ป.ตรี/โท) จำนวนมากเกินกว่าความต้องการในพื้นที่จะดูดซับเอาไว้ได้ คนในส่วนที่เกินนี้จึงต้องไปหางานนอกพื้นที่  มีเพียงบางจังหวัดเท่านั้นที่มีสาขาที่มีอุปทานมากกว่าอุปสงค์ แต่โดยทั่วไปแล้วมักพบว่า  มี ความต้องการมากกว่าคนที่ผลิตได้ จะเกิดขึ้นในกลุ่มแรงงานระดับมัธยมลงมา แต่ที่ผลิตเกินคือแรงงานสายช่าง ปวช. ปวส. ขึ้นไป ซึ่งมีการใช้น้อยในระดับกลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีระดับการ พัฒนาต่ำ

สิ่ง ที่ขัดแย้งกันคือ หลายจังหวัดยังพบเห็นการขาดแคลนแรงงานระดับบนที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี แต่ในระดับปริญญาตรีนั้นมีมากเกินความต้องการ  ในแต่ละปีจึงมีผู้ว่างงานในระดับนี้ 8-9 หมื่นคน  สิ่ง ที่รัฐดำเนินนโยบายผลิตคนที่ผ่านมาจึงเป็นความไม่สอดคล้องกันทั้งในเชิง ปริมาณและเมื่อออกสู่ตลาดแรงงานก็ยังไม่สอดคล้องกับที่ตลาดแรงงานมีความต้อง การทั้งสาขาและจำนวน  อีกทั้งยังมีปัญหาเชิงคุณภาพด้านสมรรถนะพื้นฐาน (Core Competencies)และระดับวิชาชีพ (Functional Competencies) ที่จำเป็นในการทำงาน

ทั้ง นี้จากการประเมินคุณลักษณะพื้น ฐานของแรงงานเป็นรายอาชีพ เช่น ช่างซ่อมแอร์ ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรทั่วไป ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ พบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่พึ่งปรารถนาของแรงงานในเชิงคุณภาพที่นายจ้างทุกแห่งต้อง การ คือ การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม ไม่ก้าวร้าว มีมารยาท มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกที่ดี มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และความสามารถในการปรับตัว   แต่ สิ่งที่เป็นจุดอ่อนแรงงานช่างซ่อมบำรุงยังขาดอยู่มากคือ การมีจิตสำนึกในการบริการ การตรงต่อเวลา อดทน ความคิดสร้างสรรค์ ส่วนข้อดีคือเรื่องความสุภาพอ่อนโยน การมีมารยาท แต่เรื่องอื่น ๆ ยังต้องปรับปรุงอีกมาก  รวมทั้งทักษะการสื่อสาร ความรู้คอมพิวเตอร์และความรู้ภาษาอังกฤษ

ดร.ยง ยุทธ กล่าวว่า คุณลักษณะพื้นฐานในสาขาช่างที่ปรากฏเป็นผลสืบเนื่องมาจากคุณภาพการจัดการ เรียนการสอนที่ได้รับมาตลอดช่วงการศึกษาไม่ดีขาดการเอาใจใส่อย่างจริงจัง ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบแรงงาน  ความ ไม่สอดคล้องนี้เป็นความผิดพลาดจากอดีตที่ไม่มีการส่งเสริมให้มีการใช้ แรงงานสายช่างในสถานประกอบการ โดยผู้ประกอบการนิยมจ้างแรงงานสายสามัญมากกว่า เนื่องจากหาง่ายและคิดว่าเอามาฝึกทักษะเพียงเล็กน้อยก็ทำงานได้แล้วและใน ระยะยาวจะไม่มีแรงกดดันด้านค่าจ้างเหมือนจ้างแรงงาน สายช่างซึ่งมีเรื่องค่าวิชาชีพ และในระยะยาวแรงงานสายช่างจะปรับเงินเดือนได้มากกว่าสายสามัญ 3-4 เท่า

ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมา เราปล่อยให้การเรียนการสอนระดับปวช.ตกต่ำมามากกว่า 15 ปี ขาดความใส่ใจอย่างจริงจังจากฝ่ายบริหาร  การ ปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ผ่านมาเกือบจะไม่ได้ประโยชน์ในการที่จะเน้นไปที่ คนเรียนในสายช่างเลย ตรงนี้นับเป็นความผิดพลาดอย่างมากในการดูแลเรื่องระบบการศึกษาของชาติ

ดร.ยง ยุทธ กล่าวว่า หากหวังให้ภาคการผลิตเติบโต และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้มากกว่าที่เป็นอยู่ก็ควรจะใช้คน ที่มาจากสายวิชาชีพ แต่ปัจจุบันมูลค่าที่เพิ่มขึ้นมาจาการทำงานของคนที่ไม่ใช่สายวิชาชีพ ซึ่งคนเหล่านี้เมื่ออยู่ในภาคการผลิต(หรือโรงงาน)นานๆและในที่สุดต้องออกไป ก็จะกลายไปเป็นคนธรรมดาแต่อาจจะมีประสบการณ์ติดตัวจากสายงานผลิตที่เคยทำมา ในอดีตเท่านั้นซึ่งแทบจะไม่สามารถนำไปต่อยอดในการดำเนินชีวิตต่อไปได้ ต่างจากคนในสายวิชาชีพที่สามารถพัฒนาทักษะวิชาชีพจากการทำงานและสามารถนำ ประสบการณ์ไปต่อยอดการดำเนินชีวิตในอนาคตได้ดีกว่า

ตอน นี้เส้นกราฟโครงสร้างตลาดแรงงาน ที่เป็นอยู่มีลักษณะแหว่งกลาง คือ มีการใช้แรงงานที่มีการศึกษาในระดับมัธยมต้นหรือต่ำกว่าสูงมาก รองลงมาคือมัธยมปลาย ส่วนตรงกลางซึ่งเว้าไปอยู่ฐานรากมีการใช้น้อยที่สุดคือ ปวช.,ปวส. จากนั้นก็ขยับขึ้นไปที่ปริญญาตรีปริญญาโทเลย

ตลาดแรงงานในปัจจุบันมีสัดส่วนการ ใช้แรงงาน ปวช.เพียง 3% หรือ ราว 1.25 ล้านคนจากจำนวนแรงงานระดับปวช.ปวส.ทั้งระบบ 7%หรือประมาณ 2.5 ล้านคน  ซึ่งถือว่าน้อยมากและเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข  เป็นความผิดพลาดของประเทศ ที่ไม่ได้วางระบบให้มีการใช้คนสายช่างเป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศ  อีก ทั้งไม่มีการวางแผนระยะยาวว่าจะพัฒนาประเทศเติบโตไปทิศทางที่ต้องใช้คน สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร และควรวางแผนด้านการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรขึ้นมารองรับอย่างไร ฉะนั้นการปฏิรูปการศึกษารอบสองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จึงควรให้ความสนใจคน ในสายวิชาชีพ(สายเทคโนโลยี) เพื่อปรับสัดส่วนโครงสร้างแรงงานและการศึกษาที่จะมีความสอดคล้องกันมีพลังใน การพัฒนาประเทศได้มากขึ้น
 
ผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอให้ข้อเสนอแนะว่า การลดช่องว่างเพื่อสร้างความสมดุลให้กับโครงสร้างแรงงาน การศึกษา อาชีพ ได้นั้นจะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ   ยก ระดับอุปทานให้สูงขึ้นอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะคุณลักษณะพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อสามารถส่งต่อให้ตลาดแรงงานได้สอดคล้องกับความต้องการและตัวแรงงาน สามารถพัฒนาตนเองได้ด้วย โดยต้องมีการเชื่อมโยงการผลิตกำลังคนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสถาน ศึกษาและผู้ประกอบการในตลาดแรงงาน
 
ดร.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานแต่ก็ยังมีคนที่อยู่นอกระบบทั้ง กลุ่มว่างงานหรือทำงานต่ำชั่วโมงอีกเป็นจำนวนมาก  เรา ต้องพยายามนำคนเหล่านี้กลับเข้ามาทำงาน หรือคนที่ยังไม่จบ ปวช.ปวส.อยู่รอยต่อระหว่างจะเรียนต่อหรือทำงานให้ได้ทุกคน วิธีที่เสนอคือการจับคู่ระหว่างสถานศึกษากับสถานประการจัดทำหลักสูตรระยะ สั้นเพิ่มเติมความรู้ที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะ  ซึ่งเมื่อจบแล้วหากต้องการทำงานสถานประกอบการก็สามารถรับไปทำงานได้เลย

แต่ละปีมีผู้จบปวช.ราว 4-5 หมื่นคน และบางจังหวัดมีถึง 5 พันคน  คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เมื่อจบปวช. อายุยังไม่ถึง 18 ปี เมื่อไม่ได้เรียนต่อปวส.ก็มักจะหลุดออกจากระบบไป ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย  ตอนนี้เราขาดแคลนแรงงาน และมีกำลังแรงงานถดถอยลง ยิ่งต่อไปจะมีคนสูงอายุมากกว่าวัยทำงาน  เราต้องทำให้คนทุกคนที่เมื่อเรียนจบแล้วทำงานได้ สร้างประโยชน์ต่อไปได้
 
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่งานวิจัยนี้เสนอคือ ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในทุกมิติต้องสัมพันธ์กับความต้องการของตลาดแรง งาน  จึง ต้องเน้นความเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการหรือผู้ใช้และต้องทำให้คนในแต่ละ พื้นที่หรือกลุ่มจังหวัดรู้ว่าที่เขาอยู่มีแหล่งงานอะไรรองรับอยู่ที่ไหน บ้าง  หากทำให้แรงงานสามารถทำงานในพื้นที่ของตนเองได้ก็จะช่วยลดทอนปัญหาทางสังคม และปัญหาด้านอื่น ๆ ได้ด้วย.

(ฐานเศรษฐกิจ, 11-2-2554)

ศาลไม่รับคำร้องขอปล่อยตัวชาลี ดีอยู่

12 ก.พ. 54 - เมื่อเวลา 9.30 น. วันนี้ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ สภาทนายความได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปล่อยตัวนายชาลี ดีอยู่ เเรงงานพม่า บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน แต่กลับถูกจับกุมในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย เน่ืองจากเป็นกรณีที่นายชาลีถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยมีหลักฐานเเน่ชัดว่านายชาลีได้ขึ้นทะเบียนเเรงงานแล้ว โดยบัตรอนุญาตทำงานมีอายุถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 อย่าง ไรก็ตามหลังจากที่ได้หารือกับรองอธิบดีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอาญา กรุงเทพใต้ ผลคือ ศาลไม่สามารถรับคำร้องได้ โดยศาลชี้เเจงว่า เนื่องจากการเปิดทำการในวันเสาร์นั้น อธิบดีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้กำหนดระเบียบไว้ให้สามารถพิจารณาได้เฉพาะกรณี ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นคำร้องขอฝากขังเท่านั้น ประกอบกับศาลไม่มีเจ้าหน้าที่รองรับการดำเนินการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นศาลจึงขอให้มายื่นคำร้องอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 โดยศาลจะรีบดำเนินการให้โดยเร่งด่วน

ด้านนายวสันต์ พานิช ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ กล่าวว่า  "การ ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวเนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีิวิตเเละร่างกายอย่างร้ายเเรง ซึ่งคุณค่าของชีวิตเเละร่างกายนั้นเป็นสิ่งที่มีค่า ดังนั้นการถูกกักขังโดยไม่ชอบเเม้กระทั้ง 1 ชั่วโมงก็เป็นเรื่องร้ายเเรง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างเร่งด่วนตาม มาตรา 90 ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นสภาทนายความจะได้หารือกับศาลเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบต่อไป และในกรณีนี้หากนายชาลียังไม่ได้รับการปล่อยตัว สภาทนายความจะยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.00 น."

(ประชาไท, 12-2-2554)

คนงาน 2 บริษัทพักรอเจรจาคนงานฟูจิตสึมติสมทบร่วมอีก 1,000 กว่าคนวันนี้

10 วันแล้วที่ขบวนของคนงานเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนงาน ขบวนของคนงานเดินเท้าประมาณ 1,300 คน เข้ามาพักที่ บริษัทไม้อัดไทย จำกัด โดยการต้อนรับของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นอย่างดี ผู้แทนลูกจ้างเข้าเจรจาตัวแทนนายจ้างที่กระทรวงแรงงาน ไม่คืบ นายจ้างตัวจริงยังไม่เข้าเจรจา ส่งช็อดโน้ตคนนั่งอ่านในเวทีเจรจาแทนไร้อำนาจตัดสินใจ นัดเจรจาอีกครั่ง 16 ก.พ. ที่ปรึกษารมว.แรงงานฉุ่นเจรจาครั้งหน้าขอตัวจริงเสียงจริง

นายชัยรัตน์ บุษรา ประธานสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมการเจราจาร่วมกับ นายธานินทร์  ใจสมุทร นายพงศักดิ์  เปล่งแสง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุวิทย์  สุมาลา ผู้อำนายการสำนักแรงงานสัมพันธ์ นายวีรศิลป์  คุ ณูปถัมภ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานสำนักงานแรงงานสัมพันธ์ ได้มีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้แทนสหภาพแรงงานฯกับตัวแทนนาย จ้างบริษัท แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด  มานั่งอ่านข้อเสนอที่บริษัทฯได้ยื่นต่อตัวแทนคนงาน เพื่อขอลดสวัสดิการ ดังนี้

1.  ตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ จำนวน 20 ข้อ บริษัทฯเสนอขอใช้สภาพการจ้างเดิม ( ปี 2009/ปี 2552)
2.  เบี้ยขยัน เริ่มต้นที่ 500 บาทต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็นอีกเดือนละ 100 บาท จนถึง 900 บาทต่อเดือน
3.  ขอเปลี่ยนสภาพการทำงาน เป็น 3 กะ (จากเดิมทำงานเพียง 2 กะ คือ 08.00 -20.00 น. และ 20.00-08.00 น.)
4.  ตามข้อเรียกร้องของบริษัทฯ จำนวน 4 ข้อ บริษัทฯเสนอให้ลูกจ้างเลือก 2 ข้อ ดังนี้
3.1  เบี้ยการผลิต (เหมือนเดิม) 3.2  อายุข้อตกลง 3 ปี
3.3  ค่าเช่าบ้านจาก 800 บาท เหลือ 600 บาท 3.4  ยกเลิกค่ารถแต่จัดรถบริการให้แทน

ข้อ เสนอของบริษัทฯ (ประธาน) ในวันนี้ ถ้าไม่มีการตกลงในวันนี้ถือว่า ข้อเสนอนี้เป็นอันยกเลิก ซึ่งการเจรจาใดๆไม่เป็นผลเพราะตัวแทนบริษัทไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ

นาย พงศักดิ์ เปล่งแสง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการที่ได้เข้าร่วมการเจรจาของทั้งส่วนคนงานแม็กซิส และพีซีบี ในการเจรจาก็มีการพูดคุยกันไปมากพอควร แต่ติดปัญหาที่นายจ้างตัวจริงไม่มาเจรจาด้วยตนเองทำให้ยังไม่สามารถตกลงได้ ในส่วนของท่าทีตัวแทนเจรจาทั้งส่วนของนายจ้าง ลูกจ้าง ในส่วนแม็กซิส เมื่อปี 2552 ก็ มีการผู้คุยกันด้วยดีทั้งทีม แต่ตอนนี้อาจเป็นประเด็นปัญหาความไม่เข้าใจกัน ซึ่งคลาดว่าแก้ไขได้บนโต๊ะเจรจา ซึ่งอยากให้ในส่วนที่มีอำนาจตัดสินใจมาคุยกัน เช่นหากต้องการปรับสภาพการทำงาน ให้คนงานไปทำงาน 3 กะ ค่าจ้างจะจ่ายให้เขาอย่างไร เพราะเดิมคนงานมีรายได้กันร่วม 20,000 บาท ต่อเดือน การปรับสภาพการทำงานใหม่ไม่ควรทำให้คนงานได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าเดิมนาย จ้างเองก็ต้องตอบประเด็นนี้ด้วย เรื่องขอลดสวัสดิการคนงานการเจรจาส่วนนี้ต้องคุยกันในส่วนของผู้มีอำนาจ ตัดสินใจCEO ตัวจริงเสียงจริงมาคุยกัน

วันนี้คนงานได้หยุดพัก ร่วมกับองค์กรจัดกิจกรรมที่ทำร่วมกันตลอดทั้งวัน ทุกวัน ทบทวน เรียนรู้ ปรับขบวนร่วมกัน”  ผู้นำแรงงานหลายท่านได้เข้าไปตามกลุ่มเพื่อชี้แจง ตอบข้อซักถามของคนงาน หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมสันทนาการ โดยมีการจัดแข่งขันฟุตบอล 7 คน ซึ่งให้คนงานส่งทีมเข้าแข่งขัน เป็นการผ่อนคลาย แบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมกลุ่มทำงานร่วมกัน ทำอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนเพิ่มเติมจากเดิมเพื่อใช้ในวันต่อไป

โดย คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคุณกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ประสานงานกับเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมให้นำหน่วยรถพยาบาลจากโรง พยาบาลกล้วยน้ำไทยและโรงพยาบาลบางนามาบริการและอำนวยความสะดวกตรวจรักษา อาการเจ็บป่วยเบื้องต้นให้กับคนงานทั้ง 2 บริษัท

ทุก วันช่วงหัวค่ำถึงดึกคนงานไดรับ กำลังใจจากผู้นำแรงงานจากหลากหลาย พื้นที่ทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงานเอกชน ระดับแกนนำองค์กรแรงงาน นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน ทั้งการระดมทุนมาสนับสนุนในการเคลื่อนไหว และมีการพูดคุยให้กำลังใจ ในการเดินเท้าอีกครั้งในประวัติศาสตร์ของขบวนคนงาน รวมทั้งมีบทเพลงไพเราะจากกลุ่มนักดนตรีอิสระ ดนตรีแรงงาน ที่นำบทเพลงมาขับกล่อมให้คนงานได้ผ่อนคลายสลับกับการยืนยันเจตนารมณ์ จุดยืน ประสบการณ์ แนวทางต่อคนงานเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้กับสถานการณ์ของตนเองที่เป็นอยู่

เมื่อวันก่อนคุณกิมอัง  พงษ์นารายณ์ กลุ่มเกษตรกรและชาวนา ได้มาบอกเล่าสภาพปัญหาเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันว่าคน แก่อายุมากขนาดนี้แล้ว ทำนาไม่ไหว ในตอนนี้กำลังจะถูกยึดทรัพย์ ยึดที่ดิน ที่ทำกิน หลังจากที่เดินขบวนเสร็จสิ้นแล้วนั้น กลับบ้านไปคนแก่เข้าโรงพยาบาลหลายคน บางคนปวดขา บางคนเป็นโรคหัวใจ ชาวนามีอายุ 45-80 ปี วันนี้ปัญหาของชาวนากับปัญหาของแรงงานเป็นเรื่องเดียวกัน คือระบบทุน ชาวนาทำนาแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินกลับต้องเช่าที่ดินเพื่อทำนา เช่า 1 ไร่ต้องจ่ายค่าเช่าเป็นข้าว 20 ถัง ก็ไม่ต่างจากปัญหาของแรงงาน

นักสื่อสารแรงงานสอบถามต่อว่า ลูกหลานถูกละเมิดสิทธิและตกงานมีผลกระทบกับกลุ่มเกษตรกรและชาวนาอย่างไร? “กระทบ แน่นอน ลูกหลานส่วนใหญ่เป็นลูกของเกษตรกรและชาวนา เมื่อพ่อแม่ทำนาแล้วไม่มีเงินพอที่ใช้หนี้สิน ไม่พอสำหรับที่จะใช้จ่ายในครอบครัว ลูกก็ต้องออกมาหางานทำเพาะถ้าทำนาเหมือนพ่อแม่ก็จนเหมือนพ่อแม่ ลูกก็เข้ารับจ้างตามโรงงานในอุตสาหกรรมเป็นคนใช้แรงงาน เพาะต้องหาเงินมาช่วยเหลือพ่อแม่ ยามเจ็บป่วย หนี้สิน ล้วนต้องพึ่งเงินจากลูกทั้งสิ้น แม่ชาวนา ลูกแรงงาน”” คุณกิมอังกล่าว

คุณกิมอังกล่าวต่ออีกว่า ประเด็นคนงานเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯครั้งนี้? “นาน แล้วนะ การเดินเท้าเราจะได้คุยกับคนตลอดเส้นทาง มันเป็นการประชาสัมพันธ์ ทำให้สังคมรับรู้ความจริงที่เราถูกกระทำและละเมิดสิทธิ การถูกเอารัดเอาเปรียบ

รศ.ดร. ณรงค์  เพชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาพที่คนงานแม็กซิส และคนงานพีซีบีเดินทางวันนี้ทำให้นึกถึงเมื่อปี 2517 อดีตมีคนงานทอผ้าสมุทรสาครที่เดินเท้ามาชุมนุมที่สนามหลวง เพื่อเรียกร้องปรับค่าจ้าง ซึ่งใช้เวลาเดินเท้า 7 วัน จากนั้นมาก็ไม่เคยเห็นคนงานเดินประท้วงอีกเลย แม้หลายอย่างจะเปลี่ยนแปลง นั้นคือ การถูกเอาลัดเอาเปรียบ คนงานสมัยใหม่ ไม่ค่อยอ่านหนังสือ การที่เราไม่อ่านหนังสือจึงตามนายจ้างไม่ทัน นายจ้างมีการฝึกอบรม มีการแนะนำจากที่ปรึกษานายจ้าง ว่าจะเลิกจ้างอย่างไรไม่ผิดกฎหมายไม่มีนักรบคนไหนที่จะชนะสงคราม ถ้าไม่ศึกษาสงคราม

พร้อม ทั้งยังมีคุณชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ นายยงยุทธ เม่นตะเภา และพี่น้องสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ที่เข้ามาพูดคุยเยี่ยมเยือน พลัดเปลี่ยนกันมาทุกวัน ไม่นับพี่น้องผู้นำแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกที่อยู่โยงร่วมต่อสู้ ด้วยกัน ทำให้กำลังใจของคนงานแม็กซิสและพีซีบี ยังคงแข็งแรง พร้อมเดินเท้าต่อ เพื่อหาความยุติธรรม ซึ่งในวันนี้ คนงานฟูจิตสึ หลังจากที่ผู้นำแรงงานถูกศาลสั่งจำคุก 7 วัน และประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก รวบรวมเงินได้ 50,000 บาท เข้าประกันตัวผู้หญิงออกมาได้เพียง 2 คน ได้ขอมตินำคนงานมาสมทบเพิ่ม 1,000 กว่าคนในการเดินเท้าในวันใหม่จันทร์นี้แน่นอน

ทั้งนี้วันอาทิตย์นี้ ทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการจัดเวทีเสวนา ทวงถามสิทธิคนงานกับการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ที่บริเวณพื้นที่ชุมนุมโรงงานไม้อัดไทยบางนา กรุงเทพ ตั้งแต่เวลา 09.30-12.00 น. โดยมีนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย และผู้นำแรงงานร่วมหาทางออกวิพากษ์แนวทางการส่งเสริมการลงทุนที่ละเมิดสิทธิ แรงงานครั้งนี้

(นักสื่อสารแรงงาน, 12-2-2554)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net