Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา อัลจาซีร่าเผยแพร่บทความชื่อ "การปฏิวัติสตรีนิยมในตะวันออกกลาง" โดย นาโอมิ วูล์ฟ นักกิจกรรมทางการเมืองและนักวิจารณ์ผู้เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับการปฏิวัติ อเมริกา โดยในบทความชิ้นนี้พูดถึงบทบาทของสตรีในโลกตะวันออกกลาง เนื้อหาของบทความมีดังนี้

.....

ภาพเหมารวมอย่างหนึ่งที่ชาวตะวันตกมักจะจินตนาการเวลาพูดถึงประเทศมุสลิม คือเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของผู้หญิงมุสลิม ว่ามีดวงตาใสซื่อไร้เดียงสา, สวมผ้าคลุมหน้า, และมีท่าทีอ่อนน้อม, เงียบในแบบเอ็กโซติก, อยู่ในที่โปรงๆ สภาพเหมือนฮาเรมในจินตนาการ, ซ่อนตัวภายใต้บทบาททางเพศที่เข้มงวด แล้วผู้หญิงเหล่านี้อยู่แห่งหนใดในตูนีเซียและอียิปต์

ทั้งสองประเทศที่กล่าวมานี้ ผู้ประท้วงที่เป็นสตรีไม่ได้มีอะไรเหมือนเช่นภาพเหมารวมของชาวตะวันตกเลย พวกเขาอยู่แนวหน้าและแนวกลางในคลิปข่าวและในกระทู้ของเฟซบุ๊ก บางคนถึงขั้นมีบทบาทแกนนำ ในจัตุรัสทาห์เรียของอียิปต์ อาสาสมัครที่เป็นสตรี บางคนมาพร้อมกับลูกๆ ทำงานแข็งขันเพื่อสนับสนุนการการประท้วง ทั้งการช่วยเหลือในเรื่องความปลอดภัย, การสื่อสาร และการจัดหาที่พัก มีนักวิจารณ์หลายคนแสดงความชื่นชมสตรีและเด็กจำนวนมากที่มีส่วนในการสร้าง ความสงบในการชุมนุมแม้จะเป็นช่วงที่ต้องเผชิญกับการยั่วยุก็ตาม

นักข่าวพลเมืองในจัตุรัสทาร์เรีย (หรือใครก็ตามที่มีโทรศัพท์มือถือก็จัดเป็นนักข่าวพลเมืองได้) กล่าวถึงการประท้วงที่มีมวลชนผู้หญิงเป็นกลุ่มประชากรที่ครอบคลุมทั่วการ ชุมนุม หลายคนสวมฮิญาบ และสิ่งอื่นๆ ที่เป้นสัญลักษณ์แทนความอนุรักษ์นิยมทางศาสนา ขณะที่อีกหลายคนก็แสดงความมีเสรีภาพจากการสูบบุหรี่หรือจูบกับเพื่อนในที่ สาธารณะ

 

ผู้นำและผู้สนับสนุน
แต่สตรีในการประท้วงระลอกนี้ก็ไม่ได้แค่ทำหน้าที่เป็นเพียงฝ่ายสนับสนุนซึ่ง เป็นบทบาทประจำที่พวกเขามักจะได้รับในการเคลื่อนไหวมาโดยตลอด ตั้งแต่การประท้วงยุคซิกซ์ตี้ (1960s) มาจนถึงการประท้วงของนักเรียนนักศึกษาในอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้ แต่ผู้หญิงชาวอียิปต์ยังมีบทบาทในการจัดตั้ง, การวางยุทธศาสตร์ และการรายงานสถานการณ์อีกด้วย บล็อกเกอร์อย่าง Leil Zahra Mortada ต้องเสี่ยงตายทุกวันเพื่อที่จะรายงานภาพการชุมนุมให็โลกได้รับรู้

บทบาทของสตรีในการลุกฮือของประชาชนในประเทศตะวันออกกลางนั้นอยู่นอกสายตา อย่างมาก สตรีในอียิปต์ไม่ได้แค่ "เข้าร่วม" การประท้วง พวกเขาเป็นพลังการนำสำคัญต่อวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ทำให้การประท้วงเกิด ขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอียิปต์ในแง่นี้ก็ยังเกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ ในโลกอาหรับด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในระดับมากหรือน้อยกว่าก็ตาม เมื่อผู้หญิงเริ่มเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนตาม และผู้หญิงในโลกมุสลิมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฝ่ามือ

สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเรื่องการศึกษา เมื่อสองรุ่นที่แล้วมีเพียงลูกสาวของกลุ่มชนชั้นนำจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่ มีโอกาสเรียนต่อถึงระดับมหาวิทยาลัย ในทุกวันนี้ในประเทศอียิปต์มีนักศึกษาที่เป็นผู้หญิงอยู่เกินครึ่ง พวกเขาได้รับการฝึกฝนที่จะใช้พลังในแบบที่รุ่นยายของพวกเขานึกจินตนาการไม่ ออก เช่นการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อย่าง ที่ Sanaa el Seif ทำ ซึ่งเป็นการท้าทายอำนาจการสั่งปิดของรัฐบาล มีการรณรงค์การนำโดยกลุ่มนักศึกษา การหาทุนสำหรับองค์กรนักศึกษา และการพบปะหารือ

มีสตรีรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งในอียิปต์และประเทศอาหรับที่เริ่มมีความคิดเชิง วิพากษ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางเพศ และบ้างก็แสดงท่าทีท้าทายต่ออาจารย์ผู้ชายต่อหน้าชั้นเรียน จะเป็นการง่ายกว่านี้มากสำหรับการปกครองแบบทรราชย์หากครึ่งหนึ่งของประชากร เป็นผู้ไม่มีการศึกษาและถูกฝึกให้ยอมจำนน แต่สิ่งที่ชาวตะวันตกควรเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของตนเองคือ เมื่อผู้หญิงมีการศึกษาแล้ว การเคลื่อนไหวปลุกปั่นในเชิงประชาธิปไตยก็จะเกิดขึ้นร่วมกับการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ที่ตามมา

นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติของสื่อเครือข่ายทางสังคม (Social Media) ในการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นแกนนำการประท้วง โดยส่วนตัวผู้เขียนบทความเองเคยเป็นผู้สอนเรื่องทักษะความเป็นผู้นำมา มากกว่าสิบปีแล้ว จึงทราบดีว่ามันยากลำบากเพียงใดในการทำให้พวกเขาลุกขึ้นพูดในองค์กรที่มี ลำดับขั้น ปกติแล้วผู้หญิงมักจะหลีกเลี่ยงสถานะหัวหอกซึ่งในการประท้วงตามแบบฉบับมักจะ ยกให้กับนักกิจกรรมที่เป็นชายหนุ่มเลือดร้อนถือเครื่องขยายเสียง

 

ฉายภาพพลังอำนาจ
ในบริบทที่มีเวที, แสงสปอตไลท์ และผู้ปราศรัย ผู้หญิงมักจะหลบลี้ไปจากบทบาทผู้นำ แต่จากลักษณะของสื่อเครือข่ายทางสังคมได้เปลี่ยนความหมายของความเป็นผู้นำ อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เฟซบุ๊กลอกเลียนวิธีการที่ผู้หญิงใช้ในการรับรู้เรื่องราวจากสังคม ผ่านการเชื่อมโยงระหว่างผู้คนที่มีความสำคัญเท่ากันในแง่การนำหรือการควบคุม โดยปัจเจกบุคคล

คุณสามารถกลายเป็นผู้นำที่มีพลังได้ เพียงแค่คุณสร้าง "เรา" ที่ตัวใหญ่ๆ ขึ้นมาให้ได้ หรือคุณอาจจะทำตัวขนาดเท่าๆ กับทุกๆ คน ในหน้าเพจ หมายถึงคุณไม่จำเป็นต้องแสดงอำนาจหรือการนำก็ย่อมทำได้ โครงสร้างของหน้าเฟซบุ๊ก ได้สร้างสิ่งที่สถาบันแบบต้องอาศัยอาคารสถานที่ (Brick-and-Mortar) ไม่อาจทำให้เกิดขึ้นได้แม้จะมีการกดดันจากนักสตรีนิยมมากว่า 30 ปีแล้ว นั่นคือบริบทที่ผู้หญิงมีความสามารถจะสร้าง "เรา" ที่เข้มแข็งและร่วมเป็นผู้นำในการสนับสนุนเสรีภาพและความยุติธรรมทั่วโลก

แน่นอนว่าเฟซบุ๊ก ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการประท้วงลงได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลางเร็วๆ นี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาเข้าร่วมการ เคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพ ผู้ที่ต้องการให้การปกครองด้วยกำลังยังคงอยู่จะต้องพ่ายไป

เมื่อฝรั่งเศสเกิดการปฏิวัติในปี 1789 แมรี่ โวลสโตนคราฟ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์เขียนแถลงการณ์ในเรื่องของการปลดปล่อยสตรี หลังจากที่กลุ่มสตรีในสหรัฐอเมริกาช่วยเหลือการต่อสู้เพื่อการเลิกทาส พวกเขาก็ต่อสู้ในประเด็นต่อไปคือเรื่องสิทธิในการเลือกตั้งของผู้หญิง หลังจากที่ในช่วงยุค 1960s พวกเขาถูกบอกว่า "สถานะของผู้หญิงในการเคลื่อนไหวนั้นต่ำเรี่ยติดดิน" พวกเขาก็ก่อรูปการเคลื่อนไหวสตรีนิยม "คลื่นลูกที่ 2" การเคลื่อนไหวที่มาจากทักษะใหม่ๆ และจากความไม่พอใจเก่าๆ

ในครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อผู้หญิงช่วยคนอื่นต่อสู้เพื่อเสรีภาพแล้ว พวกเขาก็จะเคลื่อนไปสู่การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของตนเอง และเนื่องจากสตรีนิยมเป็นส่วนเสริมที่สอดคล้องกันกับประชาธิปไตย เผด็จการตะวันออกกลางก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เหลือความเป็นไปได้เลยใน การหักห้ามไม่ให้ผู้หญิงตาสว่างเหล่านี้เลิกต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ทั้งของพวกเธอเองและของชุมชน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net