Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ในโอกาสที่บุคคลที่ผมเคารพและรักท่านหนึ่งกำลังจะรับรางวัล “อมตะ” จากนายวิกรม กรมดิษฐ์ ผมเลยอดเป็นห่วงไม่ได้ว่าบุคคลท่านนี้จะตกเป็นเครื่องมือให้พวกกึ่งดิบกึ่ง ดีใช้งาน เลยเขียนจดหมายถึงท่าน และมีข้อมูลแนบท้ายดังนี้

“ผมไม่แน่ใจว่า ควรยินดีกับ...หรือไม่ที่ได้รับรางวัลอมตะที่มีมูลค่าสูงทีเดียวในปีนี้ ที่ไม่แน่ใจเพราะผมเห็นว่าบุคคลเจ้าของรางวัลคนนี้มีความ คิดเห็น และได้แสดงทัศนะอันน่าจะเป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยไว้ต่างกรรมต่างวาระด้วย กัน  

เท่าที่อ่านจาก ทัศนะของเขานั้น เขาเทิดทูนเพียงการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของสังคมที่รัฐกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ มีการลงโทษผู้ที่คิดต่างอย่างเฉียบขาด เขาไม่เห็นด้วยแต่อย่างใดกับสิทธิขั้นพื้นฐานประการต่าง ๆ ที่พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจะพึงมี ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการแสดงความเห็น การรวมตัวและการชุมนุม เขามองเป็นเรื่องบั่นทอนความก้าวหน้า (ทางเศรษฐกิจ) ของประเทศทั้งสิ้น เขาเกรงว่าการชุมนุมของคนบางกลุ่มเป็นเรื่องที่อาจนำไปสู่สงครามกลางเมือง ได้ และไม่เห็นชีวิตคนว่ามีคุณค่าใด ๆ (นอกจากคุณค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น) โดยเขาแสดงทัศนะว่าคนตาย “เพียง 89 คน ถือว่าจำนวนไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในต่างประเทศ”

ผมจึงเกรงว่าการต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่แสดงทัศนะเช่นนี้ เป็นเรื่องที่สร้างความไม่สบายใจอย่างยิ่งครับ ผมได้ลองรวบรวม ทัศนะของเขาบางส่วนที่ได้จากบทความซึ่งเขารวบรวมไว้ในเว็บ ไซต์ www.vikrom.net ของ เขาเองมาให้พี่จริงพิจารณา และขอฝาก...ด้วยครับ

ด้วยความเคารพ”

 

“นับตั้งแต่กรุงเทพฯมีการประท้วงโดยกลุ่มคนเสื้อเหลืองเมื่อ 4 ปีที่แล้วจนถึงกลุ่มคนเสื้อแดงในวันนี้ ทาให้นักลงทุนชาวต่างชาติไม่มาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ที่เป็นอุตสาหกรรม ใหญ่ๆ เช่นโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ ยางรถยนตร์ และอิเล็กทรอนิกที่มีมูลค่ารวมกว่า 6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้เพราะขาดความมั่นใจในเสถียรภาพของสังคมไทย จึงทาให้นักลงทุนเหล่านี้หันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ของเราโดยเฉพาะ เวียดนามที่มีความมั่นคงทางการเมืองสูงและค่าแรงงานต่า พร้อมกับมีน้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” (“การประท้วงเสื้อแดง” สถานี วิทยุกระจาย เสียงแห่งประเทศไทย 10/4/2010)

 

“ผมมองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั้นแล้วอดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้เลย ว่าคนไทยส่วนหนึ่ง อาจจะไม่คิดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบ้านเมือง ถ้าเกิดประเทศไทยเรานั้นเกิดสงครามกลางเมืองจริง ๆ ขึ้นมา เพราะความขัดแย้งและการปะทะกันครั้งที่ผ่านมานั้นแม้ จะมีผู้เสียชีวิตเพียง 89 คน ถือว่าจำนวนไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในต่างประเทศ แต่ผมก็เชื่อว่าเรื่องนี้มีโอกาสอย่างมากที่จะลุกลามบาน ปลายจนอาจจะนาไปสู่กลียุค เราคงต้องพบกับความสูญเสียอย่างประเมินค่ามิได้ หากคนไทยยังไม่รู้ว่าทุกวันนี้เรากาลังทาอะไรอยู่ และเราจะเดินหน้าไปทางไหน” (“สงครามกลางเมือง” สำหรับ คอลัมน์“มองโลกแบบวิกรม” หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ วันอำทิตย์ที่ 5 กันยำยน 2553) แสดงความเห็น เมื่อเสื้อแดงประกาศจะชุมนุม 19 ก.ย.53

 

ดังนั้นการที่ผมได้ข่าวว่าอาจจะเกิดความไม่สงบในวันที่ 19 กันยายนนี้อีก เลยทำให้ผมรู้สึกเป็นห่วงว่าจะเป็นการซ้ำเติมให้เศรษฐกิจที่จะเริ่มฟื้นตัว ขึ้น อาจจะได้รับผลกระทบจนกลับไปแย่เช่นช่วงที่ผ่านมา ปีนี้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะทุกประเทศไม่มีปัญหาความไม่สงบ เช่นประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ที่มีความมั่นคงทางสังคมมาก จนสิงคโปร์เป็นประเทศที่น่าลงทุน 1 ใน 5 ของโลก และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2010 ถึง 13% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ถึงแม้สิงคโปร์ จะมีพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทยถึง 94 เท่า อีกทั้งยังเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติใด ๆ เพียงแต่เป็นเมืองผ่านเท่านั้น แต่สิงคโปร์มีทรัพย์สินสำคัญอยู่ 2 ประการคือ ประชากรที่มีการศึกษามีคุณภาพและประเทศที่มีความสงบเรียบร้อยโปร่งใส หากประเทศไทยจะเกิดปัญหาในวันที่ 19 กันยายนนี้ ผมเป็นห่วงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในสังคม (ห่วงสถานการณ์ 4 ปีและ 4 เดือน” รายการสร้างบ้านแปลง เมือง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 15/9/53)

 

ทัศนะที่เทิดทูน สิงคโปร์ (ลีกวนยู) และจีน

“วิธีการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของเขานั้นมีหลายวิธีเช่นการแยกการ เมืองออกจากการบริหาร เศรษฐกิจ,การปฎิรูประบบราชการ,การเจรจากับกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ เช่น พ่อค้า นักลงทุน ข้าราชการ นักศึกษาและนักหนังสือพิมพ์ให้ช่วยกันสร้างชาติและทำโทษอย่างเด็ดขาดกับผู้ไม่ให้ความร่วมมือสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีโดย การตราพระราชบัญญัติที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน,การจัดระบบแรงงานให้มีความ มั่นคง, การสร้างหน่วยงานที่เอื้อประโยชน์ให้กับการพัฒนาอุตสหากรรม เช่นการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม หน่วยงานส่งเสริมการลงทุน นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมซึ่งถือว่า เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศเพื่อให้คนสิงคโปร์มีความสมัครสมาน สามัคคีและมีวัฒนธรรม อันดีงาม เช่นรณรงค์การกำจัดวัฒนธรรมต่างชาติที่ไม่พึงปรารถนาเช่น สั่งปิดโรงระบำโป๊ ห้ามตู้เพลง หนังสือโป๊และสมาคมลับต่างๆ, การส่งเสริมให้มีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นชาวสิงคโปร์มีความรัก ชาติ, เผยแพร่ภาพพจน์ของคนสิงคโปร์ยุคใหม่ว่าเป็นคนทำงานหนัก เคารพกฎหมาย มีความสุจริตใจ สุภาพ อ่อนโยนและยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน, ส่งเสริมการสร้างบ้านเมืองให้สะอาดและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อม เพื่อการบำรุงรักษาต้นไม้ ชักชวนให้ประชาชนอนุรักษ์ต้นไม้โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ๆ ให้รักษาเอาไว้, กฎหมายของสิงคโปร์มีการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเฉียบขาด, มีการจัดระบบผังเมืองที่ดี และมีการจัดระเบียบการใช้รถใช้ถนนอย่างมีประสิทธิภาพ” (ลีกวนยู  วิกรม กรมดิษฐ์)

 

“ผมว่าการที่เศรษฐกิจของจีนเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดนั้น ถือว่าเป็นผลมาจากระบบการปกครองอันมีเสถียรภาพของประเทศจีน แตก ต่างจากประเทศไทยของเราเหลือเกินที่เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีมีการทะเลาะ เบาะแว้งกันเป็นกีฬาสีที่ส่งผลให้บ้านเมืองวุ่นวาย” (“มองก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจของ จีน”)

 

ทัศนะของวิกรม ต่อเอ็นจีโอ

“8. เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็น จีโอบางกลุ่มอิงอยู่ กับผลประโยชน์เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน” (“จุด อ่อนของคนไทย”)

 
ที่มา: เฟซบุคของพิภพ อุดมอิทธิพงศ์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net