Skip to main content
sharethis

18 มิ.ย. 54 - เว็บไซต์แนวหน้าเผยแพร่บทสัมภาษณ์สมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตแกนนำคนสำคัญของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ในวันนี้สวมหมวก\หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่\"อย่างเต็มตัว โดยเลือกที่จะหันหลัง แยกทางเดิน กับแกนนำเวทีมัฆวานฯหลายคนที่เคยเคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้บนถนนการเมือง เปิดใจนั่งสนทนากับ \"แนวหน้า\" ถึงเบื้องลึก หนาตื้น ที่มาที่ไป ถึงวิกฤติซ้อนวิกฤติที่เขากำลังเผชิญ โดยมีรายละเอียดดังนี้ .. ปมขัดแย้ง กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย \"เป้าหมายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯที่สะพานมัฆวานฯ คือต้องการให้ไม่มีการเลือกตั้ง ถามว่าไม่มีการเลือกตั้งแล้วยังไง ก็ต้องยึดอำนาจ รัฐประหาร แล้วถามว่าใครจะทำ เราคิดว่าการทำให้ไม่มีการเลือกตั้ง มันไม่ถูกต้อง ในฐานะพรรคการเมือง เพราะผิดกฎหมาย แต่เป้าหมายของเขาคือต้องการเอาคะแนนเสียงที่ได้จากรณรงค์ในเรื่องโหวตโน นั้น มาเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะชุมนุมต่อต้านอะไรอีกครั้งหนึ่งในวันข้างหน้า\" \"หากมองจากข้อเท็จจริง กระแสสังคมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรฯเริ่มชุมนุมเมื่อวันที่25ม.ค. เพราะข้อเรียกร้องของพวกเขาไม่ชัดเจน กลับไปกลับมา เดี๋ยวเรื่องข้อพิพาทไทย-เขมร เดี๋ยวขับไล่รัฐบาล ไปๆมาๆกลายเป็นโหวตโน สังเกตดูได้จากผู้เข้าร่วมชุมนุมที่สะพานมัฆวานฯมีจำนวนเพียงหลักร้อย และนอกจากนั้น คงจำกันได้เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผบ.เหล่าทัพออกบอกว่าใครปฏิวัติในตอนนี้ เป็นกบฏ เมื่อพวกเขาประเมินแล้วว่าไม่สามารถยับยั้งให้ไม่มีการเลือกตั้งได้ ก็เลยหยุด แล้วหันมารณรงค์เรื่องของ\"โหวตโน\" \"จากนั้นก็มาบอกพรรคการเมืองใหม่ พรรคจึงประชุม กรรมการบริหารพรรค ผลสรุปจากที่ประชุมพรรคคือมีมติให้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ก็เลยเป็นปัญหา เพราะเกิดความขัดแย้ง แล้วเขาก็โจมตี ใส่ร้าย และคนที่พูดบนเวทีนั้นผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งถ้าประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ออกมา จะผิด พ.ร.บ.พรรคการเมืองมาตรา 53 ฐานกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย ให้พรรคดูไม่น่าเชื่อถือ และทางพรรคก็เตรียมที่จะดำเนินการเอาผิดเป็นรายบุคคลกับผู้ที่ขึ้นเวที แล้วปราศรัยใส่ร้ายพรรค เพราะพรรคเสียหาย\" อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯบอกกับ แนวหน้า ถึงพัฒนาการความขัดแย้งจนถึงปะทุถึงจุดแตกหักระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯที่เป็น\"ร่างต้น\"กับ\"ร่างแยก\"อย่างพรรคการเมืองใหม่ \"โหวตโนไม่มีประโยชน์ ไม่มีผล เขาบอกว่าเป็นการปฏิรูปการเมือง แต่คนที่มีความคิด เขาก็บอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะเอาคะแนนเสียงไปทิ้ง แต่ถ้าไปลงคะแนนให้พรรคหรือผู้สมัครคนใดที่เห็นว่าดีกว่า ตามที่ผู้มีสิทธิ์รู้สึก เพื่อให้เข้าไปในสภาฯ ภาคประชาชนก็มีสิทธิ์ตรวจสอบ แต่หากยังดึงดันโหวตโน หลายฝ่ายก็พอจะมองออกว่า พรรคไหนจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ชอบมาพากล จึงเกิดคำถาม หรืออดคิดไม่ได้ว่า แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯคนที่จุดกระแสเรื่องโหวตโน มีเป้าหมาย หรือรับงานอะไรมาหรือเปล่า\" \"รหัสลับ\" ที่สมศักดิ์ถอดได้จากแนวทางโหวตโน ที่แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯชู และเคลื่อนไหวรณรงค์ อย่างสุดแรงเกิด คือสิ่งที่สมศักดิ์ไม่ไว้ใจ และเชื่อว่าการเคลื่อนไหวเช่นนี้\"มีอะไรในกอไผ่\"ก่อนจะสรุปประเด็นเรื่องการ แตกหัก โดย\"ฝากคำทิ้งท้าย\"ไปยังแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯผู้จุดกระแส\"โหวตโน\"ว่า \"แนวคิดแบบนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย เป็นแนวคิดของเถ้าแก่ แสดงความเป็นเจ้าของ ทำสิ่งนี้มาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง สั่งขวาหันซ้ายหัน คนที่เขาเห็นด้วยก็อาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่พรรคไม่เห็นด้วย เพราะต้องการมีอิสระของพรรค และต้องเคารพกฎหมาย ถ้าจะมาบอกว่าพรรคการเมือง กับนักการเมืองเหล่านี้ แย่ เป็นสัตว์นรก ถามว่าเพิ่มรู้หรือ รู้จักพวกนี้มาก่อนใช่ไหม ก่อนที่จะขอมติตั้งพรรค เมื่อรู้มาก่อนว่าเป็นอย่างนี้แล้วมาตั้งพรรคทำไม\" อุดมการณ์ และแนวทางผลักดันการเมืองใหม่ในรัฐสภา \"การปฏิรูปการเมืองต้องมีทั้ง 2 แนว ต้องยอมรับว่าสมัยที่ต่อสู้กับรัฐบาลทักษิณ มันมีทั้งข้างนอก และข้างในสภาฯ อย่าง ในขณะนั้นพรรคประชาธิปัตย์เขาก็หวังผลว่าจะได้เป็นรัฐบาลหากไล่รัฐบาลทักษิณ ได้ ส่วนภาคประชาชนอย่างกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ต้องการทำหน้าที่ตรวจสอบให้สังคมเห็นว่าใครโกง และควรถูกลงโทษ และถึงแม้ว่าการยึดอำนาจเมื่อ19ก.ย.จะเป็นบทสรุปของการต่อสู้กับรัฐบาล ทักษิณ แต่เราไม่ได้ไปเชื้อเชิญให้ใครมายึดอำนาจ เราตรวจสอบไปตามหน้าที่ของภาคประชาชน แต่การยึดอำนาจมันมีหลายครั้งแล้ว ก็ถือเป็นวงจรอุบาศก์ของการเมือง ยึดอำนาจ โกง โกงแล้วก็ยึดอำนาจ บ้านเมืองมันก็จมปรักดักดานอยู่อย่างนี้ การปฏิรูปการเมืองมันต้องใช้ระบบรัฐสภาด้วย ทำอย่างไรที่จะให้มาตราฐานส.ส.เป็นมาตรฐานสัตบุรุษ ให้รู้อับอายตัวเองบ้างว่าการที่ไม่เข้าประชุม การพูดจาไม่สุภาพออกทีวี ไม่สร้างผลประโยชน์ เล่นพรรคเล่นพวก เป็นพฤติกรรมที่ควรกำจัด หรือลงโทษสถานหนัก\" \"แนวทางสำคัญในการผลักดันการเมืองใหม่ให้เกิดในรัฐสภา คือ การทุจริตคอรัปชั่นมันต้องแก้กฎหมายให้เป็นวาระแห่ชาติ โดยให้ประชาชนทุกคนเป็นผู้เสียหาย เมื่อเจอเรื่องทุจริตที่ไหนสามารถนำเรื่องสู่ศาลได้เองเลย ถ้าศาลตัดสินว่าผิด ว่าโกง ควรจะมีรางวัลให้ประชาชนยี่สิบ หรือสามสิบเปอร์เซ็นต์ และอายุความต้องไม่หมด ถ้าทำอย่างนี้ไม่นานคอรัปชั่นจะหมดไป \"นอกจากนี้ยังมีนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ตามรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจน แต่ไม่ทำ นั่นคือเมื่อจะสร้างอะไร จะขุดคลอง จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต้องไปถามชาวบ้านว่าเขาจะเอาไหม ถ้าประชาชนเขาศึกษา ตามที่เสนอมาแต่ต้องเสนอด้วยความบริสุทธิ์ ถ้าเขาเห็นว่าเป็นประโยชน์กับบ้านเมืองก็ทำ แต่ถ้าเขาไม่ต้องการ ก็ต้องไม่\" \"ถือเป็นการสร้างอำนาจรัฐโดยอำนาจประชาชน อะไรที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงได้ก็ให้เป็น เช่นกระบวนการร่างกฎหมาย ประชาชนมีสิทธิเป็นกรรมาธิการได้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องให้เขามาเริ่มตั้งแต่ต้น อีกด้านคือเรื่องการปกครอง คิดว่าการปกครองส่วนภูมิภาคต้องยกเลิก ค่อยๆยกเลิกไป ยกตัวอย่างป่าไม้ควรขึ้นกับพื้นที่ ถ้าชุมชนเขาเข้มแข็งก็สามารถรักษาป่าไว้ได้ อำนาจต่อรองจะมากขึ้น แต่อุปสรรคก็คือคนที่มีอำนาจเก่าจะไม่ชอบ แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงต้องกล้าเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่า ถ้ามีของใหม่แล้วของใหม่ต้องมีประโยชน์ เราต้องกล้าเสนอ แม้สิ่งที่เสนออาจมีใครที่ชอบหรือไม่ชอบ แต่ถ้าเราเห็นว่ามีประโยชน์กับประชาชนอันนั้นคือสิ่งสำคัญ\" ความคาดหวังกับการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้น \"แม้เสียงในสภาฯเราอาจจะได้ไม่มากนัก แต่หน้าที่สำคัญที่เราต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่องคือ การทำความเข้าใจกับประชาชน ชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์ในเรื่องนโยบายที่ผลักดัน แล้วสามารถล่ารายชื่อจากชาวบ้านได้ ซึ่งต้องใช้เวลา พรรคการเมืองที่มีพัฒนาการ พรรคที่ดี ไม่มีวันที่จะได้คะแนนเสียงเยอะ อย่างที่มี ที่เห็นกันอยู่คือพรรคเฉพาะกิจ ที่เอาคนนู้นคนนี้มา มีเงิน มีทุน แล้วตั้งพรรคเพื่อหวังอะไรบางอย่าง พรรคการเมืองต้องมีหน้าที่ไปประสานกับชุมชน ให้ทราบความต้องการ หรือข้อเรียกร้อง ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยไม่ต้องไปหวังคะแนนเสียง แต่เพื่อไปเอาภูมิปัญญาของเขามาบริหารจัดการ\" \"ในส่วนของพรรคการเมืองใหม่ ส่งผู้สมัครใน กทม.3เขต ส่วนระบบปาร์ตี้ลิสต์ส่งทั่วประเทศทั้งหมด 24 คน โดยส่วนใหญ่เป็นอดีตนักกิจกรรมที่เคยต่อสู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องเกษตรกรรมเกือบทั้งหมด ยอมรับว่าสมาชิก และผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นนักเคลื่อนไหว ไม่ใช่นักการเมืองมาก่อนในเรื่องหาเสียงจึงยังกระท่อนกระแท่น การเลือกตั้งต้องใช้เงิน แต่เราก็มีไม่มาก โปสเตอร์แนะนำผู้สมัครก็มีบ้าง ก็อาศัยเดินทำความรู้จักกับชาวบ้านเป็นส่วนใหญ่ เทคนิควิธีการ หรือความชำนาญในพื้นที่ก็ยังอ่อนอยู่ เป้าหมายคือพยายามทำให้เต็มที่ จึงยังไม่สามารถพูดได้ว่าจะได้คะแนนเสียง หรือที่นั่งในสภาเท่าไหร่ \"เท่าที่ดูแนวโน้มน่าจะเป็นฝ่ายค้านมากกว่า เพราะเราไม่น่าจะไปรวมอะไรกับใครง่ายๆตรงนี้ให้มันถึงเวลาก่อน ยากที่จะไปรวมกับใคร เพราะแนวคิดเราต้องการสร้างการเมืองใหม่ เป้าหมายของเราไม่คิดว่าจะเป็นนุ่นเป็นนี่ แต่ต้องการโฆษณาทิศทาง ความเชื่อ และอุดมการณ์ของเราให้คนเข้าใจ หากวันนี้เขายังไม่เข้าใจ ก็อาจจะใช้เวลาอีกหลายปี แต่นั่นคือความหวังของเรา ที่จะใช้การเมืองทำความเข้าใจกับประชาชน แม้เลือกตั้งหนนี้จะไม่ได้ส.ส.สักคนก็จะทำต่อไปเรื่อยๆ เมื่อผ่านวิกฤตแบบนี้ หลุดพ้นจากกระบวนการสะเปะสะปะมันจะพัฒนาไปสู่ทิศทางที่ยั่งยืน อดีต นักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน แกนนำมวลชนผู้เคยร่วมเขียนประวัติศาสตร์บางหน้าให้กับการเมืองไทย ในวันที่นั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเล็กๆที่มีอุดมการณ์ขนาดใหญ่ กล่าวสรุปทิ้งท้ายกับ แนวหน้า \"พรรคเรามีรากฐานมาจากเกษตรกร มาจากแรงงาน มาจาการต่อสู้เรียกร้อง เราต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าการเมืองแบบเก่าเป็นอย่างไร และเราจะไม่เกี่ยวข้อง เราต้องพูดกับญาติพี่น้องที่ต่อสู้กันมาให้เข้าใจซึ่งเป็นงานเฉพาะหน้าที่จำ เป็น การไปประกาศโฆษณาว่าตัวเองดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ แบบที่พรรคอื่นทำไม่ใช่ประเด็นสำคัญ\"สมศักดิ์ โกศัยสุข กล่าว ที่มา: สัมภาษณ์โดย สิทธิชน กลิ่นหอมอ่อน เว็บไซต์แนวหน้า 18/6/2011 http://www.naewna.com/news.asp?ID=266570"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net