Skip to main content
sharethis

ก.แรงงานหนุนกู้เงิน 3 ธนาคารไปทำงานต่างประเทศ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมการจัดหางานได้มีการลงนามความร่วมมือกับธนาคารรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการให้บริการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ ให้คนหางานที่ไม่มีหลักทรัพย์สามารถกู้เงินจากธนาคารโดยมีบริษัทจัดหางานค้ำ ประกันเงินกู้ให้นั้น ขณะนี้ นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้รับนายจ้างบริษัทแดวู อี แอนด์ ซี (DAEWOO E & C) ประเทศเกาหลี แจ้งความประสงค์ต้องการคนหางานไปทำงานโครงการ PNG LNG Pant Project ณ เมืองพอร์ตมอร์สบี (Port Moresby) ประเทศปาปัวนิวกินี ผ่านบริษัทจัดหางานหลายแห่ง ได้แก่ บริษัทจัดหางานไทยมาสเตอร์ แมนเพาเวอร์ จำกัด บริษัทจัดหางาน ซี แอนด์ เอ็น จำกัด และบริษัทจัดหางาน พี.เอ็น.พี อินเตอร์เนชั่นแนล แมนเพาเวอร์ จำกัด โดยรุ่นแรกจะมีการนำคนหางานเข้าไปทำงานประมาณ 60 คน และมีโอกาสสำรวจและจัดหาตำแหน่งงานว่างที่มีเงื่อนไขค่าจ้างและสวัสดิการที่ ดีสำหรับคนหางานเข้าไปทำงานอีกจำนวนมากในโอกาสต่อไป ทั้งนี้จะมีความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารในกลุ่มที่สนับสนุนร่วมมือโครงการดังกล่าวโดยบริษัทจัดหางานเป็น ผู้ค้ำประกันเงินกู้ร้อยละ 15 ตามอัตราค่าบริการและค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับโครงการดังกล่าวคนหางานจะขอสินเชื่อกับธนาคารคนละประมาณ 50,000-60,000 บาท โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระหนี้เงินกู้เป็นรายเดือนไม่เกิน 12 เดือน และนายจ้างจะหักเงินค่าจ้างของคนหางานชำระหนี้เงินหนี้เงินกู้ธนาคารตามข้อ ตกลง ในเรื่องดังกล่าว กรมการจัดหางานมอบหมายให้มีคณะที่เดินทางไปตรวจสอบสภาพการจ้างงาน ตำแหน่งงาน อัตราค่าจ้างและสถานที่ทำงาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตประเทศออสเตรเลียที่ดูแลพื้นที่ ประเทศปาปัวนิวกินี ระหว่างวันที่ 21-25 มิ.ย.54 ทั้งนี้ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาอนุญาตให้จัดส่งคนหางานเข้าไปทำงานต่อไป นอกจากนี้ กรมการจัดหางานยังได้มีส่วนร่วมสนับสนุนในการออกหนังสือรับรองการจ้างงานให้ คนหางานที่เดินทางไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) โดยออกหนังสือรับรองการกู้เงินให้คนหางาน เพื่อนำไปขอสินเชื่อกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับประโยชน์จากการเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศของคนหางานในปี 2554 มีคนงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมีรายได้ส่งกลับโดยผ่านระบบธนาคารจำนวน 21,867 ล้านบาท ตามโครงการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในครั้งนี้ โดยหากคนหางานรายใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์มิตรไมตรี กรมการจัดหางาน โทร.1694 (บ้านเมือง, 6-6-2554) เผย “ศรีไทย” ขาดแรงงาน ผลิตสินค้าไม่ทันความต้องการจากอียู กรุงเทพฯ 6 มิ.ย.-นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและกรรมการผู้จัดการ บมจ.ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ กล่าวว่า ในขณะนี้ในสหภาพยุโรป(อียู) มีความต้องการเมลามีนจากไทยเพิ่มขึ้น หลังจากสั่งยกเลิกนำเข้าจากจีน แต่ในส่วนของไทยประสบปัญหายังไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้ตามความต้องการ นายสนั่น กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทเกิดจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก โดยขณะนี้บริษัทมีกำลังการผลิต 10,000 ตันต่อปี และขยายเพิ่มปีนี้ร้อยละ 15 มีการใช้คนงานไทยประมาณ 4,000 คน แต่ไม่สามารถหาเพิ่มได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องการเปลี่ยนงานบ่อยของคนงานไทย และอื่น ๆ จึงต้องใช้คนงานต่างด้าว ประกอบด้วยพม่า 800 คน และรับเพิ่มจากกัมพูชา 500 คน จึงหวังว่ารัฐบาลใหม่จะให้ความใส่ใจในการพัฒนาแรงงานไทย โดยเฉพาะการจูงใจให้มีการเรียนอาชีวศึกษา เพื่อจะได้เข้าสู่แรงงานระดับโรงงานมากขึ้น ทั้งนี้ รายได้ของบริษัทปีนี้คาดว่าจะอยู่ระดับ 6,700 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วมีประมาณ 5,700 ล้านบาท และปีหน้าคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 7,800 ล้านบาท โดยปีนี้บริษัทได้มีการลงทุนเพิ่มในไทยประมาณ 1,000 ล้านบาท ลดลงจากเป้าเดิมที่จะมีการลงทุนประมาณ 1,400 ล้านบาท เพราะชะลอแผนการลงทุนในอินเดียและเวียดนาม เนื่องจากมีปัญหาด้านภาษี เงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน จึงชะลอการลงทุนไปก่อน อย่างไรก็ตาม ปีหน้าทางบริษัทวางแผนจะขยายกำลังการผลิตเมลามีนในไทยเพิ่ม โดยใช้เงินลงทุน 600 ล้านบาท (สำนักข่าวไทย, 6-6-2554) จี้ BOI รื้อเกณฑ์เปิดต่างด้าวทำงาน ต้องการ 1 แสนคน ถกประกันเครมเร็ว นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ จะมีการหารือกับสมาชิก ส.อ.ท.ว่าจะเตรียมตัวตั้งรับอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาแรงงานขาดแคลน แรงงานต่างด้าว และการปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามที่พรรคการเมืองต่างๆ ใช้หาเสียง รวมทั้งจะเสนอให้สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีการปรับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวใหม่ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้แรงงานอย่างเข้มข้น เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ อุตสาหกรรมรองเท้าและอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีความต้องการแรงงานต่างด้าวรวมกันอย่างน้อย 1 แสนคน เพราะอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอมีระเบียบห้ามใช้แรง งานต่างด้าว “จะหารือกันภายในก่อนที่จะไปหารือ ร่วมกับ รมว.แรงงาน เพื่อหาทางออกร่วมกัน เพื่อเตรียมข้อมูลไว้เสนอรัฐบาลใหม่ โดยภาคเอกชนเตรียมยื่นให้รัฐบาลใหม่แก้กฎหมายบีโอไอใหม่ เพราะเห็นว่าควรจะพิจารณาจากขนาดความต้องการแรงงานมากกว่าพิจารณาจากเม็ด เงินลงทุน เพราะยังมีอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กอยู่ หรือจะปล่อยให้ตายตอนนี้เลย” นายสมมาตกล่าว ทั้งนี้ บีโอไอได้พิจารณาหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าว โดยบริษัทที่ขอใช้แรงงานต่างด้าวต้องได้รับบีโอไอมาก่อน และใช้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากบีโอไอหมดแล้ว และขยายการลงทุนเพิ่มเติมโดย ต้องเป็นบริษัทที่ลงทุนในไทยมา นานกว่า 20 ปี เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท แรงงานต่างด้าวที่นำมาใช้ต้องถูกกฎหมาย และมีสัดส่วน 15% ของแรงงานที่จะจ้างใหม่ ซึ่งที่ผ่านมามีเพียงรายเดียวที่ผ่านการพิจารณา นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ จากกรณีภัยพิบัติต่างๆ เช่น อุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีเงินทุนสำรองต่ำ ว่าจะสามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง “โดยจะไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการ กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ช่วยพิจารณาขั้นตอนการจ่ายเงินชดเชยประกันภัยให้เร็วขึ้น จากปัจจุบันที่ต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน เพราะกรณีความเสียหายที่เกิดจากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้รับการชด เชยเลย คาดว่าน่าจะสามารถคุยกรอบได้เสร็จภายใน 3 เดือนนี้” นายพยุงศักดิ์กล่าว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาคเอกชนมีการทำประกันภัยมูลค่า 2-3% ของมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการได้มีการทำประกันภัยรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น คือ การประกันภัยกรณีธุรกิจหยุดชะงักด้วย. (ไทยโพสต์, 6-6-2554) ภาคอุตฯแนะปรับค่าแรงไม่ควรสนองการเมือง นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบูรณาการด้านแรงงาน ว่า ขณะนี้ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ 5 แสนคน เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ขณะที่แรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่วนปัญหาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เดิมเป็นไปตามกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี แต่ในช่วงที่ผ่านมามีการปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจ และนำไปสู่การขึ้นราคาสินค้า ดันให้เงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้น ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างเดียว เท่านั้น แต่ยังกระทบต่อประชาชนทั่วไปที่อยู่นอกระบบค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ต้องบริโภคสินค้าในราคาที่สูงขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมบางกลุ่มที่ยังจำ เป็นต้องใช้แรงงานเข้มข้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรได้ ก็จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เช่น กลุ่มสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง โดยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะเป็นคนที่ได้รับผลกระทบก่อน ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ก็จะกระต่อเนื่องมาจากการจ้างรับช่วงผลิต \อยากให้เข้าใจว่าปัจจุบันผู้ประกอบ การจ้างพนักงานแพงอยู่แล้ว เพราะหากให้ค่าแรงน้อย แรงงานจะหนีไปอยู่ที่อื่นหมด โดยในการทำงานก็มีการจัดสวัสดิการค่าอาหาร รถรับส่ง ค่าที่พักให้แล้ว ซึ่งส่วนนี้อาจไม่ได้รวมอยู่ในค่าจ้าง แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการบริการให้แก่แรงงาน ดังนั้นการจะปรับขึ้นค่าแรงจำเป็นต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วย และต้องศึกษาถึงผลกระทบให้ละเอียดก่อน\"นายพยุงศักดิ์ กล่าว รวมทั้งรัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาดูแล หากมีการปรับขึ้นค่าจ้าง เช่น ส่งเสริมให้เอกชนออกไปลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงมีการให้สินเชื่อสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการนำเข้าเครื่องจักร มาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้เอกชนสามารถปรับตัวได้ในภาวะที่ค่าแรงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แหล่งข่าวจากส.อ.ท. กล่าวว่า ข้อเสนอแนะของส.อ.ท.เกี่ยวกับประเด็นค่าจ้าง ได้แก่ 1. การปรับค่าจ้างไม่ควรสนองตอบต่อการเมืองในช่วงการเลือกตั้ง ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี และคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 2. การปรับค่าจ้างไม่ควรมีการปรับบ่อย เพราะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ การคำนวณต้นทุนสินค้า กระทบต่อการวางแผนลงทุน และกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3.ส.อ.ท.จะต้องยกระดับเรื่องค่าจ้าง เป็นนโยบายสำคัญ เพราะ 70% ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป็นเอสเอ็มอี และอย่างน้อยกลุ่มอุตสาหกรรม 15 กลุ่ม ยังคงต้องใช้แรงงานเข้มข้น และยังมีกลุ่มอาชีพอื่นอีก 24 ล้านคน เช่น ข้าราชการ พนักงานบริษัทเอกชน เกษตรกร จะไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ (โพสต์ทูเดย์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net