บก.ลายจุด: พี่สมยศในทัศนะ NGOs รุ่นน้อง

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
ผมรู้จักพี่สมยศมาประมาณ 20 ปีที่แล้ว พี่เขาเป็น NGOs สายแรงงาน ผมได้รับการติดต่อให้ไปช่วยอบรมการละครให้กับคนงานย่านรังสิต เนื่องในโอกาสวันแรงงานซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานจะมีกิจกรรมทุกปี
 
การ ไปช่วยงานพี่สมยศทำให้ผมได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตช่วงสั้น ๆ กับคนงานที่ได้ค่าแรงต่ำสุดในระบบแรงงาน เวลาพวกเขาพูดถึงค่าแรงที่ควรจะได้เพิ่มสัก 3-5 บาทต่อวัน เป็นความรู้สึกที่สุดบรรยาย เพราะดูมันจะสำคัญกับคนงานเหล่านั้นมาก 
 
ผมได้เรียนรู้ว่า นายจ้างต้องการเพียงแค่ให้คนพอมีเงินประทังชีวิตไม่ตายแล้วยังมาเป็นแรงงานให้พวกเขา
 
คน งานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทำงานไปหลายปีไม่สามารถตัดเย็บเสื้อผ้าทั้งตัวได้ เพราะถูกใช้ให้ทำหน้าที่เฉพาะส่วน ใครติดกระดุมก็ทำไป ใครใส่ปกก็เย็บตรงนั้น ดังนั้นแรงงานเหล่านี้แทบไม่มีโอกาสพัฒนาฝีมือจนกลายเป็นแรงงานมีฝีมือ
 
เงินที่จะทำให้เขาพอมีใช้จ่ายมากขึ้นก็ต้องแลกด้วยการทำงานล่วงเวลา กินเวลาพักผ่อน กินเวลาที่จะมีชีวิตส่วนตัว
 
การต่อสู้ของคนงานขับเคลื่อนด้วยตนเองได้ยาก การมี NGOs เข้าไปเป็นพี่เลี้ยง ค่อยสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อศึกษาปัญหาและการพัฒนากลุ่มในลักษณะสหภาพจึงจำเป็น
 
ไม่ ต้องแปลกใจที่พี่สมยศทุ่มเทเวลาให้กับการจัดการศึกษา การสัมมนา และออกแบบกิจกรรมในการสร้างแรงกดดันต่าง ๆ ในบางจังหวะอาจดูท่วงทำนองมุทะลุบ้าง นั่นก็เพราะบทเรียนในการทำงานด้านแรงงานเขาพบว่า ถ้าไม่ท้าทายสักหน่อยนายจ้างก็จะไม่ให้ความสนใจและปล่อยให้คนงานประท้วงกัน จนหมดแรงไป
 
พี่สมยศเป็น NGOs ที่ ประสานงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายแรงงานระหว่างประเทศ โดยที่ตนเองไม่มีแม้แต่ปริญญาตรี เทคนิคการเรียนรู้ของแกคือ การบังคับตนเองอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกวันเป็นปี ๆ จนสามารถอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
 
ในแวดวง NGOs เวลา เรามีการประชุมสัมมนากัน พี่สมยศจะได้รับการ้องขอให้เป็นคนช่วยจับประเด็น เพราะเป็นคนฉลาด มอง และ วิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้แตกฉาน เป็นที่พึ่งพาของน้อง ๆ และเพื่อน ๆ เวลาต้องหาใครมาช่วย
 
พี่สมยศเคยร่วมต่อสู้กับ พธม อยู่ช่วงหนึ่งเหมือนกับนักกิจกรรมทั่วไป หลังจาก พธม เสนอ ม.7 และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนอำนาจนอกระบบ เขาก็ถอนตัวออกจากขบวน ผม เจอพี่เขาอีกครั้งหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ผมเดินไปคุยกับพี่สมยศในงานศพของรุ่นพี่คนหนึ่ง เราคุยกันและเขาถามผมบอกกับผมว่า การที่ผมออกไปต่อต้านการรัฐประหาร 19 กย นั้นถูกต้องแล้ว เป็นสิ่งที่พวกเราต้องออกไปต้าน
 
ต่อ จากนั้นไม่นาน เราก็ได้เห็นพี่สมยศมาปรากฎตัวที่สนามหลวงและเข้าร่วมการต่อสู้่ในนามของ นปก และยังเป็นคนสำคัญที่ดึงขบวนการแรงงานอีกส่วนหนึ่งออกมาจากขบวนแรงงานที่สม ศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำ พธม ในตอนนั้นครอบงำ เรียกได้ว่าในขบวนการแรงงานก็มีพี่สมยศนี่แหละที่ขึ้นปะทะทางความคิดอย่าง แข็งขันเขาต่อสู้ในจังหวะที่แหลมคมเสมอ ดังเช่นการถูกจับหลังการแถลงข่าวว่าจะจัดชุมนุมในพื้นที่นอกเขต พรก ฉุกเฉิน แต่ก็ถูกควบคุมตัวไปอยู่ค่ายทหารอยู่หลายวัน
 
ในปีกเสื้อแดงมี NGOs อยู่ ไม่กีคนที่ออกตัวแรงและแหลมคม เพราะขบวนส่วนใหญ่เล่นบทรักษาตัว เงียบ เอาตัวรอดไม่เจ็บตัว หรือไม่งั้นก็เทใจให้กับฝ่ายเสื้อเหลืองอันมีผลมาจากผู้ใหญ่ในแวดวงหลายคน อยู่ทางนั้นและเคยร่วมไล่ทักษิณมาในช่วง พธม และเขินอายที่จะมาใส่เสื้อสีแดง 
 
พวก เราเชื่อว่า การติดคุกเป็นวิธีการหนึ่งของการต่อสู้ และเป็นต้นทุนที่อาจต้องจ่าย การจับกุมพี่สมยศในครั้งนี้และไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะเกรงว่าจะหลบหนีนั้น คนที่อยู่ข้างนอกต้องตั้งหลักและก้าวเดินต่อไป ประสานรับกัน คนที่อยู่ข้างในก็สู้กันแบบคนถูกจองจำ คนที่อยู่้ข้างนอกก็ต้องสู้กันต่อไป อย่าให้การจับกุมพี่สมยศ กลายเป็นการยุติการต่อสู้ หรือ ทำให้เสียขบวน เพราะศัทรูจะบรรลุวัตถุประสงค์ 
 
คาราวะ 
หนูหริ่ง
(บก.ลายจุด)
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท