Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

\ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าเคยตั้งคำถามว่า เมื่อ 'หา' ความรุนแรงที่ไป 'ซ่อน' อยู่จนพบแล้ว ควรทำเช่นไร เมื่อได้เห็นร่างของสังคมไทยที่รุนแรงสลับซับซ้อนไม่เรียบง่าย สงบเย็นอย่างที่เคยเข้าใจมาแต่ก่อน แล้ว 'เรา' ยังจะอยู่กับสังคมไทยอย่างไร และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เมื่อเห็น 'ร่าง' แห่งความรุนแรงที่ 'ซ่อน' อยู่แล้ว ยังจะมีพลังอำนาจพอที่จะยกโทษให้ทั้งสังคมไทยและตนเองได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไรกับโลกเช่นนี้ได้? จะจดจำอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่ขมขื่นได้อย่างไร?\" ข้างบนนี้คือบทสรุปของปาฐกถา ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ฟังเสียงเต้นของ “ความจริง” ในสังคมไทย? ปาฐกถาเปิดงานเสนอเอกสารข้อเท็จจริงกรณีเหตุรุนแรง เดือนพฤษภาคม 2553 และเปิดนิทรรศการ หัวข้อ \"คำถามต่อความเป็นมนุษย์\" ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วันที่ 8 พฤษภาคม 2554 ชัยวัฒน์ อ้างถึงทัศนะของ Arendt ว่า เริ่มต้นจากการถือว่า ยุคสมัยใหม่เชื่อว่า “ความจริง” เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นอยู่เองหรือมิได้ถูกค้นพบ หากเป็นสิ่งที่ถูกผลิต (producted) โดยน้ำมือมนุษย์ (human mind) และแยก “ความจริง” ออกเป็นสองชนิดคือ “ความจริง” ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือปรัชญาซึ่งจัดว่าเป็น “ความจริงเชิงเหตุเชิงผล” (rational truth) ส่วน “ความจริง” อีกแบบหนึ่งเป็น “ความจริงเชิงข้อเท็จจริง” (factual truth) แต่น่าสังเกตว่า เมื่อชัยวัฒน์พูดถึงการจัดการความจริงเชิงข้อเท็จจริง หรือการเผชิญหน้าระหว่างความจริงเชิงข้อเท็จจริงกับความจริงเชิงเหตุผลในประวัติศาสตร์ระยะไกล ตั้งแต่ยุคโสเครตีส พระเยซู เรื่อยมาถึงการจัดการ “ความจริง” ในเหตุการณ์ที่รัฐบาลอินโดนีเซียตอบโต้พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ที่จะทำรัฐประหารเปลี่ยนรัฐบาล การฆ่ากันครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตทั่วประเทศราว 500

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net