Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ชื่อบทความเดิม: การดำเนินงานของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติตามปฏิญญาอาเซียนเรื่อง การปกป้องและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ (ACMW) บทวิเคราะห์และข้อเสนอ [1]

 

อาเซียนร่วมกันกำหนดปฏิญญาว่า ด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคเพื่อให้เจ้า หน้าที่ดำเนินการพัฒนากลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ และได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามปฏิญญาดังกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 คณะกรรมการชุดนี้ดำเนินงานอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐมนตรีอาเซียนด้าน แรงงาน หลังจากที่ทุกประเทศได้แต่งตั้งผู้แทนในคณะกรรมการชุดดังกล่าวในปี 2551 ในเดือนเมษายน 2552 มีการประชุมครั้งแรกของคณะทำงานเพื่อร่างกรอบตราสารอาเซียนในการคุ้มครองและ ส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ

ในการประชุมครั้งนี้มีการแต่งตั้งให้ประเทศที่มีแรงงานข้ามชาติจำนวนมาก อาศัยและทำงานอยู่ ได้แก่ประเทศมาเลเซียและประเทศไทย ดำเนินการร่างกรอบตราสารดังกล่าวร่วมกันกับประเทศที่มีแรงงานย้ายถิ่นไปทำ งานในประเทศอื่นในภูมิภาคจำนวนมากคือ ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่กระบวนการร่างและเจรจามิได้มีความคืบหน้ามากนักเนื่องจากความสนใจที่แตก ต่างกันของสี่ประเทศสมาชิก

จนกระทั่งในปีนี้ 2554 การประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนในเมืองย็อกยาการ์ตาเมื่อเดือนที่ แล้วยังคงประสบความล้มเหลวในการทำข้อตกลงเพื่อการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติทุก คนในภูมิภาค เนื่องจากมีการรายงานว่า สี่ประเทศหลัก คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และบรูไน ปฏิเสธที่จะให้การคุ้มครองแรงงานทั้งที่มีเอกสารทางกฎหมายและไม่มีเอกสารทาง กฎหมาย ปฏิเสธการคุ้มครองที่ต้องรวมไปถึงครอบครัวของแรงงานย้ายถิ่น

สิงคโปร์เองปฏิเสธอย่างเปิดเผยต่อแนวคิดของการย้ายถิ่นโดยเสรีในภูมิภาค เนื่องจากเกรงว่าจะมีคนมากเกินไปที่จะเข้าไปในประเทศเล็กๆ(แต่ร่ำรวย [2]) อย่างสิงคโปร์ ในขณะที่ประชาชาติอื่นๆ เช่นเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า ก็ล้มเหลวในการผลักดันให้มีการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศของตน

อีกประเด็นซึ่งมีการถกเถียงกันคือประเทศอย่างฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ต้องการให้กรอบตราสารนี้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย แต่ถูกต้านจากประเทศอื่นๆ เช่นสิงคโปร์และมาเลเซีย และการถกเถียงยังรวมไปถึงกรอบตราสารนี้จะขยายการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่ ไม่ได้มาจากประเทศในอาเซียนหรือไม่

 

การประชุมครั้งต่อไปมีดังนี้คือ

การประชุมของ ACMW ครั้งที่สี่ในเมืองบาลี อินโดนีเซีย วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

การประชุมของรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงานครั้งที่ 7 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย วันที่ 16 พฤษภาคม 2554

อย่างไรก็ตามผู้เขียนมีโอกาสได้ทำการวิเคราะห์ร่างกรอบตราสารว่าด้วยการ คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติชุดของคณะกรรมการของสี่ประเทศที่ กำลังร่างและมีประเด็นที่จะนำเสนออย่างสังเขปดังนี้คือ

  • ร่างที่มีอยู่ปัจจุบันเน้นรายละเอียดประเด็นสิทธิแต่ในทางอาญามากกว่า ที่จะเน้นไปที่สิทธิแรงงาน เช่นมิได้ระบุให้แรงงานมีสิทธิจะอยู่อย่างถูกกฎหมายในประเทศปลายทางระหว่าง ที่มีการร้องทุกข์เรื่องการละเมิดสิทธิของตน (right to stay/redress) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะเอื้อให้แรงงานเข้าถึงการร้องทุกข์และกระบวนการ ยุติธรรม
  • ร่างกรอบตราสารไม่ได้ตระหนักถึงสิทธิของแรงงานในทุกประเด็นที่สำคัญ เช่นไม่มีประเด็นสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรหรือมีเวลาในการเป็นพ่อแม่ให้ลูก, สิทธิในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ, อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงาน, ประกันสังคม, การคุกคามทางเพศ, วันหยุด, กลไกการใช้สิทธิ ฯลฯ
  • ไม่มีการตระหนักถึงความสำคัญของหลักเกณฑ์ด้านบทบาทหญิงชายในประเด็นการ ย้ายถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญในการตระหนักถึงงานของผู้หญิง มิฉะนั้น งานที่ผู้หญิงทำจะยังคงถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงและด้วยเหตุนี้มิได้ มีความจำเป็นที่จะมีกฎหมายใช้ในการคุ้มครอง ซึ่งยังคงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ร่างตราสารนี้มิได้พูดถึงประเด็นนี้เลย
  • โครงสร้างของคณะกรรมการ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหมด มีการระบุว่าหากมีความจำเป็นอนุญาตให้องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญหรือองค์กร ของสหประชาชาติ อาจจะเป็นองค์การรัฐบาล อาจได้รับการเชิญเป็นที่ปรึกษาจากคณะกรรมการเพื่อร่วมในดำเนินงานทางตราสาร หรือร่วมการประชุม ไม่มีการกล่าวถึงประชาสังคม หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างสูงสุดต่อการย้ายถิ่นอย่างตัวแรงงานข้ามชาติ เอง

สิ่งที่เราควรจะเรียกร้องให้มีในตราสารกรอบการคุ้มครองนี้คือ

  • ความเสมอภาคของบุคคลและการเข้าถึงการคุ้มครองทางกฎหมายที่เท่าเทียมของ บุคคลทุกคน ซึ่งรวมถึงแรงงานทุกคน อาเซียนต้องกำหนดกรอบเพื่อคุ้มครองคนงานข้ามชาติและครอบครัว โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพของพวกเขา และมีหลักประกันว่ากฎหมายของอาเซียนเพื่อคุ้มครองคนงานข้ามชาติจะมีผลบังคับ ใช้ตลอดทั่วภูมิภาค
  • รัฐในอาเซียนต้องตระหนักถึงความสำคัญด้านบทบาทหญิงชายในประเด็นการย้าย ถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญในการตระหนักถึงงานของผู้หญิงว่าต้องได้รับการ คุ้มครองทางกฎหมาย เช่นแรงงานที่ทำงานในบ้าน พนักงานบริการ ฯลฯ
  • ประชาชนในอาเซียนควรจะมีสิทธิในการเคลื่อนย้ายและสิทธิในการทำงานอย่างอิสระในทุกประเทศในภูมิภาค
  • ปี 2015 นี้อาเซียนจะกลายเป็นตลาดเดียวกันหรือเป็นชุมชนเดียวกันตามคำขวัญของอาเซียน ที่ว่า "วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว" การมุ่งส่งเสริมให้เกิดประชาคมอาเซียน ต้องทำไปพร้อมกับการที่อาเซียนยอมรับ “แรงงานอาเซียน” คนงานในอาเซียนทุกคนต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งสิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานแรงงานหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ทุกรัฐบาลในอาเซียนต้องส่งเสริมการเจรจาที่คำนึงถึงดุลอำนาจระหว่างแรงงาน ข้ามชาติ สหภาพแรงงาน ภาคประชาสังคมและนายจ้างทั้งในระดับชาติและอาเซียน รวมถึงสิทธิมนุษยชนที่มีการยอมรับอยู่แล้วในกฎบัตร อนุสัญญาและปฏิญญาต่างๆ ของสหประชาชาติ
  • เมื่อมีการยอมรับแรงงานอาเซียนแล้ว อาเซียนควรยกระดับการส่งเสริมการย้ายถิ่น และขจัดสภาวะทางกฎหมายคนเข้าเมืองที่ขณะนี้รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการแยก ประเภทและเลือกปฏิบัติคนงานเนื่องจากสถานภาพทางกฎหมายของพวกเขา ซึ่งนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่นการจับ การกักขัง การลงโทษโดยการโบย และการส่งกลับประเทศที่ไม่มีมาตรฐานและละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • หากยอมรับร่วมกันว่าผู้คนที่ย้ายถิ่นจากประเทศสมาชิกและทำงานเป็น “แรงงานอาเซียน “ จะทำให้รัฐอาเซียนสามารถดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดสวัสดิการพื้นฐาน (Social Safety Net) และตามด้วยโครงการความมั่นคงทางสังคม (Social Security) ซึ่งต้องคุ้มครองทั้งคนงานและครอบครัว
  • รัฐในอาเซียนต้องปฏิบัติทางนโยบายที่เปิด มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รัฐควรยอมรับให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการย้ายถิ่นอย่างสูงสุด คือตัวแรงงานข้ามชาติเองมีพื้นที่ในการร่วมกำหนดนโยบายร่วมกับภาครัฐและ ประชาสังคมอื่นๆ ที่สำคัญคือต้องให้การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติภายใต้กฎระเบียบ นโยบาย กฎหมายในประเทศ

หมายเหตุ:

การวิเคราะห์และข้อเสนอนี้ จัดทำโดย ปรานม สมวงศ์ ผู้ประสานงานศูนย์แรงงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง (WH4C) ผู้เขียนเป็นที่ปรึกษาของเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM) และสมาคมผู้หญิงเพื่อกฎหมาย การพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิค (APWLD)

 

อ้างอิง:

  1. ข้อมูลการวิเคราะห์ ณ เดือนเมษายน 54
  2. ผู้เขียน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net