Skip to main content
sharethis
22 มี.ค.54 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) จัดการประชุมเพื่อเสนอผลการศึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะโครงการศึกษาและจัดทำ Child Deprivation Indices ปี 2006 และ 2008 นำเสนอผลการศึกษาโดย ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ ณ ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ผล โครงการศึกษาและจัดทำดัชนีชี้วัดสภาพเด็กด้อยโอกาส (Child Deprivation Indices) ดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า สถานการณ์ความเป็นอยู่ของเด็กไทยระหว่างปี 2006 – 2008 โดยรวมดีขึ้นในทุก ๆ ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยอยู่ในระดับด้อยโอกาสเพียงเล็กน้อย (Mildly Deprived) มากที่สุด จากตัวบ่งชี้สถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันระหว่างสองโครงการสำรวจที่ประกอบใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านสุขภาพเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพัฒนาการของเด็ก ด้านการศึกษา ด้านความเปราะบาง และด้านการติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์
การ ศึกษานี้อิงสภาพฐานะการเงินของครอบครัวในการวิเคราะห์จึงได้ข้อสรุปกว้างๆ ว่า พบสภาพความด้อยโอกาสของเด็กในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนมากกว่ากลุ่มครัวเรือน ที่ไม่ยากจน หรืออีกนัยก็คือถ้าพ่อแม่มีเงินก็สามารถเลี้ยงดูลูกให้สมบูรณ์กว่านั่นเอง
ผล การศึกษาสภาพด้อยโอกาสต่อครัวเรือนของเด็กไทยเมื่อเปรียบเทียบระดับภูมิภาค พบว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่เด็กมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด (Not Deprived) รองลงมาคือภาคกลางและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือน้อยที่สุด และในทางกลับกันเมื่อดูที่ระดับความด้อยโอกาสที่รุนแรงที่สุด (Severely Deprived) ก็พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากที่สุด และเมื่อดูรายละเอียดระดับจังหวัดพบว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเด็กยากจนและอยู่ ในสภาพด้อยโอกาสมากที่สุด จึงเป็นเป้าหมายของหลาย ๆ องค์กรที่จะเข้าไปช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้
สำหรับรายละเอียดของแต่ละกลุ่มดัชนีชี้วัดทั้ง 6 ประเภท สามารถสรุปภาพรวมได้ว่า
ด้านสุขภาพเด็ก อาศัยพฤติกรรมการใช้เชื้อเพลิงแข็งในครัวเรือนเพื่อการหุงหาอาหาร (Solid Fuels) เช่น ถ่านไม้ ฟืน เป็นตัววัด จากปี 2006-2008 ทุกภาคมีพฤติกรรมการใช้ลดลงคือหันไปใช้แก๊สหุงต้มมากขึ้นยกเว้นภาคอีสานที่ เพิ่มขึ้นจาก 67.2 % เป็น 67.4 %
ด้าน สิ่งแวดล้อม อาศัยตัววัดจากการมีน้ำดื่ม น้ำใช้ในครัวเรือนพบว่าทุกภาคมีน้ำดื่มน้ำใช้ดีขึ้น แต่ตัววัดจากการอาศัยในชุมชนแออัดในเมือง พบว่าทุกภาคมีเพิ่มขึ้นยกเว้นภาคใต้ สาเหตุหลักเกิดจากการอพยพเข้ามาในเขตเมืองของคนในชนบท
ด้าน พัฒนาการของเด็ก อาศัยตัววัดจากการที่พ่อแม่ได้ช่วยเหลือเด็กกระตุ้นการเรียนรู้ เช่นการอ่านหนังสือให้ฟัง โดยรวมดีขึ้นโดยแม่ยังคงเป็นหลักในการส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
ด้าน การศึกษา พบว่าเด็กได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนมากขึ้นและมีแนวโน้มอายุน้อยลงกล่าว คือ เด็กอายุ 6 ขวบศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 1 เป็นจำนวนมากกว่ายุคก่อน และเด็กโตก็อยู่ในระบบการศึกษาไปตามลำดับอย่างค่อนข้างมั่นคง
ด้าน ความเปราะบาง อาศัยตัววัดจากการที่เด็กอายุ 0- 17 ปี ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด โดยรวมเพิ่มขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าเด็กถูกพ่อแม่ส่งไปเรียนต่างถิ่นมากขึ้น เช่นเข้ามาเรียนในเมือง หรือในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ส่วนตัวจากการที่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อาศัยอาศัยอยู่กับพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว (กำพร้าพ่อหรือแม่) โดยรวมลดลง ส่วนตัวชี้วัดจากการที่เด็กมีพ่อแม่ป่วยก็ลดลง เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น
ด้านการติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์ อาศัยตัววัดจากการที่ผู้หญิงอายุ 15-24 ปีมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการหลีกเลี่ยงการติดเชื้อและปฏิเสธ 3 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดต่อของเชื้อ HIV พบว่าโดยรวมลดลงจาก 68.1% เป็น 56.2%
หลัง จบการนำเสนอผลโครงการศึกษาฯมีผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอแนะว่าเนื่องจาก โครงการเป็นการศึกษาในช่วงระยะเวลา 2 ปี จึงอยากให้มองโครงการนี้ในระยะยาว 5-10 ปีต่อไปด้วย และผู้เข้าร่วมประชุมบางท่านเสนอแนะว่าไม่ควรจำกัดกรอบการวิเคราะห์จากฐานะ การเงินของกลุ่มประชากรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะทำให้มองไม่รอบด้าน ควรเพิ่มตัวชี้วัดอื่นเช่น ความสุขมวลรวม เป็นต้น
ดร.สมชัย จิตสุชน นำเสนอโครงการศึกษาและจัดทำ Child Deprivation Indices ปี 2006 และ 2008กล่าวว่า งานวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาหรือไม่ก็อยู่ที่ผู้กำหนด นโยบายจากรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้ และอีกด้านหนึ่งก็อยากให้สังคมในวงกว้างได้รับรู้ผลการศึกษานี้ เพราะสังคมจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ดีขึ้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net