Skip to main content
sharethis

ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว Stateless Watch Review1> ชื่อบทความเดิม: ชิชะพอ-ไหร่โผ่-รพ.อุ้มผาง กับก้าวที่ใกล้-ไกล ของหลักประกันสุขภาพของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล “เราเป็นหมอ มีคนป่วยมาเราก็ต้องรักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร ดีกว่าปล่อยให้เขาไปตายบ้าน และกลายเป็นรังโรค” ถ้อยคำของ “หมอตุ่ย” หรือนพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง2> ที่แสดงเจตนารมณ์อันชัดเจนของบุคลากรสาธารณสุขจำนวนหนึ่งที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านในชุมชนที่ไม่ได้มีเพียงคนสัญชาติไทยเท่านั้น ขณะเดียวกัน จากความคืบหน้าล่าสุด(31 พฤษภาคม 2554) ของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย 2 คน เป็นบุคคลอยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อจัดทำเบียนบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน(บัตรเลข 0) คือ กรณีนางชิชะพอ3> ชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) อายุ 48 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน และอายุรแพทย์ประจำโรงพยาบาลอุ้มผาง ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2554 และถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่สอด ในวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2554 และได้ทำการเจาะหน้าท้องเพื่อทำการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง กับนายไหร่โผ่ ซึ่งรพ.แม่สอดแจ้งค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ของชิชะพอ 55,935 บาท ของไหร่โผ่ 25,174 บาท4> ก็กำลังสะท้อนรูปธรรมปัญหาตัวเลขแดงๆ ทางบัญชีที่รพ.อุ้มผางต้องแบกรับกับภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่มผู้ที่มีปัญหาสถานะบุคคล ซึ่งยังไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ จากจำนวนประชากรอำเภออุ้มผาง 84,875 คน กว่าครึ่งคือผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆจำนวน 46,513 คน5> 23 มีนาคม 2553 สิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ได้รับรองโดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้จัดตั้ง \กองทุนให้บริการด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ\" งบประมาณ ในปี 2553 สำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิจำนวนทั้งสิ้น 457

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net