Skip to main content
sharethis
ชาวบ้านต้านด่านใหม่สะเดา ชี้ถูกบิดเบือนเจตนา ยันคิดค่าต้นยาง 8 พันบาทไม่ใช่ใช้ต่อรองค่าชดเชย แต่ให้เห็นคุณค่าตั้งแต่เปิดกรีดยันตัดต้นขาย ร่วมเคลื่อนไหวพร้อมเครือข่าย คปสม.พบรัฐมนตรีสาทิตย์ 16 ก.พ.
 
 

นายสมนึก แสงช่วง
 
 
นายสมนึก แสงช่วง อายุ 66 ปี ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ตำบลสำนักขาม อำเภอ สะเดา จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 นี้ ตนพร้อมชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้อีก 39 ราย จากทั้งหมด 41 ราย จะนำเสนอประเด็นปัญหาของพวกตนเสนอต่อนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ทั่วประเทศ
 
นาย สมนึก กล่าวว่า พวกตนขอชี้แจงข้อมูลและให้ข้อเท็จจริงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการว่า พวกตนไม่ต้องการย้ายออกจากพื้นที่ ไม่ใช่ต้องการเรียกร้องค่าชดเชยต้นยางพาราต้นละ 8,100 บาท จนมีการเจรจาเหลือค่าชดเชยต้นละ 4,000 บาท ตามที่นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทวงมหาดไทยและสังคมในพื้นที่เข้าใจ
 
“เรื่อง นี้ถูกทำให้เข้าใจว่า พวกเราไม่พอใจค่าชดเชยต้นยางพารา เนื่องจากคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่มีนายอำเภอสะเดาเป็นประธาน จะให้ค่าชดเชยต้นยางพาราต้นละ 1,500 บาท คณะกรรมการให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบประเมินมูลค่าของต้นยางพารา ซึ่งชาวบ้านคำนวณได้ว่าตลอดอายุตั้งแต่เปิดกรีดจนถึงโค่นต้นขาย มีมูลค่ารวมเท่าไหร่ ชาวบ้านมีรายได้จากยางพาราวันละเท่าไหร่ ปีละกี่วัน ผลลัพธ์ออกมาเป็น 8,100 บาท ซึ่งไม่ใช่มูลค่าในการต่อรองค่าชดเชย เพียงแต่ต้องการคำนวณให้เห็นเป็นตัวเลข” นายสมนึก กล่าว
 
นายสมนึก เปิดเผยต่อไปว่า ตัวเลข 8,100 บาท คิดจากฐานราคายางพาราเมื่อปี 2552 คือ กิโลกรัมละ 50 บาท แต่ปัจจุบันราคายางพาราขึ้นถึงกิโลกรัมละ 160 บาทแล้ว ส่วนผลการเจรจาเหลือค่าชดเชยต้นละ 4,000 บาท นั้น ตนและชาวบ้านทั้ง 39 ราย ไม่มีใครรู้เรื่องว่า มาได้อย่างไร ใครเป็นผู้กำหนด
 
นายสมนึก เปิดเผยว่า สำหรับโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ มีเนื้อที่ 720 ไร่ มีผู้ครอบครองทำประโยชน์ 41 ราย แบ่งเป็น 60 แปลง ตนเข้ามาจับจองและทำกินเมื่อปี 2500 ต่อมามีการประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี 2507 ต่อมาราวปี 2533 รัฐได้มอบหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราว ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ(ครั้งที่ 1) หรือ สทก.1แก่ชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ไม่เหลือสภาพความเป็นป่า
 
ต่อมาในช่วงปี 2536 รัฐได้ยกเลิกเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วประกาศเป็นที่ดินปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) แต่หลังจากนั้นสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้อนุญาตให้กรมศุลกากร ใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องให้เกษตรกรผู้ถือครองที่ดินต้องยินยอมสละสิทธิ์ที่ดินให้กรมศุลกากร
 
นางเรณู ผิวทอง อายุ 45 ปี ชาวบ้านอีกรายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ เปิดเผยว่า ผู้ที่เสนอให้ค่าชดเชยต้นยางพาราต้นละ 4,000 บาท คือ นายเกชา เบ็ญจคาร นายกเทศมนตรีตำบลสำนักขาม ที่มาพบกับชาวบ้านบางราย ซึ่งต่อมากลายเป็นข้อต่อรองของคณะกรรมการ แต่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือ ต้องการทำกินอยู่ในที่ดินต่อไป เพราะหากมีการสร้างด่านแห่งใหม่ขึ้น พวกตนก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน พวกตนไม่ได้คัดค้านการสร้างด่านแห่งใหม่ แต่อยากให้ไปสร้างที่อื่น
 
นาง เรณู เปิดเผยว่า ชาวบ้านที่มีสวนยางพาราและสวนผลไม้อยู่ในเขตโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรแห่ง ใหม่ทั้งหมดไม่ต้องการย้ายออกไปไหน จึงไม่ต้องการเจรจาค่าชดเชยใดๆ ยกเว้นนายวรเพชร อิ่มประพันธ์ตรี ซึ่งเป็นนักธุรกิจขนส่งสินค้าและมีสวนยางพาราอยู่ในพื้นที่โครงการจำนวน 22 ไร่เศษ
 
นาย ชัชวัฒน์ ดิษโสภา ชาวบ้านอีกรายหนึ่งที่มีสวนยางพาราในพื้นที่โครงการก่อสร้างด่านศุลกากร สะเดาแห่งใหม่ กล่าวว่า ที่ตั้งด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากที่ดินตรงข้ามฝั่งประเทศมาเลเซียเป็นค่ายทหาร ทางการมาเลเซียไม่อนุญาตให้ก่อสร้างถนนเชื่อมกับด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่
 
นายชัชวัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552 นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงต่างประเทศ ได้ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากร โดยอ้างหนังสือกระทรวงต่างประเทศมาเลเซียที่ CM 160/2009 ลงวันที่ 25 กันยายน ค.ศ.2009 แจ้ง ว่า ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดาห์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับด่านพรมแดนสะเดาปัจจุบัน มีพื้นที่เพียงพอในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้โดยสาร ระหว่างไทยกับมาเลเซีย จึงไม่มีแผนที่จะพัฒนาด่านแห่งใหม่
 
นาย ชัชวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะเป็นที่มาของการสร้างเส้นทางนี้เชื่อมระหว่างด่านสะเดาเดิมกับด่าน สะเดาแห่งใหม่ กว้าง 100 เมตร ยาว 230 เมตร เพื่อให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางผ่านผ่านแดนทางช่องทางเดิม
 
ปัญหา อยู่ ระหว่างเจรจาจ่ายค่าผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยมีนายอำเภอสะเดา เป็นประธาน คกก. และนายด่านศุลกากรเป็นเลขานุการ ตามระเบียบทางราชการสามารถจ่ายค่าผลอาสิน ต้นยางในอัตราต้นละ ๑๕๐๐ บาท แต่ชาวบ้านขอ ๘๑๐๐ บาท คกก.ชุดดังกล่าวได้เจรจากับประชาชน ในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท
 
ความเห็น มท.๓ ถามว่า ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการให้ค่าชดเชยผลอาสินต้นยางในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท
 
นอ.สะเดาตอบ  ใช้ตามหลักการเจรจา
 
ความเห็น มท.๓ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชน และรัฐขอให้ คกก. การเจรจาชุดนี้ พิจารณาหลักเกณฑ์ในการ จ่ายค่าชดเชยดั้งนี้
 
สำรวจ จำนวนผู้ถือครองจำนวนเท่าไร กี่ไร่ ปลูกกี่ต้น อายุของต้นยางมีอายุกี่ปีใช้ประโยชน์กรีดยางมาแล้วกี่ปี การปลูกยางได้ขอเงินกองทุน สกย. หรือไม่ มาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชย เพราะหากไม่ใช้เกณฑ์ พิจารณาดังกล่าว กรมศุลกากร มีงบประมาณจ่ายค่าชดเชย เพียง ๙๒ ล้าน ซึ่งคำนวณเบื้องต้น คาดว่ามีต้นยาง ๔๘๐๐๐ ต้น หากจ่ายต้นละ ๔๐๐๐ บาท จะต้องหาเงินจ่ายค่าชดเชยผลอาสินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินประมาณ ๒๐๓ ล้านบาทเศษ
 
มท.3. จึงสั่งการให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองโดยใช้หลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมให้แล้วเสร็จภายใน มกราคม 2554โดยให้คำนึงถึงความเป็นธรรม และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปลูกยาง โดยให้ใช้มาตรการตาม กม. ควบคู่กับการเจรจาต่อรอง
 
๕. กรณีการแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งบริเวณด่านสะเดา
 
มท.๓ แจ้งผู้แทนกรมทางหลวงให้ไปศึกษาจัดทำเส้นทางมอเตอเวย์ สายด่วนสะเดา – บ้านพรุเตียว และประสาน คกก. สิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำเส้นทางเลี่ยงเมืองในการจราจร และขนส่ง สินค้าจากด่านสะเดาไปหาดใหญ่
 
๗. เรื่องด่านปาดังเบซาร์
 
มท.๓ สั่งการให้ผู้แทนกรมศุลกากรโดยส่วนการบริหารการพัสดุ ประสานกับประเทศจีน ในการจัดซื้อเครื่อง เอ็กซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ คร่อมทางรถไฟ และให้ขอใช้งบประมาณปี 2555 ให้ทัน กรอบระยะเวลา
 
ชาวบ้านด่านสะเดา
 
 
ข้อสั่งการ รมช.มท. ในที่ประชุม ติดตามการพัฒนาด่านชายแดนไทย มาเลเซีย
ในวันอังคารที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม กระทรวงมหาดไทย
 
มท.๓ แจ้งที่ประชุมทราบ
 
๑. เรื่อง ครม. มีมติเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.53 อนุมัติงบประมาณให้จัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรบ้านประกอบระยะที่ ๒ จำนวนเงิน  ๔๖  ล้านและ  มท.๓ ได้เสนอกระทรวงการคลังเพื่อขับเคลื่อนการก่อสร้างด่านสะเดา แห่งใหม่
 
๒. ในการเรียกประชุมวันนี้เนื่องจากการทำงานพัฒนาด่านชายแดนไทย-มาเลเซียทั้ง ๙ ด่าน มีความล่าช้า  ต้องการเร่งรัดการทำงานให้ขับเคลื่อน ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ต่างคนต่างทำ ต้องการให้เกิดการบูรณาการในการทำงานเข้าด้วยกัน
 
การติดตามความคืบหน้า
 
๓. นายด่านสะเดา รายงานความก้าวหน้าการปรับปรุงด่านสะเดา พื้นที่ ๑๙ ไร่
เพื่อ ใช้เส้นทางนี้เชื่อมระหว่างด่านสะเดา และด่านสะเดาแห่งใหม่ มีความกว้าง ๑๐๐ เมตรความยาว ๒๓๐ เมตร ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวน มีผู้เข้าไปลักลอบปลูกต้นกระถิน และ ทำรีสอร์ท ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
 
๔.ด่านสะเดา (แห่งใหม่)
 
นอ.สะเดารายงานที่ประชุมการ ก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ เนื้อที่ ๗๒๐ ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับประชาชน ที่เข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ สปก. โดยมีผู้ครอบครองทำประโยชน์ ๔๑ ราย แบ่งเป็น ๖๐ แปลง
 
ปัญหา อยู่ ระหว่างเจรจาจ่ายค่าผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยมีนายอำเภอสะเดา เป็นประธาน คกก. และนายด่านศุลกากรเป็นเลขานุการ ตามระเบียบทางราชการสามารถจ่ายค่าผลอาสิน ต้นยางในอัตราต้นละ ๑๕๐๐ บาท แต่ชาวบ้านขอ ๘๑๐๐ บาท คกก.ชุดดังกล่าวได้เจรจากับประชาชน ในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท
 
ความเห็น มท.๓ ถามว่า ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการให้ค่าชดเชยผลอาสินต้นยางในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท
 
นอ.สะเดาตอบ  ใช้ตามหลักการเจรจา
 
ความเห็น มท.๓ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชน และรัฐขอให้ คกก. การเจรจาชุดนี้ พิจารณาหลักเกณฑ์ในการ จ่ายค่าชดเชยดั้งนี้
 
สำรวจ จำนวนผู้ถือครองจำนวนเท่าไร กี่ไร่ ปลูกกี่ต้น อายุของต้นยางมีอายุกี่ปีใช้ประโยชน์กรีดยางมาแล้วกี่ปี การปลูกยางได้ขอเงินกองทุน สกย. หรือไม่ มาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชย เพราะหากไม่ใช้เกณฑ์ พิจารณาดังกล่าว กรมศุลกากร มีงบประมาณจ่ายค่าชดเชย เพียง ๙๒ ล้าน ซึ่งคำนวณเบื้องต้น คาดว่ามีต้นยาง ๔๘๐๐๐ ต้น หากจ่ายต้นละ ๔๐๐๐ บาท จะต้องหาเงินจ่ายค่าชดเชยผลอาสินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินประมาณ ๒๐๓ ล้านบาทเศษ
 
มท.3. จึงสั่งการให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองโดยใช้หลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมให้แล้วเสร็จภายใน มกราคม 2554โดยให้คำนึงถึงความเป็นธรรม และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปลูกยาง โดยให้ใช้มาตรการตาม กม. ควบคู่กับการเจรจาต่อรอง
 
๕. กรณีการแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งบริเวณด่านสะเดา
 
มท.๓ แจ้งผู้แทนกรมทางหลวงให้ไปศึกษาจัดทำเส้นทางมอเตอเวย์ สายด่วนสะเดา – บ้านพรุเตียว และประสาน คกก. สิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำเส้นทางเลี่ยงเมืองในการจราจร และขนส่ง สินค้าจากด่านสะเดาไปหาดใหญ่
 
๗. เรื่องด่านปาดังเบซาร์
 
มท.๓ สั่งการให้ผู้แทนกรมศุลกากรโดยส่วนการบริหารการพัสดุ ประสานกับประเทศจีน ในการจัดซื้อเครื่อง เอ็กซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ คร่อมทางรถไฟ และให้ขอใช้งบประมาณปี 2555 ให้ทัน กรอบระยะเวลา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net