Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

 
 
สิ่งที่อาจ จะจำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนในทศวรรษใหม่ เพื่อความเสมอภาคหญิงชาย คนเลือกเพศต่าง รวมทั้งสิทธิวิถีเพศในสังคมไทย เรียบเรียงจากข้อคิดเห็นเพื่อแนวทาง ในปี 2554 พวกเราจำเป็นต้องระลึกถึง และย้ำเตือนความจำถึงศตวรรษแรกแห่งการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ในสังคมไทยและสังคมโลก พวกเราจำต้องย้อนมองประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงในรอบร้อยปีที่ผ่านมา เพื่อที่เราจะได้สามารถวางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพื่อการสร้างสังคมเท่า เทียมในศตวรรษใหม่
 
แง่มุมทางประวัติศาสตร์ (Historical Context)
เมื่อมองย้อนไปในอดีต เราได้ผ่านการต่อสู้มาอย่างหนักหน่วง เริ่มตั้งแต่การต่อสู้เพื่อ ขนมปังและดอกไม้และ สิทธิสตรีในการมีสิทธิเลือกตั้งการ ประท้วงและเยียวยาผู้เสียหายจากความโหดร้ายป่าเถือนของสงครามโลก มาสู่การรณรงค์เพื่อสันติภาพ ต่อต้านสงครามนิวเคลียร์ และสงความเหยียดผิว - ทั้งนี้และทั้งนั้นเพื่อเป็นการต่อสู้ที่ฐานรากของการยืนหยัดซึ่งสิทธิสตรี ตั้งแต่การต่อสู้เพื่อสิทธิเจริญพันธุ์และการเลี้ยงดู และสิทธิทางเศรษฐกิจของผู้หญิง ซึ่งต่างก็อยู่ท่ามกลางการต่อสู้ที่หนักหน่วงและยากลำบากเพื่อหยุดการกดขี่ ขูดรีดแรงงานหญิง ที่ถูกส่งป้อนอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้แรงงานอย่างเข้มข้น ที่พากันย้ายตัวจากโลกเหนือมายังโลกใต้ ภายใต้วิถี ต้นทุนต่ำสุด-กำไรสูงสุดแห่ง วิถีการค้าเสรีตามทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ ที่ส่งผลเสียหายร้ายแรงจนทำให้พวกเรา ต้องมาต่อสู้และรับมือกับผลกระทบมากมาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
 
กระนั้นก็ ตาม เมื่อมองย้อนไปในรอบร้อยปีที่ผ่านมา มันมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิงในทางทีดีขึ้นให้้ เห็นอยู่มากมายเช่นกัน แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความจริงที่ประจักษ์ต่อหน้าต่อตาของพวกเรา คือการทำลายล้างอย่างรุนแรงที่มนุษย์กระทำต่อโลกอันสวยงามแห่งนี้ ช่วงระยะเวลาเพียงแค่ 60 ปี มันได้สร้างความเสียหายต่อโลกอย่างที่ไม่มีทางฟื้นคืน ความสวยงามและความหลากหลายของธรรมชาติจำนวนมากมหาศาลได้สูญหายไปตลอดกาล ไม่มีทางที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิมได้อีกต่อไป
 
 
เราต้องอยู่ กับผลลัพธ์อันน่าสะพรึงกลัวและการแพร่ขยายเป็นวงกว้างของผลกระทบจาก พิมพ์เขียวแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจักรวรรดินิยม เราไม่สามารถหรือไม่ควรจะลบเลือนความโหดร้ายที่เกิดจากสงครามจิตวิทยาของยุค สงครามเย็น รวมทั้งไม่ควรประมาณการความเสียหายและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมต่ำเกินกว่าความเป็นจริง เพราะความเสียหายมากมายได้เกิดขึ้นทั้งต่ออากาศและต่อพื้นผิวดิน
 
ปัญหามากมายที่เกิดจากการปฏิบัติตามพิมพ์เขียวการพัฒนาของสถาบันแบรทตันวูดส์ (IMF และ ธนาคารโลก) ยังคงเป็นตัวบั่นทอนและสร้างความสับสนต่อทิศทางการพัฒนาประเทศของหลายประเทศ ในโลกใต้ แต่ไม่ใช่กับประเทศโลกใต้เท่านั้น! แนวนโยบายของสถาบันแบรทตันวูดส์ ยังคงให้การอุดหนุนระบอบเผด็จการ และคงความเป็นไปได้ของความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลเผด็จ การกับประชาชนในประเทศของตัวเอง - ซึ่งบ่อยทีเดียวมักอ้างว่า ปราบปรามประชาชนในนามเพื่อประชาธิปไตย หรือในนามเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหรือเพื่อการค้าเสรี เป็นต้น
 
ตลาดผู้ บริโภคในประเทศโลกเหนือ ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการแข่งขันทางการค้า ดำรงระบบสังคมชายเป็นใหญ่ที่กดทับสิทธิสตรี และก็ยังคงพึงพิงต่อการต่อสู้เพื่อได้ ควบคุมการเข้าถึงแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติในโลกใต้ และก็ยังคงเป็นพลังที่สามารถมีอำนาจทำลายล้างสรรพสิ่ง (ไม่ได้เป็นผลพวงมาจากแรงพลักของตลาดผู้บริโภคในโลกเหนือเท่านั้น แต่จากกลุ่มผู้บริโภคในโลกใต้ที่ขยายเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน) ผ่านทางการส่งเสริมเกษตรพาณิชย์ตามแนวปฏิวัติเขียว รวมทั้งการตรึงค่าจ้างขั้นต่ำในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น พวกเรายังคงต้องเผชิญกับการทำลายพื้นที่ป่าและการล่มสลายของเกษตรกร ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจำนวนมากทั้งในประเทศและไปยังต่างประเทศ และการสั่งสมความมั่งคั่งในหมู่คนเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น
 
การวิเคราะห์การเมือง (Political analysis)
ในการค้นหา เส้นทางเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าในทศวรรษที่สองแห่งการสร้างความเข้ม แข็งให้กับผู้หญิง เราจำเป็นจะต้องไม่ละเลยถึงความจำเป็นที่จะต้อง . .
 
จัดการศึกษา อย่างเป็นองค์รวม การศึกษาที่เคารพและให้คุณค่าต่อความหลากหลายในทุกแง่มุมของสรรพชีวิต และตระหนักถึงความสำคัญที่จะต้องเชื่อมโยงมิติของการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำพาประเทศไปสู่่การพัฒนาที่ยั่งยืน แม้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนอาจจะเริ่มได้จากหลากหลายแง่มุม แต่บทบาทของพวกเราคือการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นที่สังคมจะต้องยก ระดับของความอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง ต่อมุมมองและทัศนคติต่อเชื้อชาติ และศาสนาที่แตกต่างของคนในสังคม เป็นต้น
 
 
เป้าหมายของ พวกเราคือมุ่งสู่การมีรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมผู้หญิงในการมีส่วนรร่วมทางการเมือง และการสร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างเท่าเทียม กับชาย
 
เสรีภาพใน การพูดและสิทธิการเจรจาต่อรองร่วมขบวนการสิทธิสตรีจำเป็นต้องใช้ศักยภาพของ พวกเราอย่างเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับกลุ่มผู้หญิงรากหญ้ามากขึ้น เพื่อที่ผู้หญิงรากหญ้าทั้งหลายจะได้มีโอกาสยื่นข้อเรียกร้องที่แสดงความ ต้องการของพวกเขาอย่างแท้จริง
 
พวกเราจะทำอย่างไรได้บ้างที่จะช่วยเปิดพื้นที่ทางการเมือง และสร้างความเข็มแข็งให้กับผู้หญิงมากขึ้น? ปัจจุบัน นี้ โลกไม่ได้มีวิถีเศรษฐกิจเดี่ยวแต่ยังมีวิถีเศรษฐกิจและวิถีชีวิตที่หลากหลาย จึงจำเป็นที่ขบวนการผู้หญิงและภาคประชาชนเปิดพื้นที่ความคิด ความรู้ เพื่อมุ่งสร้างความสมานฉันท์กับกลุ่มคนที่มีการร่วมกลุ่มเพื่อที่จะเป็น อิสระจากการครอบงำของบรรษัทข้ามชาติ และการถูกผนวกรวมเข้าสู่วัฎจักรของการผูกขาดทางการค้า
 
พวกเราจำ ต้องตระหนักรู้เท่าทันและกระตุ้นให้เกิดวิถีเศรษฐกิจใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนที่ดำรงอยู่บนการเคารพในจริยธรรมการผลิต ในวิถีการใช้ชีวิตร่วมกัน ในการจัดโครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่ดูแลคนทั้งสังคม ส่งเสริมเศรษกิจอินทรีย์ และเศรษฐกิจสมานฉันท์ และเศรษฐกิจในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจนิเวศน์ เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
 
การประชุม ขององค์กรผู้หญิงควรจะโฟกัสไปยังการใช้พลังของพวกเรา เพื่อเปิดพื้นทางการเมืองและการต่อรองให้กับกลุ่มผู้หญิงรากหญ้าต่างๆ เพื่อให้รูปแบบเศรษฐกิจแบบใหม่ได้มีการนำเสนอสู่สาธารณชน และมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับผู้หญิงและเศรษฐกิจภายใน ประเทศ เพื่อที่การค้าที่ยุติธรรม (Fair Trade) จะเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ
 
 
 
 
ต่อไปนี้ เป็นสถิติและข้อมูลที่รวบรวมเพื่อนำเสนอสถิติข้อมูลที่มีการศึกษาถึงความ ก้าวหน้าของผู้หญิงในหลายๆ ประเทศ เพื่อนำมาเปรียบเทียบและเป็นกระจกสะท้อนถึงความก้าวหน้าหรือล้าหลังของผู้ หญิงไทยเมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงในบริบทโลก
 
ประชากรโลก ณ ขณะนี้อยู่ที่ 7,092 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2513 เกือบเท่าตัว (3,912 ล้านคน) และจำนวนผู้คนอยู่กระจุกตัวอยู่ตามเมือง หลวงที่แออัดมากขึ้นเรื่อยๆ
 
ในจำนวน 195 ประเทศ 140 ประเทศปกครองด้วยระบบรัฐสภาพที่มาจากการเลือกตั้ง มีจำนวนประชากรที่อยู่ในกลุ่มยากจน 1.3 พันล้านคน ในจำนวนนี้ 70% เป็นประชากรเพศหญิง 75-80% ของประชากร 27 ล้านคน ที่ต้องเป็นผู้ลี้ภัยการเมืองในโลกนี้เป็นผู้หญิง
 
ผู้หญิงและกำลังประชากร
เกือบทุกประเทศนี้มีสัดส่วนประชากรเพศหญิงมีอายุยืนกว่าเพศชายระหว่างปี 2513 – 2535 อายุเฉลี่ยของผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ระหว่าง 54-63 ปี และในประเทศพัฒนาแล้วจะอยู่ที่ระหว่าง 74-79.4 ปีภายในปี 2568 ผู้หญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ลาติน อเมริกา คาริเบี้ยน และอาฟริกาเหนือ ในประเทศโลกเหนือ จำนวนการมีบุตรโดยไม่แต่งงานเพิ่มขึ้นกว่า 50% ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา ประมาณ 25% ของหัวหน้าครัวเรือนในโลกนี้เป็นผู้หญิง
 
ผู้หญิงและการจ้างงาน
คนงานหญิงได้รับค่าแรงโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ชายประมาณ 25% ในงานประเภทเดียวกัน ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะอยู่ในประเทศโลกเหนือและประเทศโลกใต้ (นอกภาคเกษตร)
สัดส่วนผู้หญิงที่ทำงานในการจ้างงานประจำมีเพียง 31% ในประเทศโลกใต้ และ 47% ในประเทศโลกเหนือ ผู้หญิงเป็นกำลังแรงงานที่ผลิตอาหารในสัดส่วน 55% ในประเทศโลกใต้ ผู้หญิงที่ต้องรับภาระงานบ้านและงานในชุมชมที่ไม่มีค่าจ้างมีสัดส่วนในแง่ทาง เศรษฐกิจสูงถึง 10-35% ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) หรือคิดเป็นมูลค่า 11 ล้านล้านดอลลาร์ สัดส่วนของแรงงานหญิงและชายในประเทศอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเท่ากันในเกือบทุก ประเทศในโลกนี้ การสมทบแรงงานในนงานที่ไม่มีค่าจ้าง (งานดูแลบุตร ครอบครัว และงานบ้าน) ผู้หญิงทำมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่าตัว
 
ผู้หญิงกับสุขภาพ
ประมาณการว่าทุกปีจะมีผู้หญิงกว่า 20 ล้านคนที่ต้องทำแท้งในสภาพที่ไม่ปลอดภัย ทุกปีจะมีผู้หญิง 600-700,000 เสียชีวิต (ประมาณ 1,600 คน/วัน) จากสาเหตุอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตรและการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ในเขตซาฮาร่าของอาฟริกา ผู้หญิง 1 ใน 13 คน เสียชีวิตจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร ต่างกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วน 1 ใน 3,300 คน ของสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน 51% ของผู้ที่ต้องอยู่กับเชื้อโรคเอดส์ (มากกว่า 20 ล้านคน) เป็นผู้หญิง (UNIFEM, 2003) ทั่วโลก สัดส่วนผู้ติดเชื้อ HIV เกิดขึ้นในกลุ่มอายุ 15-24 ปี และ 60% ของเยาชนที่มีเลือด HIV + ระหว่างอายุ 15-24 ปี คือผู้หญฺง (UNIFEM, 2003)
 
ผู้หญิงกับความรุนแรง
ทุกปีเด็กหญิงกว่า 2 ล้านคนต้องทุกข์ทรมาณจากการคลิบอวัยะเพศ ผู้หญิง 20 – 50% ต่างก็ต้องทนกับความรุนแรงในครอบครัวในหลายระดับตลอดช่วงอายุการแต่งงาน
ในปาปัว นิวกีนี ผู้หญิง 60-70% ต้องเผชิญกับการถูกทำร้ายในครอบครัว ในสหรัฐอเมริกา ทุก 8 วินาทีจะมีผู้หญิงถูกทำร้าย และผู้หญิงถูกข่มขืนทุก 6 นาที
ในอินเดีย จะมีผู้หญิง 5 คน ถูกเผาทั้งเป็นทุกวัน การข่มขืนถูกใช้เป็นอาวุธทำร้ายประชาชนในประเทศที่มีสงคราม ในราวันดาระหว่างปี 2534-2538 มีเด็กสาวและผู้หญิงถูกข่มขืนโดยมีตัวเลขประมาณการระหว่าง 15,700 คน ถึง 250,000 คน ขึ้นอยู่กับว่าถามข้อมูลจากใคร
 
ผู้หญิงที่ถูกฆาตกรรมอาจจะมีสัดส่วนสูงถึง 70% ที่ถูกสังหารโดยคู่รักหรือคู่ครอง (WHO 2002)
 
ในเคนย่า มีผู้หญิงไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ หนึ่งคนที่ถูกฆาตกรรมโดยคู่ครอง (Joni Seager, 2003)
 
ในอียิปต์ 35% ของผู้หญิงรายงานว่าถูกสามีทำร้ายทุบตี (UNICEF 2000) ผู้หญฺิง 47% ที่ถูกทำร้ายไม่เคยปริปากบอกเรื่องนี้กับใคร (WHO 2002)
 
ทุก 15 วินาที จะมีผู้หญิงถูกทำร้ายโดยคู่ครองหรือคนรัก ในสหรัฐอเมริกา (UN Study on the World’s Women, 2000)
 
ในบังคลาเทศ 50% ของคดีฆาตกรรมคือผู้หญิงที่ถูกฆ่าโดยสามีของตัวเอง (Joni Seager, 2003)
ในปากีสถาน 42% ของผู้หญิง จำต้องก้มหน้ายอมรับว่าการถูกทำร้ายร่างกายเป็นชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 33% ปิดปากเงียบ 19% ลุกขึ้นประท้วงการทำร้ายร่างกาย และ 4% แจ้งความดำเนินคดี(Government study in Punjab 2001)
 
ในอาฟริกาใต้ ผู้หญิงถูกข่มขืน 147 คนทุกวัน (South African Institute for Race Relations 2003)
 
ในตุรกี 35.6% ของผู้หญิงถูกข่มขืนโดยสามีของตัวเอง (WWHR Publications: Istanbul, 2000)
 
ในอินเดีย มีการประมาณการว่ามีผู้หญิงถูกฆ่าเพื่อสินสอดประมาณปีละ 15,000 คน ส่วนใหญ่ถูกทำให้เหมือนกับการตายจากอุบัติเหตุไฟลวกตายในครัว (Injustices Studies. Vol. 1, November 1997)
 
ในประเทศจีนมีผู้หญิงที่ถูกข่มขืนเพียง 3% ที่กล้าแจ้งความ
 
ผู้หญิงกับการศึกษา
2 ใน 3 ของสัดส่วนผู้ไม่รู้หนังสือในโลกนี้ เป็นผู้หญิง
2 ใน 3 ของเด็กกว่า 130 ล้านคนทั่วโลกที่ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือเป็นผู้หญิง
 
ผู้หญิงและสงคราม
80% ของผู้สี้ภัยการเมืองคือผู้หญิงและเด็ก (UNHCR, 2001)
 
85% ของการค้าหญิงและเด็กเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทางการเมือง (Save the Children 2003)
 
ในรวันดา ผู้หญิง 250,000 ถึง 500,000 หรือคิดเป็นสัดส่วน 20% ของผู้หญิงถูกข่มขืนในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 2537-2538 (International Red Cross report, 2002)
 
ในอิรัก อย่างน้อยมีผู้หญิงและเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 8 ขวบขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 400 คน รายงานว่าถูกข่มขืนในแบกแดดระหว่างและช่วงหลังสงคราม (Human Rights Watch Survey, 2003)
 
ผู้หญิงชาวเขมร 250,000 คนในหมู่บ้านต่างๆ ถูกบังคับให้แต่งงานในช่วงเขมรแดงระหว่างปี 2518-2521 (UNIFEM)
 
ในบอสเนีย และเฮอร์ซาโกวินา ผู้หญิง 20,000 – 50,000 คน ถูกข่มขืนในช่วงห้าเดือนของการสู้รบในปี 2535 (IWTC, Women’s GlobalNet #212. 23rd October 2002)
 
ในบางหมู่บ้านในโคโซโว 30%-50% ของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ถูกข่มขืนโดยกองกำลังเซอร์เบีย (Amnesty International, 27 May 1999).
 
 
 
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ประเทศแรกในโลกนี้ที่ให้สิทธิผู้หญิงในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคือนิวซีแลนด์ในปี 2436 ตามมาด้วยฟินแลนด์ ในปี 2449 อัลบาเนีย ในปี 2453 มองโกเลียในปี 2467 เอกวาดอร์ ในปี 2471 ตุรกี ในปี 2474 สำหรับในอาเซีย ประเทศไทยให้สิทธิเป็นประเทศแรกในปี 2475 ฟิลิปปินส์ในปี 2480 เวียตนามในปี 2489 สิงคโปร์ในปี 2490 กัมพูชาในปี 2498 และมาเลเซียในปี 2500
 
ในช่วงศตวรรษที่ 20 มีเพียง 28 ประเทศเท่านั้นที่มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศหรือผู้นำรัฐบาล
 
สัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งรัฐมนตรีทั่วโลกมีเพียง 18%
 
สัดส่วนของผู้หญิงในรัฐสภาทั่วโลกมีเพียง 19%
 
ในสหรัฐฯ มีสัดส่วนของสมาชิกสภารัฐสภาเพายง 16%. อัยการหญิง 24% มีผู้ว่าการรัฐที่เป็นผู้หญิงเพียง 8 มลรัฐ จากจำนวน 50 มลรัฐ
 
หน่วยงานของสหประชาชาติ มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงเพียง 9% ตำแหน่งนักบริหารอาวุโส 21% และ 48% ดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไป
 
ผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งผู้จัดการในประเทศโลกเหนือจะมีประมาณ 33% ในอาฟริกามี 15% และในเอเชียและแปซิฟิกมีเพียง 13% ทั้งนี้สัดส่วนของอาฟริกาและเชียแปซิฟิกถือว่าได้เพิ่มขึ้นมาแล้วเป็นเท่า ตัวจากเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา
 
ผู้หญิงในรัฐสภาของประเทศต่างๆ Women in national parliaments (Situation as of 30 November 2008 )
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net