Skip to main content
sharethis

จากเหตุการณ์ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้นำกำลังตำรวจ กว่า 100 นาย จากหลายสถานีในจังหวัดอุดรธานี บุกเข้าสลายและจับกุมกลุ่มชาวบ้าน และนักศึกษา จำนวน 15 คน ที่ร่วมกันคัดค้านการลงก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์ (kv) น้ำพอง2-อุดรธานี3 ในแปลงนาของนายสง่า บุญโยรัตน์ ชาวบ้านเหล่ากล้วย หมู่ที่ 3 ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยชาวบ้านและนักศึกษา 15 คน ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่าขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ปีพ.ศ.2550 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ! โครงการก่อสร้างเสาและวางแนวสายไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 500 kv จากสถานีไฟฟ้าย่อยน้ำพอง 2 (จ.ขอนแก่น) ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยอุดรธานี 3 โดยเชื่อมโยงระบบมาจากการรับซื้อไฟฟ้าในประเทศลาว คือ สายส่งไฟฟ้า 500 kv ชายแดน (บริเวณจ.หนองคาย) – อุดรธานี3 และเชื่อมต่อไปยังน้ำพอง2- ชัยภูมิ2- ท่าตะโก (จ.นครสวรรค์) ซึ่งการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้านี้อยู่ในโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 11 มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2554 โดย กฟผ.เป็นผู้ดำเนินโครงการ และมีแผนที่จะให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้ โครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าของ กฟผ.ในแนวนี้มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 86.8 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ 15 ตำบล 8 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น และอุดรธานี มีจำนวนเสาทั้งหมด 210 ต้น ที่ดินได้รับผลกระทบจำนวน 1,167 แปลง ซึ่งปัจจุบันมีชาวบ้านยังไม่ยินยอมเหลืออยู่ 16 ราย คิดเป็นที่ดิน 26 แปลง และเสา 3 ต้น ในพื้นที่ ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี และ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี เมื่อช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 กลุ่มชาวบ้านรวมกันในนาม \คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (คชส.)\" จำนวน 55 ราย ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอนแก่น (ปัจจุบันโอนคดีมาศาลปกครองอุดรธานีแล้ว) เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปีพ.ศ.2511 ขัดกับหลักการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ เนื่องจากว่าการประกาศแนวสายส่งไฟฟ้า ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ต่อการตัดสินใจที่จะเอาหรือไม่เอาโครงการฯ แต่การประกาศแนวสายส่งไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ พ.ศ.2511 เป็นเพียงแค่การแจ้งให้เจ้าของที่ดินรับทราบว่าจะมีการดำเนินการผ่านพื้นที่บริเวณนี้ ถึงจะมีการคัดค้าน ไม่เห็นด้วย ก็จะทำต่อไป และประเด็นที่ 2) ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนแนวสายส่งไฟฟ้าที่พาดผ่านที่ดินของชาวบ้าน จำนวน 55 ราย เพราะการประกาศแนวสายส่งไฟฟ้าในแนวนี้เป็นประกาศที่มิชอบ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ แต่ถึง ณ เวลานี้ก็ยังไม่มีคำตัดสินของศาลปกครองออกมาว่าอย่างไร ส่วนทางด้าน กฟผ.ก็ยังคงดำเนินโครงการต่อเนื่องเรื่อยมา โดยในวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา กฟผ.ได้ทำหนังสือแจ้งมายังชาวบ้านว่า กฟผ.มีแผนการจะเข้าดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชผลในพื้นที่ที่จะก่อสร้างฐานรากและตั้งเสาไฟฟ้าในโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 kv น้ำพอง 2 –อุดรธานี 3 ในท้องที่ ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี และ ต.หนองไผ่ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.2554 เป็นต้นไป และมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 30 วัน กลุ่มชาวบ้านจึงร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะมีข้อกังวลว่าการเข้าดำเนินการก่อสร้างของ กฟผ.จะมีความรุนแรง และมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2554 นายแพทย์นิรันด์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เชิญแต่ละฝ่ายเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือ ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาทิ ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net