Skip to main content
sharethis

“มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่ (SHRF)” เผยสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่หลังทหารพม่าปะทะกับกองทัพรัฐฉานเหนือ ชี้มีการปล้นสะดมทรัพย์สินประชาชน การเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ในสงคราม การข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งการทรมานและสังหารผู้สงสัยว่าสนับสนุนฝ่ายต่อต้านในรัฐฉาน แผนที่โดยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่ (SHRF) แสดงข้อมูลการปะทะระหว่างทหารกองทัพพม่ากับทหารกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSA/SSPP) ระหว่าง 13 มี.ค. – 6 เม.ย. 54 โดยเท่าที่บันทึกมีการปะทะเกิดขึ้นแล้วกว่า 65 ครั้ง ในจุดสีแดงในแผ่นที่ โดยสงครามกระจายไปในพื้นที่มากกว่า 7 อำเภอในรัฐฉาน (ที่มาของภาพ: SHRF) [คลิกเพื่อชมแผนที่ขนาดใหญ่] แผนที่โดยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่ (SHRF) แสดงข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารกองทัพพม่า ระหว่าง 13 มี.ค. – 6 เม.ย. 54 โดยมีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่า 43 กรณี แสดงเป็นจุดสีม่วงในแผนที่ (ที่มาของภาพ: SHRF) [คลิกเพื่อชมแผนที่ขนาดใหญ่] ตามที่มีรายงานข่าวกองทัพพม่าเปิดฉากโจมตีฐานที่มั่นกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSA/SSPP) ซึ่งอยู่ในพื้นที่รัฐฉานตอนกลาง และตอนเหนือ ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา “มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่” (Shan Human Rights Foundation - SHRF) ได้เผยแพร่รายงาน “สรุปสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองทัพทหารพม่าในภาคเหนือและภาคกลางของรัฐฉาน ระหว่างวันที่ 13 มี.ค. – 6 เม.ย. 54” โดยรายงานดังกล่าว บันทึกสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารกองทัพรัฐบาลพม่ามากกว่า 43 กรณี โดยมีทั้งการปล้นสะดมทรัพย์สินของชาวบ้านเพื่อนำไปใช้ในสงคราม การนำชาวบ้านไปทรมานและสังหารหากสงสัยว่าสนับสนุนกลุ่มต่อต้านในรัฐฉาน มีการใช้ความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง มีเหตุรุมข่มขืนผู้หญิง โดยมีรายหนึ่งเป็นหญิงเพิ่งคลอดบุตร ถูกทหารข่มขืนจนเสียชีวิต นอกจากนี้ในรายงานยังระบุว่ากองทัพพม่ายังใช้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงจากหลายหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ ทั้งบังคับให้เป็นลูกหาบแบกของเดินนำหน้ากองทัพ และเพื่อเป็นโล่ป้องกันการโจมตีของกองทัพรัฐฉานเหนือ นอกจากนี้การละเมิดสิทธิและการปล้นสะดมที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เป็นเหตุให้ชาวบ้านกว่า 3,000 คนอพยพออกจากบ้านเรือนของตนเอง บางคนเข้าไปอยู่ในป่า บางคนหนีไปอยู่ที่อำเภอข้างเคียง อย่างเช่น อำเภอเมืองสู้ หรือข้ามพรมแดนมายังฝั่งไทย โดยผู้ที่อพยพภายในประเทศเหล่านี้อยู่ในสภาพขาดแคลนอาหารและที่อยู่อาศัย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 เม.ย. องค์กรชุมชนไทยใหญ่ 6 องค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการสุขภาพแห่งรัฐฉาน, มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่, คณะกรรมการเพื่อการสงเคราะห์และการพัฒนาแห่งรัฐฉาน, องค์กรสภาวะสิ่งแวดล้อมไทยใหญ่, เครือข่ายปฏิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่ และ กลุ่มพลังเยาวชนไทใหญ่ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ด่วน \ประณามความป่าเถื่อนโหดร้ายที่รัฐบาลทหารพม่ากระทำต่อพลเรือนในการละเมิด สัญญาหยุดยิงในตอนเหนือของรัฐฉาน\" โดยเรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติประณามการโจมตีดังกล่าว และเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลทหารพม่าเพื่อให้ยุตินโยบายการรุกรานด้านทหารในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศและหน่วยงานผู้บริจาคจากนานาชาติ ไม่ตัดความสนับสนุนที่มีต่อค่ายผู้อพยพตามแนวพรมแดนไทย-พม่าในตอนนี้ เพราะปัญหาการสู้รบยังคงลุกลามบานปลายในรัฐฉาน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าได้ละเมิดข้อตกลงหยุดยิงที่ปฏิบัติมา 22 ปีกับกองทัพรัฐฉาน-เหนือ (SSA-N ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น SSA/SSPP) ซึ่งไม่ยอมเปลี่ยนสถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (Border Guard Forces - BGF) โดยจากรายงานของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนไทยใหญ่ระบุว่า ทหารพม่ามีการเคลื่อนกำลังพล 3

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net