Skip to main content
sharethis

คนงานกว่า 83,000 คน ในโรงงานนิวเคลียร์ 18 แห่งของญี่ปุ่น 88% เป็นคนงานสัญญาจ้างที่หมดสัญญาเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ที่โรงงานฟุกุชิมาไดอิจิ 89% ของแรงงาน 10,303 คนเป็นแรงงานสัญญาจ้างในช่วงนั้น การจ้างงานในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นคนงานที่เสี่ยงอันตรายคือผู้รับ เหมา คนงานเหมาช่วง และลูกจ้างชั่วคราว ที่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์น้อยลดหลั่นกันลงไป

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาขณะที่คนทั้งโลกจับจ้องมองการกู้วิกฤตที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาไดอิจิ รายงานชิ้นหนึ่งของนิวยอร์คไทม์ (Japanese Workers Braved Radiation for a Temp Job) นำเสนออีกมุมมองหนึ่งต่อคนงานที่ถูกยกย่องเปรียบเสมือนฮีโร่ ว่าในอีกด้านหนึ่งพวกเขาเคยเป็นและเป็นเพียง “คนงานที่ขาดความมั่นคง” ผู้ได้รับผลประโยชน์เพียงน้อยนิดจากอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ มีมูลค่ามหาศาลของญี่ปุ่น …

0 0 0

คน งานในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นคนงานสัญญาจ้าง ขาดความมั่นคง และเสี่ยงต่อปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัย (ที่มาภาพ: AFP)

คา โสะ ญี่ปุ่น - เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาไดอิจิ มาซายูกิ อิชิซาว่าแทบจะยืนไม่ติดที่ เขาถือหมวกนิรภัยวิ่งออกจากห้องพักคนงานที่อยู่ใกล้ๆกับเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ไปยังกลุ่มคนงานที่กำลังทำการซ่อมแซมเตาปฏิกรณ์ เขาเห็นปล่องไฟและเครนสั่น ไหวอย่างแรง ทุกคนร้องตะโกนอย่างตื่นตระหนก

อิชิซาว่า คนงานชายวัย 55 ปี วิ่งไปที่ประตูกลาง แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยกลับไม่ให้เขาออกไป มีรถจอดเรียงกันเป็นแนวยาวที่หน้าประตู และคนขับรถบางคนบีบแตรเสียงดัง “ขอดูบัตรประชาชนหน่อย” พนักงานรักษาความปลอดภัยถาม ทั้งยังกล่าวกับเขาอีกว่าได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ ทว่าคนพวกนี้ได้รับคำสั่งมาจากไหนกัน? ใครเป็นคนสั่งหรือ?

 “นี่นาย พูดอะไรออกมาน่ะ?” อิชิกาว่าตะโกนใส่พนักงานรักษาความปลอดภัยคนนั้น เขามองข้ามไหล่ไปเห็นขอบฟ้าสีดำทะมึน และเขาก็พูดว่า “ไม่รู้หรือไงว่าซึนามิกำลังมา?”

กระทั่งในที่สุดอิชิกาว่าได้รับ อนุญาตให้ออกจากพื้นที่ได้ เขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิวเคลียร์ ไม่ใช่แม้กระทั่งลูกจ้างประจำของบริษัทโตเกียวอิเล็คทริกพาวเวอร์ แต่เขาเป็นเพียงหนึ่งในผู้คนหลายพันคน ที่เป็นแรงงานชั่วคราวที่ไม่มีทักษะ แต่รับจ้างทำงานที่เสี่ยงอันตรายกับกัมมันตภาพสังสีเพราะมีค่าจ้างสูงลิ่วมา ล่อ โดยภาพรวมแล้วผู้รับเหมาเหล่านี้มีการเปิดรับรังสีกว่า 16 ครั้ง ในระดับที่สูงเท่ากับลูกจ้างของโตเกียวอิเล็คทริกได้รับเมื่อปีที่แล้ว จากข้อมูลของสำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น พบว่าแรงงานเหล่านี้ยังคงมีความสำคัญต่อวิกฤตนิวเคลียร์อีกมาก

แรง งานประเภทรองที่ทำงานเพื่อเงินที่น้อยกว่า ความปลอดภัยในการทำงานน้อยกว่า และได้ค่าตอบแทนจำนวนน้อยนิด แรงงานดังกล่าวมีแต่จะเสียสุขภาพและทำให้ความปลอดภัยของโรงงานนิวเคลียร์ลด ลงด้วย นักวิเคราะห์ กล่าว

 “นี่คือโลกที่คนมองไม่เห็นของพลังงาน นิวเคลียร์” โยโกะ ฟูจิตะ อดีตอาจารย์ฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเคโอและนักเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อสภาพแรง งานที่ดีขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ กล่าว “ที่ไหนก็ตามที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่แย่ แรงงานเหล่านี้จะถูกสั่งให้ไปทำ มันอันตรายสำหรับพวกเขา และมันก็อันตรายต่อความปลอดภัยของนิวเคลียร์ด้วย”

มีแรงงานประมาณ 83,000 คน ในโรงงานนิวเคลียร์ 18 แห่งของญี่ปุ่น 88% เป็นพนักงานสัญญาจ้างระยะสั้นที่หมดสัญญาจ้างในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ที่โรงงานฟุกุชิมาไดอิจิ 89% ของแรงงาน 10,303 คนเป็นแรงงานสัญญาจ้างในช่วงนั้น ในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นชนชั้นนำที่เป็นผู้ประกอบการและผู้ ผลิตอย่างบริษัทโตเกียวอิเล็คทริก ที่รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างโตชิบาและฮิตาชิ แต่ภายใต้บริษัทเหล่านั้นคือผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง และลูกจ้างชั่วคราว กับค่าจ้างและผลประโยชน์การป้องกันรังสีลดน้อยลงลดหลั่นลงไป

จากการ พูดคุยกับคนงานที่ฟุกุชิมาไดอิจิและคนอื่นๆ ต่างให้ภาพหม่นไร้สีของคนงานที่ทำงานกับวงจรนิวเคลียร์ การต่อสู้กับปริมาณความร้อนที่มากระหว่างการทำความสะอาดเตาปฏิกรณ์และบ่อพัก น้ำโดยใช้ไม้ถูพื้นและเศษผ้า การเคลียร์ทางเพื่อผู้ตรวจ ผู้เชี่ยวชาญ และนายจ้างจากโตเกียวอิเล็คทริก ทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นเพื่อเติมเต็มถังด้วยด้วยของที่ปน เปื้อน

คนงานบางคนถูกว่าจ้างมาจากสถานก่อสร้างและบางส่วนเป็นเกษตรกร ที่มองหารายได้เสริม นอกเหนือจากนั้นยังมีการว่าจ้างจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ข้อมูลจากคนงานจำนวนหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อ

พวกเขาพูดถึงความกลัวจาก การถูกไล่ออก พวกเขาพยายามซ่อนบาดแผลเพื่อหลีกเลี่ยงการมีปัญหากับนายจ้าง ผ้าพันแผลและพลาสเตอร์ยาถูกใช้เพื่อปกปิดรอยแผลและรอยฟกช้ำ

ในที่ที่ อันตรายที่สุดอดีตคนงานและคนงานปัจจุบันพูดตรงกันว่า ระดับรังสีนั้นสูงมาก คนงานจะผลัดกันเข้าเปิดวาล์ว 2-3 วินาทีก่อนที่ผู้บังคับบัญชาที่มีนาฬิกาจับเวลาจะสั่งให้ถอยออก เพื่อที่ว่าคนงานคนต่อไปได้มาเปิดต่อ “ขณะนี้ยังมีความต้องการการทำงานลักษณะนี้ที่ฟุกุชิมาไดอิจิ ที่มีเตาปฏิกรณ์สามเตาหยุดทำงานอัติโนมัติจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว” คนงานกล่าว

และเมื่อมาตรการทางรังสีมาถึงขั้นสูงสุด จากระดับการรับได้ต่อวัน คือ 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง “เมื่อคุณได้รับรังสีถึงระดับนั้น ก็จะไม่ได้ทำงานอีกต่อไป” คนงานผู้ไม่เผยชื่อเนื่องจากกลัวจะถูกไล่ออก กล่าว

ทาเคชิ คาวากามิ วัย 64 ปี จำการปีนเข้าไปที่บ่อเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ที่ฟุกุชิมาไดอิจิ เมื่อคราวซ่อมบำรุงประจำปีเมื่อประมาณทศวรรษที่ 1980 ได้ดี เพื่อขัดทำความสะอาดผนังที่เต็มไปด้วยรังสีด้วยแปรงและเศษผ้า แรงงานทุกคนดำเนินการตั้งค่าให้เสียงเตือนหากถึงระดับความเสี่ยง แต่คาวากา มิอยู่ในนั้นกว่า 20 นาที

 “มันแทบทนไม่ได้เลย คุณต้องใส่หน้ากาก แถมที่รัดแน่นมากด้วย” ดาวากามิ กล่าว “ผมเริ่มรู้สึกวิงเวียน ผมมองไม่เห็นแม้กระทั่งการกระทำของตัวเอง ผมคิดว่าผมจะจมกองเหงื่อตัวเองตายเสียแล้ว”

นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1970 อดีตคนงานประมาณ 50 คน เป็นโรคลูคิเมียและโรคมะเร็งแบบอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพกล่าวว่าอดีตคนงานหลายคนกำลังประสบปัญหาทางด้าน สุขภาพอันเป็นผลมาจากการทำงานกับนิวเคลียร์ มันยากที่จะแก้ไขโดยตรง และนายคาวากามิได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้

มี ข่าวร้ายของคนงานปรากฏเป็นระยะๆในรายงานความปลอดภัย หนึ่งในนั้นถูกนำเสนอโดยบริษัทโตเกียวอิเล็คทริกให้แก่รัฐบาลของจังหวัดฟุกุ ชิมะ เมื่อเดือนตุลาคม 2010 เกิดอุบัติเหตุในระหว่างที่คนงานประจำที่กำลังเช็ดกังหัน และถูกรังสีระดับที่เป็นอันตรายโดยไม่ตั้งใจ หลังจากใช้ผ้าขนหนูที่ใช้เช็ดกังหันมาเช็ดหน้า ในการตอบสนองของบริษัทกล่าวในรายงานว่า ควรจะมีผ้าขนหนูพิเศษสำหรับเช็ดเหงื่อของคนงาน

ทุกวันนี้แรงงานถูก อพยพจากฟุกุชิมาไดอิจิหลังจากแผ่นดินไหวและซึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคม นับแต่นั้นมา ใครก็ตามที่จะกลับเข้าไปจะได้รับการป้องกันอย่างเข้มงวดจากสื่อมวลชน ส่วนมากพวกเขาจะอยู่ในพื้นที่ปิดสำหรับคนงานที่นักข่าวไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่มีสัญญาณบ่งบอกว่ามีการทำงานอยู่บริเวณนั้น

คนงานเหมาช่วงสองคน ได้รับบาดเจ็บเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วขณะที่พวกเขาเดินในน้ำที่มีสาร กัมมันตรังสี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม คนงานคนอื่นๆก็ได้รับสารกัมตรังสีเกินขนาดกว่า 100 มิลลิซีเวิร์ตต่อวัน หรือระดับรังสีขั้นวิกฤตที่ตั้งไว้สำหรับคนงาน (และเพิ่มขึ้นเป็น 250 มิลลิซีเวิร์ตต่อวัน เมื่อมีนาคมที่ผ่านมา)

บริษัทปฏิเสธที่จะพูดว่า มีจำนวนคนงานที่ได้รับรังสีเกินค่ามาตรฐานนั้นมีเท่าใด คนงานประมาณ 300 คนอยู่ที่เตาปฏิกรณ์ คนงาน 45 คนถูกจ้างโดยผู้รับเหมา

แรงงานถูกนำ กลับไปยังเตาปฏิกรณ์โดยมีค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นประกอบกับความเสี่ยงที่เพิ่ม ขึ้นด้วย นายอิชิซาวา บ้านอยู่ห่างประมาณ 1 ไมล์จากโรงงานนิวเคลียร์ ได้ย้ายไปอยู่เมืองอื่นหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เขากล่าวว่าเขาถูกเรียกตัวจากนายจ้างเก่าที่เสนอค่าจ้าง 350 เหรียญสหรัฐ/2 ชม. ของการทำงาน มีการจ่ายเงินมากกว่าสองครั้งก่อนหน้านี้ เพื่อร่วมงานบางคนของเขาถูกเสนอเงินถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ/วัน แต่เมื่อได้ทราบข่าวของการรั่วไหลของรังสีทำให้นายอิชิซาวาปฏิเสธที่จะกลับ ไป

เงื่อนไขในการทำงานถูกปรับให้ดีขึ้นหลายปีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ กล่าว ในขณะที่ความเสี่ยงต่อคนงานลดลงในปี 1990 ชี้ให้เห็นว่าเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีขึ้น รัฐบาลแสดงอัตราที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2000 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นจากเครื่องปฏิกรณ์ นอกจากนี้จำนวนของคนงานในภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้น

เท็ดซึน นากาจิมา เจ้าอาวาสวัดเมียวสึจิอายุ 1,200 ปี ในเมืองโอบามะใกล้กับทะเลญี่ปุ่น ได้ทำการรณรงค์เพื่อสิทธิของคนงานตั้งแต่ปีทศวรรษ 1970 เมื่อเริ่มต้นสร้างสาธารณูปโภคในท้องถิ่น มีการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ตามแนวชายฝั่งปัจจุบันมีที่งหมด 15 แห่ง และเขายังก่อตั้งสหภาพแรงงานโรงงานนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกอีกด้วย

 “สหภาพ แรงงานมีนโยบาย 19 ข้อต่อผู้ประกอบการโรงงาน รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไม่ปลอมระเบียนรังสีและไม่บังคับให้คนงานโกหก ผู้ตรวจของราชการเกี่ยวกับขั้นตอนความปลอดภัย แม้ว่าคนงานกว่า 180 คนเป็นสมาชิกของสหภาพ ผู้นำของสหภาพจะถูกเยี่ยมโดยพวกนักเลงเร็วๆนี้ โดยนักเลงกลุ่มนี้เคยเตะประตูและข่มขู่ครอบครัวของพวกเขา” เท็ดซึน กล่าว

 “พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พูด” นากาจิมะ กล่าว “เมื่อคุณเข้าสู่โรงงานนิวเคลียร์ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเก็บเป็นความลับ”

เมื่อ ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา บทสนทนาระหว่างคนงานฟุกุชิมาไดอิจิที่บริเวณพื้นที่ให้สูบบุหรี่ศูนย์ของผู้ โยกย้าย มีประเด็นเกี่ยวกับจะอยู่หรือจะกลับไปที่โรงงาน บางคนพูดว่าทำงานก่อสร้างยังจะดูปลอดภัยกว่า “คุณเห็นรูโหว่ที่พื้น แต่คุณมองไม่เห็นรังสีหรอก” คนงานคนหนึ่งกล่าว

นายอิชิซาวา คนงานแค่เพียงคนเดียวที่ยอมเปิดเผยชื่อกล่าวว่า “ผมจะกลับไปที่โรงงานอีกในสักวันหนึ่ง แต่ผมต้องอดอาหาร” นอกจากงานของเขาที่ไดอิจิ เขาได้ทำงานที่โรงไฟฟ้าความร้อนและโครงการก่อสร้างทางหลวงในพื้นที่ สำหรับ ตอนนี้เขากล่าวว่าเขาจะอยู่ห่างจากอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ไว้ก่อน

“เราอยากได้งาน แต่ก็ต้องเป็นงานที่ปลอดภัยสำหรับเราด้วย”

 

ที่มา :

Japanese Workers Braved Radiation for a Temp Job (HIROKO TABUCHI, www.nytimes.com, April 9, 2011)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net