ถึงเวลาแก้ไข ม. 112: ข้อเรียกร้องต่อบรรดาพรรคการเมือง

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

\...ด้วยความตระหนักถึงประเด็นปัญหาที่รายล้อมการใช้กฎหมายมาตรา 112 พวกเราเชื่อว่าท่ามกลางวิกฤติการเมืองไทยในขณะนี้ หนทางเดียวที่จะสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ พร้อม ๆ ไปกับสร้างหลักประกันให้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทยก็คือ จะต้องมีการแก้ไขมาตรา 112\" เครือข่ายสันติประชาธรรม (ร่วมลงชื่อได้ที่ http://www.ipetitions.com/petition/santiprachadham_june2011/) 0 0 0 ข้อเรียกร้องต่อบรรดาพรรคการเมือง ถึงเวลาแก้ไขมาตรา 112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ในวาระที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 นี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากไม่เพียงต้องการรู้ว่าบรรดาพรรคการเมืองใหญ่ๆ มีนโยบายที่จะสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนอย่างไร แต่ยังจับตามองว่าพวกท่านแนวทางอะไรในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และหลักการประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรุนแรงนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปีพ.ศ.2549 เป็นต้นมา มาตรา 112 กับการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เป็นที่ทราบกันดีว่านับตั้งแต่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 วิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อกดปราบผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างก็คือ การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือมาตรา 112 โดยมักใช้ควบคู่ไปกับ พ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ดังจะเห็นได้ว่าสถิติผู้ถูกจับกุมและต้องโทษด้วยมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน กล่าวคือ ในขณะที่ระหว่างปี พ.ศ. 2520-2535 การฟ้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเฉลี่ยเพียงปีละ 10 ราย และลดลงเรื่อยมานับจากปีพ.ศ. 2543 แต่หลังการรัฐประหารจนถึงปี พ.ศ. 2552 มีการยื่นฟ้องคดีหมิ่นฯถึง 396 ราย นอกจากนี้ ภายใต้การทำงานของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เชื่อได้ว่าตัวเลขผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นที่ชัดเจนว่าข้อความหลวม ๆ ของมาตรา 112 ที่ว่า \"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งสามปีถึงสิบห้าปี\" ได้ถูกผู้ที่ยึดกุมอำนาจรัฐและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ใช้เพื่อทำลายความชอบธรรมของกลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้าม สถาบันกษัตริย์ถูกอ้างครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการเมืองของคนบางกลุ่ม “ความจงรักภักดี” กลายมาเป็นอาวุธสำหรับข่มขู่คุกคามและสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกัน ตัวอย่างล่าสุดที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมดังกล่าวได้ดีก็คือ คำให้การในศาลของพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ถึงกำเนิดของ “แผนผังล้มเจ้า” ของ ศอฉ. ว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเรื่องที่ศอฉ. คิดขึ้นเองแบบทันทีทันใดโดยยังไม่มีข้อยืนยันว่า รายชื่อคนจำนวนมากที่ปรากฎในแผนผัง คือคนที่คิด \"ล้มเจ้า\" หรือ \"ล้มล้างสถาบันกษัตริย์\" จริงๆ แต่เราก็ได้ประจักษ์กันแล้วว่า แผนการณ์ที่ถูกคิดขึ้นแบบทันทีทันใดนี้ กลายมาเป็นข้ออ้างสำคัญเพื่อใช้ปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในที่สุด ข้อหาไม่จงรักภักดียังนำไปสู่การตามปิดสถานีวิทยุชุมชุนนับร้อยแห่ง และเว็บไซต์อีกนับหมื่นแห่ง โดยที่เหตุผลที่แท้จริงอาจเป็นเพราะพวกเขากล้าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ยึดกุมอำนาจรัฐอย่างรุนแรง และพวกเขาสนับสนุนหรือเห็นใจการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ความอ่อนไหวของข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาและครอบครัวของพวกเขาต้องประสบกับการกดดันจากสังคมรอบด้าน ซ้ำร้ายพวกเขามักประสบกับการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานของสิทธิพลเมืองอีกด้วย เช่น การตีความตามอำเภอใจ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท