Skip to main content
sharethis

ในเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของขบวนการแรงงานรอบโลก มีทั้งการเฉลิมฉลองและข้อเรียกร้องในวันแรงงานสากล (1 พ.ค.) ทั่วโลก ฝั่งยุโรปการประท้วงนโยบายรัดเข็มขัดของเหล่าสหภาพแรงงานเกิดขึ้นทั้งในกรีซและอังกฤษ เช่นเดียวกับสเปนที่เจอสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คนหนุ่มสาวออกมาดจมตีการเลือกตั้ง เนื่องด้วยอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในสหภาพยุโรป, เศรษฐกิจถดถอย และการตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ข้ามมายังฝั่งบ้านเราย่านเอเชีย ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมานักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวออกมารณรงค์ให้สังคมเห็นถึงการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างต่อเนื่องของบริษัทไต้หวันที่ไปลงทุนในจีนอย่าง “ฟ็อกซ์คอนน์” ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับจ้างผลิตให้กับแบรนด์สุดเก๋ไก๋อย่าง “แอปเปิล” ในช่วงเดียวกับที่มีการเปิดตัวอุปกรณ์สุดไฮเทค “ไอแพด 2” และในปลายเดือนที่ผ่านมาก็ยังเกิดอุบัติเหตุในโรงงานฟ็อกซ์คอนน์ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ประเทศเล็กๆ อย่างไต้หวัน กลุ่มสหภาพแรงงานก็ออกมาเคลื่อนไหวเนื่องในวันแรงงานสากล (ภาพโดย: Chang Chia-ming, Taipei Times) 0 0 0 แรงงานฟิลิปปินส์หลายพันคนขอขึ้นค่าจ้าง 1 พ.ค. 54 - แรงงานและนักเคลื่อนไหวหลายพันคนในฟิลิปปินส์เดินขบวนตามท้องถนนในวันแรงงานวันนี้ เพื่อประท้วงนโยบายของรัฐบาลส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ และเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างหลังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มผู้ชุมนุมในวันแรงงานชูแผ่นป้ายวิจารณ์รัฐบาลและกล่าวหาประธานาธิบดีเบนิโญ อาคิโนที่ไม่ทำตามสัญญาเมื่อปีที่แล้วว่าจะปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของแรงงานฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ พวกเขายังเรียกร้องให้รัฐบาลยุตินโยบายส่งเสริมแรงงานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งคาดว่ามีแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างแดน 9 ล้านคน และโอนเงินกลับมาหลายล้านดอลลาร์ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ฟิลิปปินส์มีการชุมนุมเนื่องในวันแรงงานขนาดใหญ่ที่สุดที่กรุงมะนิลา ขณะที่เมืองใหญ่อื่นๆ ก็มีการเดินขบวนทางภาคกลางและทางใต้ของประเทศเช่นกัน ประธานาธิบดีอาคิโนแถลงในวันแรงงานว่า รัฐบาลไม่ได้ละเลยข้อเรียกร้องของแรงงาน แต่สภาวะการเงินของประเทศในขณะนี้ทำให้การทำตามนโยบายที่เคยให้สัญญาไว้เป็นไปได้ยาก แรงงานอินโดนีเซียเดินขบวนเรียกร้องปรับสวัสดิการ 1 พ.ค. 54 - แรงงานชาวอินโดนีเซียหลายพันคนร่วมเดินขบวนเรียกร้องปรับปรุงสวัสดิการแรงงานที่กรุงจาการ์ตาท่ามกลางตำรวจรักษาความปลอดภัยเข้มงวด กลุ่มผู้ใช้แรงงานเริ่มตั้งขบวนกันที่บริเวณวงเวียนใหญ่ในกรุงจาการ์ตา ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบประธานาธิบดี โดยผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ขยายประกันสุขภาพตลอดชีวิต และจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ เพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกด้านหนึ่ง แม้บรรยากาศการเดินขบวนในวาระวันแรงงานโดยรวมเป็นไปด้วยความสงบ แต่ตำรวจเปิดเผยว่าได้วางกำลังเจ้าหน้าที่ราว 10,000 นายคอยดูแลความปลอดภัย แรงงานไต้หวันขอปรับปรุงสภาพการทำงาน 1 พ.ค. 54 - แรงงานไต้หวันราว 2,000 คนชุมนุมที่กรุงไทเปเพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างและให้รัฐบาลปรับปรุงสภาพการทำงาน การชุมนุมเนื่องในวันแรงงานวันนี้นับเป็นเสียงสะท้อนไปถึงประธานาธิบดีหม่า อิง จิ่วของไต้หวันซึ่งจะลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในต้นปีหน้า กลุ่มผู้ประท้วงกล่าวว่าในขณะที่ประธานาธิบดีหม่าพยายามผูกสัมพันธ์กับจีนช่วงที่ดำรงตำแหน่ง และบริษัทรายใหญ่ต่างได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางการค้าที่ใกล้ชิดกับจีน แต่ผู้นำไต้หวันกลับไม่ได้สนใจกลุ่มชนชั้นกลางและกลุ่มผู้ใช้แรงงานอย่างจริงจัง สหภาพแรงงานญี่ปุ่นใช้วันแรงงานเรียกร้องยกเลิกโรงงานนิวเคลียร์ 1 พ.ค. 54 - สมาพันธ์แรงงานหัวเอียงซ้ายหลายกลุ่มในญี่ปุ่น เรียกร้องในการชุมนุมวันแรงงานให้ยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในขณะที่พนักงานกู้ภัยกำลังหักโหมหาทางควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะที่มีปัญหา นายซากุจิ ไดโกกุ ประธานสมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งชาติ กล่าวต่อผู้ชุมนุมที่ที่สวนสาธารณะโยโยกิในกรุงโตเกียวว่า ขอให้ผู้ชุมนุมช่วยกันยับยั้งไม่ให้รัฐบาลส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์และหาทางเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงาน ขณะที่ นายคาซุโอะ ชีอิ ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องอย่างแข็งขันให้รัฐบาลตัดสินใจถอนตัวจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ และกำหนดโครงการลดการใช้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์จนกระทั่งยกเลิกไปในที่สุด สมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งชาติซึ่งอ้างว่ามีสมาชิก 1.2 ล้านคน เผยว่า การชุมนุมวันนี้มีผู้เข้าร่วม 21,000 คน ด้านสมาพันธ์แรงงานขนาดเล็กกลุ่มหนึ่งหยิบยกประเด็นยกเลิกโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เช่นกันในการชุมนุมที่สวนฮิบิยะ นอกพระราชวังอิมพีเรียล ตรุกี-กรีซเดินขบวนวันแรงงานร้องเพิ่มค่าจ้าง 1 พ.ค. 54 - บรรดาผู้ใช้แรงงานทั่วเอเชียร่วมการเดินขบวนเรียกร้องขอเพิ่มค่าแรง และขอให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีกว่าเดิม เนื่องในโอกาสวันแรงงาน ชาวตุรกีกว่า 200,000 คน เดินรวมตัวที่จัตุรัสทักซิมในนครอิสตันบูล เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าแรงและปรับปรุงสภาพการทำงาน ถือเป็นการรวมตัวชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดที่จัตรุรัสแห่งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุเหยียบกันตายของประชาชน 34 คน หลังมีเสียงปืนระหว่างการชุมนุมในวันแรงงานเมื่อปี 2520 ขณะที่สมาชิกสหภาพแรงงานของกรีซก็จัดการเดินขบวนในกรุงเอเธนส์เนื่องในวันแรงงาน แต่เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ที่ส่งผลให้มีคนตกงานกว่า 160,000 คน นับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อลดค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว แรงงานในละตินอเมริกาชุมนุมเนื่องในวันแรงงาน 1 พ.ค. 54 - แรงงานในละตินอเมริกาหลั่งไหลชุมนุมเนื่องวันแรงงาน แรงงานบางประเทศเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ แรงงานชาวคิวบาหลายแสนคนออกมาชุมนุมทั่วประเทศก่อนที่รัฐบาลประธานาธิบดีราอูล คาสโตร จะดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจมากกว่า 300 มาตรการที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐเมื่อเดือนก่อน ในจำนวนนี้มีการปลดแรงงานภาครัฐ 1 ล้านตำแหน่งในอีกหลายปีข้างหน้าและลดการใช้จ่ายภาครัฐ ประธานาธิบดีราอูล คาสโตร ไปปรากฏตัวเป็นครั้งแรกต่อที่ชุมนุมกลางจัตุรัสปฏิวัติในเมืองซานติเอโกเดอคิวบา หลังรับตำแหน่งจากอดีตประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตรเมื่อ 5 ปีก่อน ส่วนที่กรุงโบโกตาของโคลอมเบีย มีแรงงานเดินขบวนราว 10,000 คน แรงงานบางคนขว้างปาก้อนหินและสิ่งของใส่ตำรวจซึ่งตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตา ท่อฉีดน้ำแรงดันสูง และมีการทำร้ายทุบตีด้วย ขณะที่ประธานาธิบดีฮวน มานูเอล ซานโตส ประกาศจะปรับปรุงสิทธิแรงงานและสิทธิในการประท้วงแบบประชาธิปไตย ที่กรุงกัวเตมาลาซิตีของกัวเตมาลา แรงงาน 50,000 คนเดินขบวนประท้วงค่าครองชีพสูงและเรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก ส่วนที่กรุงเม็กซิโกซิตีของเม็กซิโก แรงงาน 17,000 คนออกมาชุมนุมตามท้องถนนเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงและความปลอดภัยในชีวิตเพราะมีคนล้มตายไม่ต่ำกว่า 34,600 คนตั้งแต่รัฐบาลเริ่มสงครามปราบปรามยาเสพติดในปลายปี 2549 ด้านประธานาธิบดีอีโว โมราเลสของโบโกตา ยกเลิกประกาศปี 2528 ที่กำหนดให้ใช้เศรษฐกิจระบบตลาด และจะยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขณะที่แรงงานในเอลซัลวาดอร์เรียกร้องให้ปรับปรุงสภาพการทำงานของคนงานภาคเอกชน และแรงงานในชิลี 30,000 คนชุมนุมที่กรุงซันติอาโกขอเพิ่มสิทธิแรงงาน และวิจารณ์นโยบายเอื้อภาคธุรกิจของรัฐบาล ฝรั่งเศส เรียกร้องรัฐแก้ไขปัญหาครองชีพ 1 พ.ค. 54 - สหภาพแรงงานใหญ่ 5 กลุ่ม ในฝรั่งเศสจัดการเดินขบวนทั่วประเทศ 200 ขบวน ในวันแรงงาน เรียกร้องให้ทางการออกมาตรการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพสูง และประณามแนวคิดเหยียดผิว แถลงการณ์ร่วมของกลุ่มระบุว่า การเดินขบวนวันนี้เป็นการแสดงความเป็นเอกภาพสากลร่วมกับการประท้วงในโลกอาหรับ และต่อต้านแนวคิดเหยียดผิวกีดกันผู้อพยพเข้าฝรั่งเศส แรงงานอพยพในสหรัฐชุมนุมเรียกร้องโอบามาทำตามคำมั่น 1 พ.ค. 54 - แรงงานอพยพจำนวนมากหลั่งไหลไปชุมนุมตามท้องถนนในนครลอสแองเจลิส (แอลเอ) ของสหรัฐเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ทำตามที่ได้หาเสียงไว้ว่าจะทำให้แรงงานผิดกฎหมายหลายล้านคนเป็นแรงงานถูกกฎหมาย ผู้ชุมนุมร้องตะโกนว่า ทำให้ถูกกฎหมายหรือจะไม่ได้รับเลือกตั้งอีก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพจากอเมริกากลางและเม็กซิโก เรียกร้องการปฏิรูปแรงงานอพยพตามที่โอบามาเคยหาเสียงไว้ว่าจะทำให้แรงงานบางส่วนจากแรงงานผิดกฎหมายทั้งหมด 11 ล้านคนในสหรัฐเป็นแรงงานถูกกฎหมาย นักศึกษาเชื้อสายจีนคนหนึ่งร่วมการชุมนุมด้วยโดยระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาของแรงงานพูดภาษาสเปนเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของแรงงานเอเชียด้วย ผู้จัดการชุมนุมอ้างว่ามีผู้ร่วมเดินขบวน 10,000 คน แต่ตำรวจแอลเอประมาณตัวเลขไว้เพียง 3,500 คน อย่างไรก็ดี แกนนำการเรียกร้องปฏิรูปสิทธิแรงงานอพยพส่วนใหญ่ไม่ได้ขอให้ชุมชนผู้พูดภาษาสเปนออกเสียงต่อต้านโอบามาและพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งปีหน้า หลังจากเป็นฐานเสียงสำคัญที่ทำให้เขาชนะเลือกตั้งครั้งก่อน เพราะคนที่ขัดขวางการปฏิรูปแรงงานอพยพคือพรรครีพับลิกัน แต่อดีต ส.ว.รัฐแอริโซนาจากพรรคเดโมแครตคนหนึ่งกลับเห็นว่า โอบามาไม่มีความจริงใจเพราะไม่ได้ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ มีข้อมูลว่าปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนกันยายนที่ผ่านมา สหรัฐเนรเทศแรงงานผิดกฎหมายออกนอกประเทศมากกว่า 392,000 คน แฉ “บ.ฟ็อกซ์คอนน์ ใช้แรงงานเยี่ยงเครื่องจักร” 3 พ.ค. 54 - กลุ่มสิทธิแรงงานฮ่องกงเผยผลสำรวจจากการสัมภาษณ์แรงงานฟ็อกซ์คอนน์ 120 คนบนแผ่นดินใหญ่ เมื่อวันอังคาร (3 พ.ค.) ว่า “บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของไต้หวันฟ็อกซ์คอนน์ ปฏิบัติต่อพนักงานเยี่ยงเครื่องจักรกลอันไร้ชีวิต” เมื่อปีที่ผ่านมา (2553) เกิดเหตุการณ์พนักงานฟ็อกซ์คอนน์อัตวินิบาติกรรม 13 ราย โดยกลุ่มสิทธิแรงงานฯ ได้ออกมาประณามเงื่อนไขการทำงานของบริษัทที่เข้มงวดเกินไป จนกรณีอื้อฉาวนี้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญจุดชนวนกระแสเรียกร้องขึ้นค่าจ้างแรงงานในโรงงานอื่น ๆ ของจีน กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการต่อต้านบรรษัทที่ประพฤติไม่เหมาะสม (SACOM) เผยรายงานว่า “ลูกจ้างของบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลามากเกินไป โดยมีรูปแบบการทำงานเข้มงวดคล้าย ๆ กับการฝึกทหารเลยทีเดียว” “กลุ่ม SACOM ถึงกับตกใจ เมื่อได้เห็นเงื่อนไขการทำงานที่เลวร้ายมาก” รายงานของกลุ่มระบุ พร้อมชี้ว่า “ลูกจ้างแรงงานบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ต้องทำงานล่วงเวลา 80-100 ชั่วโมงต่อเดือน นอกเหนือไปจากเวลาที่ต้องทำปกติเดือนละ 174 ชม. ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายจีนกำหนดไว้ถึง 3 เท่า” “แรงงานส่วนมากต้องการทำงานล่วงเวลาให้มากที่สุดเพราะว่าเงินเดือนปกติไม่พอประทังชีวิต” SACOM กล่าว โดยชี้ด้วยว่า แรงงานแต่ละคนได้เงินจิบจ้อยเพียงเดือนละ 200 ดอลลาร์เท่านั้น (ประมาณ 6,000 บาท) นอกจากนั้นทางกลุ่มฯ ยังชี้ด้วยว่า บรรดาแรงงานต้องทำงานถึงวันละ 10 ชั่วโมงทำให้ต้องเลื่อนการพักรับประทานอาหารออกไปโดยแต่ละวันไม่ตรงเวลาและไม่แน่นอน ขณะที่ลูกจ้างใหม่จะต้องถูกฝึกความอดทนเยี่ยงทหาร เนื้อหาของการฝึกทางทหารนั้นก็มีการยืน จัดแถว ผู้คุมจะถามคนงานหลายสิบคนให้เข้าแถวตามคำสั่ง และจัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยคนงานถูกสั่งให้ยืนคล้ายทหารนานหลายชั่วโมง นอกจากนั้น หากมีความผิดพลาดในการทำงานก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก คนงานบางคนถูกบังคับให้เขียน “จดหมายสารภาพ” และอ่านเสียงดังให้เพื่อนร่วมงานฟัง เมื่อเอเอฟพีติดต่อไปยังบริษัทฯ โฆษกบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ไม่สนใจข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยพูดว่า บริษัทจะจัดการกับประเด็นนี้อย่างเต็มที่หลังจากอ่านรายงานนี้จบแล้ว ฟ็อกซ์คอนน์เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนสินค้าสำหรับแอปเปิล โซนี และโนเกีย ที่ใหญ่สุดในโลก โดยบริษัทได้จ้างคนงานประมาณล้านคนในประเทศจีน โดยครึ่งหนึ่งปักฐานการผลิตอยู่ในเซินเจิ้น หลังจากเกิดกระแสฆ่าตัวตายหลายราย ฟ็อกซ์คอนน์ก็ได้หามาตรการมายับยั้ง ไม่ว่าจะเป็นการติดตาข่ายเหนือตึกสูงป้องกันคนโดดตึก เพิ่มค่าจ้างแรงงาน และฟื้นฟูกำลังใจสำหรับคนงาน อย่างไรก็ตามนักวิจารณ์ก็ยังมองว่าการที่ฟ็อกซ์คอนน์ออกมาตรการใหม่โดยจ้างที่ปรึกษาเพิ่ม เปิดศูนย์ดูแล ฮ็อตไลน์สายด่วนให้คนงานหลังกระแสฆ่าตัวตายแพร่สะพัดนั้นไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะว่าเงื่อนไขในการจัดการกับพนักงานยังคงหนักหน่วงเช่นเดิม คนงานไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกันในกระบวนการสายพานผลิต พวกเขารู้สึกว่า “เขาเป็นเครื่องจักร” ไปเสียแล้ว โดยขณะนี้ ฟ็อกซ์คอนน์ขยายพื้นที่การผลิตไปในจีนตอนกลาง เพื่อลดปัญหาการฆ่าตัวตายในฐานฯ ที่เซินเจิ้น ชาวเน็ตฯ และแรงงานจีนสรรเสริญ ฉงชิ่งส่งหน่วยจู่โจมทลายนรกแรงงานฯ 3 พ.ค. 54 ที่โครงการก่อสร้างซิตี้การ์เดน ตำรวจหน่วยสวาทพร้อมอาวุธครบมือ S.W.A.T. ( Special Weapons And Tactics) และเจ้าหน้าที่เขตเจียงเป่ย นครฉงชิ่ง ได้สนธิกำลังบุกเข้าไปในเขตก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อทวงถามค่าแรง และช่วยเหลือคนงานซึ่งถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว และกดขี่แรงงานเยี่ยงทาส จากรายงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ของเมืองเจียงเป่ย นครฉงชิ่งได้รับการยืนยันการถูกเอารัดเอาเปรียบของคนงาน 61 คน รวมมูลค่าค่าแรงที่ถูกนายจ้างริบไว้ไม่ยอมจ่ายให้กว่า 800,000 หยวน นายปี่ ก่วงหลี่ แรงงานรับจ้างต่างถิ่นคนแรกที่ได้รับค่าจ้างซึ่งค้างอยู่ 5 เดือน เป็นเงิน 14,250 หยวน ครบถ้วน หลังทางการเข้าปราบปรามนายจ้างมาเฟีย ได้กล่าวเขาตื่นเต้น และโค้ง 3 ครั้งเพื่อขอบคุณพรรค ขอบคุณรัฐบาล และขอบคุณทางการฉงชิ่ง เขากล่าวว่า ตนเองมาจากเมืองเตียนเจียง \ผมออกจากบ้านเกิดเข้ามาขายแรงงานหากิน นานกว่า 40 ปี เพื่อส่งเงินไปเลี้ยงดูลูกเมียที่ป่วย ไม่สามารถทำงานได้ การทำงานห่างบ้านเพื่อเลี้ยงครอบครัว ไม่ใช่เรื่องสนุก ต้องยอมให้กับความไม่ยุติธรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบค่าแรงค่าจ้าง การทุบตี ซึ่งเป็นเรื่องที่เรายอมรับมันอย่างไม่มีทางเลือก แต่วันนี้ ได้รับความช่วยเหลือของทางการ เราขอบคุณ\" ตำรวจหน่วยสวาทพร้อมอาวุธครบมือ S.W.A.T. ( Special Weapons And Tactics) นครฉงชิ่ง ขณะบุกเข้าไปในเขตก่อสร้างเพื่อจับกุมเหลือบสังคมที่หากินกับแรงงานมนุษย์ หน่วยงานรักษาความมั่นคง นครฉงชิ่ว รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน หัวหน้าหน่วยปราบปรามอาชญกรรม ได้ขับรถผ่านไปแถวเขตซันหวัน ใกล้กับโครงการก่อสร้างนี้ และพบเห็นกลุ่มชายฉกรรจ์ ถือท่อนเหล็ก และมีดปลายแหลมไล่ทุบแทงบรรดาคนงานชายวัยกลางคน ซึ่งอยู่ในอาการหวาดกลัว เจ้าหน้าที่ฯ จึงได้แจ้งตำรวจ และจอดรถรีบเข้าไปแสดงตัว และขัดขวางการกระทำดังกล่าว หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าหน้าที่ตำรวจเขตเจียงเป่ยซึ่งได้รับรายงานก็รุดมาทีเกิดเหตุ จับกุมการ์ดอันธพาลได้ 2 คน ขณะที่คนอื่นๆ หลบหนีไป ในคืนนั้นเอง ทางการฉงชิ่งจึงได้รวบรวมหลักฐาน เพื่อขยายผลการจับกุม ก่อนบุกเข้าไปจับกุมผู้รับเหมาช่วงของโครงการนี้ในความผิดทั้งแพ่งและอาญา โดยความผิดฐานแรงงานนี้ วันรุ่งขึ้น (1 พ.ค.) เจ้าหน้าที่เขตเจียงเป่ย และตำรวจหน่วยสวาทของนครฉงชิ่ง จึงได้บุกเข้าไปทลายนรกแรงงานแห่งนี้ สามารถจับนายหยู่ กัง นายจ้างซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วง พร้อมกับอันธพาล 20 ที่ถูกจ้างมาเพื่อคุมขังคนงานกว่า 200 คนในโครงการนี้ โดยคนงานทุกคนจะถูกลงโทษหากคิดทวงถามค่าแรงฯ ซึ่งถูกริบ และหักหัวคิวตลอดเวลากว่า 5 เดือนที่ผ่านมา รายงานข่าวกล่าวว่า นายหยู่กัง ผู้รับเหมาช่วงได้รับว่าได้รับเงินสำหรับจ่ายค่าแรงงานให้กับคนงานเฉลี่ยคนละ 5

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net