Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

25 มีนาคม 2554

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้เรื่องฟินแลนด์ และไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับฟินแลนด์ แต่ด้วยการเดินทางมาฟินแลนด์หลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2548 และได้อยู่ฟินแลนด์ในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา จนได้ร่วมสัมผัสบรรยากาศการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฟินแลนด์ที่ เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2554 เป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าลุกขึ้นมาทำความเข้าใจและศึกษาประวัติศาสตร์การ เมืองและวิถีประชาธิปไตยของประเทศฟินแลนด์ โดยหวังว่าข้อแลกเปลี่ยนเหล่านี้ อาจจะมีประโยชน์บ้างต่อประเทศไทยที่อำนาจนอกรัฐธรรมนูญปล้นประชาธิปไตยกว่า 20 ครั้ง และทำให้การเมืองไทยล้มลุกคลุกคลานมาตลอดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475

 


Jyrki Katainen (อายุ 39 ปี) ประธานพรรคร่วมแห่งชาติ ว่าที่นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์

 

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 17 เมษายน 2554

การเลือกตั้งของฟินแลนด์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา เป็นการเลือกตั้งที่สร้างการตื่นตัวทางการเมืองเป็นอย่างมาก ทั้งสีสันและการพลิกล็อคของพรรคการเมืองหลายพรรค โดยเฉพาะพรรครัฐบาลที่เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ ได้แก่พรรคกลาง (Central Party) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 และที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันดับหนึ่ง (51 ส.ส.) จนได้รับสิทธิจัดตั้งรัฐบาลในสมัยเลือกตั้งปี 2550 แต่การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคกลางพ่ายแพ้อย่างหนัก ได้รับเลือกเข้ามาเป็นอันดับสี่ ด้วยจำนวน ส.ส. เพียง 35 ที่นั่ง ทั้งนี้ได้สูญเสียพื้นที่ให้กับพรรคการเมืองหน้าใหม่สุด พรรคฟินน์แท้ (True Finns) ที่ก่อตั้งพรรคในปี 2538 ที่มี ส.ส. เพียง 5 ที่นั่ง ในสมัยเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่กลับชนะการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างถล่มทลายด้วยจำนวน ส.ส. ถึง 39 คน ในครั้งนี้

รัฐสภาฟินแลนด์มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 200 คน

 


Timo Soini (48) หัวหน้าพรรคฟินน์แท้

 

พรรคฟินน์แท้ พรรคลำดับสาม เข้ามาพร้อมทั้งกระแสยี้และกระแสฮิ้ว เกี่ยวกับนโยบายชาตินิยม และการประกาศไม่เห็นด้วยกับการนโยบายอุ้มประเทศล้มละลายทางเศรษฐกิจของสหภาพ ยุโรป นักวิจารณ์โปรสหภาพยุโรปจะเรียกพรรคฟินน์แท้ว่าพรรคชาตินิยมขวาจัด โดยเฉพาะท่าทีของ Timo Soini หัวหน้าพรรค ที่คัดค้านการอุ้มประเทศโปรตุเกสจากวิกฤติเศรษฐกิจ

แต่ด้วยการเป็นพรรคที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส.ส. ของพรรคฟินน์แท้ จึงเป็นเลือดผสม ที่มีหลากหลายทางความคิด ทั้งขวาจัดชาตินิยมหัวรุนแรง เหยียดผิว และต่อต้านคนต่างชาติ จนถึงซ้ายจัดเพื่อสวัสดิการประชาชนและคนจน

สำหรับฟินแลนด์ การได้รับเลือกตั้งเข้ามาของพรรคฟินน์แท้ ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นดังแรงพลักให้พรรคต่างๆ ต้องวิพากษ์วิจารณ์นโยบายและทิศทางการเมืองของพรรคตัวเองกันมากขึ้นเช่นกัน มันจึงเป็นดังคำเตือนให้พรรคการเมืองฟินแลนด์ต้องหันมามองปัญหาในประเทศกัน มากขึ้นทั้งในด้านบวกและด้านลบ ทั้งปัญหาการเปิดสู่โลก ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการจัดการทรัพยากร พลังงานนิวเคลียร์ ระบบสวัสดิการประชาชน เป็นต้น

การพ่ายแพ้ของพรรคสันนิบาตสีเขียวหรือพรรคกรีน ก็ถูกตั้งคำถามกันอย่างมากเช่นกัน ทั้งนี้พรรคกรีน ที่มีจุดเริ่มต้นจากนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ ในกลางทศวรรษ 2520 เป็นอีกหนึ่งพรรคที่เสียคะแนนนิยมไปถึง 33% จากจำนวน ส.ส. 15 คน ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เหลือเพียง 10 คน ประธานพรรค Anni Sinnemäki กล่าวว่า “เหตุผลที่คะแนนนิยมตกเนื่องจากการที่พรรคเข้าร่วมรัฐบาลที่สนับสนุน นิวเคลียร์ ในขณะที่การก่อกำเนิดของพรรคคือการต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์” และกล่าวว่า “พรรคขอมุ่งหน้าสู่การเป็นฝ่ายค้าน”

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจมากที่สุด จากการได้ศึกษาเรื่องการเลือกตั้งฟินแลนด์ โดยเฉพาะสำหรับคนที่มาจากการเมืองที่มีการคอรัปชั่น โกงการเลือกตั้ง และถูกปล้นอำนาจได้อย่างง่ายดายจากทหารและชนชั้นสูงเช่นประเทศไทย คือการเห็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม ตระหนักชัดว่า ความสำคัญว่าประชาธิปไตยต้องใช้เวลาสร้างและจะต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจนอก รัฐธรรมนูญ

 


หัวหน้าพรรคการเมืองฟินแลนด์จากซ้ายไปขวา: Jutta Urpilainen (พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย), Mari Kiviniemi (พรรคกลาง), Jyrki Katainen (พรรคแนวร่วมแห่งชาติ), และ Timo Soini (พรรยคฟินน์แท้). ภาพ: Finnish State broadcaster YLE

 

ระบบเลือกตั้งฟินแลนด์ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมากว่า 100 ปี และมีสัดส่วนผู้หญิงในสภาสูงมากเป็นอันดับต้นของโลก เป็นการเมืองที่ที่เคารพกติกาและหลักการ ไม่มีการสาดโคลนกันอย่างโจ่งแจ้ง นักการเมืองมีมารยาททางการเมืองกันมากจริงๆ แม้จะแพ้การเลือกตั้งก็ออกมาพูดให้เกียรติพรรคที่ชนะ ยอมรับผลการเลือกตั้ง มีน้ำใจนักกีฬาและเคารพคู่ต่อสู้ ที่สำคัญข้าพเจ้าไม่ได้ยินข่าวการซื้อเสียงเลยแม้แต่น้อย ส.ส. แต่ละคนใช้เงินหาเสียงกันหลักแสนบาทถึงล้านต้นๆ เท่านั้น (ไม่ใช่ระดับพันล้าน หมื่นล้านบาทเช่นที่ประเทศไทย)

ทั้งนี้ ส.ส. จะต้องรายงานการใช้เงินหาเสียงภายในสองเดือน แต่ผ่านไปอาทิตย์เดียว มี ส.ส. รายงานค่าใช้จ่ายกันกว่า 30% แล้ว และตัวเลขเงินที่ใช้ก็น้อยมาก

หนังสือพิมพ์สัมภาษณ์ ส.ส. หญิงสองท่าน ที่ได้รับเลือกตั้ง โดยเธอทั้งคู่บอกว่าใช้เงินไม่ถึง 10,000 ยูโร (ไม่ถึง 400,000 บาท) ไปกับการรณรงค์หาเสียงครั้งนี้ โดยบอกว่าส่วนใหญ่เป็นการใช้กำลังขาเสียมากกว่า

หัวหน้าพรรคส่วนใหญ่แจ้งการใช้เงินในการหาเสียงเพื่อการเลือกตั้งครั้ง นี้เพียงคนละ 40-50,000 ยูโรเท่านั้น ( ล้าน - สองล้านบาท) เมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่น่ีที่สูงกว่าเมืองไทยร่วม 10 เท่า การใช้เงินจำนวนแค่นี้ถือว่าน้อยมาก

เมื่อถามเพื่อนว่า คนฟินน์จะว่าอย่างไรถ้ามีผู้สมัครให้เงินให้เลือกตัวเอง “ผมคงชกปากผู้สมัครคนนั้นแน่ๆ ที่มาดูถูกกันเช่นนี้” เพื่อนตอบอย่างรวดเร็ว

 

ผลการเลือกตั้งปี 2554 เปรียบเทียบกับการเลือกตั้งปี 2550

 

พรรคการเมือง

2554

2550

 

%

ที่นั่ง

%

ที่นั่ง

พรรคความร่วมมือแห่งชาติ National Coalition

20.4

44

22.3

50

พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย Social Democrats

19.1

42

21.4

45

 พรรคฟินน์แท้ True Finns

19

39

4.1

5

พรรคกลาง Centre Party

15.8

35

23.1

51

พรรคเครือข่ายฝ่ายซ้าย Left Alliance

8.1

14

8.8

17

พรรคสันนิบาตเขียว Green Party

7.2

10

8.5

15

พรรคคนเชื้อสายสวีดิช Swedish People's Party

4.3

9

4.6

9

พรรคคริสเตียนประชาธิปไตย Christian Democrats

4.0

6

4.9

7

ที่มา: รอยเตอร์ 18 เมษายน 2554

 


สรุปผลการเลือกตั้งฟินแลนด์ 17 เมษายน 2554, ผู้มาใช้สิทธิ์ 2.77 ล้านคน
คิดเป็น 70.4% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ผู้ได้รับเลือกตั้งเพศหญิง 42.5% เพศชาย 57.5%
ที่มา: Iltalehti, 18 เมษายน 2011

 

สรุปประเด็นที่โดดเด่นของการเลือกตั้งฟินแลนด์ครั้งนี้

  • มีจำนวน ส.ส.หญิงได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และ ส.ส. 9 คน อายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาในปี 2550 มีเพียง 7 คน
  • การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 เมษายน มี ส.ส. หน้าใหม่ถึง 84 คน ในจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 200 คน (40%) เพิ่มขึ้นมา 12 คน จากการเลือกตั้งปี 2550
  • ส.ส. หญิง มีจำนวน 86 คน ( 42%)
  • อายุเฉลี่ยของ ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งคือ 47.8 ปี โดย ส.ส. อายุเกิน 60 ปี มีจำนวนลดลงกว่าครั้งที่ผ่านมา 6 คน และ ส.ส. ในวัยสามสิบกว่า กับห้าสิบกว่าปี ก็มีจำนวนลดลง แต่ ส.ส. วัยยี่สิบกว่าปีและสี่สิบกว่าปีี มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น
  • ส.ส. อายุน้อยที่สุดคือ 25 ปี อายุสูงสุดคือ 70 ปี

ชาวฟินน์สนใจวิเคราะห์การเมืองกันมาก แม้ว่ากระแสการวิเคราะห์วิจารณ์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ พุ่งไปที่การสูญเสียคะแนนของพรรคกลาง ให้กับพรรคชาตินิยมฟินน์แท้ แต่ในภาพรวมมันถูกวิเคราะห์ว่าเป็นการแพ้ของการเมืองของขั้วฝ่ายขวาให้กับ ขั้วเอียงซ้ายชาตินิยม

แนนอนแล้วว่า พรรคแนวร่วมแห่งชาติที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล และกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยคาดว่าจะร่วมด้วย
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ที่เป็นฝ่ายค้านในสมัยที่ผ่านมา พรรคฟินน์แท้ และอาจจะพ่วงพรรคสวีดีช เข้ามาด้วย จะเป็นรัฐบาลผสมระหว่างแดง+น้ำเงิน (สังคมนิยม+อนุรักษ์นิยม และ +ชาตินิยม)

รอยเตอร์รายงานว่า Jyrki Katainen (39) ประธานพรรคร่วมแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีคลัง จะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของฟินแลนด์ โดยมีความท้าทายต่อแนวนโยบายโปรยุโรป เขากล่าวว่า “จะพยายามเคลื่อนพรรคเอียงขวาของเขา ให้เข้ามาสู่ตรงกลางมากขึ้น และครั้งนี้ถือว่าพรรคได้รับโอกาสจะได้ดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองของ ประเทศเป็นครั้งแรกในรอบยี่สิบปี”
การเมืองฟินแลนด์จะเป็นการเมืองหลายพรรคมาโดยตลอด ในการเมืองยุคหลังสงครามโลก ไม่มีพรรคใดเลยที่ได้คะแนนเสียงจนสามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ส่วนมากจะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค

 

ทำความรู้จักพรรคการเมืองฟินแลนด์พอสังเขป

ฟินแลนด์มีการเลือกตั้งตัวแทน 4 ประเภท เลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 6 ปี เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุก 4 ปี เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนกลุ่มสหาภาพยุโรปทุก 5 ปี และเลือกตั้งในระดับเทศบาลทุก 4 ปี

อนึ่ง พรรคการเมืองเหล่านี้ของฟินแลนด์มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีพรรคการเมืองหลักที่อยู่ต่อเนื่องมากว่า 100 ปี สามพรรคได้แก่ พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ที่เริ่มจัดตั้งในนามพรรคแรงงานในปี 1899 (พ.ศ. 2442 สมัยรัชกาลที่ 5) แล้วมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในปี 1903 (พ.ศ. 2446) พรรคกลาง (Center Party) ก่อตั้งในปี 2449 และพรรคแนวร่วมแห่งชาติ (National Coalition Party) ที่ก่อตั้งในปี 2461

พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) เติบโตมาจากการเป็นพรรคแรงงานและเป็นพรรคที่ได้รับความนิยมสูงมามาโดยตลอดใน อดีต แต่ก็ได้รับความนิยมลดลงเรื่อยๆ ตามการเข้มแข็งมากขึ้นของค่ายเสรีนิยมใหม่ กระนั้นก็ตามก็ยังได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันดับหนึ่งถึงสามมาโดยตลอดจน ถึงปัจจุบัน

พรรคแนวร่วมแห่งชาติ (National Coalition Party) เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม เสรีนิยม เป็นพรรคเอียงขวา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2461

พรรคกลาง (Center Party) ก่อตั้งปี 1906 - พ.ศ. 2449 อยู่ตรงกลางระหว่างอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา เป็นพรรคอุดมการณ์เพื่อเกษตรกรรม เสรีนิยม และท้องถิ่นนิยม (Centre Party) ที่ได้รับความนิยมสูงมากขึ้นโดยเฉพาะหลังฟินแลนด์ประกาศอิสรภาพ

พรรคประชาชนเชื้อสายสวีดิช (Swedish People’s Party) เป็นพรรคเก่าแก่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1906 (พ.ศ. 2449) เป็นพรรคฝ่ายขวา พรรคของคนสวีเดนในฟินแลนด์ ในปัจจุบันได้รับความนิยมลดน้อยลงเรื่อยๆ

พรรคสันนิบาตเขียว (Green League) ก่อตั้งเป็นทางการปี 1987 (พ.ศ. 2530) แต่ได้เริ่มกิจกรรมทางการเมืองนับตั้งแต่ปี 2526 อุดมการณ์การเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม ต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ และส่งเสริมการรวมยุโรป

พรรคเครือข่ายฝ่ายซ้าย (Left Alliance) เป็นพรรคการเมืองของฝ่ายซ้ายที่มีอุดมการณ์สังคมนิยม และตั้งอยู่บ้นพื้นฐานประชาธิปไตยประชาชนและพรรคคอมมิวนิสต์ฟินแลนด์ ก่อตั้งในปี 2533

พรรคฟินน์แท้ 1995 (พรรคชาตินิยมประชานิยม) (True Finns) 19.0% จำนวน ส.ส. 35 คน

 

ประวัติศาสตร์ฟินแลนด์อย่างคร่าวๆ

ฟินแลนด์ประเทศเล็กๆ มีประชากรเพียง 5.5 ล้านคน มีชื่อเรื่องไม้สนคุณภาพสูง ทะเลสาบ โดยมี กลุ่มธุรกิจที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักทั่วโลกคือ Nokia

ประเทศฟินแลนด์คือชายแดนยุโรปกับรัสเซีย อยู่ตรงกลางระหว่างมหาอำนาจสวีเดนและรัสเซีย

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ฟินแลนด์อยู่ภายใต้อาณานิคมของสวีเดน จนถูกรัสเซียยึดอำนาจในศตวรรษที่ 18 เมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซียเพื่อโค่นพระเจ้าซาร์ในปี 2460 ฟินแลนด์ประกาศอิสรภาพจากรัสเซีย

แต่สถานการณ์การเมือง ก็ไม่ได้ราบรื่นเพราะในปีต่อมา ปี 2461 ฟินแลนด์ ต้องผ่านการสู้รบสงครามในประเทศระหว่างชนชั้นล่างกับ ชนชั้นสูงที่สร้างความเจ็บปวดให้กับชาวฟินแลนด์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประชาชนเสียชีวิตในสงครามกลางเมืองร่วมสี่หมื่นคน

ในสงครามกับค่ายรัสเซียที่รุกรานฟินแลนด์ในปี พ.ศ. 2482 ตามมาด้วยการบุกขึ้นมาของกองทัพนาซีเยอรมัน จนสิ้นสุดลงพร้อมกับสงครามโลกในปี 2488 ในการต่อสู้เพื่อป้องกันเป็นเวลาร่วมสิบปีนี้ ทหารฟินแลนด์เสียชีวิต 93,000 คน ถือเป็นสัดส่วนการเสียชีวิตของทหารจากสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรสูงเป็นอันดับสามของโลก

บ้านเรือนทางตอนเหนือของฟินแลนด์ ถูกทหารนาซีเยอรมันเผาราบตลอดเส้นทางการล่าถอยเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ทำให้มีประชาชนกว่าแสนคนไร้ที่อยู่อาศัย

ฟินแลนด์ต้องทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซียในปี 2490 โดยยอมสูญเสียพื้นที่ 10% ให้กับรัสเซีย และอพยพผู้คนกว่าสี่แสนคนออกจากพื้นที่เหล่านั้น

นับตั้งแต่ปี 2449 ที่มีการเลือกตั้งครั้งแรกในฟินแลนด์ ผู้หญิงได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียง ทั้งนี้ฟินแลนด์เป็นชาติแรกในโลก ที่มีผู้หญิงได้รับเลือกเข้าไปนั่งในสภา ในการเลือกตั้งล่าสุดสัดส่วน ส.ส. หญิงในฟินแลนด์ 42%

 


ประธานาธิบดีคนปัจจุบันทาเรีย ฮาโลเนน (Tarja Halonen)อายุ 68 ปี
ดำรงตำแหน่ง 2543 - ปัจุจุบัน (สมัยที่สอง)

 

เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป และในโลกนี้ รัฐบาลฟินแลนด์เผชิญกับการตัองจัดการกับงบประมาณติดลบกว่าสามแสนล้านบาทจำ เป็นจะต้องพิจารณาตัดลดงบประมาณ ในขณะที่งบทหารประเทศมหาอำนาจและประเทศเผด็จการเพิ่มขึ้นทั่วโลก ฟินแลนด์เป็นตัวอย่างประเทศที่เลือกที่จะตัดลดงบทางทหาร

ทั้งนี้กระทรวงกลาโหม เสนอแผนระยะยาวเพื่อการปรับโครงสร้างการทหารทั้งหมดทั้งด้านงบประมาณและกำลังพล
เป้าหมายคือการปรับโครงสร้างกำลังพลของฟินแลนด์ภายในปี 2559 (2016) พลโท Arto Räty, ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า “คาดว่าเราจะสามารถออมเงินประเทศได้มากขึ้นหลังจากการลดกำลังพล ไม่ว่าจะด้วยในนามเพื่อการสร้างความเข้มแข็งแห่งสันติภาพหรือกองกำลังลงไป ได้”

รัฐบาลอภิสิทธิ์แก้ปัญหางบขาดดุลด้วยการกู้ เพิ่มงบทหาร และงบปกป้องสถาบัน อนุมัติงบประมาณซื้ออาวุธสงครามหลายพัน หลายหมื่นล้านอย่างง่ายดาย

รัฐบาลฟินแลนด์เป็นประเทศสาธารณรัฐสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุม ตั้งแต่เกิดจนถึงเชิงตะกอน ทั้งนี้ มีระบบการสงเคราะห์บุตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ออก พ.ร.บ. เงินบำนาญแห่งชาติ ในปี 2459 พ.ร.บ. ประกันสุขภาพแห่งชาติในปี 2506 กฎหมายประกันการว่างงานในปี 2510 พ.ร.บ. การศึกษาที่ครอบคลุมทั้งระบบในปี 2511 และ พ.ร.บ.การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานในปี 2513 ฯลฯ

 

สรุป

แน่นอนว่าทุกประเทศมีปัญหา ความสัมพันธ์ของฟินแลนด์กับไทยกำลังถูกท้าทายด้วยการแก้ปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยไปเก็บเบอรรี่ที่ฟินแลนด์

ในขณะเดียวกันที่ประเทศฟินแลนด์ ขบวนการต่อต้านนิวเคลียร์ยังคงประท้วงการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ของ รัฐบาลจนถึงปััจจุบัน ก็กำลังเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ และเช่นเดียวกับหลาประเทศ ฟินแลนด์เผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจถดทอย และการหาเงินมาจ่ายด้านสวัสดิการสังคมและการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น

แต่เมื่อมองดูบริบทการเลือกตั้งในฟินแลนด์ แล้วมาดูการเมืองไทย ก็ต้องบอกว่าอดชื่นชมไม่ได้ โดยเฉพาะฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีครรลองการเลือกตั้งต่อเนื่องยาวนาน นับตังแต่ปี 2449
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร ตั้งแต่ปี 2475 โดยมีนักคิดด้านนโยบายคนสำคัญได้แก่ปรีดี พนมยงค์ ที่นำเสนอแนวนโยบายการพัฒนาประเทศที่ก้าวหน้าและสอดรับกับแนวนโยบายการพัฒนา ของกลุ่มประเทศตะวันตก และประเทศปลดแอกอาณานิคมในยามนั้นจำนวนไม่น้อย โดยมุ่งหน้าเพื่อการสร้างอธิปไตยของประเทศ ปลดล๊อคข้อตกลงทางการค้าที่เอาเปรียบประเทศไทย อันเนื่องมาจากสนธิสัญญาเบาริงห์ วางเค้าโครงทางเศรษฐกิจที่มุ่งเรื่องการสร้างงาน สร้างความเข้มแข็งของระบบเกษตรกรรม รวมทั้งระบบประกันสังคมให้กับคนทั้งประเทศ เป็นแนวนโยบายที่ก้าวหน้ามาก

แต่น่าอดสูและเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านเค้าโครงเศรษฐกิจและแนวนโยบายการบริหารประเทศของปรีดีและคณะราษฎรถูก ขัดขวางอย่างหนักจากพวกรอยัลลิสต์และทหาร ทั้งโจมตีเขาด้วยข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่เคารพราชบัลลังก์ จนปรีดีและคณะราษฎร รวมทั้ง ส.ส. ก้าวหน้าในยามนั้นถูกโค่นในระยะเวลาเพียง 15 ปี ด้วยรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยทหารและชนชั้นสูงที่ไร้วิสัยทัศน์ และไม่ได้คำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

ถ้าแผนของปรีดีได้ปฏิบัติใช้จริง มิแน่ว่า ไทยอาจจะพัฒนาทัดหน้าเทียมตายุโรปไปแล้วก็ได้ยามนี้ ไม่ใช่ตกต่ำลงเรื่อยๆ จนถูกจัดเข้ากลุ่มประเทศเผด็จการเช่นเดียวกับพม่าเช่นนี้

เมื่อมองฟินแลนด์แล้วมองดูการเมืองไทยในปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ว่าแนวนโยบายประชานิยมของทั้งทักษิณและประชาธิปัตย์ ไม่ได้ถือเป็นแนวนโยบายที่ก้าวหน้า และก็ไม่ได้มุ่งเรื่องการสร้างความมั่นคงที่รากฐานของประเทศและประชาชนอย่าง แท้จริง แต่เป็นแนวนโยบายทุนนิยมเมกาโปรเจค เป็นการพัฒนาประเทศด้วยซีเมนต์และคอนกรีต มากกว่าการสร้างพื้นที่สีเขียวและจัดการกับปัญหาบ้านเมืองด้วยการสร้างความ สมดุลของระบบนิเวศน์ เป็นการเมืองเรื่องค่าพรีเมี่ยม ค่าหัวคิว ธุรกิจทับซ้อน สัมปทานโครงการลงทุนของรัฐ ของกลุ่มตระกูลนักการเมืองและกลุ่มทุนพวกพ้อง เป็นแนวการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างพื้น ฐานทางวิถีชีวิตแห่งความมั่นคงทางอาหาร สมดังเป็นประเทศเกษตรกรรมชั้นนำของโลก การเมืองที่ตั้งอยู่บนการสร้าวความมั่งคั่งให้กับนักการเมืองและกลุ่มทุน และพวกพ้อง บนการแสวงประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐ และการคอรัปชั่น ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน

บทเรียนฟินแลนด์ ไม่มากก็น้อย อาจจะเป็นหนึ่งในบทเรียนหลายบทที่ย้ำเตือนพวกเราอีกครั้งว่า การวางรากฐานและเคารพกติกาประชาธิปไตยโดยประชาชน ต้องมาก่อนการสร้างเศรษฐกิจตามวิถีเผด็จการรัฐสภา การเมืองหลายพรรคก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อสน่ส
อำนาจถ่วงดุลกันและกันในสภา และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพประชาชน

การเปิดเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การต่อรองร่วม และนำเสนอความคิดเห็นได้อย่างเสรี และการสร้างหลักประกันพื้นฐานแห่งการดูแลชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงเชิงตะกอนให้ กับประชาชน

อ้างอิง:

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net