Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ชื่อบทความเดิม: จดหมายเปิดผนึกถึงนิธิ กรณีให้สัมภาษณ์กับประชาชาติฯ : นิธิยิ่งแก่ ยิ่งเลอะเลือน? เมื่อวานนี้ [17 เมษายน 2554] ผมได้มีโอกาสอ่านบทสัมภาษณ์ของ “ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์” ที่นำเสนอไว้ในประชาชาติธุรกิจ และพบว่าตัวผมเองนั้น มีปัญหาอย่างมาก กับบทสัมภาษณ์ดังกล่าวของนิธิ อันเป็นที่มาของจดหมายฉบับนี้ ในส่วนต้นของบทสัมภาษณ์นั้น ผู้สัมภาษณ์ได้ถามถึงบทบาท และเป้าหมายของการเคลื่อนไหวของเสื้อแดง ที่นิธิได้ตอบไปว่า; “เท่าที่ผมติดตามคนกลุ่มนี้มา สิ่งที่น่าเสียดาย คือคุณ (เสื้อแดง) ไม่สนใจประเด็นอื่นเลย นอกจากการเมือง” นอกจากนี้นิธิยังได้ชี้ต่อไปถึงว่าเสื้อแดงควรจะเพิ่มเป้าหมายเข้าไปคือ “การปฏิรูปโครงสร้าง”!!! ณ จุดนี้เอง ผมก็อยากใคร่ถามคุณนิธิหน่อยว่า “ปฏิรูปโครงสร้างมันคือยังไง?” และ “เสื้อแดงไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้างอย่างไร?” แน่นอน ผมไม่คิดว่า “เป้าหมาย” ของเสื้อแดงจะเหมือนกันหมด (มันมีความหลากหลายที่สูงมากภายในขบวนการเคลื่อนไหวนี้) และผมก็คิดด้วยเช่นกันว่าข้อเสนอ และเป้าหมายของเสื้อแดงนั้นสามารถผลักดันไปให้ไกลกว่าที่เป็นอยู่นี้ได้ แต่นั่นมันคนละเรื่องกันกับที่นิธิได้พูดไว้ครับ ผมคิดว่านิธิเองก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า “กลุ่มคนที่มีมวลชนขนาดใหญ่ที่สุด ที่กำลังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือปฏิรูปโครงสร้าง ทั้งโครงสร้างอำนาจทางการเมือง และสังคมนั้นเป็นคนเสื้อแดง” (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ได้ “สมาทานตนเองเป็นส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดง”) การเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ ในหลายบริบทนั้น อาจจะเป็นดังที่ผมได้กล่าวไปคือ ยังอาจจะสามารถผลักดันให้ไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดเท่าที่พวกเขาได้ทำอยู่นี้ ก็มากกว่าที่ผม ตัวนิธิเอง หรือนักวิชาการแทบทั้งประเทศไทย “กล้าที่จะทำ” แล้ว ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องที่สกปรกมากที่นิธิจะ “กล้าพูด” เช่นนี้ออกมา ไม่เพียงเท่านั้น ผมอยากให้ลองกลับไปพิจารณาดูถึงข้อเท็จจริงของการเรียกร้องสักหน่อยว่ามัน “ไม่ปฏิรูปโครงสร้าง” อย่างไร? ผมคิดว่าเป็นที่เข้าใจกันดีว่าในการปกครองของสมัยใหม่ ที่มีระบอบประชาธิปไตยเป็นศูนย์กลางทางความคิดนั้น มีความสัมพันธ์ทางอำนาจในลักษณะ \ราษฎร์บันดาลรัฐ รัฐประทานราช\" ซึ่งตรงกันข้ามกับความสัมพันธ์ทางอำนาจในยุคก่อนประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ที่มีลักษณะ \"ราชบันดาลรัฐ รัฐประทานราษฎร์\" อันยังผลให้ประชาชน (ราษฎร์) กลายเป็น \"วัตถุตามปราถนา (Object of Desire)\" โดยสัมบูรณ์ของรัฐ และราช ซึ่งปัญหาสำคัญของการเมืองไทยนั้นก็ไม่พ้นที่จะอธิบายว่า มันคือรัฐที่มีโครงสร้างอำนาจแบบ \"ก่อนประชาธิปไตย\" แทบจะโดยสมบูรณ์ แต่พยายามจะสวมทับร่างกาย (โครงสร้าง) นั้นเข้าไปด้วยเสื้อผ้าที่เรียกว่าประชาธิปไตย กระนั้น แม้การสวมเสื้อผ้าอาจจะกระทำได้สำเร็จ จากภายนอกมองกราดกลับมา แล้วก็แลดูคล้ายกับคนทั่วๆ ไปในสังคมโลก ที่สวมเสื้อผ้าแบบนี้ แต่ร่างกายเนื้อใน อันเป็นตัวตนที่แท้จริงนั้นแหละ คือแก่นแท้ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ไม่ว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่จะใหม่เพียงใดก็ตามที ซึ่งกฏหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ คงจะไม่เกินเลยนัก หากจะกล่าวว่าเป็นหลักฐานชั้นเยี่ยมในการสนับสนุนประเด็นนี้ แล้วข้อเรียกร้องของเสื้อแดงที่พยายามจะทำใหโครงสร้างอำนาจมันพลิกกลับข้าง ไปเป็นโครงสร้างอำนาจแบบการปกครองประชาธิปไตยตามสมัยใหม่นั้น “มันมีตรงไหนครับ ที่ไม่ใช่การปฏิรูปโครงสร้าง?” ผมมองอย่างไร ก็เห็นอย่างชัดเจนว่า “นี่แหละคือโคตรแห่งการปฏิรูปโครงสร้าง” เลยครับ ไม่เพียงแต่โครงสร้างอำนาจทางการเมือง แต่ในแง่ของโครงสร้างอำนาจทางสังคมนั้น หากไม่ได้แกล้งตามืดบอด (หรืออาจจะตามืดบอดจริงๆ) ก็คงจะทราบได้ครับว่า การปฏิรูปอำนาจ และสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น “เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุดกับโครงสร้างอำนาจในทางสังคม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสังคมที่นอกจากจะมีกฏหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ (ม.112 ป.อาญา) ที่ใช้กันอย่างเอกเกริกแล้ว ยังรวมไปถึงการบ่มเพาะจากการศึกษาภาคบังคับ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net