Skip to main content
sharethis

 
 
 
 
6 มี.ค.54 สืบเนื่องจากกรณีที่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ ซึ่งเป็นขบวนการของเกษตรกรและคนจนเมืองที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือได้รับผลกระทบอันเลวร้ายจากนโยบายการพัฒนาประเทศ ราว 6,000 คนได้ ปักหลักชุมนุมบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากนโยบายของภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านได้มีการจัดเวทีเจรจาระหว่างแกนนำ ขปส. และรัฐบาลไปแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
 
ล่าสุด วันนี้ (6 มี.ค.54) ผู้ชุมนุมกว่า 2,000 คน ได้ร่วมกันเดินขบวนรณรงค์ จากบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภายในขบวนรณรงค์มีป้ายข้อความบอกเล่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น การโดนนายทุนกล่าวหาว่าบุกรุกที่ดิน การประกาศเขตป่าสงวนทับที่ทำกินชาวบ้าน และแจ้งดำเนินคดีกับชาวบ้าน และเรียกร้องให้มีการเปิดเจรจาอีกครั้งหลังจากไม่มีความคืบหน้าในการแก้ ปัญหา

เมื่อไปถึงบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มพีมูฟ ได้จำลองเหตุการณ์ที่สมาชิกของเครือข่ายซึ่งถูกยึดที่ดินทำกิน และถูกดำเนินคดีจนติดคุก ตรอมใจตาย และฆ่าตัวตาย จากนั้นน.ส.สดใส สร่างโศรก แกนนำ ขปส. ได้อ่านแถลงการณ์ซึ่งระบุว่า

ขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมมีสมาชิกที่เผชิญหน้าอยู่กับภาวะวิกฤตอย่างสาหัสสากรรจ์ในพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ โดย ปัจจุบันมีผู้ป่วยตายและตรอมใจตายจากการถูกบีบคั้นจากปัญหาที่ดินแล้วกว่า 100 คน ในจำนวนนี้ผูกคอตาย 1 คน กินยาตาย 1 คน มีผู้นำแก้ปัญหาที่ดินถูกยิง เสียชีวิต 1 คน มีผู้ถือบัตรผู้ป่วยโรคแคดเมียม และโรคผุพองจากผลกระทบการทำเหมืองสังกะสี เหมืองทองอีกกว่า 1,000 คน และชุมชนล่มสลายแล้วหนึ่งแห่ง อยู่ในภาวะเตรียมล่มสลายอีกหนึ่งแห่ง มีผู้ถูกตัดสินติดคุกและบังคับคดีกว่า 100 คน มีผู้อยู่ระหว่างดำเนินคดีที่เกิดจากปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยและการทำกิน กว่า 1,000 คดี รวมทั้งชาวเล 17 คนที่ถูกจับในเขตวัฒนธรรมพิเศษตามมติ ครม. 2 มิถุนายน 2553 สถานการณ์ดังกล่าวนี้ไม่นับรวมการคุกคามจากอิทธิพลมืดจากนายทุน ข้าราชการในท้องถิ่น การไล่รื้อ การไม่กล้าทำมาหากินในที่ดินเดิมทั้งในทะเล สวนไร่นาและชุมชนเมือง
 
ทั้ง นี้ ขปส.ประกอบด้วยกลุ่มคนจน 4 เครือข่าย 3 กรณี คือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายสลัม 4 ภาค สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล และเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี
การชุมนุมของ ขปส.ที่ลานพระรูปฯเริ่มเมื่อวันที่ 16 ก.พ.54 ในวันที่ 17 ก.พ.54 ได้นัดเจรจากับ นายกฯ พร้อมรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยนายกฯได้ตกลงในหลักการแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำประเด็นต่างๆ ตามที่เสนอ จากนั้นให้ประชุมกลุ่มย่อยกับกระทรวงต่างๆ และสัญญาว่าให้ทำข้อสรุปเสนอให้ชัดเจนเรื่องใดที่ต้องเข้า ครม. หรือสั่งดำเนินการได้ในระดับกระทรวง และถ้ามีข้อติดขัดก็ให้นำหารือกับนายกฯอีกครั้งหนึ่ง
ระหว่าง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม เป็นเวลา 11 วัน ขบวนได้ประชุมเพื่อแก้ปัญหากับกระทรวงต่างๆ คือกระทรวงเกษตร กระทรวงทรัพย์ฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งอนุกรรมการต่างๆที่นายกฯและรมต.สาทิตย์ นั่งเป็นประธาน ผลที่ออกมา คือ มีหนังสือสั่งการจากกระทรวงฯแต่ไม่มีการตอบสนองจากหน่วยงานในพื้นที่ เช่น กรณีกระทรวงเกษตรฯสั่งปล่อยน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยฝั่งแดง เพื่อคืนที่นาให้ชาวบ้านตามมติคณะกรรมกรรมระดับอำเภอ แต่ไม่มีการดำเนินการ กรณีชุมชนบางสักที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ เหตุการณ์ผ่านมา 6 ปี รมช.ช่วยมหาดไทยสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำชาวบ้านกลับเข้าอยู่อาศัยใน พื้นที่เดิม ตามแนวทาง “โฉนดชุมชน” แต่ปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม
มติ ครม.เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 54 ออกมาผิดเพี้ยนจากข้อยุติในการเจราจาระหว่าง ขปส. กับรัฐบาล เช่นงบประมาณแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน 52 ล้านบาท ที่ต้องเข้าไปอยู่ในหลักเกณฑ์บ้านมั่นคง หรืองบประมาณโครงการ นำร่องแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยจำนวน 167 ล้านบาท สำหรับ 6 ชุมชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่เมื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีกลับกลายเป็นงบประมาณของกองทุน ธนาคารที่ดิน สำหรับชุมชนทั้งประเทศ ซึ่ง เท่ากับรัฐบาลหักหลังประชาชนโดยที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี
เรื่อง ที่รัฐบาลแต่งตั้งกรรมการระดับชาติแก้ปัญหาและมีข้อสรุปชัดเจนแต่ไม่มีการ ดำเนินการ เช่น กรณีปัญหาเขื่อนปากมูน ที่นายกฯ แต่งตั้งให้ รมต.สาทิตย์ เป็นประธานสรุปว่า “ต้องเปิดเขื่อนถาวรและจ่ายเงินชดเชยเยียวยา” แต่ข้อยุตินี้กลับถูกต่อต้านจาก รมต.ของพรรคประชาธิปัตย์เอง จน ครม.ไม่สามารถมีมติได้
กรณี ชุมชนบ้านทับยางที่ กบร.ใช้เวลาทำงานกว่า 3 ปีสรุปว่าโฉนดที่ดินเอกชนออกมิชอบต้องเพิกถอนและคืนที่ดินกว่า 200ไร่ให้รัฐเพราะเป็นที่ดินในเขตสัมปทานเหมืองแร่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ ได้ แต่กรมที่ดินกลับไม่ยอมดำเนินการเพิกถอนแต่กลับปกป้องนายทุ
กรณี ปัญหาสัมปทานที่เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน สุขภาพและ ชีวิตประชาชน เช่นการทำเหมืองสังกะสีแม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก ทำให้ชาวบ้าน 800 คนมีสารแคดเมียมในร่างกาย และล้มตายแล้ว กว่า 300 คน
กรณี เหมืองทองพิจิตร ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินทั้งหมดมีสารปนเปื้อนไซยาไนด์ ชุมชนสลาย จนมีมติกรรมการฟื้นฟูเยียวยาแล้วแต่ไม่มีผลทางปฏิบัตินั้น   ทางชุมชนเสนอให้ยุติการทำเหมืองทันทีเพื่อทบทวนสร้างมาตรการแก้ไขป้องกัน
นโยบาย ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา เช่น นโยบายโฉนดชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่นำร่องจำนวน 35 แห่งที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะ กรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนแล้วแต่ รัฐบาลสามารถส่งมอบพื้นที่ได้เพียง ชุมชนคลองโยงแห่งเดียว ขณะที่หน่วยงานราชการในกำกับของ กระทรวงทรัพย์ฯ เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ ประกาศทับและยังไม่ยอมส่งมอบพื้นที่ให้กรรมการโฉนดชุมชนดำเนินการ
ที่ ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศอย่างหนักแน่นในการแก้ปัญหาความยากจน ประชาชนต้องมาก่อน แต่เมื่อประชาชนผู้ทุกข์ยากอย่างยาวนานในพื้นที่ได้เดินทางมาแสดงตัวให้เห็น ถึงเมืองหลวงแล้ว โดยได้มีการเจรจากับนายกฯแล้วแต่ทำไมจึงไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็น รูปธรรม การสั่งการไม่มีผลในทางปฏิบัติ ไม่การมีดำเนินการตามข้อสรุปของคณะทำงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเอง
ที่ ผ่านมาทาง ขปส. ได้เรียกร้องให้นายกฯแสดงความกล้าหาญในการใช้อำนาจบริหารสั่งการให้เกิดการ แก้ไขเพื่อคลี่คลายความทุกข์ยากของประชาชนคนยากจน แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นทาง ขปส. จึงยื่นข้อเสนอ และเรียนกร้องให้นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้เปิดเวทีเจรจาอย่างเป็นทางการอีก ครั้งระหว่าง ขปส. กับรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานภายในวัน ที่ 7 มีนาคม 2554 ทั้งนี้เพื่อหาข้อยุติและสั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาในประเด็นที่ยังไม่ สามารถหาข้อยุติได้อย่างเร่งด่วน
 
 
แถลงการณ์ฉบับที่ 17
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
คนจนต้องมาก่อน ปัญหาคนจนต้องแก้ไขทันที รัฐบาลต้องจริงใจ
เปิดการเจรจาเป็นทางการ 7 มีนาคม 2554
 
            ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ)มีสมาชิกที่เผชิญหน้าอยู่กับ ภาวะวิกฤตอย่างสาหัสสากรรจ์ในพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ โดยปัจจุบัน...
 
-          มีผู้ป่วยตายและตรอมใจตายแล้ว จากการถูกบีบคั้นจากปัญหาที่ดินกว่า 100 คน ในจำนวนนี้ผูกคอตาย 1 คน กินยาตาย 1 คน
-          มีผู้นำแก้ปัญหาที่ดินถูกยิง เสียชีวิต 1 คน
-          มีผู้ถือบัตรผู้ป่วยโรคแคดเมียม และโรคพุพองจากผลกระทบการทำเหมืองสังกะสี เหมืองทองคำอีกกว่า 1,000 คน และชุมชนล่มสลายแล้วหนึ่งแห่ง อยู่ในภาวะเตรียมล่มสลายอีกหนึ่งแห่ง
-          มีผู้ถูกตัดสินติดคุกและบังคับคดีกว่า 100 คน
-          มีผู้อยู่ระหว่างดำเนินคดีที่เกิดจากปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยและการทำกินกว่า 1,000 คดี รวมทั้งชาวเล 17 คนที่ถูกจับในเขตวัฒนธรรมพิเศษตามมติครม. 2 มิถุนายน 2553
 
สถานการณ์ ดังกล่าวนี้ไม่นับรวมการคุกคามจากอิทธิพลมือจากนายทุน ข้าราชการในท้องถิ่น การไล่รื้อ การไม่กล้าทำมาหากินในที่ดินเดิมทั้งในทะเล สวนไร่นาและชุมชนเมือง
 
จาก การชุมนุมของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าซึ่ง เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 และในวันที่ 17 ได้นัดเจรจากับนายกรัฐมนตรี พร้อมรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยนายกรัฐมนตรีได้ตกลงในหลักการแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำประเด็นต่างๆ ตามที่ขบวนฯเสนอจากนั้นได้ประชุมกลุ่มย่อยกับกระทรวงต่างๆและสัญญาว่าให้ทำ ข้อสรุปเสนอให้ชัดเจนเรื่องใดที่ต้องเข้าครม. หรือสั่งดำเนินการได้ในระดับกระทรวง และถ้ามีข้อติดขัดก็ให้นำหารือกับนายกฯอีกครั้ง
 
ระหว่างวันที่ 18 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2554 เป็นเวลา 11 วัน ทางขบวนฯได้ประชุมเพื่อแก้ปัญหากับกระทรวงต่างๆ คือ กระทรวงเกษตร กระทรวงทรัพย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งอนุกรรมการต่างๆ ที่นายกฯและรมต.สาทิตย์ วงศ์หนองเตย นั่งเป็นประธาน ผลที่ออกมาโดยสรุปคือ
 
1.      มี หนังสือสั่งการจากกระทรวงฯแต่ไม่มีการตอบสนองจากหน่วยงานในพื้นที่ เช่น กรณีกระทรวงเกษตรฯสั่งปล่อยน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยฝั่งแดง เพื่อคืนที่นาให้ชาวบ้านตามมติคณะกรรมการระดับอำเภอ แต่ไม่มีการดำเนินการ กรณีชุมชนบางสักที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ บัดนี้เหตุการณ์ผ่านมา 6 ปี รมช.มหาดไทยสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นำชาวบ้านกลับเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ตามแนวทาง “โฉนดชุมชน” แต่ปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม
 
2.      มติ ครม.เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ออกมาผิดเพี้ยนจากข้อยุติในการเจรจาระหว่างขปส.กับรัฐบาล เช่น งบประมาณแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน ๕๒ ล้าน ที่ต้องเข้าไปอยู่ในหลักเกณฑ์บ้านมั่นคง หรืองบประมาณโครงการนำร่องแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยจำนวน 167 ล้านบาท สำหรับ 6 ชุมชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่เมื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีกลับกลายเป็นงบประมาณของกองทุน ธนาคารที่ดิน สำหรับชุมชนทั้งประเทศ ซึ่งเท่ากับรัฐบาลหักหลังประชาชน โดยที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี
 
3.      เรื่อง ที่รัฐบาลแต่งตั้งกรรมการระดับชาติแก้ปัญหาและมีข้อสรุปชัดเจนแต่ไม่มีการ ดำเนินการ เช่น กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล ที่นายกฯแต่งตั้งให้รมต.สาทิตย์ เป็นประธานสรุปว่า “ต้องเปิดเขื่อนถาวรและจ่ายเงินชดเชยเยียวยา” แต่ข้อยุตินี้กลับถูกต่อต้านจาก รมต.ของพรรคประชาธิปัตย์เอง จนครม.ไม่สามารถมีมติได้
 
4.     กรณี ชุมชนบ้านทับยางที่กบร.ใช้เวลาทำงานกว่า 3 ปีสรุปว่าโฉนดที่ดินเอกชนออกมิชอบต้องเพิกถอนและคืนที่ดินกว่า 200 ไร่ให้รัฐเพราะเป็นที่ดินเขตสัมปทานเหมืองแร่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ แต่กรมที่ดินกลับไม่ยอมดำเนินการเพิกถอนแต่กลับปกป้องนายทุน
 
5.     กรณี ปัญหาสัมปทานที่เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน สุขภาพและชีวิตประชาชน เช่นการทำเหมืองแร่สังกะสีแม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก ทำให้ชาวบ้าน 800 คน มีสารแคดเมียมในร่างกาย และล้มตายแล้วกว่า 300 คน
 
6.      กรณี เหมืองทองพิจิตร ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินทั้งหมดมีสารปนเปื้อนไซยาไนด์ ชุมชนล่มสลาย จนมีมติกรรมการฟื้นฟูเยียวยาแล้วแต่ไม่มีผลทางปฏิบัตินั้น ทางชุมชนเสนอให้ยุติการทำเหมืองทันทีเพื่อทบทวนสร้างมาตรการแก้ไขป้องกัน
 
7.     นโยบาย ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา เช่น นโยบายโฉนดชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่นำร่องจำนวน 35 แห่งที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนแล้ว แต่รัฐบาลสามารถส่งมอบพื้นที่ได้เพียง 1 แห่งคือชุมชนคลองโยง ขณะที่หน่วยงานราชการในกำกับของกระทรวงทรัพย์ เช่น กรมอุทยานฯ กรมป่าไม้ ประกาศทับและยังไม่ยอมส่งมอบพื้นที่ให้กรรมการโฉนดชุมชนดำเนินการ
 
 
รัฐบาล ได้ประกาศอย่างหนักแน่นในการแก้ปัญหาความยากจน ประชาชนต้องมาก่อน แต่เมื่อประชาชนผู้ทุกข์ยากอย่างยาวนานในพื้นที่ได้เดินทางมาแสดงตัวให้เห็น ถึงเมืองหลวงแล้ว โดยได้มีการเจรจากับนายกฯแล้วแต่ทำไม่จึงไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็น รูปธรรม การสั่งการไม่มีผลในทางปฏิบัติ ไม่มีการดำเนินการตามข้อสรุปของคณะทำงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเอง
           
        ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ) ขอเรียกร้องให้นายกฯแสดงความกล้าหาญในการใช้อำนาจในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร สั่งการให้เกิดการแก้ไขปัญหาเพื่อคลี่คลายความทุกข์ยากของประชาชนคนยากจน ที่บัดนี้ได้บากหน้าผ่าฟัน ดั้นด้นมาพึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย
           
          ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมจึงขอเรียกร้องมายังนายกรัฐมนตรีเพื่อ โปรดบัญชาให้มีการเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการอีกครั้งระหว่าง ขปส. รัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในวันที่ 7 มีนาคม 2554 ทั้งนี้เพื่อหาข้อยุติและสั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาในประเด็นที่ยังไม่ สามารถหาข้อยุติได้อย่างเร่งด่วน
 
 
ด้วยความเชื่อมั่นในขบวนการของประชาชน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
6 มีนาคม 2554 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net