รายงาน: “คำถามในนามมนุษย์” นิทรรศการฝีมือนักศึกษา ท้าทุกหัวใจให้ตอบ

นิทรรศการแนวมนุษย์นิยม คำถามพื้นๆ เก่าๆ แต่สำคัญมากในยุคที่ผู้คนมองคนไม่เห็นคน ทั้งหมดนี้เป็นฝีมือของนักศึกษากลุ่มหนึ่งในนาม “มรสุมชายขอบ” โดยมีที่ปรึกษาและผู้สนับสนุนทุนวิจัยคือ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง งานนี้เกิดขึ้นจากความ “อยากรู้” ของนักศึกษาที่ทำกิจกรรมกลุ่มหนึ่งว่า “เกิดอะไรขึ้น” กันแน่ในช่วงเวลานั้น บางส่วนคิดว่า “เราควรทำอะไรสักอย่าง” แต่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ขณะที่บางคนมีความสะเทือนใจโดยตรงจากการสูญเสียเพื่อนรุ่นน้องอย่าง “เฌอ” หรือ สมาพันธ์ ศรีเทพ วัย 17 ปี ที่ซอยรางน้ำระหว่างมีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว และเขาถูกยิงที่ศีรษะ ส่วนหนึ่งของทีมงาน “เราอยากให้นักศึกษาคนอื่นๆ รู้ว่า พวกเรายังทำอะไรได้อีกมากกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น” คนหนึ่งในทีมบอกเล่าอีกวัตถุประสงค์ที่ซ่อนอยู่ แรงบันดาลใจเหล่านี้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นพร้อมกับทีมงานรุ่นพี่นักกิจกรรมที่เข้ามาให้คำปรึกษา พวกเขาฟอร์มทีมเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติการแบบที่เขาเรียกว่า “ถึก” เพราะต้องใช้เวลาทั้งเทอมช่วยกันรวบรวมข่าวสารทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากหนังสือพิมพ์ 7 ฉบับ แล้วนำมามาเขย่าเป็น time line ของเหตุการณ์ เป็นข้อมูลจำเพาะของผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ เพื่อสรุปเป็นงานวิจัยเรื่อง ‘เอกสารข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553’ และท้ายสุดคือการกลั่นออกมานำเสนอเป็นนิทรรศการ \คำถามในนามของมนุษย์\" พวกเขาตั้งใจอยากสื่อสารกับสังคมโดยทั่วไปมากกว่าจะสื่อสารกับผู้สูญเสีย หรือคนเสื้อแดง หลังจากพวกเขาพบว่าคนจำนวนมากเฉยเมยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เหมือนดังที่ทีมงานคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า \"อำนาจรัฐยังไม่น่ากลัวเท่ากับสังคมที่มองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และไม่มีที่ยืนให้สิ่งที่แตกต่างจากตัว\" ดังคำแถลงวัตถุประสงค์ของนิทรรศการ นิทรรศการ “คำถามในนามของมนุษย์” ได้รับแรงเร้าอย่างสำคัญจากบรรยากาศหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 เมื่อสังคมไทยถูกปกคลุมด้วยความเงียบ ปราศจากคำถาม ตลอดจนความพยายามอย่างจริงจังที่จะแสวงหาคำตอบให้กับโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งนี้ ทั้ง ๆ ที่ โดยสามัญสำนึกทั่วไปของมนุษย์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างพัฒนาตนเองและสังคมไปได้ก็ด้วยการตั้งคำถามกับชีวิตและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเสมอมา จึงเป็นเรื่องน่าเศร้า เมื่อคำถามในส่วนต่าง ๆ ของนิทรรศการ ไม่ว่าจะเป็น“ความรุนแรงเดินทางมาอย่างไร?”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท