Skip to main content
sharethis

หน่วยงานด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ของรัฐบาลญี่ปุ่นยกระดับความรุยแรง สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลัยร์ฟูกูชิมะสู่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด และเป็นระดับเดียวกับเหตุการณ์เชอร์โนบิลแล้ว แต่ยังยืนยัน ระดับกัมมันตรังสีที่รั่วไหลต่ำกว่าเชอร์โนบิล 10 เท่า

12 เม.ย. 2554 เว็บไซต์เอ็นเอชเค รายงานว่า หน่วยงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกระดับความรุนแรงของ สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะจากระดับ 5 สู่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดแล้ว โดยระบุว่าสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมานั้นจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่ง แวดล้อมเป็นบริเวณกว้าง

ทั้งนี้ ความรุนแรงระดับ 7 คือระดับสูงสุดตามมาตรฐานระหว่างประเทศและเทียบเท่ากับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น กับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านความปลอดภัยฯ ระบุว่ารังสีที่แพร่กระจายออกมาจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะนั้นมีปริมาณเพียง 1 ใน 10 ของเชอร์โนบิลเท่านั้น โดยประมาณการว่ารังสีไอโอดีน 131 และรังสีซีเซียมจะรั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้าประมาณ 370,000 เทราเบ็กเกอแรล (tera becquerels หน่วยวัดการสลายตัวของกัมมันตรังสี 1 เทราเบ็กแรล = หนึ่งล้านล้านอะตอม: วินาที)

นายฮิเดฮิโกะ นิชิยาม่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานความปลอดภัยกล่าวว่า ในกรณีของเชอร์โนบิลนั้น มีคนตายจากการสัมผัสรังสีโดยตรง 29 คน แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากกรณีของฟูกูชิมะ

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ ความปลอดภัยนิวเคลียร์ซึ่งร่วมประชุมกับหน่วยงานความปลอดภัยนิวเคลียร์ ประมาณการไว้สูงกว่านั้นคือ ราว 630,000 เทราเบ็กเกอแรล

ด้าน เว็บไซต์บีบีซีรายงาน รัฐบาลญี่ปุ่นชี้ว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรงกับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลแล้ว การรั่วไหลของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลนั้นคือ 5.2 ล้าน เทราเบ็กเกอเรล

อุบัติภัยโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (ตั้งอยู่ในนิคมเชอร์โนบิล สหภาพโซเวียตขณะนั้น ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศยูเครน) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529   เมื่อเตาปฏิกรณ์เกิดระเบิดในกลางดึกและเกิดเพลิงไหม้ติดต่อกันอยู่เป็นเวลา 10 วัน กัมมันตรังสีแพร่กระจายไปในบริเวณกว้างนับพันตารางไมล์ จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 29 คน (บางแห่งระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 28 คน บางแห่งระบุ 31 คน) ประชาชนราว 250,000 คนต้องอพยพออกจากพื้นที่

รายงานขององค์การสหประชาชาติประมาณ การว่ามีประชาชนราว 4,000 คนต้องเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากอุบัติภัยครั้งนั้น ขณะที่องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมประณามรายงานฉบับดังกล่าวว่าเป็นการฟอกตัวให้ กับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล โดยโต้แย้งว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีถึงราว 100,000 คน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net