บทวิเคราะห์ : ครป. พันธมิตรฯ และการรัฐประหาร

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.-น่าจะเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการรัฐประหารน่าจะเหมาะกว่า) ได้แถลงจุดยืนในการเลือกตั้งครั้งนี้ไว้เมื่อไม่นานมานี้ ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.cpdthai.org/ เนื้อหาสาระและแนวความคิดหลักของแถลงการณ์นั้น เป็นเพียง “วาทกรรม” ที่ใช้มาตลอดของพวกอำมาตยาธิปไตย พวกนิยมรัฐประหาร พวกอนุรักษ์นิยม พวกไม่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ไม่เชื่อว่าให้อำนาจอธิปไตยควรมาจากประชาชน เพื่อทำลายความชอบธรรมของนักการเมือง เพื่อให้คนดีมีศีลธรรม (ต้องคนดีของพวกอำมาตย์เท่านั้น) ขึ้นปกครองบริหารประเทศได้ เช่นเดียวกัน จุดยืนจากแถลงการณ์ ครป.ก็ไม่ต่างจากเวทีปราศรัยของพันธมิตรฯ หน้าทำเนียบรัฐบาลทุกวันนี้ คือนอกจากสร้างกระแสคลั่งชาติให้ไทยรบกับเขมรแล้ว ยังมีแนวทางเดียวกัน นั่นคือถอยจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ให้พรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้ง และชูธง Vote No ที่นำโดย สนธิ ลิ้มทองกุล สุริยะใส กตะศิลา พิภพ ธงไชย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ มิใช่ฝั่งต้องการให้พรรคการเมืองใหม่ลงสนามเลือกตั้งเช่น สมศักดิ์ โกศัยสุข และสาวิทย์ แก้วหวาน แม้ว่า ครป. จะจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง “เลือกนโยบายพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” ทำดูเหมือนว่าจะสนับสนุนประชาธิปไตยระบอบรัฐสภาแต่มันเป็นเพียงเกมส์สร้างภาพลักษณ์เท่านั้น เนื่องเพราะเมื่อปี่กลองการเลือกตั้งกังวานไปสักระยะ พวกเขา ครป.จะเคลื่อนไหวให้ “โหวตโน” โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีพรรคการเมืองไหนที่ควรเลือกเพื่อการปฏิรูป และเพื่อกระทำตัวเป็นหางเครื่องให้พันธมิตรอีกครั้งหนึ่ง เหมือนเช่นคำสัมภาษณ์ของพิภพ ธงไชย ผู้นำทางความคิดของ ครป. โดย นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับแทบลอยด์ล่าสุด : Vote No เพื่อปฏิรูปการเมือง ตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า …. “ครป.ก็ออกแถลงการณ์มาว่าให้ไป Vote เพื่อปฏิรูป แต่ปัญหาว่าไป Vote เพื่อปฏิรูปจะทำยังไง สุดท้ายแล้วถ้า Vote เพื่อแสดงปฏิรูปอย่างที่ ครป.เสนอมา มันก็ต้องลงมาที่ช่อง Vote No เพื่อปฏิรูป ทำสำเร็จหรือไม่อีกเรื่องหนึ่งนะ… …….ผมก็จะนัดคุยกับองค์กรภาคประชาชนอีกหลายองค์กร เขาไม่จำเป็นต้องมาประกาศเหมือนพันธมิตร เหมือนกรณีที่ ครป.ประกาศว่า เลือกตั้งเพื่อการปฏิรูป เขาไม่ได้ประกาศ vote no นะ แต่ต่อไปเราก็ต้องถามว่าเลือกตั้งเพื่อการปฏิรูปจะไปกาช่องไหนล่ะ\ และยุทธวิธีVote No คงเป็นการสร้างกระแสไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่ให้ความชอบธรรมกับนักการเมือง ไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองในระบอบรัฐสภา แม้แต่พรรคการเมืองใหม่ ยุทธวิธีที่ตามมา ไม่ว่าเสียง Vote No จะมากหรือน้อยเพียงใดโอกาสจึงเป็นไปได้สูง เมื่อพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล ก็จะมีการชุมนุมกดดันของม็อบมีเส้นอย่างพันธมิตรฯ และ ครป. (พรรคแมลงสาปก็คงหนุนเช่นเดิมแม้ว่า Vote No จักกระทบต่อฐานเสียงพวกเขาก็ตาม) ไม่ยอมรับผลการเมืองเลือกตั้ง ไม่ยอมรับให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล และต้อง “ปฏิรูปการเมือง” เท่านั้น ตามแนวทางพันธมิตรที่ สนธิ และลิ่วล้อได้เสนอว่า หลังเลือกตั้งแล้ว พันธมิตรจะเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปประเทศไทยต่อไป แน่นอนว่า ปฏิรูปการเมืองของพวกเขา มิใช่การปฏิรูปกฎหมาย 112 กองทัพ องคมนตรี และกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอุปสรรคขวากหนามของการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย แน่นอนว่า ทางเดียวเท่านั้นที่พวกเขาจักดำเนินกระบวนการปฏิรูปได้ นั่นคือ พวกเขาต้องเชื้อเชิญคณะบุคคลนอกระบบประชาธิปไตย กระทำการรัฐประหารเหมือนเช่น รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่พวกเขาเคยกระทำมาแล้ว เท่ากับว่า พวกเขายังโหยหาแนวทางรัฐประหาร ใช่หรือไม่? และรัฐประหารอาจเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งก็ได้ โดยที่ใครก็มิอาจจะทำนายฟันธงล้านเปอร์เซนต์ว่า ไม่ปรากฎเป็นแน่แท้ในขวานทองใบนี้ เพราะเกมการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอำมายาธิปไตย คงมิจบเพียงการเลือกตั้งเท่านั้น ครป. และพันธมิตร ที่เรียกร้องให้ VOTE NO อยู่ขณะนี้ จึงเป็นเพียงหมากหนึ่งในกระดานการเมืองของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย เท่านั้นเอง"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท