ข้อเสนอ 5 ประการต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็นเรื่องแรงงานข้ามชาติในไทย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

หมายเหตุ: 1. ชื่อรายงานเดิม "มสพ.ส่งรายงานสถานการณ์สิทธิฯเเรงงานข้ามชาติต่อคณะมนตรีสิทธิฯยูเอ็น หวังถ่วงดุลการประเมินสถานการณ์สิทธิในไทย"

วันนี้ (15 มี.ค.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) แจ้งว่า ทางมูลนิธิได้ส่งรายงานสถานการณ์สิทธิฯ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ให้กับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ เพื่อประกอบการตรวจสอบสถานการณ์สิทธิฯ ในประเทศไทย (UPR) [คลิกที่นี่เพื่ออ่านเอกสารฉบับเต็ม] โดยคำแถลงของมูลนิธิมีดังนี้

 

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) จัดตั้งขึ้นในปี 2549 เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของสหประชาชาติ มีหน้าที่ในการสอดส่องตรวจสอบ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด ประเทศไทยเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน โดยมีนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรของประเทศไทยประจำสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ได้รับคัดเลือกเป็นประธาน HRC วาระดำรงตำแหน่ง 1 ปี ถึงเดือนมิถุนายน 2554 โดยประเทศไทยได้ให้คำมั่นที่จะส่งเสริมการอนุวัติกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เร่งทบทวนแก้ไขกฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ตลอดจนส่ง เสริมระบบยุติธรรมและนิติรัฐเพื่อความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และป้องกันมิให้ผู้กระทำผิดลอยนวล และขจัดการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ HRC ได้กำหนดกระบวนการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ (UPR) โดยประเทศไทยมีวาระจะต้องเข้าสู่การทบทวนเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 นี้ และต้องจัดทำรายงานต่อ HRC ภายในเดือนกรกฎาคม โดยกระบวนการ UPR เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมนำเสนอรายงานตรงต่อ HRC ได้ภายในวันที่ 14 มีนาคมนี้

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา จึงได้ส่งรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเด็นเกี่ยวข้องกับสิทธิของแรงงาน ข้ามชาติและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ไปยัง HRC เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญดังนี้

1.รัฐไทยต้องยกเลิกกฎหมาย ระเบียบ ทางปฏิบัติ ที่เลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ และละเมิดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานที่รัฐไทยเป็นภาคี ตลอดจนส่งเสริมการปฏิบัติงานของกลไกด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติโดยการ ตอบรับการของเดินทางมาเยี่ยมประเทศไทยอย่างเป็นทางการของผู้รายงานพิเศษด้าน สิทธิมนุษยชนของแรงงานย้ายถิ่น

2.รัฐไทยต้องเคารพและดำเนินมาตรการที่เข้มงวดเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของ แรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการละเมิดโดยการใช้อำนาจโดยมิชอบของหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชนอื่น ๆ ตลอดจนดำเนินการสอบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรมและเยียว ยาความเสียหายตามกฎหมาย

3.รัฐไทยต้องพัฒนาวิธีการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการจัดการประชากรย้ายถิ่นฐาน อันตั้งอยู่บนสมดุลระหว่างการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ของแรงงานข้ามชาติ อีกทั้งรัฐไทยควรเปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติรอบใหม่เพื่อให้ แรงงานข้ามชาติจำนวนล้านกว่าคนที่ไม่ได้จดทะเบียนและทำงานอยู่ในประเทศไทยใน ขณะนี้ได้มีโอกาสเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ทั้งนี้ รัฐไทยโดยกระทรวงแรงงานต้องควบคุมธุรกิจบริการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติ ของบริษัทนายหน้า โดยให้มีมาตรการการบริการและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

4.แม้ว่าประเทศไทยจะลงนามรับหลักการอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้าน องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และพิธีสารป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาดังกล่าวแล้วตั้งแต่ปี 2545 แต่ปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ารัฐไทยได้ให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีพิธีสารดัง กล่าวแต่อย่างใด จึงเห็นสมควรให้รัฐไทยดำเนินการเพื่อให้สัตยาบันพิธีสารดังกล่าวโดยพลัน

5.รัฐไทยต้องพัฒนาองค์ความรู้การระบุความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์โดย การแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการฉ้อโกงแรงงาน ทั้งในระดับหลักการและการปฏิบัติ เพื่อมิให้เกิดช่องว่างการฟื้นฟูเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และต้องพัฒนากระบวนการบังคับใช้กฎหมายกรณีดำเนินคดีกับนิติบุคคลผู้เกี่ยว ข้องกับการค้ามนุษย์เพื่อเป็นการตัดเส้นทางการเงินของกระบวนการค้ามนุษย์ อย่างมีประสิทธิภาพ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท