Skip to main content
sharethis

แรงงานไทยแฉนรกลิเบีย โหดร้ายทารุณ ถูกปล้นแคมป์-อดข้าว 3 วัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แรงงานไทยในลิเบียชุดแรก จำนวน 33 คน เดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ในเวลา 06.45 น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีบรรดาญาติแรงงาน และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานให้การต้อนรับกลับบ้านเกิด บรรยากาศเป็นไปด้วยความชื่นมื่น ทั้ง 33 คนที่เดินทางกลับมาชุดแรก เป็นการดำเนินการพากลับโดยนายจ้าง กระทรวงแรงงานได้ตั้งโต๊ะเพื่อให้แรงงานได้ลงทะเบียนข้อมูลประวัติ เพื่อจะให้การช่วยเหลือต่อไป เบื้องต้นนายยุพ นานา ผู้ช่วย รมว.แรงาน มอบเงินค่าเดินทางให้รายละสองพันบาทก่อนจัดส่งขึ้นรถตู้ ไปยังสถานีขนส่งหมอชิต พร้อมกันนี้ยังแนะนำให้แรงงานไทยไปยื่นคำร้องที่สนง.จัดงานหาจังหวัดเพื่อ รับเงินช่วยเหลือรายละ 15,000 บาท เผยโหดร้ายปล้นแค้มคนงาน นายคลองจันทร์ เป้าทอง 1 ใน 33 คนงานไทยในลิเบีย ที่เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ให้สัมภาษณ์ ว่า ตนทำงานอยู่ไซต์ติดสนามบินเบงกาซีเลย เห็นเหตุการณ์ตลอด เมื่อเกิดเหตุทางบริษัทบอกจะอพยพแต่ไม่ทัน เหตุการณ์ในเบงกาซีโหดร้ายมาก มีทหารจำนวนมาก มีการยิงปืนตลอด 4-5 วัน อยู่กันอย่างลำบาก ที่แคมป์คนงานโดนปล้นเสบียงไปหมด กินเท่าที่หาได้ เจอไก่ก็เอามาย่างกิน ไม่มีข้าว บางคนอดข้าว 2-3วันแล้วเพิ่งได้กินมื้อแรกที่สนามบิน ตอนนี้ตัวเองและเพื่อนคนงานหลายคนคิดว่าจะไม่กลับไปทำงานที่ลิเบียอีกแล้ว (แนวหน้า, 27-2-2554) แรงงานไทยจากลิเบียชุดแรกเข้ารายงานตัวกับจัดหางาน ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า ภายหลังจากที่แรงงานไทยที่ทำงานในประเทศลิเบียชุดแรก ของบริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำนวน 33 คน โดยสารสายการบินการ์ต้า แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ QR 612 ล่าสุดวันนี้ (27 ก.พ.54) นายศิริวัฒน์ คาบพิมาย ชาวอ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา หนึ่งใน 3 ของแรงงานของจังหวัดนครราชสีมา ที่เดินทางกลับมายังประเทศไทยในแรงงานชุดแรกของ 33 คน ได้เข้ารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่จักหางานจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเข้ารายงานตัวและยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์ จากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เนื่องจากภัยสงครามหรือปัญหาความไม่สงบ หรือภัยธรรมชาติ หรือเกิดโรคระบาด ซึ่งทางประเทศที่ตนเดินทางไปทำงานได้ประกาศกำหนดแล้ว ของให้กองทุนช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนรายละ 15,000 บาท นายศิริวัฒน์ คาบพิมาย อายุ 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 352 หมู่ที่3 บ้านละโว้ ต.ประสุข อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา เปิดใจกับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้ไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าในโรงงานแห่งหนึ่งของเมืองแมกกาซี ในประเทศลิเบีย ของบริษัทเอสเอ็นซี ลาวลิน จำกัดหมาชน ซึ่งตนได้ทำงานเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี โดยได้ค่าแรงเดือนละ 16,000 บาท ซึ่งตนจะส่งเงินมาให้ครอบครัวใช้ 3 เดือนครั้ง ครั้งละ 3-4 หมื่นบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าเงินบาท ซึ่งการที่ตนได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยในชุดแรกตนรู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามตนยังคงอดคิดเป็นห่วงเพื่อนแรงงานไทยที่ยังคงติดค้างอยู่ที่ ประเทศลิเบียไม่ได้ เนื่องจากเคยทำงานอยู่ด้วยกันมานานกว่า 2 ปี สำหรับจำนวนแรงงานไทยที่ยังคงตกค้างอยู่ในประเทศลิเบียมีจำนวนกว่า 400 คน ที่ยังต้องการให้รัฐบาลเร่งให้การช่วยเหลือเนื่องจากเสบียงอาหารที่แคมป์คน งานก็เริ่มหมดลงเนื่องจากได้ถูกลุ่มผู้ปะท้วงใช้อาวุธปืนเข้ามาปล้นไปเป็น จำนวนมาก ซึ่งการช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบีย ในครั้งนี้ ตนละเพื่อนแรงงานไทยทั้งหมด 33 คน ได้นั่งรถออกมาจากประเทศลิเบียผ่านด้าตรววจคนเข้าเมืองของประเทศอียิปต์แล้ว มุ่งหน้ามาที่สนามบินแต่เมื่อมาถึงสนามบินตนต้องตกใจเนื่องจากสนามบินได้ถูก ระเบิดทำลายเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ซึ่งตนต้องนั่งรถมายังที่สนามบิน อเล็คซันเดียบินมายังประเทศกาต้า แล้วจึงต่อเครื่องบินกลับมายังประเทศไทย (เนชั่นทันข่าว, 27-2-2554) 449 แรงงานหนีภัยลิเบียถึงไทยเพิ่ม 27 ก.พ. 54 ที่สนามบินสุวรรณภูมิ แรงงานไทยในประเทศลิเบียจำนวน 449 คน ได้เดินทางกลับเข้าประเทศเพิ่มเติม หลังเกิดจลาจล เป็นเหตุให้ไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิต ด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำ ท่ามกลางความดีใจของญาติๆที่มารอรับเป็นจำนวนมาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวผ่านทางรายการเชื่อมั่นประเทศไทย กับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่า ยังมีคนไทยในลิเบียตกค้างอยู่อีกจำนวน 2 หมื่นกว่าคน เบื้องต้นทางรัฐบาล ได้ทำการอพยพคนไทยออกมาจากพื้นที่อันตรายไม่ว่าจะเป็นทางเรือ ทางถนนบางส่วน นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการอพยพแรงงานกว่า 1,000 คน ให้มาอยู่ในประเทศที่ปลอดภัย ทั้งในอียิปต์ ตูนีเซีย ต่อจากนี้ ก็จะได้ประสานกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ และการบินไทย เพื่อส่งเครื่องบินไปอพยพคนไทยที่เหลืออยู่กลับมาประเทศไทย ทั้งนี้ ญาติสามารถแจ้งข้อมูล ความเป็นอยู่ไปได้ที่ กระทรวงการต่างประเทศ ผ่านทางสายด่วน ตลอดเวลา นอกจากนี้ ทางรัฐบาลต้องพิจารณาอนุมัติงบค่าใช้จ่ายที่จะทำให้อพยพคนไทยที่เหลือกลับมา ได้อย่างรวดเร็ว ด้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบีย ว่า หน่วยงานภาครัฐกำลังดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ขณะนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนคือการเร่งอพยพออกจากพื้นที่อันตรายให้ หมด ซึ่งได้มอบหมายให้โฆษกกระทรวงแรงงานเดินทางไปยังสาธารณรัฐตูนีเซีย เพื่อประสานงานกับสถานทูตไทยในประเทศลิเบีย ,กรุงโรม ประเทศอิตาลี ,กรุงมาดริด ประเทศสเปน รวมถึงประเทศใกล้เคียงกับลิเบีย เพื่อรองรับแรงงานไทยที่อยู่ในพื้นที่อันตราย อย่างเมืองเบงกาซี และเมืองทริโปลี ให้อพยพไปในที่ปลอดภัยก่อนระหว่างที่รอการกลับสู่ประเทศไทย โดยล่าสุดสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานไทยออกจากพื้นที่อันตรายได้แล้วกว่า 4,000 คน และเตรียมเคลื่อนย้ายเพิ่มอีก 5,000 คน ทางเรือไปพักที่อิตาลี ซึ่งเรือจะไปถึงลิเบียในเช้าวันที่ 28 ก.พ.นี้. (ไทยรัฐ, 27-2-2554) นายกฯ ยืนยันเร่งอพยพคนงานออกจากลิเบีย- อีก 3 ชุดถึง ปท.วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศลิเบียว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศเร่งประสานงานกับนายจ้างที่ประเทศลิเบีย ให้อพยพแรงงานไทยไปอยู่ในที่ปลอดภัยก่อน เนื่องจากยังเกิดการสู้รบในจุดที่จะอพยพผ่าน โดยล่าสุดแรงงานไทยไปอาศัยอยู่ในประเทศอียิปต์ และตูนิเซีย ทั้งนี้แนวทางที่ดีที่สุดคือการอพยพทางเครื่องบินและทางเรือน เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา แรงงานไทยชุดที่ 2 จำนวน 499 คน เดินทางกลับถึงไทยโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำ และช่วงบ่ายวันนี้เวลา 14.00 น. และ 18.30 น.จะเดินทางกลับมาถึงอีก (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-2-2554) เปลี่ยนแผนอพยพแรงงานไทยในกรุงทริโปลี 27 ก.พ. 54 นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ล่าสุด ได้เปลี่ยนแผนการอพยพแรงงานไทยในประเทศลิเบียข้ามทวีป เนื่องจากสถานการณ์ที่กรุงทริโปลี กำลังวิกฤตอย่างหนัก ส่งผลให้ไม่สามารถนำเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับแรงงานไทยจำนวน 223 คนได้ โดยเปลี่ยนเป็นการเช่าเหมารถเพื่อเดินทางไปยังชายแดนประเทศตูนีเซียแทน ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการเดินทางไปรับ 6 ชั่วโมง ขณะเดียวกันในจุดดังกล่าวจะมีแรงงานไทยเดินทางไปรอ จำนวนกว่า 2,000 คน ขณะที่มีแรงงานไทยจำนวน 1,300 คน เดินทางถึงประเทศอียิปต์แล้ว และกำลังเดินทางข้ามแดนมาเพิ่มอีก 800 คน ส่วนแรงงานไทยอีก 600 คน ที่เมืองเบงกาซี กำลังรอขึ้นเรือแต่ติดปัญหาการข้ามแดน ซึ่งสถานทูตไทยที่ตุรกีกำลังเร่งดำเนินการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามภาระกิจต่อไปในวันพรุ่งนี้จะเดินทางไปชายแดนประเทศลิเบียที่ เมืองซาซีดและเมืองรัชอาเดีย เพื่อรับแรงงานไทยอีก 242 คน ทั้งนี้จากการติดต่อกับแรงงานไทยผ่านโทรศัพท์ก็ได้รับทราบว่าแรงงานไทยทุกคน ปลอดภัย นอกจากนี้ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จะมีเรือไปรับแรงงานไทยที่กรุงทริโปลี ซึ่งกำลังประสานกับนายจ้างเพื่อพาแรงงานไทยออกมาขึ้นเรือในวันเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตามขณะนี้กองกำลังองค์การสหประชาชาต(ยูเอ็น) ได้มาประจำอยู่ที่ชายแดนประเทศลิเบียฝั่งที่ติดกับประเทศตูนีเซียแล้ว จึงอยากฝากถึงแรงงานไทยที่กระจัดกรัจายตามแคมป์ต่างๆ ให้รีบเดินทางที่ชายแดนดังกล่าว ตนและเจ้าหน้าจะช่วยประสานให้เข้าประเทศ เพื่อหาเที่ยวบินให้เดินทางกลับประเทศไทย (แนวหน้า, 27-2-2554) จบแล้ว!ฟูจิตสึ ลูกจ้างเฮ นายจ้างยุติ หลังจากตัวแทน 10กว่าคนถูกจำคุกในเรือนจำนับ 7 วัน ลูกจ้างฟูจิตสึเคว้ง ร่วมเดินกับคนงานแม็กซิส พิซีบี เฮเมื่อแกนนำถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 16 ก.พ. แต่ยังเจรจาหาข้อยุติไม่ได้ ใครดื้อระหว่าง ลูกจ้างกันนายจ้าง เมื่อต้องมีคำสั่งให้นายจ้างกลับเข้าโต๊ะเจรจานายจ้างเสนอตัวเลขเพื่อที่จะ ยุติข้อเรียกร้องเพราะไม่อยากปล่อยให้มีความเสียหายมากไปกว่านี้ หลังหันไปใช้ลูกจ้างเหมาค่าแรง นายจ้างจำเป็นที่จะต้องยุติ ลูกจ้างฟูจิตสึลาพี่น้องพิซีบี แม็กซิสกลับเข้าทำงาน 1 มีนานี้ 1. เงินโบนัส 4.2 เดือนเงินบวกพิเศษ 5,000 บาท 2. การปรับเงินเดือนตัดเกรด 3% – 5% เงินบวกพิเศษ 250 บาท 3. ค่าฌาปนกิจศพ พนักงาน 10,000 บาท บิดา,มารดา,บุตร,สามีและภรรยา 5,000 บาท 4. ค่าสุขภาพพนักงานเชื่อมเดือนละ 200 บาท 5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5% ทุกคน ค่าจ้างจะเริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2554 พนักงานจะต้องกลับไปรายงานตัวในวันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ทุกคน แต่จะเข้าทำงานกี่คนนั้นต้องดูก่อน เพราะจะต้องมีการถ่ายเทคนงานออก คนงานที่ถูกถ่ายเทออกคงจะต้องเป็นพนักงานที่มีสัญญาการจ้างงานชั่วคราวแน่ นอน! โบนัส 4.2 เดือน รับวันที่ 7 มีนาคม 2554 ส่วนเงินบวกพิเศษ 5,000 บาท รับ 1 สิงหาคม 2554 ข้อตกลงมีอายุสัญญา 2 ปี วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ชุมนุมหน้ากระทรวงแรงงานได้ทำพิธีอำลาให้กับฟูจิตสึที่ได้จบข้อเรียกร้อง และกลับเข้าทำงานโดยการประสานมือและร่วมส่งใจ เป็นกำลังใจกันและกันทั้งที่จบและยังไม่จบ ทั้ง 3 โรงงาน ฟูจิตสึ พีซีบี และแม็กซิส ต่างประสานมือ ประสานใจ เพื่อที่จะสู้กันต่อไป มีทั้งคราบน้ำตา รอยยิ้ม โอบกอดกันเพื่อถ่ายทอดแสดงถึงความรัก ความสามัคคี ความเป็นพี่เป็นน้อง ความผูกพันที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์เดียวกัน นั้นคือการถูกละเมิดสิทธิ การถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกกดขี่ข่มเหง การจ้างงานราคาถูก ส่วน ของ MAXXIS การเจรจาไม่คืบหน้า เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 14.00-16.30 น. ได้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน โดยมี นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานในการไกล่เกลี่ย ซึ่งผลการไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้แทนสหภาพแรงงานฯเสนอไม่เจรจาเวลาการทำงานจาก 2 กะ เป็น 3 กะ เนื่องจากมีรายได้ลดน้อยลง ขอให้ใช้สภาพการจ้างเดิม ยกเว้นเรื่องใดที่เคยตกลงกันได้แล้วก็ให้เป็นไปตามนั้น และเสนอให้พนักงานประนอมฯใช้อำนาจของรัฐในการยุติปัญหาข้อพิพาทแรงงานดัง กล่าวเนื่องจากการเจรจาไม่ได้ผลแล้ว 2. ผู้แทนบริษัทฯ แจ้งว่ายินดีรับลูกจ้างทุกคนกลับเข้าทำงานในสภาพการจ้างเดิม ส่วนการเจรจาตามข้อเรียกร้องให้ดำเนินต่อไปจนกว่าจะได้ข้อยุติ และจะนำข้อเสนอของลูกจ้างข้างต้นไปเสนอผู้บริหารต่อไป และจะแจ้งผลในการเจรจาครั้งต่อไปในวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.30 น. พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานนัดทั้ง สองฝ่ายเจรจากันอีกครั้งต่อไปในวัน จันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม สำนักแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร หลังจากที่คนงานของบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัดได้เข้าไปตรวจสอบกับผู้บริหาร ธ.กรุงเทพฯแล้วนั้นก็ได้รับคำตอบและการบริการเป็นอย่างดีจากผู้บริหาร ธ.กรุงเทพฯ และได้เงินจำนวน 6.5 ล้านบาทแล้วอยู่ในบัญชีของเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดชลบุรี ในส่วนของกองทุนสงเคราะห์ที่มาช่วยเหลือลูกจ้างก่อนเป็นจำนวนเงิน 12,800,000 บาท โดยประมาณ และได้ตั้งคณะทำ งานเพื่อติดตามเงินส่วนที่เหลือ ซึ่งยอดจริงๆที่ลูกจ้างจะได้รับมีค่าชดเชย/ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้าง ค้างจ่ายเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 61,948,323.94 บาท หากได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์แล้วจะเหลือ 48,611,245 บาท และหัก 6.5 ล้านบาทออกก็คงเหลือ 42,111,245 บาท ซึ่งนายจ้างตัวจริงต้องออกมารับผิดชอบ คือ นายอภิชาต วิลาศศักดานนท์ นายสุรพงษ์ เกียรติยศนุสรณ์และบริษัท สหพัฒน์อินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด คณะทำงานเพื่อติดตามผลการดำเนินการบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้ 1. นายอิทธิพล แผ่นเงิน ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานสัมพันธ์ ประธานคณะทำงาน 2. นายสุภัทน์ กองเงิน ตำแหน่ง นิติกรชำนาญการ คณะทำงาน 3. นายประกอบ พรหมสงค์ คณะทำงาน 4. นายสมศักดิ์ สุขยอด คณะทำงาน 5. นางรุ่งนภา ศรีเกิด คณะทำงาน 6. นายสมภพ มาลีแก้ว ตำแหน่ง นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ คณะทำงาน 7. นายศิริชัย จันทรสิงห์ ตำแหน่ง นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ เลขานุการคณะทำงาน โดยให้คณะทำงานฯ ดังกล่าวนั้น มีอำนาจ ให้คำปรึกษา สนับสนุน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ ติดตามผลดำเนินการ นักสื่อสารแรงงานได้ถามคนงานว่า ตอนนี้มีความรู้สึกอย่างไร? นายประกอบกล่าวว่า “ตอน แรกเหมือนมีพันธะ ตราบาป กลัวว่าเพื่อนคนงานจะไม่ได้อะไรถ้าตัดสินใจมาสู้กับเรา แต่วันนี้เหมือนได้ปลดโซ่ตรวนในใจไปแล้วเส้นหนึ่ง แต่ผมไม่เคยคิดว่ามันเป็นความสำเร็จนะ ถ้าตราบใดที่นโยบายของรัฐยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนามากไปกว่านี้ ไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง จากอดีตจนถึงปัจจุบันปัญหาก็ยังเดิมๆซ้ำซาก” นักสื่อสารแรงงานถามต่ออีกว่า ส่วนของเงินที่เหลือจะติดตามจากนายจ้างได้อย่างไร? ในฐานะที่ผมเป็นคณะทำงานเพื่อติดตามผล ผมจะหาทางหามาให้ครบให้ได้ จากการประเมินจากทรัพย์สินของบริษัทฯน่าจะมีเหลือประมาณ 20 ล้านกว่าบาทได้ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มกับออเดอที่นายจ้างโยกไปทำที่อื่นน่าจะได้ถึง 50% นายประกอบกล่าว (นักสื่อสารแรงงาน, 27-2-2554) คนงานฮิตาชิโกบอลยุติการผละงานประท้วงหลังเจรจาลงตัว 26 ก.พ. 54 - ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเหตุพนักงานบริษัทฮิตาชิโกบอล สโตเรจเทคโนโลยี(ประเทศไทย)จำกัด ในเขตนิคมอุตสาหกรรม 304 หมู่ 7 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กว่า 500 คนชุมนุมประท้วงเรียกร้องเงินค่าตอบแทนและสวัสดิการจากทางบริษัทระหว่างวัน ที่ 25 -26 ก.พ. โดยปิดถนนหน้าปากทางเข้า-ออก ไม่ให้รถวิ่งผ่านเข้า-ออกได้ เหลือช่องการจราจรรถวิ่งได้เพียงทางเดียวและ ทางอำเภอศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรีได้สั่งให้ปิดโรงงานชั่วคราว เนื่องจากในช่วงกลางคืนมีกลุ่มพนักงานบางส่วนดื่มสุราพร้อมเผาป้ายผ้า ขวดพลาสติก พร้อมขว้างขวดเหล้าเบียร์เข้าในบริษัท ต่อเนื่องตั้งแต่เช้านี้ ถึงเวลา 14.00 น. พนักงานอีกกว่า500 คนยังปักหลักเรียกร้องหน้าบริษัทฯพร้อมเปิดเครื่องขยายเสียงติดรถยนต์ เต้นรำสนุกสนาน บางส่วนยังมีการนำสุรา-เหล้าเบียร์ดื่มกินต่อเนื่องเพื่อเรียกร้อง โดยได้มีการจัดตัวแทนชุดใหม่ รวม 10 คน เป็นแกนนำ เข้าเจรจากับนายนคร ตั้งสุจริตพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหารฯ โดยมีนายนิรุช ศรีสัวสดิ์ นายอำเภอศรีมหาโพธิ ,พ.ต.อ.นิทัศน์ สะสิวงศ์ ผกก.สภ.ศรีมหาโพธิ พ.ต.ท.สมบัติ พอดี รอง ผกก.สภ.ศรีมหาโพธิ นายอภิญญา สุจริตตตานันท์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปราจีนบุรี และนายประภาส ศิริปิ่น นักวิชาการแรงงานชำนาญการ จ.ปราจีนบุรีร่วมไกล่เกลี่ย-รับฟัง กลุ่มพนักงานได้ยื่นข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย 1.พนักงานที่กระทำผิด / ใช้ความรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหาย ทางบริษัทจะไม่เอาผิดระเบียบวินัยในทางแพงและทางอาญา 2.สำหรับข้อเรียกร้องข้อ 5 ,6,7,8 (คือเปลี่ยนเบี้ยขยันขั้นต่ำจาก500บาทเป็น700บาท ,เปลี่ยนเบี้ยขยันขั้นสูงจาก 700บาท เป็น900บาท,เปลี่ยนแปลงเงินพิเศษจากเดิมมาเป็น ค่าแรง บวกโอทีบวกค่าอาหารโอที.บวกค่าอาหารกะเอ กะบีหรือกะซีคูณ3 และเปิดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยมีข้อแม้ตายตัวคือ พนักงานที่มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป ต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทาง ฝ่ายบริหารฯรับที่จะนำเสนอผลักดัน และแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วันทำการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.54 นี้ เมื่อทราบผลการรับข้อเสนอฝ่ายพนักงานพอใจสลายการชุมนุมไปในที่สุด นายนิรุช ศรีสวสดิ์ นายอำเภอศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า พนักงานผู้ชุมนุมได้สลายการชุมนุมเมื่อเวลา 15.25 น. โดยสรุปการเจรจาของตัวแทนพนักงานฯ กับผู้บริหาร สรุปคือ บริษัทฯจะไม่เอาผิดกับพนักงานผู้ชุมนุมทั้งในวันที่25,26ก.พ. นี้ทั้งทางแพ่งและอาญา และให้สวัสดิการตามที่พนักงานเรียกร้องนายนิรุช กล่าว (เนชั่นทันข่าว, 26-2-2554) ก.แรงงานอพยพแรงงานพท.อันตรายลิเบียก่อน ล่าสุดอพยพแล้ว 4,000 คน 27 ก.พ. 54 - นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยจากประเทศลิเบีย ว่า จากการหารือกับ นายโอภาส จันทรทรัพย์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำลิเบีย ในการช่วยเหลือแรงงานไทย ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศลิเบีย เห็นพ้องกันว่า ควรอพยพแรงงานไทยในพื้นที่อันตรายก่อน ส่วนแรงงานไทยที่ทำงานในเมืองทางตอนใต้ของลิเบีย ควรทำงานตามปกติ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีการสู้รบ สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยจำนวนแรงงานไทยทางตอนใต้ของลิเบีย มีมากกว่าครึ่งของจำนวนแรงงานไทยทั้งหมดในลิเบีย ทั้งนี้ ไม่อยากให้แรงงานไทยที่ไม่ได้รับผลกระทบ ใช้โอกาสนี้กลับประเทศไทย เพียงเพราะเห็นว่า รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการกลับประเทศ เพราะมีแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจริงจำนวนมาก ที่รัฐบาลควรเร่งให้การช่วยเหลือก่อน สำหรับยอดการอพยพแรงงานไทยออกนอกพื้นที่อันตรายในลิเบีย ได้ดำเนินการช่วยเหลือแล้วกว่า 4,000 คน จากจำนวนแรงงานที่ต้องอพยพกว่า 10,000 คน ซึ่งขณะนี้ กำลังทยอยอพยพออกจากลิเบียใน 4 เส้นทาง คือ ชายแดนประเทศอียิปต์ ชายแดนประเทศตูนิเซีย ท่าเรือเมืองเบงกาซี และท่าเรือกรุงทริโปลี ขณะที่ยอดการเดินทางกลับประเทศของ แรงงานไทย ตั้งแต่เมื่อวานนี้จนถึงขณะนี้ มีจำนวน 499 คน ส่วนในเวลา 14.00 น. และเวลา 18.30 น. ไม่มีการเดินทางกลับของแรงงานไทย โดยในวันพรุ่งนี้ จะมีแรงงานไทยอีกจำนวน 31 คน เดินทางกลับในเวลา 06.00 น. ด้วยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 974 (ไอเอ็นเอ็น, 27-2-2554) โฆษก ก.แรงงาน แนะแรงงานอพยพไปทางชายแดนตูนิเซีย 27 ก.พ. 54 - โฆษกกระทรวงแรงงาน ยืนยันแรงงานไทยในลิเบียยังปลอดภัย เผยสถานการณ์ล่าสุดกรุงตริโปลียังวิกฤติหนัก ส่งเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับไม่ได้ ขณะที่เรือโดยสารถึงตริโปลีวันจันทร์นี้ พร้อมแนะแรงงานไทยที่ยังอยู่อย่างกระจัดกระจายอพยพไปทางชายแดนตูนิเซีย นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน ในฐานหัวหน้าคณะช่วยเหลือแรงงานไทยในประเทศลิเบีย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ ณ กรุงตริโปลี กำลังวิกฤตอย่างหนัก ส่งผลให้ไม่สามารถนำเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับแรงงานไทยที่ยังติดค้างอยู่ จำนวน 223 คนได้ โดยเปลี่ยนเป็นการเช่ารถเพื่อเดินทางไปยังชายแดนประเทศตูนิเซียแทน ซึ่งในจุดดังกล่าวมีแรงงานไทยเดินทางไปรออยู่ตามชายแดน จำนวนกว่า 2,000 คน ขณะที่แรงงานไทยอีกกว่า 1,300 คน ได้เดินทางถึงประเทศอียิปต์แล้ว และกำลังเดินทางข้ามแดนมาเพิ่มอีก 800 คน ส่วนแรงงานไทยจำนวน 600 คน ที่เมืองเบนกาซี กำลังรอขึ้นเรือแต่ติดปัญหาการข้ามแดน โดยสถานทูตไทยที่ตุรกีกำลังเร่งดำเนินการช่วยเหลือ นายสุธรรม ยังเปิดเผยด้วยว่า ในวันนี้ตนจะเดินทางไปเมืองซาซีด และเมืองรัชอาเดีย ชายแดนประเทศลิเบียเพื่อรับแรงงานไทยจำนวน 242 คน ที่ยังติดค้างอยู่ ส่วนแรงงานที่ในแคมป์อื่น จากการติดต่อกับผ่านทางโทรศัพท์ล่าสุด ได้รับการยืนยันว่าแรงงานไทยทุกคนปลอดภัย ขณะที่ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ เรือโดยสารที่จะไปรับแรงงานไทยจากกรุงตริโปลีลำแรก เพื่อเดินทางไปยังประเทศตูนิเซียจะมาถึง ซึ่งตนและเจ้าหน้าที่กำลังเร่งประสานกับนายจ้างเพื่อพาแรงงานไทยออกมาขึ้น เรือให้ทันเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กองกำลังทหารขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ได้มาประจำอยู่ที่ชายแดนประเทศลิเบียฝั่งที่ติดกับประเทศตูนิเซียแล้ว จึงอยากฝากถึงแรงงานไทยที่อยู่กระจัดกระจายตามแคมป์ต่างๆ ให้รีบเดินทางที่ชายแดนดังกล่าว ตนและเจ้าหน้าที่จะช่วยประสานให้เข้าประเทศ เพื่อหาเที่ยวบินให้เดินทางกลับประเทศไทยโดยเร็วที่สุด (สำนักข่าวไทย, 27-2-2554) แรงงานต่างด้าวระนองกว่า 2 หมื่น แห่ซื้อบัตรประกันสุขภาพ นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผย \ผู้สื่อข่าว\" ว่า ขณะนี้จังหวัดระนองมีผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวเช่น สามี ภรรยา บุตร พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เข้ามาอาศัยในจังหวัดระนองเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงทางสุขภาพแก่ผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองจึง เปิดจำหน่ายบัตรประกันสุขภาพแก่ผู้ติดตาม แรงงานต่างด้าว ซึ่งมีหลักเกณฑ์ คือ ตรวจสุขภาพในผู้ติดตามที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เสียค่าตรวจสุขภาพคนละ 600 บาทและค่าบัตรประกันสุขภาพคนละ 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net