สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15 - 21 พ.ค. 2554

ส.อ.ท.แนะรบ.ใหม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ วันนี้ 16 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามความเหมาะสม เพราะหากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละ ประเภท จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้า ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำควรดำเนินการในรูปแบบของค่าจ้างแรกเข้าของแรงงานแต่ละ สาขา และกำหนดให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ อาจจะกำหนดให้มีการปรับขึ้นทุก 2-3 ปี และการปรับขึ้นค่าจ้างนั้นควรทำในรูปแบบของค่าจ้างประจำปี โดยไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อของแต่ละปี ด้วยการกินอัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง โดยเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของรัฐ นายจ้างและลูกจ้างจะมาตกลงกัน ส่วนสิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องเร่งดำเนินการคือ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้แรงงงานที่มีฝีมือในสาขาต่างๆ ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม เพราะในปี 2558 จะเกิดประชาคมอาเซียน เกรงแรงงานไทยอพยพไปทำงานต่างประเทศ. (เดลินิวส์, 16-5-2554) ผู้นำแรงงานยื่นข้อเรียกร้องพรรคการเมือง นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวถึงนโยบายคุณภาพชีวิตแรงงานที่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งดำเนินการหลัง ได้รับการเลือกตั้งว่าต้องการให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี โดยปีนี้ขอปรับขึ้นก่อนร้อยละ 13 และให้กำหนดโครงสร้างค่าจ้างประจำปี รวมทั้งดูแลแรงงานนอกระบบให้ได้สิทธิรักษาพยาบาล และจัดตั้งกองทุนภาคประชาชนเพื่อให้มีเงินออมในวัยเกษียณคณะกรรมการ สมานฉันท์แรงงานไทย องค์กรด้านแรงงานอีกแห่งก็เห็นด้วยให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งปรับขึ้นค่าจ้างขั่น ต่ำอีกรอบ โดยสัปดาห์หน้าจะนำข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานไปยื่นต่อพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการยกคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า ควรปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2 - 3 ปีต่อครั้ง แต่การปรับขึ้นค่าจ้างควรทำในรูปแบบค่าจ้างประจำปี และไม่น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี พร้อมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อป้องกันแรงงานไหลออกไปทำงานต่างประเทศมากในปี 2558 รวมทั้งเสนอแยกเงินบางส่วนจากกองทุนประกันสังคมเพื่อจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ให้กับแรงงาน ได้กู้ยืมเงินในกรณีจำเป็น เช่น รักษาพยาบาลพ่อแม่ที่ป่วย สร้างบ้าน และส่งลูกเรียนหนังสือ (ช่อง 7, 16-5-2554) เตรียมตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบอนุมัติงบดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ ของกระทรวงแรงงานเป็นเงิน 377 ล้านบาท จากที่เสนอของบประมาณไป 400 ล้านบาท แต่เนื่องจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งดูแลโครงการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานรัฐพิจารณาแล้วขอให้ลด งบลงเหลือ 377 ล้านบาท โดยเป็นงบดำเนินการในปี 2554 จำนวน 100 ล้านบาท ที่เหลืออีก 277 ล้านบาท เป็นงบประมาณผูกพัน ซึ่งสำนักงบประมาณต้องจัดสรรให้แก่กระทรวงแรงงานในปี 2555 โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ18 เดือนนับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำสัญญาจ้างกับเอกชน ในการจัดทำโปรแกรมข้อมูลแรงงานแห่งชาติ ”ผมคาดว่า จะใช้วิธีการประกวดราคาเพื่อให้เอกชนมาดำเนินการจัดทำโปรแกรมข้อมูลแรงงาน แห่งชาติ เนื่องจากกระทรวงไอซีทีไม่รับที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการจัดทำสัญญาจ้างบริษัทเอกชน” รักษาการ รมว.แรงงาน กล่าว นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาตินี้อยู่ในความดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน จะรวบรวมข้อมูลจากกรมต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยจะมีทั้งข้อมูลจำนวนแรงงานในประเทศไทย ผู้ที่ว่างงาน ตำแหน่งงานว่าง แรงงานที่มีทักษะฝีมือในสาขาต่างๆ แรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ เชื่อว่าศูนย์ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อฝ่ายแรงงานและนายจ้าง เพราะนายจ้างสามารถมาค้นหาข้อมูล เพื่อจ้างงานแรงงานที่มีฝีมือในสาขาต่างๆ หรือแรงงานที่เคยไปทำงานในต่างประเทศมาแล้ว ขณะเดียวกัน คนที่ว่างงานอยู่ก็หาข้อมูลตำแหน่งงานที่ว่างได้ด้วย (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-5-2554) สมานฉันท์แรงงานไทยเตรียมยื่นข้อเรียกร้องต่อทุกพรรคการเมือง นางวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงนโยบายของพรรคการเมืองที่ลงแข่งขันเลือกตั้งในครั้งนี้ว่า นโยบายของแต่ละพรรคที่เกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานเท่าที่ได้ติดตามมีเพียงประเด็น เดียวคือ การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งที่เรื่องแรงงานมีประเด็นที่ควรให้ความสำคัญหลากหลาย เช่น เรื่องเสรีภาพในการเจรจาต่อรองในเรื่องของค่าจ้างให้เกิดความเป็นธรรม, เรื่องสวัสดิการแรงงาน, ความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน, สิทธิทางการเมืองที่ให้ผู้ใช้แรงงานสามารถเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว.ในพื้นที่ที่ทำงาน เป็นต้น “ผู้ใช้แรงงานฐานะเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ยังไม่เห็นพรรคการเมืองใดหยิบยกข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ได้มีการ เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิมาโดยตลอด ดังนั้นวันที่ 18 พ.ค. เวลา 13.00 น. ทางเครือข่ายผู้ใช้แรงงานจะแถลงข้อเรียกร้องที่จะส่งผ่านไปยังทุกพรรคการ เมือง ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน จากนั้นจะมีเครือข่ายยื่นข้อเสนอไปยังทุกพรรคการเมือง หากนักการเมืองอยากได้คะแนนเสียงจากผู้ใช้แรงงานไม่ควรละเลยข้อเสนอ” นางวิไลวรรณกล่าว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-5-2554) สกัด \วีซ่ามาดาม\" ไปสวีเดนเก็บผลไม้ป่า 3 เดือนมีเงินแสน นายจักร บุญ-หลง อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับผู้แทนองค์กรแรงงานระหว่างประเทศผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) และผู้แทนกรมการจัดหางาน เดินทางเยือน จ.ชัยภูมิเพื่อร่วมจัดกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพื่อป้องกันปัญหาการถูกหลอกลวงไปทำงานในต่าง ประเทศ ณ โรงแรมสยามริเวอร์รีสอร์ท จ.ชัยภูมิ โครงการเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานไทยเพื่อไปทำงานต่างประเทศจัดโดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดชัยภูมิ ทั้งนี้อธิบดีกรมการกงสุลได้บรรยาย ให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของแรงงานไทย ก่อนการเดินทางและการปฏิบัตัวเมื่อไปใช้ชีวิตและทำงานในต่างประเทศรวมทั้ง ช่องทางการขอรับความช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหา ตลอดจนบทบาทและภารกิจของกรมการกงสุลในการช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศด้วย อธิบดีกรมการกงสุล เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับสถานทูตสวีเดนในประเทศไทย เพื่อหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นเมื่อแรงงานไทยเดินทางไปถึงสวีเดน หรือฟินแลนด์แล้ว พร้อมกันนั้น ยังได้พบกับนายจรินทร์ จักกะพากผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ที่ศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยและการหลอกลวงหญิงไทยไปทำงาน ต่างประเทศรวมทั้งการประชาสัมพันธ์เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่ต้นทางโดยเฉพาะ จ.ชัยภูมิ เป็นจังหวัดที่มีแรงงานไปเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดนและฟินแลนด์จำนวนมาก พร้อมกันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิได้กล่าวสนับสนุนและพร้อมที่จะให้ ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ในช่วงหน้าร้อนของยุโรประหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี เป็นช่วงที่ผลไม้ป่าลูกเบอร์รี่กำลังออกผล จึงต้องการแรงงานเก็บตามพื้นที่ป่าเขา นำมาทำเป็นอาหารและแยมแรงงานไทยได้รับความนิยมมากและมีความสามารถในเก็บได้ สูง ทำรายได้ในช่วง 3 เดือนนี้ กลับบ้านมีเงินเก็บเป็นแสนบาท จึงเกิดปัญหา \"วีซ่ามาดาม\" เกิดขบวนการนายหน้า เก็บค่าอาหารระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ ประกอบกับมีผู้เดินทางไปมาก เพราะขาดการควบคุมโควตา เก็บได้น้อย รายได้ไม่พอหรือภาวการณ์เปลี่ยนแปลงอากาศ ต้องเสี่ยงกับลูกเบอร์รี่ ออกผลน้อย รายได้น้อยไปด้วย ดังนั้น จึงแนะนำให้ผ่านกรมแรงงาน และให้แจ้งให้สถานทูตทราบเมื่อเดินทางไปถึง จะแก้ไขปัญหาได้ก่อนไปตกค้างอยู่ในแต่งแดน (คมชัดลึก

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท