Skip to main content
sharethis

นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้อมูลเกี่ยวกับนักโทษคดีหมิ่นฯ นั้นหาไม่ได้ง่ายนัก ทั้งจำนวนผู้คนที่อยู่ในค่ายเฝ้ามองเรื่องคดีหมิ่นฯ มีกี่คนที่การออกหมายจับแล้วโดยแม้แต่่เจ้าตัวก็ไม่รู้ มีกี่คนที่เข้าไปนั่งจับเข่าอยู่ในห้องขังแม้ว่าคดียังไม่ถูกตัดสิน หรือกี่คนผู้ที่ถูกตัดสินและถูกคุมขังแล้ว ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริง ข้อมูลชุดนี้เป็นเพียงการนำเสนอสั้นๆ ของตัวอย่างคดีหมิ่นฯ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นภาพว่าคดีหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกดทับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและขบวนการประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง ข้อมูลที่ใช้ประกอบการเขียนนี้มาจาก Political Prisoners in Thailand (PPT), LM Watch, ประชาไท และไทยอีนิวส์ และสำนักข่าวออนไลน์ต่างๆ ตัวเลขของคดีหมิ่นฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตระหนกนับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 (รัฐประหารของพระราชวัง) โดยคาดการณ์ว่าน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 500 คดี การท่วมทะลักของคดีหมิ่นฯ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะมีจุดเริ่มมาจากปี 2544 เมื่อนักข่าวชาวต่างชาติสองคนจาก Far Eastern Economic Review ถูกห้ามเข้าประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อบรรณาธิการต้องทำหนังสือขอโทษมายังรัฐบาลไทยในขณะนั้น (ทักษิณ) – หลังจากที่เขียนบทความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์และรัฐบาล นับตั้งแต่กันยายน 2546 บัณฑิต อานียา นักแปลอิสระที่เป็นที่เป็นที่รู้จักดีในการแปลหนังสือและสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยมกว่า 50 เล่ม ต้องใช้เวลาไปไม่น้อย จนถึงปัจจุบัน ไปกับการให้ปากคำตำรวจและขึ้นศาล ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เขาถูกฝากขังในระหว่างคดีต่อเนื่องถึง 7 ครั้ง ถูกทำร้ายร่างกายในคุก ถูกตัดสิน ถูกจองจำ และในท้ายที่สุด ด้วยวัย 71 ปี และกำลังป่วยหนัก เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยเงิน 200,000 บาท โดยนักวิชาการชาวต่างชาติ เขากล่าวว่า ไม่มีคนไทยกล้าเข้ามาทำเรื่องประกันตัวเขา ในปี 2549 หนังสือที่ทำลายความเงียบงันมาอย่างยาวนาน “กษัตริย์ผู้ไม่ยิ้ม” ของ Paul Handley ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเยล ที่สหรัฐฯ และมันก็ถูกแบบโดยทันทีในประเทศไทย ปกหนังสือ \กษัตริย์ผุ้ไม่เคยยิ้ม\" วันที่ 5 ธันวาคม 2549 ความอดกลั้นของ Oliver Jufer ชาวสวิสวัย 57 ปี ที่พำนักในเมืองไทยกับภรรยาชาวไทยกว่าสิบปี ต่อกระแส “รักในหลวง” ก็ถึงจุดยากควบคุม เขาถูกจับกุมหลังจากพ่นสีใส่รูปโปสเตอร์ “กษัตริย์แห่งกษัตริย์” ขนาดมหึมาที่ติดอยู่เต็มทุกมุมเมือง แทบจะทุกสี่แยกไฟแดงทั่วประเทศไทย จำนวน 5 ภาพ เขาถูกตัดสินจำคุก 10 ปี คดีของเขาไม่ได้รับความสนใจจากสื่อไทย แต่ได้รับการสนใจอย่างมากจากสื่อนานาชาติ เขาถูกเนรเทศในเดือนเมษายน 2550 ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารรายสามเดือน “ฟ้าเดียวกัน” ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาหมิ่นฯ ในปี 2549 และก็อีกคดีหนึ่งในปี 2554 ฟ้าเดียวกันถือว่าเป็นวารสารภาษาไทยเล่มแรกๆ ที่เริ่มนำเสนอข้อเขียนร่วมสมัย และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับบทบาทพระมหากษัตริย์ที่มีต่อการเมืองไทย และมันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักศึกษาและนักวิชาการรุ่นใหม่ หมายเหตุ: กรณีของธนาพล เป็นคดีที่ “ถูกดองไว้” เช่นเดียวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกหลายคดี เพราะอะไรหรือ? เพราะว่า ถ้าคดีหมิ่นฯ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายของรอยัลลิสต์ทั้งหลาย – ศาลจำเป็นจะต้องตัดสินไปในทิศทางเดียวว่า “หมิ่นฯ” เพราะว่า ถ้าศาลตัดสินว่าการกระทำนั้น “ไม่หมิ่นประมาทอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์” ตัวของผู้พิพากษาเองก็อาจจะถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระมหากษัตริย์เองก็เป็นได้ ในข้อหาว่าไม่ปกป้องสถาบัน เป็นต้น นี่เป็นต้นเหตุของความเหม็นเน่าของระบบตุลาการในประเทศไทย เป็นต้นตอของทุกแง่มุมปัญหาของ “วิกฤติประเทศไทย” ประจักษ์จำนนแห่งหลักฐานมานับตั้งแต่ศาลชั้นต้นทีเดียวว่า ผลลัพธ์แห่ง “ประชาธิปไตยภายใต้พระมหากษัตริย์” มีเพียงประการเดียวคือ “การคอรัปชั่น” 2550 (2007) โชติศักด์ อ่อนสูง และเพื่อน ชุติมา เพ็ญภาค นักศึกษาและนักกิจกรรม ถูกฟ้องดำเนินคดีในวันที่ 5 เมษายน 2551 ในข้อหาไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงภาพยนตร์เมื่อเดือนกันยายน 2550 สำหรับโชติศักดิ์ การถูกดำเนินคดีครั้งนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาอย่างสิ้นเชิง เขาไม่สามารถทำงานประจำได้เพราะต้องเดินทางให้การกับตำรวจและอัยการอยู่บ่อยครั้ง เขาเผชิญกับการคุกคามหลากหลายรูปแบบ แต่กระนั้นก็ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง และเลี้ยงชีพด้วยการขายหนังสือทางเลือกต่างๆ รายงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2551 ได้กล่าวถึงคดีของพวกเขาไว้ว่า “พวกเขาได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องมีการประกันตัว คดีนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการสืบคดีแม้จะเป็นช่วงสิ้นปีแล้วก็ตาม ในวันที่ 29 และ 30 เมษายน สถานีวิทยุเมโทรไลฟ์ ได้ปลุกระดมให้ผู้ฟังทำร้ายโชติศักดิ์ เมื่อเขามีกำหนดจะขึ้นพูดในเวทีเสวนาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเวบไซด์ของรายการวิทยุยังได้นำรูปและข้อมูลของเขาที่รวมทั้งที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ขึ้นประชาสัมพันธ์อีกด้วย คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน Jonathan Head นักข่าวBBC ที่สำนักงานกรุงเทพฯ ถูกฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นฯ ในเดือนเมษายน 2551 ในการพูดของเขาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อปี 2550 ปัจจุบันเขาไม่ได้ประจำอยู่ในสำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน จักรภพ เพ็ญแข จักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลทักษิณ และเป็นอดีตโฆษกของ นปช. จักรภพถูกกล่าวหาคดีหม่ินฯ จากการพูดของเขาที่ FCCT เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 เขาเดินทางออกนอกประเทศนับตั้งแต่การใช้กำลังปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายน 2552 เขาถูกออกหมายจับ บุญส่ง ชัยสิงห์กานนท์ อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ถูกอาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ ม. ศิลปากร แจ้งความในข้อหาหมิ่นฯ หลังจากที่กรณีของอาจารย์บุญส่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อและมหาชน คดีถูกถอนฟ้อง ถอนฟ้อง 2551 (2008) ในการพูดปราศรัยในเวทีสนับสนุนทักษิณ บุญยืน ประเสริฐยิ่ง อายุ 48 ปี ถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นฯ และถูกตัดสินจำคุก 12 ปี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 หลังจากที่เธอรับสารภาพ ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 6 ปี ศาลอุธรณ์ลดโทษเธอลงมาเหลือสองปี เธอได้รับพระราชทานอภัยโทษพร้อมกับสุวิชา ท้าค้อ นักโทษคดีหม่ินฯ อีกคน และได้รับอภัยโทษหลังจากถูกขังคุก 22 เดือน (พฤศจิกายน 2551 – มิถุนายน 2553) หลังจากได้รับการปล่อยตัว บุญยืนถูกนำตัวไปถวายพระพรในหลวงที่โรงพยาบาลศิริราช ในเสื้อสีชมพูที่มีตราสัญญลักษณ์ของในหลวง เพื่อลงชื่อยืนยันว่าเธอรักในหลวง (“รักในหลวง” คือ สัญญลักษณ์แห่งการยอมมอบกราบอยู่ใต้อำนาจแห่งสมบูรณาญาสิทธิราช) ได้รับพระราชทานอภัยโทษหลังจากอยู่ในคุก 22 เดือน รัชพิน ชัยเจริญ ถูกดำเนินคดีข้อหาไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์เมื่อ 15 มิถุนายน 2551 กรณีนี้เงียบหายไปอย่างน่าสงสัย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (75) รอยัลลิสต์และนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงในการนำเสนอให้มีการปรับปรุงสถาบันพระมหากษัตริย์ เขาถูกจับกุม และถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจขอนแก่นด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 เขาเคยถูกข้อกล่าวหานี้ครั้งหนึ่งแล้วในช่วงทศวรรษ 2523 เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัว คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ นักจัดรายการวิทยุชุมชนถูกหมายจับข้อหาหมิ่นฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 หลบหนีคดี 2552 (2009) Harry Nicolaides ในเดือนมกราคม 2552 เขาถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ในข้อหาหมิ่นองค์รัชทายาทในข้อเขียนสี่บรรทัดในนวนิยายเรื่อง Verisimilitude ของเขาที่ตีพิมพ์ในปี 2548 นิโคไลเดส ถูกตัดสินใจเดือนมกราคม 2552 ถูกจำคุก และหลังจากที่เขายืนฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เขาถูกเนรเทศกลับไปยังประเทศออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ถูกขังคุก ได้รับพระราชอภัยโทษ ถูกเนรเทศ ใจ อึ้งภากรณ์ หลังจากถูกดำเนินคดีเนื่องจากอ้างถึงข้อเขียนของพอล แฮนเลย์​(อ้างถึงแล้วข้างบน) ในหนังสือของเขา “A Coup for the Rich’ ในปี 2550 ใจ ที่ประกาศตัวเป็นมาร์กซิสต์ และอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนีประกันและเดินทางไปอังกฤษในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 พร้อมกับภรรยา หลังจากที่ถูกคุกคามอย่างหนัก เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ตำรวจออกหมายจับ และหนังสือของเขาก็ถูกแบนในประเทศไทย แม้จะเป็นผู้ลี้ภัยการเมือง ใจและนุ่มยังคงทำงารณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย See: redthaisocialist.com ลี้ภัยการเมือง คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) ในเดือนมิถุนายน 2552 มีการแจ้งความดำเนินคดีกับคณะกรรมการ 13 ท่าน ของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในข้อหาหมิ่นฯ หลังจาก FCCT เผยแพร่ซีดีเวทีเสวนาที่ร่วมอภิปรายโดยจักรภพ เพ็ญแข (ดูข้างบน) คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน ดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net